ขับเคลื่อนโดย Blogger.

การปฐมพยาบาลคนเป็นลม

การปฐมพยาบาลคนเป็นลม
การปฐมพยาบาลคนที่เป็นลมหรือหมดสติ ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ต้องให้การแก้ไขให้ถูกวิธี จึงจะช่วยเหลือให้ฟื้นคืนสติได้
การเป็นลมหรือหมดสติแบ่งประเภทออก ตามสาเหตุอาการและวิธีการปฐมพยาบาลได้ดังนี้
การเป็นลมหน้าซีดหรือลมธรรมดา
สาเหตุ เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำงานเหนื่อยมาก ร่างกายอ่อนเพลีย หิวจัด ตื่นเต้น ตกใจหรือเสียใจมาก
อาการ อ่อนเพลีย หน้าซีด หน้ามืด ใจสั่น ตาพร่าลาย เวียนศีรษะเหงื่อออกมากตามฝ่ามือฝ่าเท้า ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็วหมดสติ
การปฐมพยาบาล
1. เมื่อมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาพร่าลาย ให้รีบนั่ง อาจนั่งในท่าโน้มศีรษะลงมาอยู่ระหว่างเข่า และพยายามสูดหายใจเข้าลึก ๆ
2. กรณีพบผู้ที่เป็นลมหมดสติประเภทนี้ให้ช่วยเหลือ โดยจัดท่าให้ผู้เป็นลมนอนหงายราบ ให้ศีรษะต่ำอาจหาวัสดุรอง ยกปลายเท้าให้สูงประมาณ 1 ฟุต ให้หันหน้าตะแคงไปข้างใดข้างหนึ่ง คลายเสื้อผ้าให้หลวม อย่าให้คนมุงดู เพราะต้องการให้อากาศถ่ายเทได้ดี ให้ดมแอมโมเนีย หรือยาดมใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ดหน้าให้ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรนำส่งโรงพยาบาล
การเป็นลมหน้าแดงหรือลมแดด
สาเหตุ เกิดจากการที่อยู่กลางแดดนาน ๆ หรืออยู่ในสถานที่มีอากาศอบอ้าวหรือร้อนจัดนาน ๆ จนทำให้กลไกควบคุมความร้อนของร่างกายล้มเหลว
อาการ หน้าแดง ใจสั่น ตาพร่าลาย เวียนศีรษะเหงื่อออกมา ชีพจรเบาเร็วหมดสติ ปวดศีรษะ มึนงง กระสับกระส่าย คลื่นไส้อาเจียน ตัวร้อนจัด ฝ่ามืออาจไม่มีเหงื่อ ชีพจรเต้นเร็ว อาจหมดสติชั่ววูบ
การปฐมพยาบาล
1. เมื่อมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาพร่าลายให้รีบนั่งลงและพยายามสูดหายใจเข้าลึก ๆ
2. กรณีพบผู้เป็นลมหมดสติประเภทนี้ ให้ช่วยเหลือโดยนำผู้เป็นลมเข้าในที่ร่มหรือในที่มีอากาศเย็น จัดท่าให้     ผู้เป็นลมนอนหงายราบ คลายเสื้อผ้าให้หลวมอย่าให้คนมุงดู เพราะต้องการให้อากาศถ่ายเทได้ดี ใช้ผ้าชุบน้ำธรรมดาหรือ   น้ำเย็น หรือน้ำแข็งเช็ดหน้า ตัว แขนและชา ให้เพื่อคลายความร้อนในร่างกายลง ถ้าผู้เป็นลมฟื้นคืนสติให้ดื่มน้ำผสมเกลือเล็กน้อย (ผสมน้ำ 1 แก้ว กับเกลือครึ่งช้อนกาแฟ) จิบที่ละน้อย บ่อย ๆ ครั้ง ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรนำส่งโรงพยาบาล
การเป็นลมหน้าเขียว
สาเหตุ เกิดจากอากาศที่หายใจไม่เพียงพอหรือได้รับอากาศที่เป็นพิษหรือทางเดินหายใจถูกอุดตันจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น การสำลักเศษอาหารจากการอาเจียนเป็นต้น หรือจากภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรค เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ เป็นต้น
อาการ แน่นหน้าอก หายใจหอบ ถี่ ไอ เหงื่อออกมาก ผิวหนังเย็น ริมฝีปากและเล็บมือเขียวคล้ำ ชีพจรเบาเร็ว หมดสติ
การปฐมพยาบาล
1. นำสิ่งอุดตันทางเดินหายใจออกก่อนเพื่อให้สามารถหายใจได้สะดวก โดยล้วงสิ่งอุดตันออกจากปากถ้ามองเห็น หรือใช้วิธีการตบบริเวณกลางหลัง ระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้าง แรงๆ 2-3 ครั้ง เพื่อให้สิ่งที่อุดตันนั้นหลุดออก
2. ถ้าอากาศเป็นพิษ หรือมีอากาศไม่เพียงพอ ให้รีบนำผู้เป็นลมออกมาในที่มีอากาศบริสุทธิ์ และถ่ายเทได้ดีก่อน
3. เมื่อแก้ไขในข้อ 1 และข้อ 2 แล้ว จึงให้การช่วยเหลือ โดยจัดท่าให้ผู้เป็นลมนอนหงายให้ศีรษะต่ำ อาจหาวัสดุรองยกปลายเท้าให้สูงประมาณ 1 ฟุต ให้หันหน้าตะแคงไปข้างใดข้างหนึ่ง คลายเสื้อผ้าให้หลวม อย่าให้คนมุงดู เพราะต้องการให้อากาศถ่ายเทได้ดี ให้ดมแอมโมเนียหรือยาดม แล้วใช้ผ้าซุบน้ำเช็ดหน้า ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรนำส่งโรงพยาบาล

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น


 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชานี้ผมเรียนตั้งแต่อยูปปี 1 เนินนานมากๆที่ไม่ได้ใช้หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จนเกือบจะลืมหมดแล้วครับ ว่าหลัก การปฐมพยาบาลเบื้องต้นมันมีอะไรบ้าง การไม่ได้ใช้อาจเป็นการดีในแง่ที่ไม่มีใครเป็นอะไรให้เราได้ช่วยใคร แต่เราเองต้องหมั่นทบทวนเพราะการปฐมพยาบาลเบื้องต้เป็นปัจจัยหลักเลยนะครับในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บให้รอดชีวิตหรือเกิดการสูญเสียน้อยที่สุด เอาละครับเรามาทบทวนการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกันเลยครับ 
 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
                การปฐมพยาบาลเมื่อมีแมลงและสัตว์มีพิษกัดต่อย
                1.  แมลง
                แมลงหลายชนิดมีเหล็กใน  เช่น  ผึ้ง  ต่อ  แตน  เป็นต้น  เมื่อต่อยแล้วมักจะทิ้งเหล็กในไว้  ภายในเหล็กในจะมีพิษของแมลงพวกนี้มักมีฤทธิ์ที่เป็นกรด  บริเวณที่ถูกต่อยจะบวมแดง  คันและปวด  อาการปวดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบริเวณที่ต่อยและสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
                วิธีปฐมพยาบาล
                1.  พยายามเอาเหล็กในออกให้หมด  โดยใช้วัตถุที่มีรู  เช่น  ลูกกุญแจ  กดลงไปตรงรอยที่ถูกต่อย  เหล็กในจะโผล่ขึ้นมาให้คีบออกได้
                2.  ใช้ผ้าชุบน้ำยาที่ฤทธิ์ด่างอ่อน  เช่น  น้ำแอมโมเนีย  น้ำโซดาไบคาบอร์เนต  น้ำปูนใส  ทาบริเวณแผลให้ทั่วเพื่อฆ่าฤทธิ์กรดที่ค้างอยู่ในแผล
                3.  อาจมีน้ำแข็งประคบบริเวณที่ถูกต่อยถ้าแผลบวมมาก
                4.  ถ้ามีอาการปวดให้รับประทานยาแก้ปวด  ถ้าคันหรือผิวหนังมีผื่นขึ้นให้รับประทานยาแก้แพ้
                5.  ถ้าอาการไม่ทุเลาลง  ควรไปพบแพทย์
                2.  แมงป่องหรือตะขาบ
                ผู้ที่ถูกแมงป่องต่อยหรือตะขาบกัด  จะมีอาการเจ็บปวดมากกว่าแมลงชนิดอื่น  เพราะแมงป่องและตะขาบมีพิษมากกว่า  บางคนที่แพ้สัตว์ประเภทนี้อาจมีอาการปวดและบวมมาก  มีไข้สูง  คลื่นไส้  บางคนมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและมีอาการชักด้วย
                                วิธีปฐมพยาบาล
                1.  ใช้สายรัดหรือขันชเนาะเหนือบริเวณเหนือบาดแผล  เพื่อป้องกันไม่ให้พิษแพร่กระจายออกไป
                                2.  พยายามทำให้เลือดไหลออกจากบาดแผลให้มากที่สุด  อาจทำได้หลายวิธี  เช่น  เอามือบีบ  เอาวัตถุที่มีรูกดให้แผลอยู่ตรงกลางรูพอดี  เลือดจะได้พาเอาพิษออกมาด้วย
                3.  ใช้แอมโมเนียหอมหรือทิงเจอร์ไอโอดี 2.5%  ทาบริเวณแผลให้ทั่ว
                                4.  ถ้ามีอาการบวม  อักเสบและปวดมาก  ใช้ก้อนน้ำแข็งประคบบริเวณแผล  เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดด้วย
                                5.  ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลง  ต้องรีบนำส่งแพทย์
                3.  แมงกะพรุนไฟ
                แมงกะพรุนไฟเป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่ง  ซึ่งมีสารพิษอยู่ที่หนวดของมัน  แมงกะพรุนไฟมีสีน้ำตาล  เมื่อคนไปสัมผัสตัวมันจะปล่อยพิษออกมาถูกผิวหนัง  ทำให้ปวดแสบปวดร้อนมาก  ผิวหนังจะเป็นผื่นไหม้  บวมพองและแตกออก  แผลจะหายช้า  ถ้าถูกพิษมากๆ  จะมีอาการรุนแรงถึงกับเป็นลมหมดสติและอาจถึงตายได้
                วิธีการปฐมพยาบาล
                1.  ใช้ผ้าเช็ดตัวหรือทรายขัดถูบริเวณที่ถูกพิษแมงกะพรุนไฟ  เพื่อเอาพิษที่ค้างอยู่ออกหรือใช้ผักบุ้งทะเลซึ่งหาง่ายและมีอยู่บริเวณชายทะเล  โดยนำมาล้างให้สะอาด  ตำปิดบริเวณแผลไว้
                2.  ใช้น้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นด่าง  เช่น  แอมโมเนียหรือน้ำปูนใส  ชุบสำลีปิดบริเวณผิวหนังส่วนนั้นนานๆ  เพื่อฆ่าฤทธิ์กรดจากพิษของแมงกะพรุน
                3.  ให้รับประทานยาแก้ปวด
                4.  ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลง  ให้รีบนำส่งแพทย์โดยเร็ว
                4งู
                ประเทศไทยมีงูหลายชนิด  มีทั้งงูพิษและงูไม่มีพิษ  งูพิษร้ายแรงมีอยู่ 7 ชนิด  คือ  งูเห่า  งูจงอาง  งูแมวเซา  งูกะปะ  งูสามเหลี่ยม  งูเขียวหางไหม้  และงูทะเล  พิษของงูมีลักษณะเป็นสารพิษ  งูแต่ละชนิดมีลักษณะของสารไม่เหมือนกัน  เมื่อสารพิษนี้เข้าไปสู่ร่างกายแล้วสามารถซึมผ่านเข้าไปในกระแสเลือดที่ไปเลี้ยงตามส่วนต่างๆ  เกิดขึ้นในร่างกายไม่เหมือนกัน  ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะงูพิษได้ 3 ประเภท
                ลักษณะบาดแผลที่ถูกงูพิษและงูไม่มีพิษกัด
                งูพิษมีเขี้ยวยาว 2 เขี้ยว  อยู่ด้านหน้าของขากรรไกรบนมีลักษณะเป็นท่อปลายแหลมเหมือนเข็มฉีดยา  มีท่อต่อมน้ำพิษที่โคนเขี้ยว  เมื่องูกัดพิษงูจะไหลเข้าสู่ร่างกายทางรอยเขี้ยว
                ส่วนงูไม่มีพิษจะไม่มีเขี้ยว  มีแต่ฟันธรรมดาแหลมๆ  เล็กๆ  เวลากัดจึงไม่มีรอยเขี้ยว
                วิธีปฐมพยาบาล
                     เมื่อแน่ใจว่าถูกงูกัด  ให้ทำการปฐมพยาบาลอย่างสุขุมรอบคอบรัดกุม  อย่าตกใจ  ให้รีบสอบถามลักษณะงูที่กัดจากผู้ป่วยและรีบทำการปฐมพยาบาลตามลำดับ  ดังนี้
                                1.  ใช้เชือก  สายยาง  สายรัด  หรือผ้าผืนเล็กๆ  รัดเหนือแผลประมาณ 5-10 เซนติเมตร  โดยให้บริเวณที่ถูกรัดอยู่ระหว่างแผลกับหัวใจ  รัดให้แน่นพอสมควร  แต่อย่าให้แน่นจนเกินไป  พอให้นิ้วก้อยสอดเข้าได้  เพื่อป้องกันไม่ให้พิษงูเข้าสู่หัวใจโดยรวดเร็ว  และควรคลายสายที่รัดไว้  ควรใช้สายรัดอีกเส้นหนึ่งรัดเหนืออวัยวะที่ถูกงูกัดขึ้นไปอีกเปลาะหนึ่ง  เหนือรอยรัดเดิมเล็กน้อยจึงค่อยคลายผ้าที่รัดไว้เดิมออก  ทำเช่นนี้ไปจนกว่าจะได้ฉีดยาเซรุ่ม
                                2.  ล้างบาดแผลด้วยน้ำด่างทับทิมแก่ๆ  หลายๆ  ครั้ง  และใช้น้ำแข็งหรือถุงน้ำแข็งประคบหรือวางไว้บนบาดแผล  พิษงูจะกระจายเข้าสู่ร่างกายได้ช้าลง
                                3.  ให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในท่าที่บาดแผลงูพิษกัดอยู่ต่ำกว่าระดับหัวใจ นอนอยู่นิ่งๆ  เคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด  เพื่อไม่ให้พิษงูกระจายไปตามร่างกาย  และควรปลอบใจให้ผู้ป่วยสบายใจ
                                4.  ไม่ควรให้ผู้ป่วยเสพของมึนเมา  เช่น  กัญชา  สุรา  น้ำชา  กาแฟ  เพราะจะทำให้หัวใจเต้นแรง  อาจทำให้พิษงูกระจายไปทั่วร่างกายเร็วขึ้น
                                5.  รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด  ถ้านำงูที่กัดไปด้วยหรือบอกชื่องูที่กัดได้ด้วยยิ่งดี  เพราะจะทำให้  เลือกเซรุ่มแก้พิษงูได้ตรงตามพิษงูที่กัดได้ง่ายยิ่งขึ้น
                                การป้องกันงูพิษกัด
                                1.  ถ้าต้องออกจากบ้านเวลากลางคืนหรือต้องเดินทางเข้าไปในป่าหรือทุ่งหญ้าหรือในที่รก  ควรสวมรองเท้าหุ้มส้นหรือรองเท้าหุ้มข้อและสวมกางเกงขายาว
                                2.  ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในที่รกเวลากลางคืนหรือเดินทางไปในเส้นทางที่น่าจะเป็นที่อยู่อาศัยหรือที่หากินของงู  ถ้าจำเป็นควรมีไฟส่องทางและควรใช้ไม้แกว่งไปมาให้มีเสียงดังด้วย  แสงสว่างหรือเสียงดังจะทำให้งูตกใจหนีไปที่อื่น
                                3.  หากจำเป็นต้องเดินทางไปในที่มีงูชุกชุมหรือเดินทางไปในที่ซึ่งมีโอกาสได้รับอันตรายจากงูกัด  ควรระมัดระวังเป็นพิเศษและควรเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลติดมือไปด้วย
                                4.  เวลาที่งูออกหากินคือเวลาที่พลบค่ำและเวลาที่ฝนตกปรอยๆ  ที่ชื้นแฉะ  งูชอบออกหากินกบและเขียด  ในเวลาและสถานที่ดังกล่าว  ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ
                                5.  ไม่ควรหยิบของหรือยื่นมือเข้าไปในโพรงไม้ ในรู ในที่รก กอหญ้า หรือกองไม้  เพราะงูพิษอาจอาศัยอยู่ในที่นั้น

นโยบายกระทรวงสาธารณสุข

นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบนโยบายการบริหารงานสาธารณสุข ให้กับผู้บริการของกนระทรวง ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค อาทิ ปลัดและรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรม ผู้ตรวจราชการของกระทรวง เป็นต้น โดยนโยบายที่มอบมีด้วยกัน 16 ข้อ ส่วนใหญ่ให้เน้นการทำงานเป็นทีม และทำแบบบูรณราการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานระหว่างกระทรวงกับกระทรวงด้วยกันหรือ ระหว่างกรมต่างๆ เช่น การดูแลผู้ประกันตนร่วมกับกระทรวงแรงงาน หรือกระทรวงพัฒนาสังคม ในเรื่องของกลุ่มสตรี ผู้พิการ

ทั้งนี้ สำหรับนโยบาย 16 ข้อ อาทิ การพัฒนางานสาธารณสุข ตามแนวพระราชดำริ และโครงการเฉลิมพระเกียรติ การเพิ่มคุณภาพระบบประกันสุขภาพ เร่งรัดมาตราการสร้างสุขภาพ โดยมีเป้าหมาย เร่งรัดดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคด้ายสุขภาพ ตลอดจนอาหารปลอดภัย รวมถึงการเตรียมความพร้อม พัฒนาระบบเฝ้าระวัง เตือนภัย การนัดการที่มีประสิทธิผล เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ จัดให้มีการดูแลกลุ่มเป้าเฉพาะ ได้แก่ กลุ่มเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มพิการ แรงงานข้ามชาติ เป็นต้น

เนื้อหาที่นักวิชาการสาธารณสุขต้องรู้

- สรุปพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดการสุขภาพ
ความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

- สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522
- การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
หลักการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์
- นโยบายการบริหารงานกระทรวงสาธารณสุข 2555
- ความรู้เบื้องต้นทางชีวสถิติ
- ความรู้ทั่วไปทางเภสัชวิทยา
- แนวข้อสอบเฉพาะทาง สาธารณะสุข
- สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน
- อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

บทบาทนักวิชาการสาธารณสุข รพส.ต.ที่ต้องทบทวน


 เนื่องจากช่วงนี้ผมเขียนขอย้ายฝ่ายจากแผนงานและสารสนเทศไปปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเวชปฏิบัติครอบครัว สาเหตุเนื่องจากต้องการปฏิบัติงานให้ตรงกับสายงาน บังเอิญได้อ่านบทความชื่อว่า นวก.สอ.กับบทบาทที่ต้องทบทวน (มุมมองจากหมออนามัย) จึงขอนำบทความดีๆมาลงไว้ที่นี้เลยครับ

รายงานพิเศษ ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 

ตอน นวก.สอ.กับบทบาทที่ต้องทบทวน (มุมมองจากหมออนามัย)

ศิลา  วรบรรพต  

 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ที่ผ่านมา  มีการประกาศผลสอบ(สัมภาษณ์)นักวิชาการสาธารณสุข  คงมีหมออนามัยหลายคนที่ดีใจและเสียใจกับผลที่ออกมา ในการสอบครั้งนี้มีผู้มาสมัครทั้งหมด 3,483 คน (ผู้เขียนก็เป็นหนึ่งในจำนวนนี้) มาสอบข้อเขียน 3,293 คน สอบผ่านข้อเขียน 1,452 คน (ร้อยละ 44 ) และมาสอบสัมภาษณ์ 1,436 คน และนี่คือยอดที่ขึ้นบัญชีไว้ทั้งหมด เป็นเวลา 2 ปี  ช่วงนี้คงเป็นเรื่องกระบวนการปรับเปลี่ยนสายงาน  คนที่ทำงานอยู่สถานีอนามัย(สอ.)อยู่แล้วคงไม่มีปัญหาปรับเปลี่ยนสายงาน และคงจะทำให้จะมีนักวิชาการในสอ.ครอบคลุมมากขึ้น     

                นักวิชาการสาธารณสุขเป็นอีกหนทางหนึ่ง ที่จะทำให้ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานอย่างน้อยที่สุดก็สามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งระดับ 7 ได้อย่างแน่นอน (หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในอนาคต) แล้ววันนี้มีคำถามว่า นักวิชาการได้ทำหน้าที่ของนักวิชาการแล้วหรือยัง ?  สอ.ที่มีและไม่มีนักวิชาการแตกต่างกันหรือไม่ ? สอ.มีความจำเป็นต้องมีนักวิชาการหรือเปล่า ? คำถามเหล่านี้คงมีอยู่ในใจหมออนามัยทุกคน
                เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา  ได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังผลงานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องหนึ่ง เป็นการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานีอนามัยแห่งหนึ่ง     ที่น่าสนใจคือ  ประชาชนในเขตสอ.นั้นมองสอ.เป็นเพียงร้านชำธรรมดาๆ ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า  ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?  ทำไมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับสอ. จึงเป็นแค่ ผู้ซื้อกับร้านชำ(ผู้ขาย)” ที่ขายยาเท่านั้นหรือ  และสอ.แห่งอื่นๆ เป็นเช่นนั้นหรือเปล่า หมออนามัยรู้เช่นนี้รู้สึกอย่างไร  

นักวิชาการคือใคร
                เราลองหลับตาแล้วนึกถึงภาพของคำว่า นักวิชาการ  ทั่วไป (ไม่ได้เฉพาะเจาะว่าต้องเป็นนักวิชาการสาธารณสุขนะ) เราจะให้ความหมาย  ให้คุณค่ากลุ่มคนเหล่านี้อย่างไร   มุมหนึ่งอาจจะมองว่า  นักวิชาการคือผู้ที่มีความคิดความอ่านสูง  โดยเฉพาะในเรื่องที่นักวิชาการท่านนั้นให้ความสนใจเป็นพิเศษ  เป็นผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริงในศาสตร์นั้น  มีความรอบรู้ รอบครอบ และความละเอียดลึกซึ้งในเรื่องที่ท่านรู้  หรืออีกแง่มุมหนึ่งอาจมองว่า  นักวิชาการคือผู้ที่รู้แต่เชิงทฤษฎี แต่ไม่ค่อยรู้เรื่องในด้านปฏิบัติ  อีกทั้งพูดและเขียนอะไรก็ยากต่อการเข้าใจ ทำเรื่องง่ายเป็นเรื่องยาก  โดยนัยแล้วก็คือไม่ค่อยรู้อะไรจริง  อย่างดีก็รู้แค่ที่มีอยู่ในตำรา หรือบางคนอาจมองว่า  นักวิชาการคือเจ้าหน้าที่ที่มีภารกิจในสายงานวิชาการซึ่งตามหน่วยงานต่างๆ ก็มักนิยมมีกันเพื่อให้ทันสมัยตามกระแสโลกของการบริหารองค์กร  ซึ่งโดยเฉพาะในหน่วยงานราชการส่วนใหญ่แล้วก็เป็นข้าราชการที่ไม่ค่อยมีความรู้ทางวิชาการในภารกิจที่หน่วยงานตัวเองรับผิดชอบมากนัก และก็มักทำงานปฏิบัติการไม่เป็น ซึ่งก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่พบเจอนักวิชาการแต่ละท่าน แต่ละสาขาวิชา และแต่ละหน่วยงานกันไป

นักวิชาการสาธารณสุข คือใคร

                ผลจากแผน 7 และโครงการทสอ. ทำให้มีการกำหนดกรอบอัตรากำลัง 3 ปี รอบที่ 3 (2538-2540) ได้รับความเห็นชอบจาก ก.. ให้สอ.มีตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข 3-5 / 6. / 7 . จำนวน 1 ตำแหน่ง  ในการกำหนดตำแหน่งนักวิชาการในส่วนราชการนั้นๆ  ..มีวัตถุประสงค์หลัก  2  ประการคือ 
                1.เพื่อให้การบริหารราชการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  เนื่องจากส่วนราชการจะสามารถสรรหาผู้มีความรู้  ความสามารถและความชำนาญอย่างสูงเฉพาะบุคคลในด้านต่างๆ มาทำหน้าที่ศึกษา  ค้นคว้า  วิเคราะห์  วิจัย  เพื่อค้นหาปัญหา สาเหตุของปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ไขที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ  ตลอดจนการให้บริการหรือปฏิบัติงานบางอย่าง
                2.เพื่อให้ผู้มีความรู้  ความสามารถและความชำนาญงานอย่างสูงเฉพาะตัว  ได้มีโอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งระดับสูงกว่าเดิม  ทัดเทียมกับตำแหน่งหัวหน้าหรือรองหัวหน้าหน่วยงาน  เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้มีความรู้ความสามารถ  ได้อยู่ปฏิบัติงานในภาคราชการมากยิ่งขึ้น
                ด้วยเหตุผลที่ว่า  สภาพปัญหาแต่ละแห่ง  แต่ละพื้นที่แตกต่างกัน  การจะใช้วิธีเดียวกัน  แบบแผนเดียวกัน  นโยบายเดียวกัน  แก้ปัญหาในทุกพื้นที่ย่อมเป็นไปไม่ได้  เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักวิชาการในสถานีอนามัยจะต้องค้นคว้าสภาพปัญหา  ทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งถึงปัญหานั้น  และหาแนวทางแก้ไขปัญหานั้นๆ และหากไม่สำเร็จก็จะต้องหาสาเหตุและแก้ไขจุดบกพร่องต่อไป  เมื่อแก้ไขปัญหาได้แล้วก็ควรที่จะนำเสนอผลงาน นักวิชาการสาธารณสุขน่าจะได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่รู้ลึกซึ้งถึงสภาพพื้นที่ของตนเอง  เป็นผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริงในเขตรับผิดชอบของตนเอง  ต้องสามารถปรับนโยบายสู่การปฏิบัติได้ ไม่ใช่นั่งรอนอนรอให้นักวิชาการจากกระทรวง  จากกรมหรือจากหน่วยงานอื่นๆ เป็นคนสั่งให้ทำโน่นทำนี้อย่างเดียว  

คาดหวังอะไรกับนักวิชาการ สอ.
                ..ได้กำหนดมาตรฐาน โดยแบ่งและแยกหน้าที่ความรับผิดชอบของนักวิชาการสาธารณสุขไว้ ดังนี้

หน้าที่ความรับผิดชอบ

ระดับ

3
4
5
6
7
 1.วิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุข
/
/
/
/
/
 2.ประมวลผลปัญหาสาธารณสุข
/
/
/
/
/
 3.วินิจฉัยปัญหาสาธารณสุข
/
/
/
/
/
 4.วางแผนงานสาธารณสุข
/
/
/
/
/
 5.วางระบบข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข
/
/
/
/
/
 6.จัดระบบควบคุมกำกับการปฏิบัติงาน
-
/
/
/
/
 7.วิจัยเกี่ยวกับสถานะสุขภาพ
/
/
/
/
/
 8.วิจัยเกี่ยวกับการบริหารสาธารณสุข
/
/
/
/
/
 9.ประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุข
/
/
/
/
/
10.ให้คำปรึกษา  แนะนำด้านวิชาการ
-
/
/
/
/
11.อำนวยการประสานงานดำเนินการ
-
-
/
/
/
12.ฝึกอบรม สอน
-
-
-
/
/
13.ร่วมประชุมกำหนดนโยบายและแผน
-
-
-
/
/
14.กำหนดนโยบายสาธารณสุข
-
-
-
-
/
15.วางมาตรฐานการดำเนินงาน
-
-
-
-
/

จะเห็นว่าในการกำหนดมาตรฐานวิชาการนั้นจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมอย่างน้อย  5  ขั้นตอน คือ
1.วิชาการเป็นเรื่องของการวัด  วัดสิ่งที่ต้องการรู้  ทั้งนี้การวัดต้องแม่นตรง  คือ สามารถวัดสิ่งที่ต้องการวัดได้  และต้องเชื่อถือได้  คือ  วัดกี่ครั้งหรือใช้ใครวัดก็ต้องได้ผลเหมือนกัน
                2.วิชาการเกี่ยวข้องกับการค้นหาสาเหตุและผลภายในปรากฏการณ์และรวมถึงการพิสูจน์ให้เห็นจริงด้วยหลักฐานที่คนธรรมดารับรู้ได้   
                3.องค์ความรู้ที่ได้พิสูจน์แล้ว  จะถูกบันทึกไว้ในรูปรายงานผลการวิจัย  ตำรา  และถูกนำไปศึกษา  ทบทวน  ตรวจสอบหรือแม้กระทั้งท้าทายลบล้างอยู่ตลอดเวลาโดยนักวิชาการรุ่นหลัง
                4.การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง
                5.การวัดผลสำเร็จและหากไม่สำเร็จต้องค้นหาสาเหตุให้ได้ว่าเป็นเพราะอะไร
                กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้หากทำอย่างเป็นระบบและอย่างมีแบบแผนแล้ว  ก็คือกระบวนการการทำวิจัยนั่นเอง  เพราะฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่าโดยบทบาทและหน้าที่ของนักวิชาการแล้ว  นักวิชาการมีหน้าที่ต้องศึกษาค้นหาปัญหาแต่ละพื้นที่และค้นคว้าหาแนวทางแก้ไข  พร้อมทั้งนำเสนอผลงานหรือองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาในรูปของผลงานวิชาการและงานวิจัยเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นต่อไป

บทบาทที่เห็นและเป็นอยู่
                ที่ผ่านมา จะเห็นว่านักวิชาการสาธารณสุขก็จะมาจากเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนที่มีโอกาส  มีความมานะพยายามใฝ่คว้าหาความรู้จนได้รับวุฒิปริญญาตรีและสอบเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งนักวิชาการนั่นเอง  อาจจะเป็นด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้(บางครั้ง)นักวิชาการสาธารณสุขมักจะลืมบทบาทของนักวิชาการไป แต่ยังคงแสดงบทบาทของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเช่นเดิม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นบทบาทของนักวิชาการย่อมแตกต่างกันไป ตามแต่โอกาสและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  ขอยกผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับบทบาทและผลการปฏิบัติงานของนักวิชาการ เพื่อให้เห็นสภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการที่ผ่านมา ดังนี้
                · พรเจริญ  บัวพุ่ม  ศึกษาเรื่อง  ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานกับการปฏิบัติงานตามบทบาทนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยเขต 2  จำนวน 290 คน เมื่อปี 2543  พบว่า  นักวิชาการสาธารณสุขมีความพึงพอใจในงานรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง  บทบาทที่นักวิชาการสาธารณสุขส่วนใหญ่ปฏิบัติ ได้แก่  การอำนวยการและประสานการดำเนินงาน  การฝึกอบรมและสอน  การวินิจฉัยปัญหาสาธารณสุข  การวางแผนงานสาธารณสุข  การให้คำปรึกษาทางด้านวิชาการ  การประมวลผลปัญหาสาธารณสุข  ในส่วนบทบาทที่นักวิชาการสาธารณสุขส่วนใหญ่ไม่ได้ปฏิบัติ  คือ  การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารสาธารณสุขกับการวิจัยเกี่ยวกับสถานะสุขภาพ
                · พรชัย  เลิศหลาย ศึกษาเรื่อง  การปฏิบัติงานตามบทบาทของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสอ. เขต 4  จำนวน  198  คน  เมื่อปี 2543  พบว่า  ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติงานตามบทบาทในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  และการปฏิบัติงานตามบทบาทแต่ละด้าน  พบว่า  บทบาทด้านการบริการมากที่สุด  รองลงมาเป็นด้านบริหาร  และที่สำคัญบทบาทที่ปฏิบัติน้อยที่สุดคือบทบาทด้านวิชาการ
                · ไพรัช  สุวรรณเนกข์  ศึกษาเรื่อง  การประเมินการปฏิบัติงานสาธารณสุขของนักวิชาการสาธารณสุขระดับตำบลในเขต 8  จำนวน  141  คน  เมื่อปี 2542  พบว่า  ผลการปฏิบัติงานด้านความครอบคลุมและความครบถ้วนตามกลุ่มงานในหน้าที่ความรับผิดชอบอยูในระดับดีมาก  และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านแล้ว  พบว่า  กลุ่มงานด้านที่ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีมากคือ  การควบคุมกำกับงาน (46.2%)  และด้านการใช้ข้อมูลในการวางแผน (39.4%) และกลุ่มงานด้านที่ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้และควรปรับปรุงคือ  การวิจัย (50% และ 32.6%)    ในขณะที่ด้านความครบถ้วนนั้น  ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมากทุกด้าน  ยกเว้นด้านการวิจัยที่ส่วนใหญ่อยู่ระดับพอใช้ (56%) และควรปรับปรุง (32.6%)
                จากผลการวิจัยทั้ง  3  เรื่อง  สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันและอยู่ในข้อเสนอแนะของการวิจัยคือ  นักวิชาการสาธารณสุขควรพัฒนาในเรื่องการทำวิจัย เพื่อพัฒนางานในความรับผิดชอบตามบทบาทของนักวิชาการ  และการจะพัฒนาในเรื่องการทำวิจัยได้นั้น  สสอ. คปสอ. สสจ. ศูนย์วิชาการเขต   วิทยาลัยการสาธารณสุข  วิทยาลัยพยาบาล สถาบันพระบรมราชชนก และรวมถึงมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคต่างๆ  ควรจะมีบทบาทในส่วนนี้  เพื่อช่วยแนะนำการทำศึกษาวิจัย  รวมทั้งสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร งบประมาณ  และเป็นการเรียนรู้ร่วมกันอีกด้วย
                ในปัจจุบันงานวิชาการ งานวิจัยต่างๆ ที่เป็นผลงานของนักวิชาการระดับสถานีอนามัยมีน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย  และที่มีบ้างก็เป็นเรื่องของการทำผลงานวิชาการเพื่อเลื่อนระดับที่สูงขึ้น  หรือการทำวิทยานิพนธ์เพื่อปริญญาของผู้ที่ลาศึกษาต่อ  ซึ่งไม่ใช่เกิดจากความต้องการค้นหาปัญหา  และหาแนวทางแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่เลย
ปฏิรูประบบสุขภาพ : โอกาสนักวิชาการโชว์ กึ๋น
                ที่ผ่านมางานสาธารณสุขได้มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยี  ขยายโรงพยาบาลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่  สร้างสถานีอนามัยให้ครบทุกตำบล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่เน้นซ่อมสุขภาพ  และผลสุดท้ายกาลเวลาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เดินผิดทาง  ยิ่งสร้างโรงพยาบาล  พัฒนาเทคโนโลยี  ผลิตแพทย์  พยาบาล  มากเท่าไร  จำนวนคนไข้ก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว  เป็นลักษณะที่ว่ายิ่งแก้ปัญหาก็ยิ่งเพิ่มปัญหามากขึ้น  จึงมีการเปลี่ยนมุมมองเรื่องสุขภาพกันใหม่  จากเดิมที่เน้น ซ่อมสุขภาพ มาเป็นการ สร้างสุขภาพ  คือการส่งเสริมสุขภาพ  โดยบุคลากรสาธารณสุข(ทุกสาขา)ต้องปรับบทบาทจาก ซ่อมเป็น สร้าง ถึงเวลาแล้วที่หมออนามัยเราจะแสดงบทบาทที่ควรจะเป็น  นักวิชาการที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยก็เช่นกัน  ถึงเวลาแล้วที่จะต้องทำหน้าที่นักวิชาการสาธารณสุขผู้ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้  ความชำนาญ  ความคิดความอ่าน  และเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริงในการดำเนินงานด้านสุขภาพของประชาชนในเขตรับผิดชอบของตนต่อไป

สรุป
                งานวิชาการไม่ใช่เป็นเรื่องที่ใกล้เกินตัวหมออนามัยเรา ไม่ใช่เรื่องยากเย็นแสนเข็ญอย่างที่หลายคนเข้าใจ  เป็นเรื่องใกล้ตัวเราอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ขอย้ำว่างานวิชาการ คือ  การสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ หรือ การค้นหาข้อมูลใหม่ ความรู้ใหม่ เพื่อนำมาใช้ตัดสินใจสำหรับการทำงานในแต่ละสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ให้ดียิ่งขึ้น โดย ไม่จำเป็นต้องใช้สูตรทางสถิติที่ลึกลับซับซ้อนเสมอไปและ ทำได้กับทุกงาน ทุกแห่ง ทุกที่ จริงๆ แล้วหมออนามัยเราต้องฝึกทำงานวิชาการกันทุกคน มิใช่เป็นหน้าที่ของนักวิชาการเพียงคนเดียวเท่านั้น  และถึงเวลาหรือยังที่เราต้องทบทวนกับบทบาทที่เป็นอยู่ !

เอกสารอ้างอิง
ไพรัช  สุวรรณเนกข์. (2542). การประเมินการปฏิบัติงานสาธารณสุขของนักวิชาการสาธารณสุขระดับตำบลในเขต 8. 
วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์)  สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข  บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหิดล.
พรเจริญ  บัวพุ่ม. (2543).  ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานกับการปฏิบัติงานตามบทบาทนักวิชาการสาธารณ
สุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์)  สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข  บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหิดล.
พรชัย  เลิศหลาย. (2543).  การปฏิบัติงานตามบทบาทของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย เขต 4.
วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์)  สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข  บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหิดล.
อรรณพ  พงษ์วาทและสมโชค  อ่องสกุล ,บรรณาธิการ. (2532).  การพัฒนาการอาจารย์ในบทบาทนักวิชาการ : รวมบทความว่าด้วยความเป็น
นักวิชาการ.  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วารสารหมออนามัย ปีที่ 5 ฉบับ 3 (พฤศจิกายน ธันวาคม 2538) . หมออนามัยกับการทำผลงานวิชาการ(ขึ้น ว), หน้า 9-14.
วารสารหมออนามัย ปีที่ 7 ฉบับ 2 (กันยายน ตุลาคม 2540) . ทุกขลาภของนักวิชาการรุ่นใหม่, หน้า  57-64.

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio