ขับเคลื่อนโดย Blogger.

นักวิชาการสาธารณสุขกับความก้าวหน้า

  7 ปี ผ่านไปเร็วเหมือนโกหก จากนักวิชาการสาธารณสุข จบใหม่ ไฟแรง ณ ตอนนี้ก็เริ่มฟมดไฟจริงๆแล้ว ด้วยเหตุการณ์ที่ธรรมดาๆรายได้เพิ่มทีละนิดทีละน้อย เหมือนน้ำซึมบ่อทราย ไหลมาเรื่อยๆแต่ไม่เคยหมด ประกอบการทำงานมา 7 ปี แต่อายุราชการเพียง 4 ปี หลายๆอย่างทำให้เหนือยหัวขิต หัวใจ

  อนาคตของนักวิชาการสาธารณสุข  ขั้นแรกคงต้องหาทางสอบบรรจุให้ได้ และเรียนปริญญาโทให้จบแบบเร่งด่วน เพื่อความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดด  จากตอนนั้นก็รอเวลาที่จะได้ระดับชำนาญการพิเศษ

  ทางทุกสายย่อมทอดสู่กรุงโรม ฉันใดก็ฉันนั้น ความก้าวหน้าของนักวิชาการสาธารณสุข ใช่เพียงแต่รอให้ได้เวลางานแล้วทำผลงานให้ได้ชำนาญการพิเศษ  มีอีกหนึ่งหนทางซึ่งหลายๆท่านกำลังเดินทางสู่เส้นทางนี้คือ การสอบเรียนต่อแพทย์แนวใหม่หรือเรียกเก๋าๆว่า แพทย์newtract

  เส้นทางนี้นักวิชาการสาธารณสุข สามารถที่จะก้าวกระโดดจากเลขานุการCUPไปเป็นประธานCUP ได้อย่างรวดเร็ว คือใช้เวลาเตรียมตัวอย่างหนักและมีวินัยเข้มข้น 1 ปี จากนั้นไปเรียนแพทย์ อีก 5 ปี นักวิชาการสาธารณสุขท่านนั้นก็ก้าวหน้าทางอาชีพได้อย่าง เลิศหรูมากๆ

 สำหรับการเตรียมตัวก็ต้องเตรียมตัวในเนื้อหา PAT1 PAT2 และ GAT  อีกวิชาคือวิชาความถนัดทางการแพทย์ ซึ่งในส่วนนี้มี 3 พาธ พาธแรกเป็นการทดสอบเชาว์ปัญญา ประเภทเลขคณิต อนุกรมรูปภาพ พาธที่สอง เรื่องการจริยธรรมคุณธรรมข้อสอบจะถามประมาณว่า ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้คือข้อใด พาธสามเป็นพาธเชื่อมโยง พาธนี้อยากกว่าGATทั่วไปมาก 3 เท่า ใครอยากสอบติดแพทย์ต้องฝึกพาธนี้ให้ดี เพราะถ้าทำได้ก็ได้เต็ม ถ้าพลาดก็เข้าป่าเลยครับ

 สำหรับคุณสมบัติของแพทย์นิวแทคก็มีประมาณนี้ครับ
2.1 มีสัญชาติไทย
2.2 สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยมีรายวิชาที่เทียบ
ได้ในรายวิชา ฟิสิกส์ทางการแพทย์ เคมีทั่วไป เคมีอินทรีย์ ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิตในแต่ละรายวิชาและแต่ละรายวิชาต้องได้ค่าระดับขั้นไม่ต่ํากว่า C (2.00)
2.3 มีอายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ (นับถึงวันหมดเขตการรับสมัคร)
2.4 มีประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับการสาธารณสุขอย่างน้อย 2 ปี (นับถึงวันหมดเขตการรับ
สมัคร) พร้อมแนบใบรับรองมาในวันรับสมัคร
2.5 เป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคสังคมรังเกียจ หรือโรคสําคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
2.6 เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเต็มความสามารถ และจะปฏิบัติตาม
ระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด
2.7 ไม่เคยต้องโทษตามคําพิพากษาขอศาลถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ในกรณีความผิด อันกระทําโดย
ประมาทหรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
2.8 เป็นผู้ที่มีคะแนนจากการทดสอบวัดความถนัดทั่วไป (GAT) และความถนัดทางวิชาการและ
วิชาชีพ (PAT) ตามที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สทศ. จัดสอบในครั้งที่
1/2556 (สอบเดือนตุลาคม 2555) และคะแนนการสอบวิชาเฉพาะกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศ
ไทย (กสพท.)  

3. คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัคร

3.1 เป็นข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และได้รับอนุญาต
จากผู้บังคับบัญชาให้มาสมัครสอบคัดเลือก โดยในวันสมัครต้องมีใบอนุญาตจากผู้บังคับบัญชามาแสดง หรือพนักงานราชการ บุคคลทั่วไป ในวันยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาต้องมีใบลาออกจากต้นสังกัดที่ปฏิบัติงานอยู่มาแสดงและผู้สมัครต้องสามารถทําสัญญาเพื่อรับราชการภายหลังสําเร็จการศึกษาตามระเบียบและเงื่อนไขของรัฐบาล
3.2 เมื่อสําเร็จการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตแล้ว จะต้องสอบให้ผ่านการสอบขึ้น
ทะเบียน เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่แพทยสภาจัดสอบ
3.3 ต้องมีคุณสมบัติที่จะปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่างๆ ของรัฐได้หลังจากจบ
การศึกษาแล้ว โดยต้องสามารถทําสัญญาผูกพันฝ่ายเดียว หรือสัญญาปลายเปิดกับรัฐบาลตามระเบียบและเงื่อนไขของรัฐบาลกับมหาวิทยาลัย
3.4 ผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตจะต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และ
ปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงานและการ
ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
3.4.1 มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงดันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และ/หรือผู้อื่น เช่น
โรคจิต (Psychotic Disorders) โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) โรค
ประสาทรุนแรง (Severe Neurotic Disorders) โรคบุคลิกภาพผิดปกติ
(Personality Disorders) โดยเฉพาะ Antisocial Personality Disorders หรือ
Borderline Personality Disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ อันเป็น
อุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
3.4.2 เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วยหรือ
ส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบ
วิชาชีพเวชกรรม
3.4.3 เป็นโรคไม่ติดต่อหรือภาวะที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง
ต่อผู้ป่วย และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
3.4.4 มีความพิการทางร่างกายอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงานและการ
ประกอบวิชาเวชกรรม
3.4.5 มีความผิดปกติในการเห็นภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
3.4.5.1 ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง โดยได้รับการตรวจอย่างละเอียดแล้ว
3.4.5.2 ระดับการมองเห็นในตาข้างดี แย่กว่า 6/12 หรือ 20/40
3.4.6 มีความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500-2000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคําพูด
(speech discrimination score) น้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของ
ประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน (sensorineural hearing loss)
3.4.7 โรคหรือความพิการอื่นๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ที่คณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายเห็น
ว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ทั้งนี้ คณบดี/ผู้อํานวยการวิทยาลัย อาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค หรือ
ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละกรณี ตรวจเพิ่มเติมได้
3.4.8 ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญถือเป็นข้อยุติ
หากปรากฏภายหลังว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือ
จงใจปกปิดข้อมูล ให้ถือว่าเป็นการแจ้งเท็จทําให้ราชการเสียหาย ผู้นั้นจะถูกตัดสิทธิ์ในการคัดเลือกครั้งนี้ และแม้ว่าจะได้รับการส่งชื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้วก็ตาม จะถูกถอนสภาพการเป็นนิสิต


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio