สถานการณ์การเกิดโรค dengue feverของประเทศ ปี ๒๕๕๕ พบว่า ตั้งแต่ ๑ มกราคม-๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ พบผู้ป่วยโรค dengue feverสะสมทั่วประเทศ จำนวน๘,๙๓๔ ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตแล้ว ๙ ราย เมื่อแยกเป็นรายภาคพบว่าภาคกลางมีจำนวนผู้ป่วยมากรองลงมาคือภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ พื้นที่ที่พบอัตราป่วยสูง คือหลายจังหวัดในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน และบางจังหวัดในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนในภาพรวมของประเทศกับค่ามัธยฐาน ๕ ปีย้อนหลัง พบว่าอัตราป่วยเริ่มสูงในอัตราใกล้เคียงกัน แต่เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลระดับจังหวัดในพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีอัตราป่วยสูงดังกล่าว พบว่าในหลายพื้นที่มีอัตราป่วยในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ สูงกว่าค่ามัธยฐาน ๕ ปีย้อนหลังมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ เดือน ในส่วนของข้อมูลผู้เสียชีวิตพบว่ามีแนวโน้มพบในกลุ่มผู้ใหญ่มากขึ้น (๗ รายจากผู้เสียชีวิตทั้งหมด ๙ รายอายุมากกว่า ๑๕ ปี) โดยเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลปีพ.ศ. ๒๕๕๔ และค่ามัธยฐาน ๕ ปีย้อนหลัง ผู้เสียชีวิตในปีนี้มีอายุเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าเดิม
จากที่พบการระบาดในหลายพื้นที่ตั้งแต่ช่วงที่ยังไม่เข้าฤดูฝนร่วมกับมีการพบผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ในวัยผู้ใหญ่
ทำให้มีแนวโน้มว่าการระบาดในปีนี้อาจจะรุนแรงรวมทั้งมีผู้เสียชีวิตมากกว่าปกติ
จากรายงานการตรวจหาซีโรทัยป์ไวรัสไข้เลือดออก
ปี ๒๕๕๕ (๑ มกราคม-๒๗ เมษายน ๒๕๕๕)ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า จากการตรวจตัวอย่างในภาคกลางทั้งหมดจำนวน
๑๐๕ ตัวอย่างให้ผลบวกต่อซีโรทัยป์ ๕๐ ตัวอย่าง จำแนกเป็น DEN-V1 ๒๖ % DEN-V2 ๔๔ % DEN-V3 ๒๘ % และ DEN-V4 ๒ %
ในขณะนี้ฤดูฝนของประเทศไทยได้เริ่มขึ้นแล้วเมื่อวันที่
๕ พฤษภาคม(จากการประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา) พยากรณ์อากาศในรอบ ๓
เดือน(เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ๒๕๕๕) ของกรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่า ในเดือนพฤษภาคม บริเวณภาคเหนือ
ภาคกลาง และภาคใต้ มีฝนเพิ่มมากขึ้น เดือนมิถุนายน ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก จากการคาดหมายฝนปี ๒๕๕๕
เปรียบเทียบกับค่าปกติ ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
ในภาคกลางจะมีฝนสูงกว่าปกติเล็กน้อย
เนื่องจากช่วงนี้
เป็นช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ซึ่งกำลังจะย่างเข้าสู่ฤดูฝน
เป็นช่วงที่สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงมีทั้งร้อน มีทั้งฝนตกชื้นแฉะ ในหลาย ๆ พื้นที่กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์อย่างดีของยุงลายพาหะของเชื้อโรคไข้เลือดออก และจากการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย
(House Index) ในพื้นที่สาธารณสุขเขต ๓ และ ๙ของศูนย์โรคติดต่อนำโดยแมลง
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๓ จังหวัดชลบุรี ในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ๒๕๕๕ พบดังนี้
จังหวัด ชลบุรี ๑๘.๓๔ %
ระยอง ๒๓.๐ % จันทบุรี ๑๓.๐ % ตราด
๑๗.๓๔ % ฉะเชิงเทรา ๒๑.๐ % ปราจีนบุรี
๒๑.๖๑%สระแก้ว ๒๗.๔๕ % สมุทรปราการ
๑๕.๐ % และนครนายก ๓๔.๐ % ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการระบาดได้
เกรงว่าจะทำให้ประชาชนเสี่ยงป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกได้ง่าย
และอาจทำให้ผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงซึ่งได้แก่
เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ รวมถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
เช่น นักท่องเที่ยวต่างชาติ แรงงานข้ามชาติ หรือแรงงานเพื่อนบ้านที่เข้ามาท่องเที่ยว
หรือมาประกอบอาชีพในประเทศไทย ซึ่งมีโอกาสเจ็บป่วยและแพร่เชื้อโรคได้
ข้อเสนอแนะเพื่อการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
๑. หน่วยงานสาธารณสุขในทุกพื้นที่ควรเร่งดำเนินการควบคุมลูกน้ำยุงลาย และกำจัดยุงตัวแก่ในพื้นที่เสี่ยงโดยเฉพาะในโรงเรียนก่อนเปิดเทอม
อย่างเข้มข้นในช่วงต้นฤดูฝนนี้
๒.
เฝ้าระวังการเกิดโรคไข้เลือดออก
โดยการเร่งรัดให้มีการรายงานที่รวดเร็ว ควรซักซ้อมเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาในโรงพยาบาลให้รายงานผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลภายใน
๒๔ ชั่วโมง เพื่อให้ทีม SRRT สามารถเข้าไปดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
๓. ดำเนินการสอบสวนผู้ป่วยโดยเฉพาะรายแรกของหมู่บ้านทุกราย ในการสอบสวนให้ติดตามการเจาะเลือดส่งตรวจยืนยันและหาชนิดของเชื้อโรคไข้เลือดออก เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค
และประเมินความรุนแรงของการระบาดของโรคในพื้นที่
กล่าวคือ หากพบว่าเป็นเชื้อต่างชนิด(Type)
กับปีที่ผ่านมาโรคมักจะมีแนวโน้มระบาดในขอบเขตที่กว้างกว่า
เนื่องจากภูมิต้านทานต่อเชื้อไข้เลือดออกไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้เต็มที่
ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกทั้งจากเชื้อต่างชนิดหรือชนิดเดียวกันได้
๔. ควรควบคุมโรคในพื้นที่ที่พบผู้ป่วย โดยการกำจัดลุกน้ำยุงลายในชุมชน
และพ่นสารเคมีฆ่ายุงพาหะ การพ่นควรพ่นในวันแรกที่ได้รับรายงานผู้ป่วยในรัศมี
๑๐๐ เมตร และพ่นหลังจากนั้นอีก ๗ วัน เพื่อกำจัดยุงลายที่อาจหลงเหลืออยู่
๕. ทีม SRRT
ควรเตรียมพร้อมรับการระบาดของโรค
โดยการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น ฝึกซ้อมเจ้าหน้าที่และเครือข่ายทั้งของรัฐ ท้องถิ่น
และเอกชนให้มีความรู้และสามารถดำเนินการควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๖. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ร่วมกันป้องกันการระบาดของโรค ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง
โดยการกำจัดขยะและสิ่งของเหลือใช้ที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ตัดและริดกิ่งไม้ในบริเวณบ้านไม่ให้รกรุงรัง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น