ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ข้อสอบระบาดวิทยาสำหรับนักวิชาการสาธารณสุข

1. ข้อความใดต่อไปนี้ทุกข้อเป็นความจริงเกี่ยวกับหลักระบาดวิทยา ยกเว้นข้อใด
    ก. เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการกระจายของโรคและหาความสัมพันธ์สิ่งที่เป็นสาเหตุ ของโรคในประชากร
    ข. เป็นการศึกษาถึงการกระจายของโรคและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคในชุมชน
    ค. เป็นการศึกษาการกระจายของโรคและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคในมนุษย์
    ง. เป็นการศึกษาถึงการเกิดโรคและการกระจายของโรคในแต่ละบุคคล
    จ. เป็นการศึกษาที่มุ่งหวังให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์
2. จากข้อความ “ระบาดวิทยาเป็นศาสตร์แห่งการแสวงหาปัญญา” นั้นได้กล่าวถึงความสำคัญของ ระบาดวิทยาในข้อใด
    ก. เป็นการศึกษาที่ทำให้รู้สาเหตุของการเกิดโรคและการกระจายของโรค จนสามารถกำหนดแนวทางการควบคุมป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    ข. เป็นการศึกษาที่ทำให้รู้สาเหตุของการเกิดโรคส่งผลดีต่อการรักษาโรค
    ค. ผลจากการศึกษาระบาดวิทยาใช้เป็นหลักในการปฏิบัติงานได้
    ง. เป็นเครื่องมือสำคัญของการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
    จ. ทุกแขนงวิชาเป็นศาสตร์แห่งปัญญาทั้งนั้น
3. ระบาดวิทยามีขอบเขตการศึกษาครอบคลุมด้านใดบ้าง
    ก. เฉพาะโรคติดเชื้ออย่างเดียว
    ข. โรคติดเชื้อ และโรคไร้เชื้อ
    ค. โรคไร้เชื้อ และอุบัติการณ์ต่าง ๆ
    ง. เฉพาะอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชนเท่านั้น
    จ. โรคติดเชื้อ โรคไร้เชื้อ และอุบัติการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน
4. คุณลักษณะข้อใดใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเป็นการศึกษาด้านการกระจายของโรค
    ก. พิจารณาการเกิดโรคตามการเปลี่ยนแปลงของเวลาที่เริ่มป่วย สถานที่ป่วย และ ลักษณะของบุคคลที่ป่วย
    ข. พิจารณาการเกิดโรคและลักษณะของประชากรในด้านสังคมและเศรษฐกิจ
    ค. พิจารณาการเกิดโรคตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่ทำให้เกิดโรคและสิ่งแวดล้อม
    ง. พิจารณาปฏิสัมพันธ์ของสิ่งที่ทำให้เกิดโรคกับสิ่งแวดล้อมและลักษณะบุคคล
    จ. พิจารณาปฏิสัมพันธ์สิ่งที่ทำให้เกิดโรคกับมนุษย์
5. ข้อใดอธิบายความหมายของระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ได้ดีที่สุด
    ก. เป็นการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะโรคเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อการเกิดโรค
    ข. เป็นการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกับ ผลของการเกิดโรคนั้น ๆ
    ค. เป็นการวิเคราะห์หาแนวทางไปสู่วิธีการทางระบาดวิทยาที่จะได้รับความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น
    ง. เป็นการวิเคราะห์หาอุบัติการณ์และกระจายของโรคต่าง ๆ
    จ. เป็นการวิเคราะห์หาสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรค
6. ข้อใดเป็นหลักสำคัญการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณาที่ขาดไม่ได้
    ก. การหาดัชนีอนามัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรค
    ข. การศึกษาสภาพแวดล้อมที่สัมพันธ์กับการเกิดโรค
    ค. การศึกษาหาคำตอบเกี่ยวกับอะไรทำให้เกิดโรค มักเกิดกับคนแบบใดเกิดที่ไหน และเวลาใด
    ง. การศึกษาหาคำตอบเกี่ยวกับทำไมจึงเกิดโรคขึ้นและการกระจายของโรคเกิดขึ้นได้อย่างไร
    จ. การทราบอัตราการป่วย อัตราการตาย สถานที่ และความชุกชุมของโรค
7. ข้อใดคือสิ่งสำคัญที่สุดที่ได้จากการศึกษาการระบาดของการติดสิ่งเสพติด
    ก. มีมาตรการลงโทษที่เหมะสม
    ข. มีแผนการดำเนินการจับกุมที่ชัดเจนและได้ผล
    ค. กำหนดแนวทางการป้องกันการติดสิ่งเสพติดได้อย่างครอบคลุม
    ง. ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในการลด ละ เลิกสิ่งเสพติด
    จ. กำหนดแผนพัฒนาประเทศได้อย่างสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง
8. การควบคุมและป้องกันโรค ขั้นตอนใดสำคัญที่สุด
    ก. การค้นพบโรคในระยะเริ่มแรก
    ข. การรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง
    ค. การป้องกันการแพร่กระจายของโรค
    ง. การป้องกันโรคล่วงหน้าไม่ให้เกิดโรคขึ้น
    จ. การป้องกันความพิการและการไร้สมรรถภาพ
9. ข้อความต่อไปนี้ข้อใดกล่าวถูกต้องมากที่สุด
    ก. การป้องกันโรคก่อนระยะที่โรคเกิดเป็นวิธีที่สิ้นเปลืองที่สุดแต่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
    ข. การป้องกันโรคก่อนระยะที่โรคเกิดเป็นวิธีที่ประหยัดที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด
    ค. การป้องกันโรคก่อนระยะที่โรคเกิดโดยการเพิ่มสถานบริการสุขภาพให้ทั่วถึง
    ง. การป้องกันในระยะมีโรคเกิดเป็นวิธีที่ประหยัดโดยการป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
    จ. การป้องกันในระยะมีโรคเกิดจะต้องมีวิธีการรักษาที่ดีจึงจะประหยัด
10. ข้อใดเป็นประโยชน์ของระบาดวิทยาต่อการควบคุมและป้องกันโรคมากที่สุด
    ก. จำแนกชนิดของโรคต่าง ๆ
    ข. ประเมินผลการรักษาพยาบาล
    ค. ค้นพบโรคในระยะเริ่มแรก
    ง. คาดคะเนแนวโน้มของการเกิดโรคได้
    จ. ใช้วางแผนงานการบริการสุขภาพและแผนพัฒนาประเทศ

2 ความคิดเห็น:

ลูกกุ้งจ๊าบ กล่าวว่า...

ขอเฉลยหน่อยค่ะ

ลูกกุ้งจ๊าบ กล่าวว่า...

ขอเฉลยหน่อยค่ะ

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio