ขับเคลื่อนโดย Blogger.

อะไรคือ Why -Why Analysis


Why -Why Analysis
สมหวัง  วิทยาปัญญานนท์

20  กรกฎาคม  2549
Font : CordiaUPC
การเข้าใจปัญหา  จำเป็นต้องฝึกพนักงานให้รู้จักการคิดวิเคราะห์ปัญหา
            การวิเคราะห์ตามหลักทำไม  เป็นเทคนิคการวิเคราะห์อย่างถึงแก่น  เพื่อปรับปรุงสถานประกอบ
            ถามว่าใครเคยเรียนวิชานี้มาก่อน  ให้ยกมือ  คนที่เข้าและไม่เข้า  และคนที่ไม่ยกมือเลยคืออะไร  นี่เป็นพื้นฐานของทำไม - ทำไม  หากไม่ตอบจะไล่ทำไม - ทำไมไม่ได้

        ต้องเข้าใจ  5  G
        1.  จะสาวปัญหาให้ชัดเจน  ยึดกุมข้อเท็จจริงให้มั่น
            2.  ทำความเข้าใจในโครงสร้างและหน้าที่ของส่วนที่เป็นปัญหาก่อนที่จะ
                 วิเคราะห์ปัญหา  ควรพิจารณาดังนี้
            -   แยกแยะปัญหา  ข้อเท็จจริงให้ชัดเจน  เข้าใจสถานที่จริง  สภาพจริง  แง่มุม
                ต่างๆ  ของปัญหา  ลักษณะ  ปริมาณ  เวลา  สายการผลิต
            -   ทำความเข้าใจโครงสร้างหน้าที่  วาดภาพ  แผนผัง  วงจร  จากสถานที่จริง

            หลักการ  5  จริง  (5  G)
                        สถานที่จริง                  Genba
                ของจริง                       Genbutsu
                สถานการณ์จริง           Genjitsu
                หลักการ                      Genri
                กฎเกณฑ์                     Gensoku

          ทำความเข้าใจปัญหา  โดยใช้เครื่องพิมพ์ดีดจากเครื่องพิมพ์ที่  1  และ  2  แต่ละวันที่  เช่น  JIPM  ว่าจุดบกพร่องมีอะไร  อย่าดูแค่นั้นแล้วจบ  เช่นดูข้อมูล  5  วัน  หน่วยแกนตั้ง  อย่าลืมเขียนหน่วย  เช่น  จำนวนครั้งต่อ  5  วัน  จากเครื่องที่  1  และ  2  ข้อผิดพลาด  1  และ  2  มี 14  และ  17  ครั้ง  IPM , JIP , m , JI , Pm , Im  แต่ละปัญหาเกิดกี่ครั้งก็จะเข้าใจปัญหา


                การเขียนที่ดีที่ทำให้เข้าใจปัญหา
            อุณหภูมิเตาไม่เพิ่ม  (เขียนไม่ดี)
            อุณหภูมิเตาอุณหภูมิไม่ถึงเกณฑ์กำหนด  (เขียนดี)
            แบริ่งมีปัญหา  (เขียนไม่ชัดเจน)
            แบริ่งร้อน  (เขียนชัดกว่า)
            แผ่นใสขึ้นจอไม่ชัด  (เขียนไม่ชัดเจน)
            แผ่นใสขึ้นจอเบลออ่านไม่ออก  (เขียนชัดเจน)  จงสังเกตให้ครบ  ถุงมือที่ทิ้ง  ถามว่าถุงมือเก่าหรือถุงมือเก่า  ต้องละเอียดให้รอบคอบ  จะได้คลำหาต้นตอได้ง่ายกว่า
            เขียนแปลน  ต้องบอกบ้างว่าเป็นอะไร  ดูไม่ชัดเจนว่าเป็นสายพาน  เขียนรูปแล้วรู้อยู่คนเดียว  จะวิเคราะห์ยากวิเคราะห์เป็นทีมไม่ได้
            การใส่ทำไมทำไมให้เริ่มจากปรากฎการณ์ก่อนอาจคิดจาก  การเป็นนักสืบ  มีคนตาย  มีเลือด  มีคราบ มีมีดปัก  มีก้นบุหรี่ทิ้งไว้  เลือดที่ผนัง  ตู้ล้มปกติเกินไป  เนียนเกินไปน่าสงสัยทำไม  หากเราเป็นตำรวจจะทำอย่างไร  สิ่งแรกที่จะทำคือ  นักสืบไปสถานที่จริง  วิเคราะห์ทำไมทำไม   คือการสั่งหาฆาตรกร  ฝึกคิดทำไมทำไม  ลองไปอ่าน โคนัน
        ฆาตรกรตัวจริง  คือใคร
            -  แนวคิดไม่ดี  ออกแบบไม่ดี
            -  วิธีการปฏิบัติ  ตั้งแต่ติดตั้ง  วิธีการใช้  ขั้นตอนวิธีบำรุงรักษา
            -  วิธีการจัดการและควบคุมดูแล
            ทำไมสะอาดเกินไปก็น่าสงสัย  ในการค้นหามาตรกรหรือสาเหตุของปัญหา
            จงถามทำไมไปเรื่อยๆ  จนรู้มาตรการแก้ไขปัญหาไล่ไปเหลือสุดท้ายอันเดียว 
ทำไมช่วงสุดท้ายดังนั้นก็จะต้องมีทำมาตรฐาน  สุดท้ายความแข็งวัสดุน้อยไป  ก็ต้องใช้วัสดุแข็งเพิ่มขึ้น  หรือสุดท้ายตำแหน่งการติดตั้งไม่ชัดเจน  (ไม่มีขีด)  กำหนดตำแหน่งการติดตั้งให้ชัดเจน  (มีขีด)
            วิธีการมองปัญหา  มองจากสภาพ  และมองจากหลักเกณฑ์และทฤษฎี
            มองจากหลักเกณฑ์ก็ต้องมี  ความรู้  อันจะอธิบายได้การมองจากสภาพ  มักเป็นปัญหาอย่างง่าย  มองเห็นได้ง่ายหากยากๆ  พวกระบบไฟฟ้าควบคุม  จะมองไม่เห็นต้องดูจากทฤษฎีประกอบ  จงใช้ตามความเหมาะสมบางครั้งการใช้ทางกายภาพ  หรือตามหลักการทฤษฎีหน่วยงานซ่อมควรใช้มากๆ  แก้ปัญหาการชำรุด
            สาเหตุที่สลักเกลียวไม่หมุนเกิดจากอะไร เพราะแผ่นเหล็กเป็นสนิมเลย  แล้วใช้ไปเรื่อยๆ  อย่างนี้ไม่ถูก  ต้องไล่ให้ถูกหลัก อย่าคิดว่าทำแล้ว นำเสนอผิดขั้นตอน ผิดวิธี หากเขาเข้าใจ เขาก็ชื่นชมเรา หากเขาไม่เข้าใจ เขาก็หาว่าเรามั่ว จงนำแนวคิดมาเขียนด้วย
เพื่อนำเสนอ จุดอ่อนเราอยู่ที่ ต้องแก้ปัญหานี้ อย่าไปหลงว่าแต่เอาผลลัพธ์ ควรดูวิธีนำเสนอที่ดีด้วย โดยเฉพาะการไปประกวด ส่วนใหญ่เราได้ชนะ เพราะชื่อเสียงเราดังเดิม เขาเชื่อมั่นเรา เรานำเสนอไม่ดี เขาก็ยังคิดดีต่อเรา เราของรางวัล ระดับนานาชาติ เราต้องนำเสนอเก่ง โดยเฉพาะรางวัลจากญี่ปุ่น
            คะแนนจากการประกวด =    RP 2
R         =      ผลลัพธ์                        90%
P      =      กระบวนการ               90%
P      =      การนำเสนอ                 50%
        จงจำไว้เสมอว่า คะแนนจากการประกวดขึ้นอยู่กับการนำเสนอด้วย
            การวิเคราะห์ หากตรวจสอบแล้ว ใช้ได้ (OK) ก็ให้หยุด หากพบว่าไม่ดี (NG = No Good) ก็ต้องวิเคราะห์ไล่ทำไมต่อ เช่นเหล็กเป็นสนิม ก็ต้องหาสาเหตุว่าทำไมเป็นสนิม ไล่ที่ไหน  Where  เกิดที่ไหนก็ได้ บางกรณีไม่ใช่ When ก็ได้ สลักเกลียวร้อนหรือเปล่าจึงติดไม่หมุน เอา What, When, Where, How, มาถามก่อน ไล่ทำไม ต่อก็ได้ อยากให้ใช้ (5W1H) สามัญสำนึกมาดูด้วย ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หัวสลักเกลียวสึกด้วยหรือเปล่า สึกหรอมากจนเป็นสาเหตุให้สลักเกลียวไม่หมุนก็ได้ หรือสึกหรอมากจนเป็นสาเหตุก็ได้
            การมองปัญหาแบบหลักการและทฤษฎี เช่น แรงหมุนน้อยกว่าแรงต้านทานจากสนิม
            ในความเป็นจริง ใช้วิธีการง่ายๆ ดีกว่าการใช้วิธีการยากๆ เชือดไก่ใยต้องใช้มีดโค
            จริงๆ แล้วอยากให้ทำ QCC แต่ปัจจุบันใช้กลุ่มย่อย (Small Group)
            วิธีการแก้ปัญหา ให้แยกปัญหาออกเป็นง่าย ปานกลาง และยาก แล้วค่อยเลือกวิธีการแก้ แล้วใช้เครื่องมือให้เหมาะสม ปัญหาง่ายก็ใช้วิธีการง่าย แบ่งวิธีการเป็น 4 ระดับ แบบยากเป็นทีมโครงการ แบบลงมาก็ระดับส่วน แบบรองลงมาเป็นแบบแผนก และสุดท้ายเป็นแบบแต่ละคน มาทำ
            ดูเกจน์ไม่ชัด ก็ใช้ใส่สีเข้าไปเลย ไม่เห็นต้องวิเคราะห์อะไรมากมาย อาจเริ่มจากการใช้วิธีการง่ายๆ ก่อน
            วิธีวิเคราะห์ทำไม ทำไม ขั้นยากๆ ก็มี PM  Analysis
            การทาสี ให้ระวัง หัวอัดจารบี อย่าไปทาทับรู จะอัดจารบีไม่ได้ หัวน๊อตส่วนหมุน สีจะเกาะยึด จนหมุนไม่ได้
            การไล่ทำไม ทำไม จะทำให้เหตุสับไปสับมา ควรไล่ตรรกะ ยืนยันความถูกต้องว่าเป็นเหตุผลที่แท้จริง ทำอ่านย้อนกลับ จากสุดท้ายมาหาปรากฎการณ์เริ่มต้น เช่น ทำไมเด็กร้องให้ ให้ดูจากภาพ ที่มีกระป๋องล้ม ปลาอยู่ข้างนอก ประแจตกใส่หัว
            ลองคิดดู คิดแบบเดินหน้าและแบบคิดย้อนกลับ
                        เด็กร้องให้       à      เพราะปลาตาย
                        ปลาตาย           à      ถังล้ม
                        ปลาตาย           à      เด็กเศร้า
                        เศร้า                 à      เด็กร้องให้หรือเปล่า
            ฝาครอบโซ่ชำรุดเพราะหลวม หรือเพราะรถชนถูกฝาครอบ ลองไล่ดูที่ไม่กระโจนข้าม
            สลักเกลียวหลวมเพราะสั้น สั้นเพราะลูกกลิ้งไม่เรียบ เพราะมีสิ่งแปลกปลอม ให้ลองคิดไล่ดูเป็นผังการไหล ลองแตกไปหลายๆ กิ่ง หลายสาเหตุ แล้วมาจบที่สาเหตุเดียว แก้สิ่งเดียว อย่างอื่นหายหมดเลย
            นักสืบเดี๋ยวนี้ เริ่มใช้หลักการ สืบจากศพ อาการบิดเบี้ยว
            การใช้หลักการต้องลงไปดูของจริงด้วย ผ่าศพดูเข้าไปดูอาการจริง หลักฐานประกอบ ทฤษฎีอธิบาย
            ในชีวิตมนุษย์ สงสัยฆาตรกร 3 คน มีตัวจริงหนึ่งคน จะฆ่าหมดก็ได้ แต่บาปกรรม หากเป็นเครื่องจักร วิธีการทำงาน เราอาจแก้หรือกำจัดทั้ง 3 อย่างได้
            ให้ตรวจสอบดูว่า ปัจจัยสาเหตุได้มาครบถ้วนหรือไม่ คัดผู้ต้องสงสัยมา 10 คน หากไม่มีมาตรกรอยู่ในกลุ่มผู้ต้องสงสัย  อย่างนี้หลงทาง  เช่นสงสัย  2  คนนี้เป็นฆาตรกร  แต่กลับเป็นเหยื่อถูกฆ่าไปด้วยอย่างนี้  ต้องเริ่มต้นใหม่
 
            ปรากฎการณ์  หลังจากปลาติดเบ็ดทำให้สายเบ็ดขาด  เพราะปลาตัวใหญ่  อย่างเดียวหรือเปล่า  เป็นเพราะสายเสื่อมหรือเปล่า  หากปลาตัวเล็ก  สายเบ็ดใหม่ก็ยังขาดอีก  ก็อาจเป็นสายเบ็ดเล็กไปหรือเปล่า ลองมองย้อนกลับ  อาจเป็นแรงดึงมากไป สายเบ็ดมีสเป๊คต่ำไป  อาจใช้วิธีการระดมสมอง  อาจต้องนำไปตรวจสอบทดสอบสายเบ็ด  มีความรู้เรื่องการตกปลา  ว่าต้องใช้แรงดึงกี่ปอนด์
            อย่าไปยึดติดว่า  ถามทำไม  5  ครั้ง  อันไหนใช้ได้  (OK)  ก็หยุดถาม  หากมีปัญหา  (NG)  ก็ให้ถามต่อ
            หากมีปรากฎการณ์อันหนึ่ง  สาเหตุจากสลักเกลียวหลวม  คำตอบขันเกลียวให้แน่น  อย่างนี้ไม่ดีลองพิจารณาดู  สลักเกลียวหลวมอาจเกิดจากการสั่น  ขนาดเล็กไป  ไม่มีที่ล๊อค  คำตอบก็จะเปลี่ยนไป  คือต้องเปลี่ยนขนาดสลักเกลียวให้ใหญ่ขึ้น
            หากพบว่า  สาเหตุอยู่ที่ไม่ได้ทำความสะอาด  หากแก้โดยไปทำความสะอาด  ปัญหาก็จะเกิดอีกเพราะมันทำความสะอาดยาก  ฝาครอบถอดยากใช้เวลานานจึงไม่อยากทำ  อาจแก้โดยทำให้เปิดฝาครอบง่ายๆ  แบบคลิ๊บล๊อค
            หากพบว่าไม่รู้ว่าวาระที่จะไปทำ  ก็ทำระบุไว้ให้ทราบ  ก็จะไปทำ
            หากพบว่าสาเหตุที่เครื่องจักรเดินเต็มกำลังเต็มที่คำสั่งซื้อมีมาก  อย่างนี้ไม่ต้องแก้ที่ต้องทำให้ซื้อน้อยลง  อย่างนี้บริษัทเจ๊งแน่  ต้องแก้ที่เพิ่มเวลาการผลิต
            นายทาเกิดอุบัติเหตุเดินชนคานแล้วศีรษะแตก แล้วมีสาเหตุจากใจลอย จะแก้อะไร  ชนแล้วไม่แตก  ทางแก้ให้เอาเบาะมาหุ้มคาน  หรือขยับเพดานให้สูงอีกหน่อย
            อย่าใช้คำว่าไม่ดี  เช่นออกแบบไม่ดี  จัดการไม่ดี  ทำไม่ดี  ก็ไม่รู้ว่าไม่ดีคืออะไรกันแน่  ใช้ชี้ชัดเลย
            จับสภาพ  (Catch  Up)  หรือยึดกุมข้อเท็จจริง  รู้จัก  รู้จริง  รู้แจ้ง  เพื่อปัญหาให้ชัด  เข้าใจสภาพและการทำงานของคนและเครื่องจักร
            ข้อความควรสั้น  กระชับ  ได้ใจความ  ลองอ่านย้อนกลับแล้วเป็นเหตุเป็นผล  สาเหตุหยิบยกกรณีต่างๆ  แล้วไม่มีสิ่งนี้  สิ่งนี้แล้ว  สิ่งนี้จะไม่เกิดหรือเปล่า
            เพราะมีสิ่งนี้  สิ่งนี้จึงเกิด
             เพราะไม่มีสิ่งนี้  สิ่งนี้จึงไม่เกิด
            การแก้ปัญหาส่วนใหญ่ไม่ถึงสาเหตุรากเหง้า  ก็แก้ที่กลางๆ  เพราะไล่ไม่ถึง  หรือต้องใช้งบประมาณมากจึงไม่แก้โดยวิธีนั้น  หากเป็นไปได้ควรแก้ให้ถึงสาเหตุรากเหง้า
            ลองคิดดูว่า  การวิเคราะห์แบบทำไมทำไม  กับผังก้างปลา  ต่างกันอย่างไร  การวิเคราะห์แบบทำไมทำไม
            1.  ก่อนการวิเคราะห์  ต้องอาศัยข้อเท็จจริง
            2.  ใช้หลักเกณฑ์  และทฤษฎีประกอบ
            3.  ต้องมีการพิสูจน์  ทุกครั้ง
            4.  มีการกำหนดข้อควรระวัง
            5.  ต้องสิ้นสุดที่  สาเหตุรากเหง้าจริง
            การใช้วิเคราะห์แบบทำไมทำไม  จะมีแบบฟอร์มให้ใช้งานด้วย  ไม่ควรปล่อยแบบฟอร์มว่างไว้  หากไม่ใช้ให้ตัดออกไปเลย  จะดูดีกว่า  ใช้  OK  และ  NG  ได้เริ่มจากปรากฎการณ์  ที่ไหน  ทำไม1  ทำไม2   ทำไม3.....  เกณฑ์พิจารณา  แนวทางแก้ไข  ผู้รับผิดชอบ  กำหนดและ  วันแล้วเสร็จ และสภาพที่เกิดขึ้น  หรือภาพโดยย่อหลังจากจบมาตรการหรือมาตรฐาน  มักจะปิดท้ายด้วยปัญหาที่ยังคงเหลืออยู่  หรือแผนงานในอนาคตด้วย
            บทส่งท้าย  การวิเคราะห์ตามหลักทำไมก็คล้ายๆ  กับทางพุทธ  ที่เรียกว่า  ปฏิจจสมุปบาท  เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น  เมื่อสิ่งนี้ดับ  สิ่งนี้จึงไม่เกิดขึ้น  การไล่หาทำไมๆ  ก็จะคล้ายๆ  กับการไล่ห่วงโซ่ทุกข์ตามหลักปฏิจจสมุปบาท  ตามหลักเหตุทำให้เกิดผลแบบอิทัปปัจจยตา  มีทั้งไล่ย้อนหลัง  คือจากผลไปหาสาเหตุ  และไล่จากเหตุไปหาผลก็ได้  เพื่อยืนยันเรื่องเหตุปัจจัยก็มีทั้งเหตุเดียวและหลายเหตุ  (พหุเหตุ)  บางครั้งหลายๆ  เหตุพอไล่ไปเรื่อยๆ  อาจรวมสุดท้ายเป็นเหตุเดียว  แบบปฏิจจสมุปบาทก็ได้  ที่ไปจบที่ความไม่รู้หรืออวิชชา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio