จุดกำเนิดนักวิชาการสาธารณสุขอย่างผมคือ การดูแลพ่อแม่ ญาติสนิท มิตรสหาย และดูแลสุขภาพตนเอง นั้นเป็นเป้าหมายหลักของพ่อผมที่ส่งผมไปเรียนสาธารณสุข แต่พอจบออกมาผมกลับไม่ค่อยได้ทำงานด้านสุขภาพสักเท่าไหร่เลยครับ จวบจนเวลาล่วงเลยมา 6 ปี เป้าหมายหลักของพ่อผมเริ่มเห็นผล เมื่อแม่ผมเริ่มกลายเป็นผู้สูงอายุ ผมเองเริ่มตระหนักในการแสวงหาความรู้ ทำความเข้าใจในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และผมเชื่ออย่างหมดใจแล้วครับ นักวิชาการสาธารณสุขมีความสำคัญมากครับ การส่งเสริม ป้องกัน รักษา หากกระทรวงสาธารณสุขทำงานด้านนี้สำเร็จ ลุล่วงแห่งเป้าประสงค์ คนไทยก็คงจะสุขภาพดีกันถ้วนหน้าครับ วันนี้ผมขอนำเสนอบทความที่เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุในภาวะซึมเศร้านะครับ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีประโยชน์กับนักวิชาการสาธารณสุขท่านอื่นๆตลอดจนประชาชนผู้สนใจครับ
บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า ควรเริ่มจากการป้องกันมิให้เกิดภาวะซึมเศร้า เพิ่มสมรรถนะทางด้านร่างกายและจิตสังคม ลดอาการที่เกิดจากภาวะซึมเศร้ารวมทั้งเพิ่มทักษะในการปรับตัวต่อความเครียดเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต และการดูแลตามแผนการรักษาของจิตแพทย์ ดังนี้ (Stanley & Beare ,1995:384-393 ,Miller 1999:597-605 ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์2547 : 25-41)
1. ลดปัจจัยที่มีผลให้เกิดภาวะซึมเศร้า
1.1 ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือลดปัญหาทุพพลภาพต่างๆโดยการพาผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพประจาปี และเร่งรักษาฟื้นฟูสุขภาพโดยเร็ว
1.2 ให้การดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยต้องพึ่งพาผู้อื่น ไม่ให้เกิดการแยกตัวจากสังคม
1.3 พยาบาลต้องช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าใจผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงตามวัยที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม โดยพยายามให้ความรู้และหากิจกรรมให้ทา ส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมมากขึ้น
1.4 พยาบาลต้องเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าซึ่งเป็นผลจากการเจ็บป่วยต่างๆในผู้สูงอายุรวมทั้งผลข้างเคียงจากการใช้ยา
2. ให้การดูแลในระยะภาวะซึมเศร้าลดลง มีระดับการรู้ตัวดี
2.1 ให้คาปรึกษาโดยผ่านการสื่อสาร ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าจะมีความรู้สึกเศร้ามาก ความรู้สึกนี้พยาบาลควรเข้าใจและสนใจรับฟังเรื่องราวของผู้สูงอายุอย่างสงบ เปิดโอกาสให้ได้ระบายความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดจากการสูญเสีย และช่วยให้ผู้สูงอายุได้ราลึกถึงความหลังในสิ่งที่ดี เช่นการดูแลครอบครัว งานอดิเรก สิ่งที่ภาคภูมิใจ เพื่อให้ผู้ป่วยได้เห็นว่าในชีวิตไม่มีสิ่งที่เลวร้าย และชี้ให้เห็นสิ่งที่ดีเกี่ยวกับตนเองเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าในตัวเอง
2.2 ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาการซึมเศร้า ชี้แจงให้ผู้ป่วยได้ทราบว่าอาการซึมเศร้าเป็นอาการที่รักษาหายได้ การรับประทานยาและได้ระบายความรู้สึกต่างๆขณะทาจิตบาบัดจะช่วยลดอาการซึมเศร้าลงได้
2.3 ช่วยปรับสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและสังคม
1. ประเมินและแก้ไขความบกพร่องทางด้านร่างกาย เช่น ใส่แว่นตา หรือเพิ่มแสงสว่างในกรณีที่ตามองไม่เห็น ใช้เครื่องช่วยฟังในรายที่หูตึง เป็นต้น
2. ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทั้งบุคคลในครอบครัวและสังคมรอบๆ เช่นร่วมปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ ฟังธรรมะ ออกกาลังกายเป็นต้น เพื่อช่วยในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างให้ดีขึ้น
3. ให้ผู้ป่วยทากิจกรรมต่างๆด้วยตนเองมากที่สุดแม้ต้องใช้เวลานาน เพื่อหลีกเลี่ยงการพึ่งพา และส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ
2.4 ส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้ามักจะขาดสารอาหาร และสารอาหารจะช่วยส่งเสริมสภาพจิตใจและสติปัญญา รวมทั้งช่วยลดอาการท้องผูก ซึ่งเป็นปัญหาจากการไม่เคลื่อนไหว และจากยา โดยจัดอาหารให้น่ารับประทานหรือพิจารณาให้อาหารทางสายยางในรายที่มีอาการรุนแรง
สรุป ภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่ต้องรีบให้การช่วยเหลือหรือจะถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติที่พบในผู้สูงอายุได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจของบุคคลรอบข้าง ซึ่งถ้าผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจ ภาวะซึมเศร้าก็สามารถรักษาหายได้และทาให้ผู้สูงอายุกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติได้อีกครั้งหนึ่ง แต่ถ้าถูกละเลย ภาวะซึมเศร้าในระยะรุนแรงอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากการทาร้ายตนเองในผู้สูงอายุได้มากเป็นอันดับหนึ่ง ดังนั้นการตรวจพบในระยะแรกจึงเป็นเรื่องสาคัญ และการดูแลรักษา ติดตามอย่างต่อเนื่องจึงเป็นความรับผิดชอบของทีมสุขภาพ
เอกสารอ้างอิง
1. ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์ 2547 การพยาบาลผู้สูงอายุ ปัญหาระบบประสาทและอื่นๆ กรุงเทพฯ บุญศิริการพิมพ์จากัด
2. Harkness,G.A.and Dincher,J.R(1999) Medical Surgical Nursing:Total Patient Care. 10th ed. St.Louis:Mosby
3. Miller,CA. Nursing Care of Older Adults:Theory and Practice. (1999) Philadelphia : Lippincott . 581-609
4. Stanley.M and Beare,P.G.(1995)Gerontological Nursing. Philadelphia:F.A.Davis.
การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า
ป้ายกำกับ:
การดูแลผู้สูงอายุ,
บทบาทนักวิชาการสาธารณสุข
View Posts Recommended By Other Readers :
การดูแลผู้สูงอายุ, บทบาทนักวิชาการสาธารณสุขคลังบทความของบล็อก
- พฤษภาคม (1)
- มีนาคม (3)
- มกราคม (1)
- มิถุนายน (1)
- เมษายน (2)
- พฤศจิกายน (1)
- สิงหาคม (2)
- พฤษภาคม (1)
- เมษายน (1)
- พฤศจิกายน (2)
- มีนาคม (1)
- กรกฎาคม (1)
- มิถุนายน (1)
- พฤษภาคม (2)
- เมษายน (4)
- มีนาคม (7)
- กุมภาพันธ์ (3)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (3)
- พฤศจิกายน (9)
- ตุลาคม (1)
- กันยายน (9)
- สิงหาคม (32)
- กรกฎาคม (42)
- มิถุนายน (41)
- พฤษภาคม (3)
- เมษายน (5)
- มีนาคม (3)
- กุมภาพันธ์ (13)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (7)
- พฤศจิกายน (10)
- ตุลาคม (4)
- กรกฎาคม (2)
- มิถุนายน (10)
Popular Posts
-
นับเวลาหลายปีแล้วที่เจ้าหน้าที่สาสุขต่างพยายามศึกษาต่อเพื่อให้ได้คำว่า ปริญญา......ในก่อนหน้านี้ก็ไปเรียนราชภัฎ เอกสุขศึกษา หรือลาเรียนต...
-
"เสื้อหมออนามัย" ใส่ได้เฉพาะ หมออนามัย หรือเปล่าครับ? เป็นคำถามที่เด็กอายุราว 4 ปีได้เอยถามผม พอผมได้ยินคำถามนี้ผมก็ถามตอบท...
-
เนื่องด้วยบุญพา บารมีเสริม ทำให้ผมได้มีโอกาศไปนั่งรับฟังนโยบายการดำเนินงานงานปฐมภูมิ ถึงแม้ว่าผมไม่ได้รับฟังจากปากท่านผู้ตรวจราชการ ท...
-
ยายี่ห้อ zithromax มีตัวยา AZITHROMYCIN ส่วนใหญ่แพทย์เฉพาะทางจะจ่ายยาตัวนี้เพราะไม่ต้องกินมากและหายเร็ว แต่ตามโรงพยาบาลหรือร้านยาจะไม่จ่...
-
ตัวอย่างการแบ่งงานใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนะครับ มีทั้งหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข หน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุ...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น