ขับเคลื่อนโดย Blogger.

แนวข้อสอบสาธารณสุขฉบับโรคอุบัติการณ์ใหม่

"วันนี้ผมโพสแนวข้อสอบสาธารณสุข หลายโพสมากครับ เนื่องจากวันนี้เป็นวันศุกร์ ผมไม่ค่อยได้ทำอะไร ก้เลยหาแนวข้อสอบสาธารณสุขที่ผมคิดว่ามีประโยชน์กับว่าที่นักวิชาการสาธารณสุขมาโพสให้เหล่านักศึกษาคณะสาธารณสุขได้อ่านกันครับ"

1.       โรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases) หมายถึง
ตอบ โรคติดต่อที่มีอุบัติการณ์ในมนุษย์เพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงที่เพิ่งผ่านมา หรือมีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้
2.       โรคติดต่ออุบัติใหม่  ได้แก่โรคติดต่อชนิดใด
ตอบ  โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อใหม่ (new infectious diseases) โรคติดต่อที่พบในพื้นที่ใหม่ (new geographical areas) และโรคติดต่ออุบัติซ้ำ (Re-emerging infectious diseases) คือ โรคติดต่อที่เคยแพร่ระบาดในอดีตและสงบไปนานหลายปีแล้ว แต่กลับมาระบาดขึ้นอีก โรคจากเชื้อดื้อยา (Drug resistant pathogens) และโรคจากการก่อการร้ายด้วยเชื้อโรค(Bioterrorism)
3.       โรคติดต่ออุบัติใหม่จากสัตว์ (Emerging zoonotic diseases) หมายถึง
ตอบ  โรคติดต่อจากสัตว์ที่พบใหม่หรือเกิดจากเชื้อที่กลายพันธุ์ไป หรือโรคที่มีอยู่เดิมแล้ว แต่พบแนวโน้มของอุบัติการณ์ของโรค พื้นที่ โฮสต์ หรือพาหะนำโรคเพิ่มมากขึ้น
4.       ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ มีอะไรบ้าง
ตอบ    1. ปัจจัยด้านชีวภาพ (Biological factors) เช่น เชื้อโรค มนุษย์ โครงสร้าง ประชากร พฤติกรรมของมนุษย์ (Demographic factors) ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของมนุษย์และสัตว์ (Human and animal interface)
2. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental factors) เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์จากการกระทำของมนุษย์ (Man-made ecological changes) ภาวะโลกร้อน (Global warming)
3. ปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจ (Socioeconomic factors) เช่น การเดินทางและการค้าระหว่างประเทศ (International travel and trade factors) โครงสร้างสาธารณสุข (Public health infrastructure  factors)
5.       การที่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจากเดิม ส่งผลให้เกิดโรคติดเชื้อ
อุบัติใหม่ต่าง ๆ  เป็นผลเนื่องมาจากสาเหตุใด
ตอบ  - การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์จากการกระทำของมนุษย์ (Man-made ecological changes) การบุกรุกและทำลายป่าในประเทศที่กำลังพัฒนาเป็นเรื่องที่พบเห็นได้บ่อย ทำให้เกิดความไม่สมดุลที่เอื้อต่อการเกิดและแพร่เชื้อโรค โดยมนุษย์อาจติดเชื้อจากสัตว์ป่าโดยตรง แล้วนำกลับไปแพร่ในชุมชน นอกจากนั้นยังอาจเกิดการแพร่กระจายของแมลงและสัตว์นำโรค เช่น การทำลายป่าเพื่อสร้างสนามบินนานาชาติในมาเลเซีย ทำให้ค้างคาวต้องอพยพเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรมเปิดโอกาสให้เชื้อไวรัสนิปาห์ แพร่ไปยังสุกรอยู่ระยะหนึ่ง และในเวลาต่อมาเชื้อก็สามารถแพร่ติดต่อมายังคนได้ในที่สุด
- อุตสาหกรรมการผลิตอาหารโดยการเลี้ยงสัตว์ที่ขาดการจัดการที่ดี มีส่วนทำให้เกิดเชื้อโรคชนิดใหม่เช่น กรณีโรควัวบ้า (Mad Cow disease) หรือโรคสมองฝ่อในวัว (Bovine SpongiformEncephalopathy : BSE) เกิดจากการใช้เศษเนื้อเศษกระดูกของแกะ (ซึ่งติดเชื้อสมองฝ่อScrapie) มาเลี้ยงวัว เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำนม ทำให้เกิดโรคสมองฝ่อแบบใหม่ (Variant  Creutzfeldt-Jacob Disease : vCJD) ในมนุษย์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากพริออน (prion) หรือกรณีการเลี้ยงสัตว์ปีกอย่างหนาแน่น เพื่อการส่งออกในหลายประเทศของเอเชีย โดยขาดการจัดการป้องกันการแพร่เชื้อเข้ามาสู่ฟาร์ม (Biosecurity) ซึ่งเป็นต้นเหตุหนึ่งของการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก
- ภาวะโลกร้อน (Global warming) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั่วโลกเกิดความกังวลต่อปัญหาภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้น เนื่องจากพบว่าในศตวรรษที่ 21 นี้ อุณหภูมิของโลกได้เพิ่มสูงขึ้นอีก 1 - 4 องศาเซลเซียส ทำให้แมลงพาหะนำโรคต่างๆ สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้มากขึ้น และขยายพื้นที่อยู่อาศัยออกไปข้ามประเทศหรือทวีปได้ขณะเดียวกัน จุลชีพก่อโรคต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยอยู่กับแมลงเหล่านี้ ก็พัฒนาเติบโตได้รวดเร็วขึ้นอีกด้วย
6.       ปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่  มีอะไรบ้าง
ตอบ        - ปัญหาความยากจน โดยเฉพาะในประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือประเทศกำลังพัฒนานั้น ได้
นำมาซึ่งสุขภาพไม่ดี ประชากรยากจนในชนบทและสลัมในเขตเมือง รวมทั้งแรงงานต่างด้าวผิด
กฎหมายซึ่งอาจทำให้โรคติดต่อที่เคยควบคุมได้แล้ว กลับเข้ามาระบาดซ้ำในประเทศได้อีก และ
ประชากรกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดโรคต่าง ๆ ได้มากกว่าประชากรกลุ่มอื่น ๆ เนื่องมาจาก
ความด้อยโอกาสในการเข้าถึงข่าวสาร ระบบบริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน และระบบบริการทาง
การแพทย์และการสาธารณสุข ทำให้ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ ไม่ทราบวิธีป้องกัน
ตนเองจากโรคเหล่านั้น เป็นผลต่อเนื่องทำให้ขาดพฤติกรรมสุขอนามัยที่ช่วยป้องกันตนเองจาก
โรคติดต่อ
- การเพิ่มขึ้นของการเดินทางและการค้าระหว่างประเทศ (International travel and trade factors) ปัจจุบันการเดินทางระหว่างประเทศมีจำนวนเพิ่มและสะดวกรวดเร็วขึ้นมาก รวมทั้งมีการเคลื่อนย้ายของประชากรข้ามพรมแดน ตลอดจนการขนส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วย ปัจจัยเหล่านี้ทำให้โรคติดต่ออุบัติใหม่ สามารถแพร่กระจายจากพื้นที่หนึ่งไปสู่พื้นที่อื่นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมักก่อให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรงอย่างกว้างมาก ดังเช่นการแพร่ระบาดของโรคซาร์สไปยังประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ รวม 29 ประเทศภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว การแพร่ระบาดทั่วโลกของไข้หวัดใหญ่ในศตวรรษที่ 20 รวม 3 ครั้งนั้นพบว่า ใช้เวลาลดลงเมื่อการคมนาคมสะดวกสบายรวดเร็วขึ้น และล่าสุดการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่(H1N1) 2009 ที่แพร่ไปพร้อมกับผู้เดินทางทางอากาศ โดยใช้เวลาเพียงสองเดือนเศษก็แพร่ไปทั่วโลก
- การค้าสัตว์ระหว่างประเทศ อาจนำเชื้อใหม่แพร่ติดเข้าไปด้วย เช่น การระบาดของไข้หวัดนกในฮ่องกง เกิดจากการนำเข้าไก่จากจีน การระบาดของโรควัวบ้าในฝรั่งเศสและประเทศอื่น ๆ ที่เกิดจากการนำเข้าเศษเนื้อเศษกระดูกวัวเพื่อเป็นอาหารสัตว์จากอังกฤษ นอกจากนั้น ในกระบวนการขนส่งสินค้า หากละเลยมาตรการสุขาภิบาลที่ด่านเข้าเมือง ก็จะเป็นโอกาสเอื้อให้สัตว์ ยุง และแมลงพาหะอื่น ๆ แพร่ขยายพันธุ์ออกไปจากแหล่งพักพิงดั้งเดิม และอาจนำเอาเชื้อก่อโรคอันตรายติดไปด้วย
- การลักลอบการนำเข้าสัตว์ป่าจากต่างประเทศเพื่อมาเป็นสัตว์เลี้ยง อาจนำโรคใหม่ ๆ เข้ามาในพื้นที่ซึ่งไม่เคยพบเชื้อและคนไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อนั้นมาก่อน เช่น หนูแกมเบียนจากอาฟริกานำโรคฝีดาษลิง (Monkey pox) เข้าไปในสหรัฐอเมริกา ไทยพบเชื้อซาลโมเนลลาสายพันธุ์ใหม่ในอิกัวนาจากอาฟริกามากถึง 11 ชนิด และแมลงสาบยักษ์จากเกาะมาดากัสการ์ก็อาจก่อปัญหาในทำนองเดียวกัน หมูจิ๋วกับปัญหาไข้สมองอักเสบ เจ อี สัตว์ปีกกลุ่มนกแก้วกับโรคสิตตาโคซิส(Psittacosis) นอกจากนั้น ในประเทศไทย พบมีการนำนากหญ้าและหอยเชอรี่จากไต้หวันเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร ซึ่งอาจทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่เอื้อต่อการเกิดโรค ระบาดของโรคเลปโตสไปโรสิสหรือโรคฉี่หนูเพิ่มขึ้น รวมถึงการนำพ่อแม่พันธุ์สัตว์เข้ามาขยายพันธุ์ในเชิงพาณิชย์ เช่น ไก่ เป็ด โค สุกร ม้า สุนัข ก็อาจเป็นการนำเชื้อเข้าแพร่กระจายได้ในทำนองเดียวกัน
- ปัจจัยด้านโครงสร้างสาธารณสุข (Public health infrastructure factors) การขาดแคลนทรัพยากรและงบประมาณในระบบสาธารณสุข การไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาโรคติดต่อ รวมทั้งการละเลยมาตรการป้องกันควบคุมโรคของประเทศต่าง ๆ อาจนำไปสู่ปัญหาการระบาดใหญ่ตรงกันข้าม การมีระบบและโครงสร้างสาธารณสุขที่เข้มแข็ง จะช่วยให้สามารถค้นหาการระบาดของโรคและสกัดกั้นการระบาดได้อย่างรวดเร็ว เท่ากับเป็นการลงทุนด้านงบประมาณและกำลังบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับทรัพยากรที่จะต้องสูญเสียไปกับการรักษาและการแก้ไขปัญหาที่ ปลายทางเมื่อเกิดการระบาดขึ้นแล้ว
- ปัญหาการก่อการร้ายโดยการใช้เชื้อโรคมาผลิตเป็นอาวุธ (Bioterrorism) เช่น เหตุการณ์ในสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ.2545 ผู้ก่อการร้ายใช้สปอร์ของเชื้อแอนแทรกซ์ผสมผงแป้ง บรรจุลงในจดหมายและไปรษณียภัณฑ์ นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงที่ผู้ก่อการร้ายอาจใช้เชื้อโรคอื่น ๆ กลับมาสร้างปัญหาสาธารณสุขสำคัญอีกครั้งหนึ่ง เช่น เชื้อไวรัสไข้ทรพิษ ซึ่งถูกกวาดล้างไปจากโลกแล้ว
7.       โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่  2009 เป็นโรคระบาดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดใด
ตอบ   ชนิด A (H1N1)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio