สถานการณ์ของโรคติดต่ออุบัติใหม่ในปัจจุบัน มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยโรคติดต่ออุบัติใหม่ ที่เกิดในมนุษย์จำนวนมากมีต้นกำเนิดมาจากสัตว์ หรือสัตว์ป่า และมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมากมาย ได้แก่ การเคลื่อนย้ายของประชากร สัตว์พาหะนำโรค เช่น ยุง การขาดความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในการป้องกันควบคุมโรคของประชาชน การปฏิบัติตนยังไม่ถูกต้องตาม
หลักสุขอนามัยหรือสุขลักษณะ
การที่มีกลุ่มคนอยู่กันอย่างหนาแน่น ในขณะที่กลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่ ได้แก่
ผู้ที่มีความต้านทานต่อโรคต่ำ เช่น กลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีภาวะอ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 35
หรือน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัมขึ้นไป) หรือกลุ่มอาชีพเฉพาะ เช่น
เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ คนทำงานในโรงฆ่าสัตว์ คนชำแหละเนื้อสัตว์ สัตวบาล
และสัตวแพทย์ รวมทั้งกลุ่มที่อาจมีการแพร่โรคหรือรับโรคได้ง่าย เช่น
กลุ่มผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก หรือกลุ่มผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ
การประเมินความเสี่ยงของโรคติดต่ออุบัติใหม่เป็นส่วนสำคัญในการคาดการณ์ความเสี่ยงและแนวโน้มของการเกิดโรค
อันจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางการป้องกันควบคุมโรคได้
อย่างถูกต้องและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
โดยโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่มีความเสี่ยงสำหรับประเทศไทย อาจแบ่งได้ 3
กลุ่ม คือ
1. โรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำที่พบในประเทศไทย
ได้แก่ โรคไข้หวัดนก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคมือ เท้า ปาก โรคลีเจียนแนร์
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย โรคไข้กาฬหลังแอ่นจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่ เช่น serogroup
W-135 และสายพันธุ์อื่นๆ
ที่อาจเข้ามากับแรงงานต่างด้าว
2. โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่อาจแพร่มาจากต่างประเทศ
เช่น โรคไข้เหลือง (Yellow fever)
โรคลิชมาเนียสิส (Leishmaniasis) โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์
(Nipah viral disease) โรคไข้เวสต์ไนล์ (West nile fever) โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา-มาร์บูร์ก
(Ebola-marburg viral disease) โรคสมองฝ่อวาเรียนท์ (variant-Creutzfeldt-Jakob
disease: vCJD) ที่เกิดจากจากโรคสมองฝ่อในวัว หรือ โรควัวบ้า (Bovine Spongiform
Encephalophathy: BSE or mad cow disease) และโรคที่อาจเข้ามากับสัตว์ เช่น
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) และโรคติดเชื้อจากการใช้อาวุธชีวภาพ (Bioterrorism)
เช่น โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) ไข้ทรพิษ (Smallpox) กาฬโรค
(Plague)
3. โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น
โรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
โรคจากเชื้อดื้อยาชนิดใหม่
ที่จะต้องมีศักยภาพ ระบบ
และเครื่องมือในการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ รวมทั้งมี
การเตรียมพร้อมตอบโต้โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่มีประสิทธิภาพ
อันจะช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคม
ที่จะเกิดตามมาจากการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้