ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเกิดโรคมี 3 ประการ ซึ่งได้แก่
1.
สิ่งที่ทำให้เกิดโรค (Agent)
2.
มนุษย์ (Human Host)
3.
สิ่งแวดล้อม (Environment)
1.2.1 ปฏิกิริยาต่อกันของสิ่งที่ทำให้เกิดโรค มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม
1.
ปฏิกิริยาต่อกันระหว่าง Agent กับ
Environment
-
อยู่ในระยะก่อนเกิดโรค (Prepathogenesis)
-
คนยังไม่มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องกับ Agent โดยตรง
ตัวอย่าง การมีเชื้ออหิวาตกโรคอยู่ในน้ำ การระเหยกลายเป็นไอของสารพิษปะปนอยู่ในอากาศ การฟุ้งกระจายของละอองน้ำลายที่มีเชื้อวัณโรคปะปนอยู่
2.
ปฏิกิริยาต่อกันระหว่าง Host กับ Environment
-
อยู่ในระยะก่อนเกิดโรค (Prepathogenesis) หรือระยะเกิดโรค(Pathogenesis)
ก็ได้
-
เป็นระยะที่ Host มีความสัมพันธ์กับ Environment โดยไม่มี Agent เข้ามาเกี่ยวข้อง
ตัวอย่าง เช่น ความรู้สึกร้อน หนาว เมื่ออาศัยอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่มีภูมิอากาศแตกต่างกัน บางคนร่างกายอ่อนแอก็เกิดความเจ็บป่วยได้ เป็นต้น
3.
ปฏิกิริยาต่อกันระหว่าง Agent กับ
Host
-
อยู่ในระยะก่อนเกิดโรค (Prepathogenesis) หรือระยะเกิดโรค
(Pathogenesis) ก็ได้
-
เป็นระยะที่ Host รับเอา
Agent เข้าสู่ร่างกายแล้วก่อให้เกิดพยาธิสภาพขึ้น ซึ่งอาจเป็นในระยะก่อนเกิดอาการ (Pre-Clinical Stage) หรือในระยะที่เกิดอาการแล้ว (Clinical
Stage) ก็ได้
ตัวอย่าง เช่น มีการเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนโลหิต ภายหลังจากที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด (Septicemia) การมีเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น หรือมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชนิดนั้น ๆ
4.
ปฏิกิริยาต่อกันของ Agent, Host และ
Environment ในระบบนิเวศน์วิทยา
-
Dr John Gordon เสนอแนวความคิดว่า ปฏิกิริยาระหว่าง Agent, Host และ
Environment เปรียบได้กับคาน น้ำหนัก และจุดหมุน (Fulcrum) ดังต่อไปนี้
4.1 ปัจจัยทั้ง 3 ตัว อยู่กันอย่าง สมดุล โดย Agent มีน้ำหนักถ่วงดุลกับ Host และมี Environment เป็นจุดหมุนอยู่ตรงกลาง
ภาวะสมดุลของปัจจัยทั้ง 3 นี้ ในแง่ของปัจเจกบุคคล (Individual) หมายถึงภาวะที่เชื้อโรคและมนุษย์อยู่ร่วมกันภายใต้สิ่งแวดล้อมหนึ่งอย่างเป็นปกติ ไม่มีโรคเกิดขึ้นในบุคคลนั้น
ในแง่ของการเกิดโรคในชุมชน (Community) หมายถึง
ประชาชนที่อยู่ในชุมชนมี
สุขภาพอนามัยที่ดี ไม่มีการระบาดหรือการแพร่กระจายของโรค สุขภาพอนามัยของชุมชน หมายถึงภาวะทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมด้วย
สุขภาพอนามัยที่ดี ไม่มีการระบาดหรือการแพร่กระจายของโรค สุขภาพอนามัยของชุมชน หมายถึงภาวะทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมด้วย
1.2
ปัจจัยทั้ง 3 ตัว อยู่กันอย่าง ไม่สมดุล ผลก็คือ มีโรคเกิดขึ้น ซึ่งเป็นได้หลายรูปแบบคือ
ก.
Agent มีการเปลี่ยนแปลงไป ในทางที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น หรือการมี Agent ชนิดใหม่เกิดขึ้น หรือ Agent ชนิดเก่า
เกิดการผ่าเหล่า (Mutation) ทำให้เชื้อมีความรุนแรงมา
ข.
Host มีการเปลี่ยนแปลงไป ในทางที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมากขึ้น ได้แก่ การมีเด็กเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมากในชุมชน จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ มากกว่ากลุ่มอายุอื่น หรือการที่มีคนสูงอายุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคนเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง มะเร็ง เบาหวาน
ค.
Environment มีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจเกิดได้ใน 2 กรณี คือ
กรณีที่ 1 สิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนให้ Agent มีการเพิ่มมากขึ้น ผลก็คือมี Host ป่วยมากขึ้น
ตัวอย่าง- อากาศแห้งแล้งในฤดูร้อน กับการระบาดของโรคอุจจาระร่วงจากเชื้ออหิวาตกโรค
- ฝนตกชุกในฤดูฝน กับการระบาดของโรคไข้เลือดออก
- สภาพสังคมสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนรูปแบบไปจากเกษตรกรรมสู่อุตสาหกรรม มีโรงงานต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดมลพิษและของเสียที่ปล่อยจากโรงงาน
สู่บรรยากาศ
สู่บรรยากาศ
กรณีที่
2 สิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนให้มี Susceptible Host เพิ่มมากขึ้น ผลก็คือมีการป่วยเป็นโรคมากขึ้น เช่น การเกิดอุทกภัย วาตภัย ทำให้ประชาชนขาดอาหาร ที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีพ
ตัวอย่าง
-
ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากสงคราม หรือภัยธรรมชาติต่าง ๆ ทำให้เสียสมดุลของสิ่งแวดล้อม มนุษย์ขาดปัจจัย 4 และสภาพร่างกายมีความอ่อนแอเพิ่มขึ้น จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ
-
ความเจริญทางเศรษฐกิจของเมืองหลวง เช่นกรุงเทพมหานคร ทำให้ประชากรจากภาคต่าง ๆ หลั่งไหลกันเข้ามาประกอบอาชีพ จึงเป็นที่มาของการเกิดโรค
ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ อุบัติเหตุ โรคจิตประสาท เป็นต้น
ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ อุบัติเหตุ โรคจิตประสาท เป็นต้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น