ขับเคลื่อนโดย Blogger.

นักวิชาการสาธารณสุขมืออาชีพ


นักวิชาการสาธารณสุขมืออาชีพ

ผมเองทำงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขมาประมาณ 6-7ปี

เรียกได้ว่ามีประสบการณ์กำลังพอดี ไม่มาก ไม่น้อยจนเกินไป

วันนี้ผมก็ขอเล่าเรื่องของผมเพื่อแชร์ประสบการณ์ให้น้องๆที่จบใหม่หรือน้องที่กำลังคิดจะเรียนสาธารณสุขนะครับ

เริ่มแรกที่ผมจบมาใหม่ๆ

ผมลุ้นจนบางส่วนของร่างกายแข็ง

ลุ้นว่าจะได้ทำงานที่โรงพยาบาลหรือที่สถานีอนามัย

ผลปรากฏว่าผมได้ทำงานที่โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในภาค อิสานครับ

นักวิชาการสาธารณสุขมีงานที่ต้องทำทั้งหมด 4 ด้าน คือ ส่งเสริม ป้องกัน  รักษา และฟื้นฟู

ผมเชื่อว่านักวิชาการสาธารณสุขหลายๆคนเป็นเหมือนผมคือยังไม่รู้ว่าตัวเองถนัดงานอะไรในสี่งานที่ว่า

และถึงรู้ว่าตัวเราเองถนัดงานอะไร มีจุดแข็งอะไร

แน่นอนไม่ว่าจะถนัดหรือไม่ถนัดเราก็ต้องทำงานที่อยู่ตรงหน้าอยู่ดี

อาทิเช่น ถนัดงานรักษาและป้องกันโรค แต่ต้องได้ทำงาน พิมพ์บัตรทอง,พิมพ์บัตรจ่ายตรง


สิ่งที่ผมอยากแนะนำน้องที่จบและมาทำงานใหม่ๆคือ ไม่ว่าจะได้รับมอบหมายให้ทำงานที่ตนเองถนัดหรือไม่ถนัดก็ขอให้ทำงานนั้นๆไปก่อน อย่าเพิ่งเลือกงาน  เหตุผลที่ต้องทำเช่นนั้นก็คือเพื่อไม่ให้พี่เหม็นขี้หน้าและเพื่อความอยู่รอด


หลังจากที่เรามีประสบการณ์สัก1-2ปีเราจะเริ่มรู้จักตัวตนที่แท้จริงว่าถนัดงานที่ได้รับมอบหมายตั้งแต่แรกหรือไม่

ในตอนแรกเราอาจจะไม่ชอบ แต่พอได้ทำผลงานกลับออกมาดี หากเป็นเช่นนั้นก็จงทำต่อไป

แต่หากตั้งใจทำสุดความสามารถแล้ว ผลงานยังออกมาเท่ากับคนที่ไม่ได้ตั้งใจทำงาน ก็จงมองหาโอกาสที่จะทำในสิ่งที่ตนเองถนัดมากขึ้น โดยการเขียนของย้ายฝ่ายหรือย้ายสถานที่ทำงาน

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำงานช่วงเริ่มต้นของนักวิชาการสาธารณสุข  คือการค้นหางานที่ตนเองถนัดและสร้างโอกาสที่จะได้ทำงานนั้น ผมคิดว่าเทคนิคเหล่านี้น่าจะพอช่วยน้องๆได้ครับ

1 ทำงานที่ได้รัยมอบหมายให้เต็มที่ เต็มความสามารถ เพราะมันเป็นวิธีที่จะทำให้เราค้นพบว่าเราถนัดหรือไม่ถนัดอะไร

2 นอกเหนืองานประจำแล้วให้มองหาโอกาสที่จะทำงานที่ตัวเองถนัดนอกเขตพื้นที่รับผิดชอบ ยกตัวอย่าง หากงานประจำเราคือรับผิดชอบด้านข้อมูลสารสนเทศ ในวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ อาจอาสาไปช่วยเพื่อนตรวจคนไข้ที่สถานีอนามัย

3.ทำในสิ่งที่ไม่ถนัดให้เต็มที่ เพราะเจ้านายจะได้เห็นว่าขนาดสิ่งที่เราไม่ถนัดเรายังทำเต็มที่แสดงถึงความมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของเรา

4 ห้ามบ่นเมื่อเจอปัญหา แต่ให้มองหาทางแก้ในทันที เพราะสมองมีพลังงานจำกัด ต้องเก็บพลังงานนั้นไว้สำหรับแก้ปัญหา ไม่ใช่เอาไว้บ่น

“ของาน อย่าอยู่เฉย อย่างเกี่ยง”

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio