ขับเคลื่อนโดย Blogger.

บทเรียนสำหรับนักวิชาการสาธารณสุขไทย

สวัสดีครับ...เพื่อนๆๆนักวิชาการสาธารณสุขทุกท่าน
จำได้ไหมครับ...สมัยที่เรายังเป็น...ว่าที่นักวิชาการสาธารณสุข
วันที่กำลังจบการศึกษา...จำความรู้สึกตอนนั้นได้ไหมครับ

เชื่อว่าเพื่อนๆนักวิชาการสาธารณสุขหลายคน...จำไม่ได้
แต่ผมจำได้ครับ...ผมจะเล่าความรู้สึกสมัยผมเป็น...ว่าที่นักวิชาการสาธารณสุขให้ฟังครับ

จากวันนั้นถึงวันนี้
จากวันที่ผมเป็นว่าที่นักวิชาการสาธารณสุข...จนถึงวันนี้...วันที่ผมได้ชื่อว่า...นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

เหตุการณ์วันที่ผมใกล้สำเร็จการศึกษา...ผมตื่นเต้น...ผมไม่รู้ว่างานที่เจอจะเป็นแบบไหน
ผมจะได้อยู่สถานณีอนามัย....หรือโรงพยาบาล...หรือสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
ผมต้องทำคลอดหรือไม่...ต้องเจ็บผู้ป่วยหนักจะส่งต่อ...หรือรักษา...ถ้ารักษา...รักษายังไง

ผมต้องเตรียมตัวอย่างไร...อ่านหนังสือเริ่มไหน...บอกว่าให้อ่านหมดที่เรียนมา...กูอ่านไม่ไหว

วันนี้ได้ไปเจอบทความ...ชื่อบทความ...ปัญหาสาธารณสุขของจังหวัดระนอง
เป็นบทความที่มีประโยชน์มากครับ...อ่านแล้วเห็นภาพรวม...เนื้อหาไม่มาก
ตัวบทความสามารถบอก..บทบาทหน้าที่...มาตรฐตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขได้พอสมครับ

ผมจึงก๊อบปี้มาให้อ่านครับ...ถ้าอยากดูต้นฉบับก็ไปที่..เวบไซต์สำนักงานสาธารณสุขเขต 7 ครับ ...เชิญรับชมบทความที่ถือว่าเป็นสุดยอดคำภีร์ของนักวิชาการสาธารณสุขได้เลยครับ

ปัญหาสาธารณสุขของจังหวัดระนอง
สถานการณ์ด้านสุขภาพที่เป็นปัญหาของจังหวัดระนอง ยังคงมีทั้งปัญหาด้านโรคติดต่อ เนื่องจากจังหวัดระนองเป็นจังหวัดชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านคือ สหภาพเมียนมาร์ ซึ่งมีประชากรจากประเทศดังกล่าวอพยพเข้ามาประกอบอาชีพในจังหวัดระนองอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดผลกระทบส่วนหนึ่งที่ตามมาก็คือ ปัญหาด้านสุขภาพต่อประชาชนในพื้นที่ด้วยการนำโรคติดต่อเข้ามาแพร่ระบาดสู่คนไทย เช่น โรคอหิวาตกโรค โรคไข้มาลาเรีย โรคเอดส์ ประกอบกับยังคงมีการระบาดของโรคติดต่อบางโรคที่เป็นโรคติดต่อประจำถิ่นของจังหวัดระนอง เช่น โรคไข้เลือดออก หรือโรคที่เป็นผลสืบเนื่องจากโรคอื่นๆ เช่น วัณโรค นอกจากนี้ ปัญหาด้านโรคติดต่อ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง และภัยสุขภาพอื่นๆ เช่น อุบัติเหตุจราจรทางบก หรือปัญหาสุขภาพจิตที่ส่งผลให้เกิดปัญหาการฆ่าตัวตายก็เริ่มมีความสำคัญต่อจังหวัดระนองมากขึ้น ซึ่งผลการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสาธารณสุขของจังหวัดระนอง สามารถสรุปได้ดังนี้

1. โรคไข้มาลาเรีย สถานการณ์ ปี พ.ศ.2551 ตั้งแต่มกราคม 2551 ถึง ตุลาคม 2551 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคมาลาเรีย จำนวนทั้งสิ้น 965 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 6.13 ต่อประชากรพันคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 0.64 อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ 0.11 และมีอัตราป่วยลดลงร้อยละ 22.01 ของค่า Median ย้อนหลัง 5 ปี (ปี2545-2549) กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 35 - 44 ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 15 - 24 ปี,25 - 34 ปี,45 - 54 ปี, 10 - 14 ปี, 55 - 64 ปี, 65 ปี ขึ้นไป, 5 - 9 ปี และ 0 - 4 ปี อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือเกษตร รองลงมาคือ อาชีพนักเรียน, อาชีพรับจ้าง,

2. โรคอหิวาตกโรค สถานการณ์ ตั้งแต่มกราคม 2551 ถึง ตุลาคม 2551ได้รับรายงานผู้ป่วยโรค จำนวนทั้งสิ้น 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2.21 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 55 - 64 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 2 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 35 - 44 ปี,65 ปี ขึ้นไป,45 - 54 ปี,25 - 34 ปี, 15 - 24 ปี, 10 - 14 ปี,5 - 9 ปี และ 0 - 4 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 2,0,0,0,0, 0 และ 0 ราย ตามลำดับ พบผู้ป่วยเพศชายเท่ากับเพศหญิง โดยพบเพศชาย 2 ราย เพศหญิง 2 ราย อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ 1 : 1

สถานการณ์โรคอหิวาตกโรคในชาวต่างชาติ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง ตุลาคม 2551 สสจ.ระนอง ได้รับรายงานผู้ป่วย จำนวนทั้งสิ้น 2 ราย และข้ามแดนมาเพื่อการรักษา จำนวน 3 ราย ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 5-9 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 3 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 25-34 ปี และ 35 - 44 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 1 และ 1 ราย ตามลำดับ (ที่พบในพื้นที่อายุ 5 ปี และ 39 ปี) พบผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยพบเพศหญิง 3 ราย เพศชาย 2 ราย อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ 1.5 : 1 อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือในปกครอง จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 3 ราย รองลงมาคือ อาชีพรับจ้างและประมง จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 1 และ 1 ราย พบผู้ป่วยเดือนกันยายน จำนวนผู้ป่วย เท่ากับ 2 ราย และเดือนตุลาคม จำนวนผู้ป่วย เท่ากับ 3 ราย พบผู้ป่วยเฉพาะอำเภอเมือง จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 2 ราย(ตำบลบางริ้นและปากน้ำ) ส่วนอำเภออื่นๆ ไม่พบผู้ป่วย

3. อุบัติเหตุจราจรทางบก อัตราตายจากอุบัติเหตุจราจร ปี 2551 (มกราคม – กันยายน 2551) เท่ากับ 21.59 ต่อประชากรแสนคน ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 2,703 ราย ได้รับการช่วยเหลือนำส่งโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจำนวน 736 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.23

4. วัณโรค สถานการณ์ จากสถานการณ์วัณโรคในพื้นที่จังหวัดระนอง ปีงบประมาณ 2551 พบผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภท ชาวไทย จำนวน 196 ราย ( TB/HIV+ จำนวน 33 ราย) แยกเป็นผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เสมหะบวก จำนวน 93 ราย ( TB/HIV+ จำนวน 18 ราย) ผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภทชาวต่างด้าว จำนวน 109 ราย ( TB/HIV+ จำนวน 24 ราย) แยกเป็นวัณโรครายใหม่เสมหะบวก จำนวน 74 ราย (TB/HIV + 15 ราย)การประเมินผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ชาวไทย เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 2551 ผู้ป่วยวัณโรค รายใหม่เสมหะบวก (ขึ้นทะเบียน Dots ในปีงบประมาณ 2550) นำมาประเมิน จำนวน 118 ราย ผลการรักษาหายขาด (Cure) จำนวน 92 ราย คิดเป็นร้อยละ 77.97 รักษาครบ (Complete) จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.25 ล้มเหลว (Failure) จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.54 ตายระหว่างการรักษา (Died) จำนวน 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.86 ขาดการรักษา (Default) จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.54 และโอนออก จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.84 สรุปผลอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค (Success Rate) เท่ากับร้อยละ 82.20 การประเมินผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ชาวต่างด้าว เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 2551 ผู้ป่วยวัณโรค รายใหม่เสมหะบวก (ขึ้นทะเบียน Dots ในปีงบประมาณ 2550) นำมาประเมิน จำนวน 64 ราย ผลการรักษาหายขาด (Cure) จำนวน 45 ราย คิดเป็นร้อยละ 70.31 รักษาครบ (Complete) จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.12 ล้มเหลว (Failure) จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.81 ตายระหว่างการรักษา (Died) จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.50 ขาดการรักษา (Default) จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.50 และโอนออก จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.68 สรุปผลอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค (Success Rate) เท่ากับร้อยละ 73.44

5. โรคไข้เลือดออก สถานการณ์ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 ถึงตุลาคม 2551 พบผู้ป่วย จำนวนทั้งสิ้น 92 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 50.93 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต และมีอัตราป่วยลดลงร้อยละ 39.87 ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ.2545-2549) พบมากในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม โดยมีแนวโน้มที่ลดลงในช่วงปลายปี กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 - 14 ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 15 - 24 ปี ซึ่งเป็นเด็กกลุ่มวัยเรียน อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคืออำเภอ เมือง อัตราป่วยเท่ากับ 77.39 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ อำเภอกะเปอร์, อำเภอกระบุรี, อำเภอละอุ่น, อำเภอสุขสำราญอัตราป่วยเท่ากับ 41.01 , 26.62 , 7.80 , 0 ตามลำดับ

6. โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมสถานการณ์ โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรีไทย ซึ่งทั้ง 2 โรค สามารถรักษาให้หายได้ถ้าได้รับการตรวจวินิจฉัยในเบื้องต้นได้เร็ว และพบว่าถ้าสามารถให้การตรวจค้นครอบคลุมประชากรได้มากเท่าไร จะช่วยลดอัตราตายได้มากขึ้น สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมของจังหวัดระนอง ตั้งแต่ปี 2548 – 2550 พบว่า อัตราตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก เป็น2.82, 3.35 และ 1.66 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ ส่วนอัตราตายด้วยโรคมะเร็งเต้านม เป็น 3.39,4.47 และ 2.77 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับผลการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ 2551 เป้าหมายการดำเนินงานของโรคมะเร็งปากมดลูก คือ ร้อยละ 60 ของสตรีตามกลุ่มอายุ 35,40,45,50,55 และ 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Pap Smear จากการที่สถานบริการทุกแห่งให้ความสำคัญ มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ โดยการส่งไปรษณียบัตร ไปถึงสตรีกลุ่มเป้าหมาย และออกหน่วยให้บริการเชิงรุกในพื้นที่มากขึ้น ทำให้การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Pap Smear ของจังหวัดระนอง ได้ผลงาน ร้อยละ 72.24 ( เป้าหมาย 4,482 คนผลงาน 3,238 คน) ซึ่งเกินเป้าหมายที่วางไว้ และจากการคัดกรอง พบเซลล์ที่ผิดปกติ ร้อยละ 5.16 (167 คนจาก 3,238 คน) ซึ่งได้แนะนำส่งต่อในรายที่ผิดปกติครอบคลุม ร้อยละ 100 ส่วนเป้าหมายการดำเนินงานของมะเร็งเต้านม คือ ร้อยละ 75 ของสตรีอายุ 35 ปีขึ้นไป ผ่านการประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ ในปีงบประมาณ 2551 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง ได้จัดซื้อหุ่นเต้านม ให้สถานบริการครอบคลุมทุกแห่ง เพื่อเป็นสื่อในการอบรมให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย ผลการดำเนินงาน สตรีอายุ 35 ปีขึ้นไปผ่านการประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 90.79 (เป้าหมาย 27,817 คน ผลงาน 25,257 คน)

7. โรคเอดส์สถานการณ์ ข้อมูลปีงบประมาณ 2551 ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 อัตราการถ่ายทอดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูกคิดเป็นร้อยละ 0.4 หญิงคลอดที่ติดเชื้อ HIV ได้รับการรับต้านไวรัสคิดเป็นร้อยละ 100 และเด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี ได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีอายุ 18-24 เดือน คิดเป็นร้อยละ 91.30 ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ และผู้ป่วยเอดส์ที่มีข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ สิทธิ์หลักประกันสุขภาพมารับบริการที่โรงพยาบาล จำนวน 591ราย ได้รับยาต้านไวรัส จำนวน 591 ราย คิดเป็นร้อยละ 100

8. การฆ่าตัวตาย สถานการณ์: ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2550 – 30 กันยายน 2551 มีผู้เสียชีวิตจากการทำร้ายตนเอง 19 ราย คิดเป็นอัตรา 10.52 ต่อประชากรแสนคน และมีผู้พยายามฆ่าตัวตายจำนวน 75 ราย คิดเป็นอัตรา 41.52 ต่อประชากรแสนคน ผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จเมื่อพิจารณาตามพื้นที่ พบว่า 3 อำเภอ ที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อน คือ อำเภอเมือง 9 ราย อัตรา 9.81 ต่อประชากรแสนคน อำเภอกระบุรี 6 ราย อัตรา13.31 ต่อประชากรแสนคน อำเภอละอุ่น 2 ราย อัตรา 15.60 ต่อประชากรแสนคน และ มี 1 อำเภอที่มีการฆ่าตัวตายสำเร็จลดลง คือ อำเภอกะเปอร์ 2 ราย อัตรา 10.25 ต่อประชากรแสนคน สำหรับอำเภอสุขสำราญไม่มีการฆ่าตัวตายสำเร็จ ผู้พยายามทำร้ายตนเอง พิจารณาตามพื้นที่พบว่า อำเภอละอุ่น 62.40 ต่อประชากรแสนคน อำเภอกระบุรี 44.37 ต่อประชากรแสนคน อำเภอเมือง 42.51 ต่อประชากรแสนคน อำเภอกะเปอร์ 35.88 ต่อประชากรแสนคน อำเภอสุขสำราญ 8.69 ต่อประชากรแสนคน

9. โรคหัวใจและหลอดเลือดสถานการณ์ ปี 2550 เมื่อเทียบกับปี 2549 พบว่าอัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวานมีแนวโน้มลดลง ส่วนโรคความดันโลหิตสูง อัตราตายเพิ่มขึ้น อัตราป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน เพิ่มขึ้น ปัจจัยเสี่ยงที่พบ ภาวะน้ำหนักเกิน ไขมันในเลือดสูง และสูบบุหรี่ นิยมอาหารรสเข้มข้น รสจัด เติมน้ำปลา/ซีอิ้วผลการดำเนินงาน ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองในเบาหวาน ร้อยละ 84.6 ความดันโลหิตร้อยละ 86.2 จากการประเมินผลระดับความสำเร็จในการป้องกันและควบคุมโรคหลอดเลือดสมอง ได้ร้อยละ 86 (เกณฑ์ ร้อยละ 80 ขึ้นไป) มีการอบรมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานฯ ทุกสถานบริการ สนับสนุนวิทยากรแก่หน่วยงานอื่นๆ อาทิ ตำรวจน้ำ ให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน ร่วมในโครงการเมืองน่าอยู่ ทุกอำเภอ และบูรณาการการคัดกรองเบาหวานในเด็กร่วมกับงานอนามัยโรงเรียน ผลิตสื่อสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ สำหรับสถานบริการทุกแห่ง และเผยแพร่ในชุมชน สนับสนุนแบบคัดกรองเบาหวาน อัมพฤกษ์-อัมพาต แบบสำรวจการบริโภคเกลือ

คลิปนักวิชาการสาธารณสุขต้องดู

คลิปวีดีโอเกี่ยวการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข...ของสุดยอดนักวิชาการสาธารณสุข
เป็นการแก้ไขเชิงนโยบาย...แก้ไขปัญหาการเข้าถึงสถานบริการสาธารณสุข
ในฐานะของนักวิชาการสาธารณสุข...ผมมองว่านโยบายนี้ดี...เห็นผลชัดเจน
นโยบายนี้แก้ปัญหาด้านการเข้าถึงสถานบริการสาธารณสุขได้รวดเร็ว

เล่าปี่แห่งวงการสาธารณสุข

นักวิชาการสาธารณสุข...ผู้ชำนาญการ...เก๋าประสบการณ์
เคยบอกผมว่า.."ยังไม่อ่านสามก๊ก อย่าริคิดการใหญ่"
แสดงว่าสามก๊กต้องมีอะไรดีๆซ่อนอยู่...แต่เราจะหาเจอหรือไม่เท่านั้น
เมื่อพูดถึงสามก๊ก...เราก็ต้องกล่าวถึง...เล่าปี่ครับ
เล่าปี่เป็นเจ้าก๊ก...ที่ชื่อว่า..จ๊กก๊ก
เล่าปี่มีเชื่อสายจากราชวงศ์ฮั่น...แต่ตกทุกข์ได้ยาก...ต้องท่อเสื่อขาย
แต่ด้วยความสามารถในการสื่อสาร...การโน้มใจคน...การจูงใจคน
เล่าปี่จึงสามารถ...รวบรวมคนเก่งด้านต่างๆๆมาร่วมหอลงโรง
ตัวอย่างเช่น...ชีชี...ขงเบ้ง..เก่งด้านบริหารจัดการ..เก่งด้านยุทธศาสตร์
กวนอู...เตียวหุย...จูล่ง...เก่งเรื่องการรบ...การศึก...การสงคราม

เล่าปี่เก่งมากในการสื่อสาร...หาผู้ร่วมลงทุน..จากเด็กทอเสื่อ...สู่เจ้าของอาณาจักรเก่งมากจนได้รับสมญานามว่า..."ผู้พนมมือให้แก่ทุกชนชั้น"
เล่าปี่มีวิธีการใดในการซักจูงผุ้ที่เก่งกว่ามาทำงานให้?
วิธีการซักชวนซีซี..เล่าปี่เจอซีซีที่ตลาดซีซีแกล้งเป็นคนบ้า...เสียสติ...ร้องเพลงเสียดัง...ไม่เป็นทำนองไม่ถูกคีย์แต่มีท่อนหนึ่งครับ...ที่ทำให้เล่าปี่หยุดชะงักท่อนที่ว่าคือ "คนมีปัญญาไว...คอยดูว่าใครจะเป็นหัวหน้า"เล่าปี่ได้ยินถึงกับหยุดแล้วลงไปคาราวะ...ซีซีพูดด้วยแบบคนบ้าคุยคุยเสียงดัง..โวยวาย...คนมองทั้งตลาด...แต่เล่าปี่ใช้ความอดทน...มึงไม่อายกูก็ไม่อาย...เชื่อมั่นว่าซีซีเป็นผู้ที่เก่งจริง...ในที่สุดซีซี...ยอมทำงานรับใช้แบบถวายหัว
ความสำเร็จของการเชื่อเชิญซีซีของเล่าปี่
คือ...ความอ่อนน้อมถ่อมตนและความอดทน...ทนต้องสายตาคนทั้งตลาด

ประวัติพระมหาพุทธพิมพ์

พระมหาพุทธพิมพ์ หรือ "หลวงพ่อโต" แห่งวัดไชโยนี้ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียง ให้ความเลื่อมใสศรัทธามาก พระมหาพุทธพิมพ์ ประดิษฐานในวิหารวัดไชโยวรวิหาร ต.ไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทองมีพุทธลักษณะ เป็นศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตัก ๘ วา ๗ นิ้ว ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ด้วยเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม

สมเด็จพระพุฒาจารย์หรือที่เรียกกันติดปากว่าสมเด็จโตนั้น สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่โตสมนามของท่านมาก่อนนี้แล้วสององค์ คือ พระนอนที่วัดสะตือ จ.พระนครศรีอยุธยา และพระยืนที่วัดอินทรวิหาร เขตบางขุนพรหมเมื่อมาสร้างหลวงพ่อโตที่วัดไชโยนี้ แรกทีเดียวท่านสร้างเป็นพระนั่งขนาดใหญ่มาก ก่อด้วยอิฐและดินแต่ไม่นานก็ทลายลง ท่านจึงสร้างขึ้นอีกครั้ง ครั้งนี้ ใช้วิธีเดิมแต่ลดขนาดให้เล็กลงก็สำเร็จเป็นพระปางสมาธิองค์ใหญ่ถือปูนขาว ไม่ปิดทอง

ปรากฏในพระราชหัตถเลขาพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "...พระใหญ่ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างนี้ รูปร่างหน้าตาไม่งามเลย...ดูที่หน้าวัด ปากเหมือนท่านขรัวโตไม่มีผิด ถือปูนขาวไม่ได้ปิดทอง ทำนองท่านไม่คิดจะปิดทอง จึงได้เจาะท่อน้ำไว้ที่พระหัตถ์..."ต่อมา เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร) สมุหนายก มีศรัทธาสร้างพระอุโบสถและพระวิหารวัดไชโย แต่เมื่อกระทุ้งรากพระวิหาร แรงสั่นสะเทือนทำให้องค์พระพังทลายลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ นายช่างฝีมือเยี่ยมสมัยนั้นมาช่วยเมื่อพิจารณาแล้วทรงให้รื้อองค์พระ ออกทั้งองค์แล้ววางรากฐานใหม่ ใช้วิธีวางโครงเหล็กยึดไว้ภายในแล้วก่อขึ้นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิซ้อนพระหัตถ์ ตามลักษณะที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ทำไว้เดิม เมื่อแล้วเสร็จได้รับพระราชทานนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ซึ่งคือ หลวงพ่อโต วัดไชโยองค์ที่ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต เป็นที่ประจักษ์กันดีในหมู่ชาวเมืองอ่างทองที่เคารพนับถือ กล่าวกันว่า ผู้ที่ก่อกรรมทำชั่วไว้มาก จะไม่สามารถเข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อโตได้ เนื่องจากเมื่อเข้าใกล้องค์พระ จะเห็นว่าหลวงพ่อโต กำลังจะล้มลงมาทับ

ตั้งแต่ระยะแรกของการปฏิสังขรณ์ พร้อมกับพระราชทานนามพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีมหกรรมเฉลิมฉลองพระอารามวัดไชโยเป็นงานใหญ่ ๓ วัน ๓ คืน เมื่อวันที่ ๕–๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๘ พระราชทานของช่วยงาน ได้แก่ ละคร ๑ โรง หนัง ๑ โรง ดอกไม้เพลิง ๑ ต้น กัลปพฤกษ์ ๒ ต้น ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้เริ่มปิดทององค์พระมหาพุทธพิมพ์ โดยดำเนินการภายใต้การควบคุมดูแลของกรมศิลปากรวัดไชโยวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๓ ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง รหัสไปรษณีย์ ๑๔๑๔๐

นักวิชาการสาธารณสุขหลับไม่ลง

มีนักวิชาการสาธารณสุขท่านใดเจอปัญหาสาธารณสุขเหมือนผมบ้างไหมครับ
ปัญหาของนักวิชาการสาธารณสุขคือ...นอนไม่หลับ...ถ้าไม่ได้กลับพร้อมเธอ
เรื่องมันมีอยู่ว่านักวิชาการสาธารณสุขรูปหล่อ...ได้ออกไปตรวจสถานบริการ...กับนักวิชาการสาธารณสุขสาวสวย...แต่มีแฟนแล้ว....และขากลับนักวิชาการสาธารณสุขหนุ่มต้องกลับคนเดียว

พอนักวิชาการสาธารณสุขกลับถึงที่พัก ก็เกิดอาการนอนไม่หลับ กว่าจะหลับได้ต้องใช้เวลานานถึง 30 นาที และหลับได้ไม่นานก็ตื่น หลังตื่นนอนก็ไม่สดชื่น คิดกังวลถึงสาวนักวิชาการสาธารณสุขคนนั้น

เมื่อนักวิชาการสาธารณสุขเจอปัญหาสุขภาพ...นักวิชาการสาธารณสุขจะแก้อย่างไร
จากการศึกษา ร่ำเรียน จากคณะสาธารณสุข อย่างหนักหน่วงก็พอสรุปข้อมูลเกี่ยวกับการนอนไม่หลับได้ดังนี้ครับ

คนนอนไม่หลับจะมีอาการดังนี้ครับ
1.นอนหลับยาก ต้องใช้เวลาเกิน 30 นาที
2.ตื่นเร็วทำให้ไม่สดชื่น

การนอนไม่หลับ...ทางการแพทย์ไม่ถึงว่าเป็นโรค...แต่เป็นเพียงอาการที่เกิดจากสาเหตุดังนี้
1.ความเครียด ความกังวล อกหัก(อันนี้คิดเอง)
2.เกิดจากยาบางชนิด...ตัวอย่างเช่น ยาแก้แพ้(ทำง่วง นอนกลางวัน กลางคืนนอนไม่หลับ)
3.เกิดจากโรคบางอย่าง ตัวอย่างเช่น.. Narcolepsy... Sleep Apnea

เมื่ออยากเจอหน้าแพทย์

เมื่ออยากเจอหน้าแพทย์ก็ไปที่คลินิกของแพทย์ท่านนั้นครับ...แต่ถ้าอยากเจอหน้าพยาบาลด้วยให้ไปที่โรงพยาบาลครับ...เจอแล้วต้องขอเบอร์โทรนัดเลี้ยงข้าว...แต่ก่อนไปต้องเตรียมคำตอบเหล่านี้ครับ

1.เตรียมเล่าถึงอาการนอนไม่หลับว่าเป็นอย่างไร...หลับยากหรือตื่นบ่อย...ตื่นเพราะอะไร..มีโรคประจำตัวไหม...ใช้ยา...ใช้กัญชาหรือเปล่า...ถ้าใช้กัญชา...ทำไมถึงใช้...ควบคุมมันได้ไหม

2.มีเรื่องเครียด..กังวลไรหรือเปล่า...ห่วงสมบัติ...ไม่รู้จะเอาบ้านให้เมียน้อยคนไหนไรงี้..ก็อธิบายกันไป

3.สามารถทำงานตอนกลางวันได้หรือไม่อารมณ์แกว่งหรือไม่

ผลเสียจากการนอนไม่หลับ...ไม่เกี่ยวกับอาการนอนผิดที่...นอนผิดบ้านนะครับ
1.ใครนอนไม่หลับจะมีอัตราการเกิดโรคซึมเศร้า 4 เท่า
2.ถ้านอนไม่หลับจากความเครียด...อาจเป็นโรคหัวใจได้
3.ถ้ากลางคืนนอนไม่หลับ...แต่หลับตอนขับรถ...ก็คิดเองว่าจะเกิดอะไรขึ้น

การรักษา
การรักษาอาการนอนไม่หลับง่ายมากครับ...โคตรง่ายเลย
ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่าสาเหตุของการนอนไม่หลับเพราะอะไร...ถ้าเพราะเครียดก็เลิกเครียดชะ
เห็นไหมครับง่ายไหมครับ...โคตรง่ายเลย...จริงไหมครับ
ถามว่าทำไงให้หายเครียด...กินเหล้าครับ...เวลาเมาเราจะลืมเรื่องเครียด...เพราะสมองไม่ทำงาน
รับรองหายจากอาการนอนไม่หลับ...แต่เป็นตับแข็งตายครับ

วิธีทำให้หายเครียด...ที่ดี..ง่าย...ปลอดภัย...
1.ไปศึกษาธรรมมะ..แล้วจะหายเครียด...แล้วจะนอนหลับครับ
2.ถ้าเข้าวัดไม่ได้...เข้าวัดแล้วร้อน...ก็ไปออกกำลังกาย...เดิน...วิ่ง..ปั่นจักรยาน...เอาให้เหนื่อยสุดๆๆ
รับรองหายเครียดครับ..เพราะเหนื่อยมากสมองลืมคิดเรื่องเครียด
3.ถ้าออกกำลังไม่ได้ผลอีก...ใช้ยาครับ...แต่ต้องใช้ขนาดน้อยๆๆ...ใช้ระยะสั้นๆๆ..แต่หากต้องใช้ยายาวก็ต้องหยุดเป็นช่วงๆๆ

กูอยากบอกมึง!



"คิดก่อนที่มึงจะกิน!"...เป็นคำพูดที่ผมในฐานะนักวิชาการสาธารณสุข...อยากจะบอกกับน้องๆของผม...ด้วยครอบครัวผมดั้งเดิมเป็นชาวนา

มีเพียงไม่กี่คนที่หลงทางมาเป็นนักวิชาการสาธารณสุข



ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานที่อำเภออื่น...จังหวัดอื่น...ดูแลด้านสาธารณสุขในพื้นที่อื่น

พื้นที่ที่ไม่มีญาติพี่น้องอาศัยอยู่..ดังนั้นก็ได้แต่นำความรู้ทางด้านสาธารณสุข...เช่น...เรื่องยา...เรื่องอาหาร...เรื่องการป้องกันโรค...บอกคนอื่น

...ไม่ได้บอกญาติพี่น้องตัวเอง




และเป็นที่รู้กันว่าเรื่องยาเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข...ที่พบมากในชาวนา...เกษตรกร...จากประสบการณ์ทำงานอันหนักหน่วงด้านสาธารณสุข...ทุกพื้นที่ไม่ว่าจะเหนือ...กลาง...อิสาน...(ใต้ไม่เคยไป)




ชาวนา..เกษตรกร...ชาวไร่...นิยมกินยานอนหลับ..ยาชุด...สาเหตุที่ต้องกิน

เพราะเครียด..เหนื่อย...ทำให้นอนไม่หลับ

สาเหตุที่เครียด...เพราะเป็นหนี้...กังวล...คิดมาก..คิดว่าพรุ่งนี้ลูกกูจะไปโรงเรียน...กูจะไปกู้เงินที่ไหนให้มันไปเรียน...

อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นอนไม่หลับ...เพราะต้องใช้แรงงานในการทำงาน.

กาแฟ..คาเฟอีนช่วยให้ทำงานได้มากขึ้น

ดังนั้นต้องกินเยอะๆจะได้ทำงานได้มากๆ

ตกค่ำนอนไม่หลับ...พอนอนไม่หลับ...ไปขอยานอนหลับที่สถานีอนามัย

เจ้าหน้าที่ที่อยู่ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการสาธารณสุขพวกนักวิชาการสาธารณสุข(เพื่อนผม)...ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า...ถ้าไม่ให้ก็ไม่ได้


ตามตำราว่าไว้...วิธีแก้อาการนอนไม่หลับ..

1.ออกกำลังกาย 2.ไม่ดื่มคาเฟอีน
แต่ถ้าเครียดมากๆๆช่วยอะไรไม่ได้หรอกครับ

ผมเข้าใจดี!เพราะผมก็เคยเครียด...จนนอนไม่หลับ

วิธีการที่ดีที่สุดในโลก...โดยไม่ต้องใช้ยา...ถูกค้นพบมา 2555 ปีแล้วครับ..ผมจะบอกให้ครับ



"คือการเรียนรู้โลก...รู้จักสัจธรรม...มองโลกอย่างที่มันเป็น...ไม่ยึดมั่น...ถือมั่น..ไม่มีของมึง...ไม่มีของกู"

รับรองท่านจะไม่เครียด...จะไม่จน...ผมเตือนท่านแล้ว

พระมหาพุทธพิมพ์


พระมหาพุทธพิมพ์ ...ชาวบ้านเรียกติดปาก...หลวงพ่อโต


ท่านประดิษฐานในวิหาร...ของวัดไซโยวรวิหาร...เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์...ชาวบ้านนับถือและศรัทธามาก


หลวงพ่อโต...มีพุทธลักษณะ...เป็นศิลปะรัตนโกสินทร์...ปางสมาธิ...ขัดสมาธิราบ..มองดูสงบและน่าเลื่อมใสมาก


สาเหตุที่เรียกขานว่า...หลวงพ่อโต..อาจเป็นเพราะ...สมเด็จพระพุฒาจารย์...


ท่านโต พรหมรังสี...เป็นผู้สร้าง


เป็นที่ทราบกันดี...ปี2011...ถือว่าเป็นปีแห่งหายนะของประเทศไทย


เกิดเพศภัยมากมาย...การเมืองก็เข้มข้น..แบ่งฝักแบ่งฝ่าย


ประชาชนเข่นฆ่ากัน...น้ำท่วมตั้งแต่เหนือจรดใต้...แม้แต่เมืองหลวงก็ไม่เว้น



ปลายปี 2011...ก็มีคำทำนาย...เกี่ยวกับหายนะ...ของประเทศ..หายนะ...ของโลก


ของแค่มีคำทำนาย..ประชาชนทุกคนต่างหวาดกลัว...แตกตื่น...เป็นกังวล....ไม่เป็นอันกินอันนอน


ตัวอย่างเช่น...ข่าวของเด็กชายปลาบู...ทำนายเรื่องเขื่อนจะแตก


ข่าวเรื่องการทำนายของชาวมายา....โลกจะแตกในปี 2012



อีกเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้...ประชาชนต้องแตกตื่น...หวาดกลัว...หวาดวิตก..เป็นกังกล


และเป็นข่าวที่ดูเหมือนจะ...ใกล้ชิดกับวิถีชาวไทยที่สุด...และเชื่อมโยงกับคำบอกเล่าของคนไทยโบราณด้วย



ความเชื่อ...คำบอกเล่า...ก็คือ...


คนสมัยก่อนจะบอกต่อๆๆกันมาว่า..หากเกิดเหตุการณ์..มีน้ำตาไหลจากพระพักตร์ของพระพุทธรูป...จะเป็นลางบอกเหตุ


ซึ่งอาจจะเป็นเหตุร้าย...หรือดีก็ได้



ลางบอกเหตุ...ที่ว่าได้เกิดขึ้นแล้ว...เมื่อประมาณวันที่ 8 มกราคม ...


นักท่องเที่ยวมากมาย...จากทั่วทุกสารทิศ..ที่แห่กันไปไหว้พระ...ของพรจาก...พระมหาพุทธพิมพ์


ทุกสายตา...ของทุกคน...ต่างจับจ้องไปที่พระพักตร์...และสิ่งที่เห็นเหมือนกัน...คราบน้ำตาของพระมหาพุทธพิมพ์


ผมได้แต่หวังว่า...เหตุการณ์นี้....จะเป็นลางบอกเหตุดดี

Samsung Galaxy กับทุนนิยม

2 บทความที่ผ่านมา...ผมพร่ำถึงแต่เรื่องSamsung Galaxy…เหมือนผมเป็นพวกวัตถุนิยม..พวกทุนนิยม
ผมบอกเลยครับว่า....ผมทุนนิยมเต็มรูปแบบครับ...ผมอยากได้Samsung Galaxy...ผมต้องสะสมทุน..สะสมเงิน..เพื่อซื้อ Samsung Galaxyให้ได้

จากการค้นหาข้อมูลของSamsung Galaxy...ผมก็พบข้อมูลต่างๆ...เกี่ยวกับการค้าขาย...เกี่ยวกับชีวิตของเด็กบ้านนอกอย่างผม....จึงนำมาเล่าเพื่อความบันเทิง...เริงอารมณ์...แต่ปนสาระนิดหน่อย...เชิญอ่านเลยครับ

เรื่องมีอยู่ว่า...โคตรพ่อ...โคตรแม่ผม...เป็นชาวนา...ชีวิตลำบาก...ทรมานมากครับ
ไฟฟ้าก็ไม่มี...อาหารการกินก็น้อย...ภูมิอากาศแห้งแล้ง...ทำนาได้เงินน้อยไม่พอเลี้ยงลูกน้อยและเมียรัก...ชีวิตผมจึงได้ผกผันเข้ามาสู้ชีวิต...ค้าขายในเมือง...ตั้งตัวตัวได้...พึ่งพาตนเองได้...

ด้วยความที่ปู่..ย่า...ตา..ยาย..เป็นชาวนา...

ผมจึงผูกพันกับที่นา...กับสาวชาวนาด้วย!
ด้วยความผูกพัน...จึงเกิดความห่วงใย...และเป็นห่วงชาวนา...

ห่วงว่าจะโดนนายทุนหลอกอยู่ร่ำไป...

เมื่อวันปีใหม่ที่ผ่านมา..ได้ไปเยี่ยมเยือน...ญาติผู้ใหญ่ที่ผมเคารพรัก...

ท่านเล่าประสบการณ์ชีวิตให้ฟังดังนี้ครับ

ท่านเล่าว่า...ชาวนาส่วนใหญ่..ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้เท่าทันนายทุน

ทำให้เสียเปรียบ...โดยเอาเปรียบ...ทำให้จน

เช่นเรื่อง....ปี 2558...จะมีการเปิดAEC…คือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ชาวนาส่วนใหญ่...ยังไม่รู้ว่า..ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน...จะมาเปลี่ยนแปลงชีวิตเขาอย่างไร
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน...ให้สิทธิ์ประเทศสมาชิก...ผลิต..ขาย...หรือจ้างงาน...อย่างเสรีในประเทศสมาชิกด้วยกัน....

ตัวอย่างเช่น...ผมเป็นนายทุน...จ้างแรงงานราคาถูกชาวลาว...ทำนา...แต่เอาข้าวมาขายในไทย...พนักงานที่ขายของก็เป็นคนลาว.....ผมจึงขายข้าวในราคาถูก...เพราะต้นทุนถูกกว่า
รายใหญ่ได้เปรียบ...รายเล็กตายสถานเดียวครับ

ซ้ำร้ายนายทุน...ใช้ทุนเข้ามาหลอก...เข้ามาหล่อ...ให้กู้เงิน...กู้ง่าย...เอาที่นามาค้ำ...
ชาวนา...ไม่มีความรู้....เรื่องการบริหารจัดการงบประมาณส่วนบุคคล...ใช้หนี้ไม่ทัน...ที่นาโดนยึด..ทำให้จากจนธรรมดา...เป็นโคตรจน
ทำให้ไม่มีเงินส่งลูกเรียน...ต้องมาเป็นลูกจ้างนายทุน...ทำนาให้มันเอาไปขาย...
ชาวนาผันตัวเอง....จากเจ้าของกิจการ...ผลิตเอง...ขายเอง...มาเป็นลูกจ้างนายทุน

ทุกปัญหามีทางแก้...
ท่านเล่าว่า...ชาวนาต้องปรับตัว...ปรับมาเป็นทุนนิยม...ที่ถูกต้อง..
ชาวนาต้องหันมา...สะสมทุน...สะสมเงินทอง...สะสมความดี..สะสมความรู้ ...ต้องบริหารเงินเป็น
บริหารจัดการเงิน..โดยการออมให้เป็นนิสัย...ใช้จ่ายอย่างมีระบบ...จดบันทึกค่าใช้จ่ายให้รัดกุม..
ชาวนาทุกคนทำได้...ถ้าไม่ใจอ่อน...ยอมให้ไอ้พวกนายทุน...กระหายเงินและอำนาจมาหลอกเรา

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio