ผมเชื่อว่านักวิชาการสาธารณสึุขทุกคนจะต้องผ่านการทำวิจัยมาแล้ว อย่างน้อยก็ 1 เรื่อง ซึ่งความเข้มข้นของกระบวนการทำงานวิจัยอาจแตกต่างกัน นักวิชาการสาธารณสุขบางท่านทำงานวิจัยคนเดียว บางท่านทำเป็นคู่ ก็แล้วแต่ความสามารถและความสำเร็จของนักวิชาการสาธารณสุขแต่ละท่าน
ปัญหาการทำวิจัยของนักวิชาการสาธารณสุขอย่างผมก็คงเป็นเรื่องของไอเดีย และหลักการคิดงานวิจัยครับ ต่อไปนี้เป็นบทความเกี่ยวกับงานวิจัย ผมก็นำมาเก็บไว้อ่านเผื่อได้ปรับใช้ในการทำงานนักวิชาการสาธารณสุข
งานวิจัยที่ประสบความสำเร็จ จะต้องขึ้นอยู่กับกระบวนการคิด จึงจะทำให้กระบวนการศึกษาวิจัยสมบูรณ์ ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า ได้ทรงยกย่องความคิดดี ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นอริยมรรค คือหนทางอันสูงส่งอันหนึ่ง และเป็นหนทางอันแรกของอริยมรรคทั้งหลาย ในการประกอบการใดการหนึ่งให้สำเร็จ จากบทบรรยายในหนังสือ “สถานการณ์พุทธศาสนาพลิกหายนะเป็นพัฒนา” ของพระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุถุโต) ได้อธิบายถึงความสำคัญของสัมมาทิฏฐิ การคิดที่ถูกต้องไว้ว่า “...สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นกระบวนการแห่งการศึกษานั้น จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ ประการ... ดังนั้น ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการศึกษา จุดสนใจที่ควรเน้นกันเป็นพิเศษ คือ เรื่องปัจจัยแห่ง สัมมาทิฏญิ ที่เป็นจุดเริ่มต้น เป็นแหล่งที่มาของการศึกษา ซึ่งมีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ ปรโตโฆสะที่ดี และโยนิโสมนสิการ”... ปริโตโฆสะ ท่านอธิบายไว้ว่า แปลว่า เสียงจากที่อื่น หรือการกระตุ้นชักจูงจากภายนอก คือ ความมีกัลยาณมิตร และองค์ประกอบของปัจจัยภายใน ท่านได้กล่าวไว้ว่า คือ โยนิโสมนสิการ แปลว่า การรู้จักคิดถูกวิธี การทำในใจโดยแยบคาย โยนิโสมนสิการ เป็นการคิดที่เชื่อมโยมมิติต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเข้ากับมิติในตัว ในการวิจัยนั้นหากจะประยุกต์เอาสัมมาทิฏฐิ ในทางพระพุทธศาสนาเข้ามาใช้ในการวิจัย คือ การสร้างกระบวนการคิดที่ถูกต้อง ที่เป็นการคิดที่มีการเชื่อมโยงมิติต่าง ๆ เป็นการคิดที่มุ่งเน้นถึงประโยชน์สุข หรือการแก้ปัญหาเพื่อสังคม หรือเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นมากกว่าของตัวเอง เป็นการคิดที่อยู่บนพื้นฐานของการสะสมประสบการณ์และองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษากัลยาณมิตร ทั้งที่เป็นบุคคลและไม่เป็นบุคคล ก็จะทำให้การกำหนดหัวข้อและวิธีวิทยาในการวิจัย มีความชัดเจน และเป็นประโยชน์ ซึ่งผลผลิตที่ได้ก็คือ แนวคิดทฤษฏีใหม่ที่ปฏิบัติได้จริง และมีประโยชน์ในวงกว้าง
การคิดที่ถูกต้อง และการคิดที่ถูกวิธี หรือโยนิโสมนสิการในพระพุทธศาสนานั้น จะนำไปสู่การกำหนดหัวข้อ และจัดประเภทของการวิจัย ตลอดจนระเบียบวิธีวิจัยที่ดีได้ เพราะเมื่อคิดดีแล้ว ในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเข้าใจถ่องแท้ในการวิจัย สิ่งที่ขาดหายไปในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิธีวิทยาจากการศึกษาครั้งนี้ก็คือ การวิจัยที่ควรจะทำในลักษณะเชิงผสมมากกว่าเชิงเดี่ยว กล่าวคือ ควรจะเป็นการวิจัยที่ทำในลักษณะเครือข่ายสาขาวิชาและนักวิจัย เพื่อสร้างความเป็นองค์รวม และความรู้ลึกให้กับผลการวิจัย ซึ่งแหล่งข้อมูล หรือปรโตโฆสะมาจากพหุสาขาวิชา จะทำให้การกำหนดหัวข้อ และวิธีวิทยามีความชัดเจนและถูกต้องมากที่สุด
เนื่องจากการคิดและกระบวนการคิด (conceptualization) เป็นหลักสำคัญในกระบวนการศึกษาวิจัย ในที่นี้จึงขอนำเสนอวิธีคิดที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะไว้ ๑๐ วิธี (พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต) อธิบายไว้ใน “สถานการณ์พุทธศาสนา พลิกหายนะเป็นพัฒนา” หน้า ๑๕๘ – ๑๙๓ ) และเมื่อนำมาสรุป เพื่อประยุกต์ใช้กับการวิจัย ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดหัวข้อ กรอบการวิจัย สมมุติฐาน ระเบียบ วิธีวิจัย และการนำเสนอผลการวิจัย ที่เป็นประโยชน์และนำไปประยุกต์ได้ทันที โดยจะเรียกว่า “พุทธวิธีคิด ๑๐ ประการ” ดังนี้
๑.วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คือการพิจารณาปรากฏการณ์ต่าง ๆ ให้รู้จักสภาวะตามที่มันเป็นจริง หรือพิจารณาปัญหาค้นหาทางแก้ไขด้วการสืบสาวหาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์ส่งผลสืบทอดกันมา ซึ่งในความหมายแรก จะเป็นการคิดที่นำไปสู่การวิจัยเชิงพรรณาหรือบรรยายวิเคราะห์ที่ดี ที่ทำให้ผู้วิจัยสามารถทำการสำรวจปรากฏการณ์ต่าง ๆ และอธิบายปรกฏการณ์นั้น ด้วยพื้นฐานของสัมมาทิฏฐิ ส่วนความหมายหลังนั้นเป็นการคิดที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา ซึ่งเป็นการคิดแบบปัจจัยสัมพันธ์และคิดแบบสอบสวน อันจะทำให้การวิจัยที่เกิดขึ้นจากการคิดในลักษณะนี้ จะเป็นการวิจัยแบบหาเหตุผล โดยการศึกษาปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง และใช้มุมมองย้อนสืบสาวชักโยงไปถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้ามาสัมพันธ์กันในลักษณะที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์นั้น ๆ หรือจะช่วยให้เกิดการวิจัยแบบศึกษาสาเหตุของปรากฏการณ์นั้น ๆ และสืบสาวหาปัจจัยที่เชื่อมโยงในลำดับต่อไป
๒.วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ หรือกระจายเนื้อหา โดยมีวัตถุประสงค์มุ่งให้เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ตามสภาวะของมัน ซึ่งแนวคิดดังกล่าว นักวิจัยจะสามารถนำมาสร้างงานวิจัยเชิงวิเคราะห์เนื้อหา (Contextual analysis) ที่เป็นการศึกษาถึงองค์ประกอบ หรือส่วนประกอบย่อยต่าง ๆ ของปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษา
๓.วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา คือการมองเหตุการณ์ สถานการณ์ ความเป็นไปของสิ่งทั้งหลาย โดยการหยั่งรู้ธรรมชาติของมัน ซึ่งจะต้องเป็นไปตามนั้น มีการเปลี่ยนแปลง การไม่คงอยู่ การเกิดขึ้นซึ่งการคิดวิธีนี้ จะทำให้นักวิจัยฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มองอย่างเป็นกลาง โดยยึดสภาวะ ลักษณะของปรากฏการณ์นั้นเป็นสำคัญ งานวิจัยที่เกิดขึ้น จึงเป็นการศึกษาวิจัยแบบมีส่วนร่วม หรือแบบปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory research) เพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์นั้นว่ามีสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่คงที่อย่างไรบ้าง
๔.วิธีคิดแบบแก้ปัญหา หรือวิธีคิดแบบอริยสัจ เป็นวิธีคิดที่ต่อเนื่องจากวิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา เป็นวิธีคิดที่จะนำไปสู่การกำหนดรู้ปัญหา การหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไข เพื่อให้ปัญหานั้นหมดสิ้นไป การวิจัยที่จะอยู่บนพื้นฐานของความคิดนี้ จะทำให้นักวิจัยสามารถวางแผนในการสร้างวิธีวิทยาที่เรียกว่า วิจัยและพัฒนา (Research and Development (R&D)) ที่มีคุณภาพได้
๕.วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ หรือคิดตามหลักการและความมุ่งหมาย เป็นวิธีคิดในระดับปฏิบัติการ หรือลงมือทำ จากการเลือกสรรค์ธรรมะที่เหมาะสมไปปฏิบัติ วิธีคิดแบบนี้จะทำให้นักวิจัยสามารถทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ได้ โดยการเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมลงไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้ส่วนดีของปรากฏการณ์ในพื้นที่ศึกษายังคงอยู่อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง
๖.วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก คือการมองให้ครบทั้งข้อดีและข้อเสีย เป็นการคิดที่พระพุทธเจ้าทรงเน้น เนื่องจากจะช่วยไม่ให้เกิดความลำเอียงและการเอนเอียงความคิดไปในทางใดทางหนึ่งในการประกอบกิจการ เมื่อนำวิธีคิดนี้มาประยุกต์ใช้ในการวิจัย ก็จะเป็นการกำหนดระเบียบของวิธีวิทยาในลักษณะที่เป็นการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของปรากฏการณ์ที่ปรากฏในการศึกษา สอดคล้องกับวิธีการที่เรียกว่า SWOT Analysis ของแนวคิดตะวันตก ที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในปัจจุบัน
๗.วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้ – คุณค่าเทียม หรือการพิจารณาเกี่ยวกับปฏิเสวนา คือการใช้สอยหรือบริโภค เป็นความคิดแบบสกัดหรือบรรเทากิเลส เพื่อให้มองเห็นคุณค่าวาทกรรมในทางที่ถูกต้อง การคิดแบบนี้จะนำไปสู่การศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคใช้สอยสำหรับการดำรงชีวิต เช่น ปัจจัย ๔ และวัสดุอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกสบายต่าง ๆ รวมถึงศิลปะความงามที่เป็นผลผลิตของกระบวนการคิดแบบรู้คุณค่าแท้ – เทียมด้วย หัวข้อและเด็นการวิจัยที่นักวิจัยจะกำหนดในการวิจัย เกี่ยวกับองค์ประกอบในการบริโภคใช้สอยปัจจัย ๔ ของชีวิตประจำวัน จะสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
๘.วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม เรียกว่าวิธีคิดแบบปลุกเร้ากุศลหรือคิดแบบกุศลภาวนา คือการคิดที่ส่งเสริมความเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรม วิธีการคิดแบบนี้ จะช่วยในการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดการวิจัยเชิงทดลอง โดยการนำหรือสร้างนวัตกรรมที่เป็นความดีงาม มาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาหรือตอบคำถามให้กับหัวข้อการวิจัยที่ศึกษาได้
๙.วิธีคิดแบบเป็นปัจจุบัน คือการคิดในแนวทางของความรู้ หรือคิดด้วยอำนาจปัญญา โดยการเพ่งสิ่งต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น ที่เป็นความเกี่ยวข้องของเรื่องราวทั้งหลายที่เชื่อมโยงต่อกันมาถึงสิ่งที่ได้รู้ และสิ่งที่กำลังจะรู้ การคิดแบบนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงพยากรณ์ที่เชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอดีตและปัจจุบัน เพื่อฉายภาพให้เห็นปรากฏการณ์ที่พึ่งจะเกิดขึ้น หรือ เป็นไปได้ในอนาคต การคิดลักษณะนี้ จะมีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดทำการทบทวนวรรณกรรมสำหรับการวิจัยได้อย่างดีอีกด้วย
๑๐.วิธีการคิดแบบวิภัชชวาท คือการคิดที่เป็นการมองและแสดงความจริง โดยแยกแยะออกให้เห็นในแต่ละด้านครบทุกแง่ทุกด้าน ทำให้การวินิจฉัยเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน ตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง และเป็นกลางตามธรรมชาติ วิธีการคิดแบบนี้ จะเป็นการเสริมสร้าง คุณธรรมจริยธรรมในการวิจัยของนักวิจัย และสมารถทำการวิเคราะห์ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นเชิงปริมาณหรือคุณภาพ ได้อย่างครบถ้วนทุกแง่ทุกมุม เป็นการสร้างความเที่ยงตรง และความเชื่อมั่นให้กับงานวิจัย
จากวิธีคิดทั้ง ๑๐ ประการ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงชี้แสดงให้กับบุคคลทั้งหลาย ได้นำไปศึกษาปฏิบัตินั้น ไม่ว่าจะโดยการเลือกหยิบ หรือโดยการรวมกลุ่ม จะเห็นได้ว่าทรงเน้นการคิดที่ตระหนักในความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่จะต้องเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ในการแก้ปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในการวิจัยก็เช่นเดียวกัน ความคิดที่ขาดความตระหนักในความสัมพันธ์จะทำให้เกิดความโน้มเอียง และผลการศึกษาวิจัยก็จะเป็นไปตามนั้น ดังนั้นการจำแนกโดยพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกันจึงเป็นความคิดของการวิเคราะห์วิพากษ์ (Critical thinking) จึงเป็นหัวใจของกระบวนการในการทำวิจัย ที่นักวิจัยจะสร้างขึ้นในตัว เพื่อที่ว่าจะทำให้เกิดงานวิจัยที่มีคุณค่า และเป็นประโยชน์โดยรวมได้อย่างแท้จริง
หนังสืออ้างอิง
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต). สถานการณ์พุทธศาสนา พลิกหายนะเป็นพัฒนา. ฝ่ายเผยแพร่พระพุทธศาสนา.
กองศาสนา. กรมการศาสนา. กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๓๖.๒๒๗ หน้า
ไอเดียทำวิจัยสำหรับนักวิชาการสาธารณสุข
ป้ายกำกับ:
นักวิชาการสาธารณสุข
View Posts Recommended By Other Readers :
นักวิชาการสาธารณสุขคลังบทความของบล็อก
- พฤษภาคม (1)
- มีนาคม (3)
- มกราคม (1)
- มิถุนายน (1)
- เมษายน (2)
- พฤศจิกายน (1)
- สิงหาคม (2)
- พฤษภาคม (1)
- เมษายน (1)
- พฤศจิกายน (2)
- มีนาคม (1)
- กรกฎาคม (1)
- มิถุนายน (1)
- พฤษภาคม (2)
- เมษายน (4)
- มีนาคม (7)
- กุมภาพันธ์ (3)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (3)
- พฤศจิกายน (9)
- ตุลาคม (1)
- กันยายน (9)
- สิงหาคม (32)
- กรกฎาคม (42)
- มิถุนายน (41)
- พฤษภาคม (3)
- เมษายน (5)
- มีนาคม (3)
- กุมภาพันธ์ (13)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (7)
- พฤศจิกายน (10)
- ตุลาคม (4)
- กรกฎาคม (2)
- มิถุนายน (10)
Popular Posts
-
เมื่อช่วงวันหยุดทีี่่ผ่านเมื่อกี้ผมได้ไปประชุม อบรม เรื่องของ PCA ที่จังหวัดสุรินทร์ ไปประชุม(จริงๆคือไปอบรม) และพักที่ รีสอร์ท แน่นอนครั...
-
ยายี่ห้อ zithromax มีตัวยา AZITHROMYCIN ส่วนใหญ่แพทย์เฉพาะทางจะจ่ายยาตัวนี้เพราะไม่ต้องกินมากและหายเร็ว แต่ตามโรงพยาบาลหรือร้านยาจะไม่จ่...
-
ตัวอย่างการแบ่งงานใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนะครับ มีทั้งหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข หน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุ...
-
"ขอเล่าเรื่องของผมครั้งสมัยก่อนที่ผมจะสอบได้บรรจุในตำแหน่งนักวิชาการสักนิดนึงนะครับ อาจเรีกได้ว่าเป็นการแชร์เคล็ดลับในการเตรียมตัวสอบก้...
-
"เสื้อหมออนามัย" ใส่ได้เฉพาะ หมออนามัย หรือเปล่าครับ? เป็นคำถามที่เด็กอายุราว 4 ปีได้เอยถามผม พอผมได้ยินคำถามนี้ผมก็ถามตอบท...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น