ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ยาคุมกำเนิด


ยาคุมกำเนิด
อ. อรรถการ :     สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้งแล้วนะครับกับรายการ พบเภสัชกรออกอากาศทุกวันศุกร์                 เป็นประจำเวลา 9 โมงครึ่งโดยประมาณ ผมอาจารย์เภสัชกรอรรถการ นาคำ เป็นผู้ดำเนิน                              รายการครับ สำหรับวันนี้เรามีนิสิตจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรของเรามาร่วม                   พูดคุยกับเราในวันนี้ เชิญแนะนำตัวก่อนเลยครับ
ชนิตา :              สวัสดีค่ะ ดิฉัน นส. ชนิตา  วงศ์พิทักษ์ เป็นนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปี 6 มหาวิทยาลัย                                               นเรศวรค่ะ
อ. อรรถการ :       วันนี้นิสิตมีเรื่องอะไรที่น่าสนใจมาฝากท่านผู้ฟังบ้างครับ
ชนิตา :                  ค่ะ สำหรับวันนี้ก็จะนำความรู้เรื่องยาคุมกำเนิด ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวแต่ก็มักพบว่ามักมี                       การใช้ยาคุมกำเนิดแบบผิดๆ อาจเนื่องจากด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงอาจทำให้เกิดผล                                เสียตามมา เช่นการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจได้ วันนี้จึงขอนำเสนอความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้                           ยาคุมกำเนิดค่ะ
อ. อรรถการ :       ครับ ก่อนที่จะมาเข้าสู่เนื้อหา เรามาฟังเพลงกันก่อนดีกว่า แล้วค่อยกลับมาฟังรายละเอียด                      กันนะครับ
เพลง                 ...................แอบเหงา ของเสนาหอย เกียรติศักดิ์ อุดมนาค....................................
อ. อรรถการ :       ครับก็ฟังเพลงเพราะๆกันไปแล้ว เรามาเข้าสู่เนื้อหากันดีกว่า
ชนิตา :                  ค่ะ  ยาเม็ดรับประทานคุมกำเนิด ทุกท่านคงรู้จักกันมาบ้างแล้วนะค่ะ โดยบางท่านก็อาจจะ                      ต้องใช้อยู่เพื่อควบคุมและป้องกันการตั้งครรภ์หรือใช้รักษาสิวจากปัญหาฮอร์โมน หรือใช้เพื่อ                        จุดประสงค์อื่นๆ ซึ่งยาเม็ดคุมกำเนิดป้องกันการตั้งครรภ์ได้โดย
                                1. ป้องกันไม่ให้ไข่สุก และยับยั้งการตกไข่
                                2. สกัดกั้นอสุจิไม่ไห้เข้าสู่มดลูกโดยทำให้มูกบริเวณปากมดลูกเหนียวข้นขึ้น
                                3. ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูก ไม่เหมาะต่อการฝังตัวและการเจริญของตัวอ่อน ค่ะ
อ. อรรถการ :      แล้วผู้ที่จะเริ่มใช้ยาคุมกำเนิดมีข้อควรระวังในการใช้อย่างไรบ้างครับ
ชนิตา :                   ค่ะ หากต้องการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมในขณะที่มีภาวะใดภาวะหนึ่งต่อไปนี้                        ต้องใช้ยาด้วยความระมัดระวัง และปรึกษาแพทย์ร่วมด้วย ซึ่งได้แก่
                                1. สูบบุหรี่
                                2. มีภาวะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
                                3. มีน้ำหนักตัวมากเกินไป
                                4. มีภาวะความผิดปกติของลิ้นหัวใจ หรือหัวใจเต้นผิดปกติ
                                5. มีอาการอักเสบของหลอดเลือดดำ เช่น เส้นเลือดขอด
                                6. มีภาวะไมเกรน หรือโรคลมชัก
                                7. มีปัญหาความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด หรือโรคเลือดอื่นๆ
                                8. มีประวัติครอบครัว เคยมีปัญหาระดับไขมันในเลือดสูง มะเร็งเต้านม โรคหลอดเลือดอุดตัน  
                                    โรคหัวใจ
อ.อรรถการ :        ครับ แล้วถ้าหากต้องการรับประทานยาคุมกำเนิดครั้งแรกต้องทำอย่างไรบ้างครับ
ชนิตา :                   ค่ะ ถ้าไม่เคยรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดมาก่อน แนะนำให้รับประทานยาเม็ดแรกในวันแรก                    ที่มีรอบเดือน โดย เลือกเม็ดยาที่ตรงกับวันที่กำกับบนแผงยา เช่น รอบเดือนมาวันจันทร์ ก็ให้                            เริ่มรับประทานยาเม็ดแรกในแผงยาที่ตรงกับวันจันทร์ แล้วรับประทานยาเม็ด ต่อไปตาม                                              ลูกศร ในวันรุ่งขึ้นอีกวันละเม็ด
อ. อรรถการ:        ครับเราก็ได้รับทราบเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับยาคุมกำเนิดมาพอสมควรแล้ว ช่วงนี้ก็มาฟังเพลง               เพราะๆ กันก่อนนะครับ
เพลง                   ............................เกิดมาแค่รักกัน ของวง Big ass ..................................................
อ.อรรถการ:       ครับหลังจากฟังเพลงกันแล้ว เรามาเข้าสู่เนื้อหากันต่อนะครับ
                                แล้วถ้าลืมรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดจะต้องทำอย่างไรครับ
ชนิตา :                  - หากลืมทานยา1 เม็ดและยังไม่เกิน 12 ชั่วโมงให้รีบรับประทานยาทันทีที่นึกได้
                                - หากลืมรับประทานยา 1 วัน หรือเกิน 12 ชั่วโมง ไปแล้วให้รับประทานยา 2 เม็ด คือทั้งเม็ดที่
                                  ลืม และเม็ดของวันนี้ได้เลย ในเวลาเดิมที่ทานปกติ
                                ซึ่งกรณีนี้ อาจมีอาการเวียนศีรษะคลื่นไส้ได้ แต่ไม่เป็นไรเพราะร่างกายจะปรับสภาพต่อไปได้                  เอง
                                - หากลืมรับประทานยา 2 วันติดกัน  (นึกได้ในวันที่ 3 )ให้รับประทานยาวันละ 2 เม็ด เช้า-                            เย็น ติดกัน 2 วัน หลังจากนั้นทานยาต่อไปตามปกติโดยไม่หยุดยา
                                -หากลืมทานยา 3 เม็ดติดกันควรหยุดยาคุมกำเนิดแผงนั้นก่อน แล้วรอให้รอบประจำเดือนมา                     จากนั้นจึงเริ่มต้นรับประทานยาแผงใหม่ภายใน 3 วันแรกของรอบประจำเดือน
อ.อรรถการ :      ครับ แล้วอย่างที่มีการใช้ยาคุมกำเนิดบางตัวในการรักษาสิวก็แสดงว่ายาคุมกำเนิดมี                                               ประโยชน์อื่นๆ นอกจากการคุมกำเนิดด้วยใช่รึเปล่าครับ
ชนิตา :                   ค่ะ ยาคุมกำเนิดก็มีข้อดีอื่นๆ ที่เป็นผลพลอยได้ของการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด เช่น
                                1. ยาเม็ดคุมกำเนิดรุ่นใหม่ๆ สามารถป้องกันมิให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้
                                2. ลดการเกิดสิว ผิวหน้ามัน และขนดก ถ้าเลือกใช้ยากลุ่มโปรเจสโตรเจน ที่ออกฤทธิ์ต้าน 
                                ฮอร์โมนเพศชาย
                                3. ลดความผิดปกติของระดู ลดอาการปวดระดู ลดอาการเครียดช่วงมีระดู
                                4. เลื่อนประจำเดือนได้ตามต้องการ เมื่อมีภาวะจำเป็น เช่น ช่วงเดินทาง หรือมีภารกิจสำคัญ
อ.อรรถการ :      ครับ เท่าที่ได้กล่าวมาก็จะทราบถึงประโยชน์ต่างๆ ของยาคุมกำเนิด แล้วข้อเสียจากการใช้ยา                  คุมกำเนิดมีบ้างรึเปล่าครับ
ชนิตา :                   ค่ะ ผลข้างเคียง หรือข้อเสียอื่นๆ เมื่อรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด พบว่าเกิดได้ในช่วงที่                                             รับประทานยา ใน 2-3 เดือนแรก และจะค่อยๆ ลดลงเมื่อใช้ยานานขึ้น ดังนี้
                                1. เจ็บคัดเต้านม ตึงเต้านม อาจจะปวดหรือมีสารคัดหลั่งออกมา
                                2. ปวดศีรษะเป็นบางครั้ง
                                3. คลื่นไส้ อาเจียน
                                4. มีการเปลี่ยนแปลงของสารคัดหลั่งในช่องคลอด
                                5. มีปฏิกริยาทางผิวหนัง เช่น ผื่นคัน  ฝ้า
                                6. มีการคั่งของน้ำในร่างกาย
                                7. น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลง
                                8. อาจเกิดปฏิกริยาต่อยาบางชนิดที่ได้รับร่วมกัน
อ. อรรถการ:        ครับก็ได้ทราบเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับยาคุมกำเนิดดังกล่าวข้างต้น อาจเป็นแนวทางในการ
                                ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดได้ในระดับหนึ่ง การเลือกใช้แต่ละยี่ห้อ ในแต่ละประเภทต้อง                                         คำนึงถึงราคา และผลข้างเคียงที่อาจมีได้ ซึ่งแต่ละคนก็อาจแตกต่างกันไป นะครับ หาก
                            มีปัญหาหรือข้อสงสัย รวมถึงอาการข้างเคียงต่างๆจากการใช้ยาคุมกำเนิดก็แนะนำให้ไป                             ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรเพื่อพิจารณายาคุมกำเนิดที่เหมาะสมต่อไป วันนี้เวลาหมดแล้ว                                ขอลาด้วยเพลง  ...........รักคนมีเจ้าของ ของวงไอน้ำครับ..........................สวัสดีครับ
ชนิตา :                   สวัสดีค่ะ

คู่มือเตรียมสอบ ผู้ช่วยสาธารณสุข

คู่มือเตรียมสอบ ผู้ช่วยสาธารณสุข
สารบัญ
แนะนำศึกษาต่อผู้ช่วยสาธารณสุข
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
แนวข้อสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
เฉลยแนวข้อสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
แนวข้อสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
เฉลยแนวข้อสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)
แนวข้อสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)
เฉลยแนวข้อสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป ชุดที่ 1 พร้อมเฉลย
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป ชุดที่ 2
เฉลยแนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป ชุดที่ 2
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป ชุดที่ 3
เฉลยแนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป ชุดที่ 3
ความรู้ทั่วไป ในส่วนของ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
แนวข้อสอบความรู้ทั่วไป ในส่วนของ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
เฉลยแนวข้อสอบความรู้ทั่วไป ในส่วนของ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ความรู้ทั่วไป ในส่วนของภาษาไทย
แนวข้อสอบความรู้ทั่วไป ในส่วนของภาษาไทย ชุดที่ 1
เฉลยแนวข้อสอบความรู้ทั่วไป ในส่วนของภาษาไทย ชุดที่ 1
แนวข้อสอบความรู้ทั่วไป ในส่วนของภาษาไทย ชุดที่ 2
เฉลยแนวข้อสอบความรู้ทั่วไป ในส่วนของภาษาไทย ชุดที่ 2

ผู้เขียน.. อ.วินัย สยอวรรณ และ คณะ

ตำแหน่งสาสุขอำเภอ

ข่าวด่วนเรื่องตำแหน่งสาสุขอำเภอ และผู้ช่วยสาสุขระดับอำเภอ


เรื่อง ขอทราบข้อมูลผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขอำเภอและผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ
เรียน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด
สิ่งที่ส่งมาด้วย ตัวอย่างบัญชีรายละเอียดข้อมูล จำนวน 1 ฉบับ
ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขประสงค์จะขอข้อมูลของผู้ดำรงตำแหน่งในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ดังนี้
1. ตำแหน่งสาธารณสุขอำเภอ (นักวิชาการสาธารณสุข) ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ หรือระดับชำนาญการพิเศษ
2. ตำแหน่งสาธารณสุขอำเภอ (เจ้าพนักงานสาธารณสุข) ประเภททั่วไป ระดับอาวุโส
3. ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข และตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ หรือเคยปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ
สำหรับเป็นแนวทางในการ พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางในการกำหนดตำแหน่งและคัดเลือกข้าราชการเพื่อ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขอำเภอ
จึงเรียนมาเพื่อแจ้งโปรดข้อมูล เกี่ยวกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ตามรายละเอียดในบัญชีที่แนบมาพร้อมหนังสือนี้ โดยดูรายละเอียดจาก http://www.moph.go.th/index.php และ http://203.157.19.94/person/indexhome.htm แล้วส่งข้อมูลให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทาง email : bunju_moph@hotmail.com หรือทางโทรสาร 0 2590 1455-6 , 0 2590 1424 ภายในวันที่ 22 ธันวาคม 2552 พร้อมทั้งส่งสำเนาคำสั่งที่มอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยสาธารณ สุขอำเภอ และสำเนาวุฒิปริญญาตรี (ถ้ามี) ไปให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขต่อไปด้วย จะเป็นพระคุณ
ขอแสดงความนับถือ
สำนักบริหารกลาง
กลุ่มบริหารงานบุคคล
โทร. 0 2590 1456
โทรสาร 0 2590 1424

ตัวอย่างการพัฒนาระบบสุขภาพ


ตัวอย่างการพัฒนาระบบสุขภาพและเครือข่ายบริการปฐมภูมิระดับอำเภอ (บทสรุปจากการเยี่ยมโรงพยาบาลชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนพ.สุรเกียรติ อาชานุภาพ และนพ.ยงยุทธ พงษ์สุภาพ)
ท่ามกลางภาวะขาดแคลนแพทย์ พยาบาลและบุคลาการสาธารณสุข  ผู้บริหารของระบบบริการสาธารณสุขระดับอำเภอได้นำพาทีมงานพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่อง ริเริ่มโครงการใหม่ๆ (นวัตกรรม) ขยายกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงบริการและอยู่อย่างไร้ศักดิ์ศรีในชุมชน) สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายบริการสาธารณสุข (ระหว่างโรงพยาบาลกับสถานีอนามัย/ศูนย์สุขภาพชุมชน) มีการทำงานประสานกับเครือข่ายชุมชน (อสม. อปท. ผู้นำชุมชน) เพื่อสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านสุขภาพของประชาชน ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่ทำงานในสถานบริการปฐมภูมิ เพื่อให้สามารถเป็นที่พึ่ง ใกล้บ้าน -ใกล้ใจ” ของประชาชนและผู้ป่วยในชุมชนได้

ในที่นี้ขอนำเสนอตัวอย่างการพัฒนาระบบสุขภาพและเครือข่ายบริการปฐมภูมิระดับอำเภอที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

1.      การจัดตั้งคณะทำงานพัฒนาเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนโรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ สถานีอนามัย/ศูนย์สุขภาพชุมชน ทำหน้าที่วางแผน และดำเนินการพัฒนาบริการและศักยภาพบุคลากร โดยเน้นความสัมพันธ์แบบแนวราบ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่

2.      การจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (home care centre/HCC)
ในโรงพยาบาลชุมชนมีการกำหนดเกณฑ์เพื่อเลือกผู้ป่วยที่จะไปดูแลและให้บริการที่บ้าน ทั้งจากผู้ป่วยนอก (Out-patient) และผู้ป่วยใน (In-patient) ดำเนินการเยี่ยมบ้านบนพื้นฐาน          ความร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพจากโรงพยาบาล (เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์                   นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์) และเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย/ศูนย์สุขภาพชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการและผู้ป่วยจิตเวชที่มีปัญหายุ่งยากหรือเข้าไม่ถึงบริการ บางโรงพยาบาลมีการถ่ายวิดีโอทุกครั้งที่ไปเยี่ยมบ้านเพื่อดูความก้าวหน้าของผู้ป่วยและนำปัญหาไปปรึกษากับทีมงาน โดยมีแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวเป็นหัวหน้าทีม (การเยี่ยมบ้านไม่จำเป็นต้องออกไปทั้งทีมสหวิชาชีพ แต่อาจมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบหลักเป็นผู้เยี่ยม แล้วนำข้อมูล/ปัญหากลับมาพูดคุยปรึกษา/เรียนรู้ร่วมกันในทีม)
3.      การพัฒนาสถานบริการปฐมภูมิ
มีการให้บริการสุขภาพในรูปแบบของเวชศาสตร์ครอบครัว โดยพัฒนาให้มีคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวในโรงพยาบาลโดยแยกสถานที่ให้บริการออกจากห้องตรวจผู้ป่วยนอกทั่วไป หรืออาจจะพัฒนาโดยการยกระดับสถานีอนามัยให้มีรูปแบบการให้บริการแบบเวชศาสตร์ครอบครัว

4.      โครงการส่งผู้ป่วยเบาหวานกลับไปรักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน

5.      โครงการฟื้นฟูผู้พิการในชุมชน
มีการจ้างนักกายภาพบำบัดเพื่อให้บริการและดูแลผู้พิการ ส่งนักภาพบำบัดไปให้บริการในชุมชน, เปิดบริการงานฟื้นฟูในโรงพยาบาล เป็นต้น

6.      โครงการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน
ตัวอย่าง “โครงการปลดโซ่ตรวน” ของอำเภอราษีไศลเป็นโครงการที่มีการส่งทีมงานออกไปให้การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาต่อเนื่องจนสามารถปลดโซ่ที่ล่ามไว้ได้ (จากเดิมเข้าไม่ถึงบริการจนมีอาการกำเริบอย่างเรื้อรังจนต้องล่ามโซ่ไว้ไม่ให้อาละวาด) บางรายสามารถกลับมาช่วยเหลือตัวเอง ประกอบอาชีพได้ เป็นการช่วยคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับผู้ป่วยจิตเวช
นอกจากนี้บางแห่งยังมีการจัดคลินิกโดยมีแพทย์ของโรงพยาบาล และจิตแพทย์มาให้คำปรึกษาและให้บริการที่โรงพยาบาลชุมชน

7.      การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน
โดยการระดมทรัพยากร ระดมความเห็น และตัดสินใจร่วมกับชุมชน เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มีการสร้างความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.), อปท. และอสม.

8.      การให้ประชาชนทั่วไป, ผู้พิการ และผู้ป่วยจิตเวชเข้ามามีส่วนร่วมบริการในสถานบริการในลักษณะจิตอาสา

9.      การพัฒนาชุมชน
ตัวอย่างกิจกรรมพัฒนาชุมชน ได้แก่ การรวบรวมบุคคลต้นแบบเพื่อเป็นตัวอย่างใน ชุมชน, มีการให้ความรู้และสุขศึกษาในประเด็นด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยของผู้ตายในงานศพ, การรณรงค์ให้งดเหล้า งดน้ำหวานในงานพิธีต่างๆ, การทำห้องสมุดเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมการอ่านให้กับประชาชน หรือการทำโครงการจัดหาหนังสือให้มารดานำไปอ่านให้ลูกฟังตั้งแต่อายุ 6 ขวบของรพ.ด่านซ้าย (โครงการ “Book start”)

10.  การช่วยเหลือกันเองภายในชุมชน
โรงพยาบาลช่วยประสานงานกับเครือข่ายในชุมชน เช่น อสม., อบต. เพื่อให้มีการบริจาค หรือมีกิจกรรมต่างๆช่วยเหลือผู้ป่วยที่ทุกข์ยากในชุมชน เช่น ผู้พิการ เด็กถูกทอดทิ้ง

11.  การเชื่อมกับเครือข่ายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อร่วมให้บริการที่โรงพยาบาลชุมชนอย่างสม่ำเสมอ

ความหมายของระบบบริการปฐมภูมิ


1.      ความหมายของระบบบริการปฐมภูมิ (Primary Care)
ในที่นี้ขอสรุปความหมายของ Primary Care ว่าเป็นความหมายที่รวมทั้ง Primary Medical และ Primary Health Care  ดังนั้น Primary Care จึงหมายถึง การให้บริการสาธารณสุขด่านแรกที่เน้นการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน จนเป็นสื่อในการนำความรู้และนำบริการสุขภาพที่มีคุณภาพไปสู่ประชาชน
Primary Care จึงมีองค์ประกอบที่สำคัญอย่างน้อย 3 ประการ  คือ
(1)   ความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน (Community relationship) เป็นการบ่งบอกว่า การดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิไม่ใช่การดูแลเฉพาะโรคแต่ต้องดูแลบุคคล ครอบครัว และชุมชน  มีความรู้จักและเข้าใจกันระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้เกิดการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพ
(2)   สร้างความรู้ให้กับประชาชน (Empowerment) การบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิมุ่งหวังให้ประชาชนพึ่งตนเอง และสามารถดูแลตนเองไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค
(3)   บริการที่มีคุณภาพ (Quality of Care) บริการที่มีคุณภาพมี 2 มิติ คือ ด้านวิชาการทางการแพทย์ คือ รักษาถูกโรค ถูกคน ถูกเวลา ทำให้ผู้ป่วยหายป่วยจากโรค  อีกมิติ คือ มิติทางสังคม  ซึ่งหมายถึงองค์ประกอบหลัก 3 ประการ คือ
1)      Continuity  ความต่อเนื่องของการให้บริการ  ทั้งขณะป่วยและขณะปกติ      ดูแลตลอดชีวิตประชาชน
2)      Integrated ผสมผสานเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว หมายถึง การบริการที่มีการผสมผสานทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และ         การฟื้นฟูสภาพ 
3)      Holistic องค์รวม คือ ดูแลคนทั้งคน ไม่ใช่เฉพาะโรค มีการนำมิติทางกาย จิต สังคม สิ่งแวดล้อมมาเชื่อมโยงการดูแล
จากความหมาย และองค์ประกอบของ Primary Care ดังกล่าวข้างต้น  ศาสตร์ที่น่าจะนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยหรือประชาชนในระบบริการปฐมภูมิ คือ ศาสตร์ของเวชศาสตร์ครอบครัว
2.      หลักการของเวชศาสตร์ครอบครัว (Family Medicine)
สำนักตรวจราชการเขต 3 ได้ให้หลักการของเวชศาสตร์ครอบครัวไว้สั้นๆว่า รู้จักและเข้าใจกัน สร้างสรรค์สุขภาพชุมชน เพิ่มผลคุณภาพการรักษา  นั้นหมายความว่า                    ผู้ให้บริการตามหลักการของเวชศาสตร์ครอบครัวจะต้องรู้จักและเข้าใจประชาชนในเขตรับผิดชอบ รู้จักครอบครัว  รู้จักชุมชนเป็นอย่างดี ไม่ใช่มารู้จักเฉพาะในห้องตรวจโรค                การให้บริการในลักษณะนี้จะทำให้ความสัมพันธ์ของผู้ให้กับผู้รับบริการเสมือนญาติมิตร ย่อมทำให้เกิดความอบอุ่นทางด้านจิตใจของประชาชนเป็นอย่างมาก
สร้างสรรค์สุขภาพชุมชน  เป็นนัยบอกว่า การดูแลสุขภาพของคนและครอบครัวนั้น ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน การป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพจะทำได้ดีจะต้องมองภาพทั้งชุมชนด้วย
เพิ่มผลคุณภาพการรักษา เมื่อทำองค์ประกอบ 2 อย่างแรกได้ดี ย่อมส่งผลให้การรักษาของผู้ป่วยได้รับผลดี คือ หายป่วยหรือไม่มีภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งไม่เกิดการป่วยซ้ำซ้อน
การเข้าใจหลักการของเวชศาสตร์ครอบครัว ย่อมส่งผลต่อรูปแบบของการให้บริการเปรียบเสมือนคำพูดที่ว่า ทฤษฎีชี้นำการปฏิบัติ  ผู้ที่อยู่ในวงการแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว          ได้เสนอหลักการเพื่อให้ผู้ให้บริการยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ 10 ข้อ (10 Core Principle) ดังนี้     
(1)   การให้บริการเวชศาสตร์ครอบครัวเป็นพันธะผูกพันระหว่างผู้ให้บริการกับบุคคลมากกว่ากับโรคหรือเทคโนโลยี (Person –centeredness)
(2)   ต้องมีความเข้าใจบริบทของความเจ็บป่วย
(3)   การให้บริการทุกครั้งถือเป็นโอกาสของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับผู้ป่วย
(4)   ต้องคำนึงถึงประชาชนรอบข้างผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเสมอ
(5)   มองประชาชนเป็นเครือข่ายในการดูแลสุขภาพของตนเองจะได้เข้าใจบริบทของชุมชน
(6)   ผู้ให้บริการควรอยู่ในชุมชนที่รับผิดชอบ
(7)   ดูแลผู้ป่วยทั้งในสถานบริการ  และนอกสถานบริการ ได้แก่ ที่บ้าน และในชุมชน
(8)   คำนึงถึงความรู้สึกของประชาชนต่อความเจ็บป่วย
(9)   เป็นผู้จัดการทรัพยากรสาธารณสุขและนักประสานงาน
(10)     บุคลากรเวชศาสตร์ครอบครัวต้องใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต
หลักการ 10 ข้อนี้ไม่แตกต่างจากหลักการที่ทางสำนักตรวจราชการสาธารณสุขเขต 3 กำหนดไว้ เพียงแต่แตกประเด็นให้เป็นข้อย่อยมากขึ้น
ขอบเขตของการให้บริการแบบเวชศาสตร์ครอบครัวจะต้องครอบคลุมทั้งเชิงรับและเชิงรุก ซึ่งจะเกิดขึ้นได้  ผู้ให้บริการจะต้องคำนึงถึงรูปแบบการให้บริการที่ประกอบด้วย การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า (Acute)   การเข้าใจภูมิหลังของผู้รับบริการ (Psychosocial) การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (Promotion & Prevention) และความต่อเนื่อง (Continuity)

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio