ขับเคลื่อนโดย Blogger.

การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

กรอบการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

การสร้างหลักประกันสุขภาพเป็นการให้สิทธิ์ในการใช้บริการสุขภาพแก่ประชาชน โดยแหล่งเงินส่วนใหญ่มาจากภาครัฐ ซึ่งการขยายขอบเขตของหลักประกันสุขภาพมี 3 มิติ ดังนี้
1. การขยายายหลักประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชน
2. การขยายายหลักประกันสุขภาพให้ครอบคลุมบริการสุขภาพ
3. การขยายหลักประกันสุขภาพให้ครอบคลุมใช้จ่าย          
            ในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต้องคำนึงสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมและความคลุมด้านค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
            ภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่พึงประสงค์  ควรมีความครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม  ด้านบริการสุขภาพ มีการกำหนดชุดสิทธิประโยชน์ด้านบริการ โดยเน้นที่บริการที่จำเป็นและค่าใช้จ่ายสูง  และบริการสุขภาพต้องครอบคลุมตั้งแต่ บริการสร้างเสริมสุขภาพ  ป้องกันโรค  รักษาพยาบาล  และฟื้นฟู

            ปัญหาที่จะตามมาจากการที่ผู้รับบริการเพิ่มมากขึ้น คือ ปัญหาการรอคอยการรับบริการ หลายประเทศใช้กลไกการร่วมจ่าย  ดังนั้น เป้าหมายของการขยายความครอบคลุมด้านค่าใช้จ่าย จะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน  ในส่วนที่มีความจำเป็นและค่าใช้จ่ายสูง

            ปัจจัยที่สำคัญในการขยายายความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพคือ การเพิ่มเงิน   ซึ่งการจัดบริการสุขภาพที่มีประสิทธิ์ภาพ  จะมีส่วนช่วยในการขยายความครอบคลุมดังกล่าว  ไม่นำไปสู่ค่าใช้จ่ายสุขภาพที่สูงจนเกินไป

            การขยายการเข้าถึงบริการสุขภาพ จะทำให้ปริมาณบริการมากขึ้นและค่าใช้จ่ายสูง  ซึ่งอาจส่งผลให้
คุณภาพบริการลดลง ดังนั้นต้องแก้ไขโดยการรักษาสมดุลระหว่าง 4 มิติ ของสมรรถนะระบบบริการสุขภาพ

            ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  ตั้งต้นจากการสร้างระบบการเงินการคลังเพื่อบริการสุขภาพ  ในการจัดบริการสุขภาพสำหรับประชาชน  ภายใต้สิทธิ์ประโยชน์และเงื่อนไขการจ่ายเงิน โดยมีกลไกคุ้มครองสิทธิ  ชดเชยเยียวยา และการสร้างความมีส่วนร่วม เป็นกลไกสนับสนุน

            ดังนั้นในการกำกับติดตามผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ควรตามประเด็นทั้ง 5 ประเด็น ดังนี้

            1 การคลังสุขภาพ และงบประมาณของหลักประกันสุขภาพ
            2 การมีสิทธิ  การใช้สิทธิ  และภาระรายจ่ายสุขภาพของประชาชน
            3 หน่วยบริการสุขภาพ  และคุณภาพของผู้ให้บริการสุขภาพ
         4 การเข้าถึงบริการ  ประสิทธิภาพ  คุณภาพ  และประสิทธิผลของบริการสุขภาพ
            5 การคุ้มครองสิทธิ  การตอบสนองต่อความต้องการ  การชดเชยเยียวยา  และการมีส่วนร่วม 

           พอเขียนถึงตรงนี้ ผมหวนคิดถึงสมัยที่ผมเป็นเด็กละอ่อนน้อย พ่อพาอาไปหาหมอที่โรงพยาบาล ได้รับยาพาราแก้ไข้ บรรเทาปวด เสียค่าใช้จ่าย 120 บาท  ผมคิดในใจเลยว่าผมต้องเก็บเงินส่วนค่ารักษาพยาบาลไว้เผื่อเจ็บป่วย (เล็กๆน้อยๆ)

Long Term Care

     มีระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพิง (Long Term Care) ด้านสุขภาพในระดับ DHSหมายถึง มีการด าเนินงานตามองค์ประกอบการด าเนินงาน 6 ข้อ ดังนี้

1. มีระบบการประเมิน/คัดกรองข้อมูลผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพตามความสามารถ ในการประกอบกิจวัตรประจ าวัน(Barthel Activities of Daily Living : ADL)/มี ข้อมูลผู้สูงอายุที่จ าเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือระยะยาว

 2. มีชมรมผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ ((ชมรมผู้สูงอายุที่ผ่านเกณฑ์ ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ หมายถึง ชมรมผู้สูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ด าเนินการDHS ด้านการ ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (LTC) และผ่านเกณฑ์ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ))

 3. มีผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนทั้งที่เป็นทางการ(Formal)และไม่เป็นทางการ (Informal)

4. มีบริการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านที่มีคุณภาพ (Home Health Care) จากสถานบริการสู่ชุมชนโดยบุคลากรสาธารณสุขและทีมสหวิชาชีพ

 5. มีบริการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในระดับต าบล (มีบริการส่งเสริมป้องกันทันต สุขภาพในระดับDHS/ต าบล หมายถึง มีการจัดบริการป้องกันโรคในช่องปากตามชุด สิทธิประโยชน์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบล หรือสนับสนุนการจัดกิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุที่ด าเนินการโดยแกนน าชมรมผู้สูงอายุหรือ อสม.)

 6. มีระบบการดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มที่ 2 (ติดบ้าน) และผู้สูงอายุ กลุ่มที่ 3 (ติดเตียง) โดยท้องถิ่น ชุมชน มีส่วนร่วม

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio