การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญมากนะครับสำหรับนักวิชาการสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นช่วงเสนอโครงการกับอปท. การสื่อสารเรื่องงานกับเพื่อนร่วมงาน หรือนักวิชาการสาธารณสุขบางท่านก็ต้องสื่อสารกัีบนักวิชาการสาธารณสุขด้วยกันเองในช่วงสรุปผลการดำเนินงานผสมผสานสาธารณสุขนะครับ ก็ขอข้อมูลกับนักวิชาการสาธารณสุขทั้งรุ่นน้อง รุ่นพี่ และนักวิชาการสาธารณสุขรุ่นเดียวกัน หากเราสื่อสารดีงานเราก็คืบไปกว่าครึ่งคืบ
การเขียนบทความก็เป็นการสื่อสารอีกวิธีหนึ่งนะครับ ซึ่งผมเองเห็นว่าเป็นวิธีสื่อสารที่ดีที่สุดเพราะว่าเวลาเราเขียนบทความ แล้วไม่มีใครมาขัดจังหวะในการรำเสนอของเราครับ
วันนี้ผมได้ไปอ่าน บล็อกของ สุรศักดิ์ ชวยานันท์ surasakcในบล็อกท่านมีบทความเรื่อง เขียนบทความทั่วไปอย่างไร ให้ชวนอ่าน ...ไม่ฉาบฉวย หวือหวา ผมเขียนว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งยวดจึงขอนำมาเก็บไว้อ่านครับ
ทักษะในการนำเสนอ เป็นทักษะที่สำคัญมากที่มิอาจจะมองข้าม
ไปได้เลย โดยเฉพาะในยุคนี้
กล่าวกันว่า ทักษะในการนำเสนอนี้ จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จ
รุ่งโรจน์ในชีวิตการทำงานของเราทีเดียว และทักษะนี้ จะติดตัวเราไป
จนเกษียณอายุหรือตลอดชีวิตเลยทีเดียว
ทักษะนี้ มีทั้งการพูดและการเขียน
ในวันนี้ ขอนำเรื่องการเขียนมานำเสนอ เป็นการเขียนบทความทั่วไป
เขียนอย่างไรให้ชวนอ่าน ไม่ฉาบฉวย หวือหวา
๑
>> ความหมายของบทความทั่วไป (General Article)
เป็นรูปแบบการเขียน ที่ต้องการสื่อสารข้อเท็จจริง และความคิดเห็น
เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้อ่าน เนื้อหาจากข้อมูลจริง ไม่ใช่เรื่องที่แต่งขึ้น
หรือจากจินตนาการ เป็นข้อเขียนขนาดสั้น เป็นการนำเสนอเพื่อความสนุก
สนาน ความบันเทิง วิจารณ์เหตุการณ์ ชี้แจงข้อเท็จจริง หรือเพื่อให้ความรู้
เป็นระดับประชานิยม หรืออาจเรียกว่า ความเรียง (Essay) ก็ได้
(ต่างจาก บทความทางวิชาการ (Academic Article) ที่นำเสนอ
เพื่อเผยแพร่แนวความคิดใหม่ ๆ อันได้แก่ ทฤษฎีใหม่ ผลการวิจัยใหม่ หรือ
การประยุกต์เชิงปฏิบัติต่าง ๆ เป็นต้น บทความทางวิชาการจะเน้นความรู้เป็น
สำคัญ และจะต้องมีองค์ประกอบของความถูกต้อง แม่นยำ ความกระจ่าง และ
ความกระทัดรัด)
"ไม่ฉาบฉวย หวือหวา" หมายถึง ชื่อเรื่องต้องไม่เขียนหวือหวา ชวนให้
น่าสนใจ ให้มาอ่านมาชมอย่างมาก แต่เนื้อเรื่องมีเพียงไม่กี่บรรทัด ไม่น่าสนใจ
เหมือนชื่อเรื่องเลย หรือเนื้อเรื่องไม่ตรงกับชื่อเรื่องที่ให้ไว้ หรือที่มักเรียกกัน
ว่า ฉาบฉวย สุกเอาเผากิน หรือหลอกคนอ่าน - ผู้เขียน
>> หลักการเขียนบทความทั่วไป (สามารถนำมาใช้ในการเขียน
บล็อกได้)
หลักการเขียนบทความทั่วไป แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน ด้วยกัน
๑. ชื่อเรื่อง
๒. นำเรื่อง
๓. เนื้อเรื่อง
๔. สรุปเรื่อง
๕. เอกสารอ้างอิง
ขออธิบายขยายความต่อสักเล็กน้อย
๑. ชื่อเรื่อง จะต้องตั้งชื่อเรื่องให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง ชัดเจน
นำให้เกิดความสนใจที่จะอ่านเรื่องต่อไป (อาจตั้งชื่อเรื่องไว้ก่อน และนำมา
ทบทวนแก้ไขให้เหมาะสมในภายหลังก็ได้)
(เปรียบเทียบกับบล็อก มักนิยมตั้งชื่อเรื่องให้หวือหวา สะดุดตา ชื่อยาว ๆ ให้เป็นที่น่าสนใจ เพื่อล่อให้มีผู้คลิกเข้ามาอ่าน ทั้ง ๆ ที่ไม่ตรงกับเนื้อเรื่องเลย
ก็มี หรือเนื้อเรื่องจริง ๆ ไม่ได้เป็นที่น่าสนใจก็มี หรือไม่ตรงกับที่ผู้อ่านคิดไว้ก็มี ทั้งนี้ เพื่อเร่งจำนวนผู้ชมเสียมากกว่า
จำนวนผู้ชมมากน้อย จะขึ้นอยู่กับ ชื่อเรื่อง, ประเภทของเรื่อง ถ้าเป็นเรื่อง
ประเภทการเมือง, ข่าว, เรื่องตามกระแส จะมีผู้สนใจเข้ามาอ่านมากกว่าเรื่องประเภทอื่น และอีกประการหนึ่ง ขึ้นอยู่กับความมีชื่อเสียงของผู้เขียนด้วย
(ถ้าเขียนเรื่องประเภทอื่น อาจมีอายุนานกว่า ก็จะได้ผู้อ่านที่สนใจในเรื่องนั้น ๆ เข้ามาอ่านเรื่องย้อนหลังเรื่อย ๆ)
ที่จริง ตัววัดที่สากลได้ยึดถือนั้น นอกจาก จำนวนผู้ชมแล้ว ยังมี
อีก เช่น Page Rank และ Back Links เป็นต้น)
๒. นำเรื่อง อาจนำคำคมของบุคคลสำคัญมาไว้ในนำเรื่องก็ได้
และจะต้องสรุปเรื่องที่จะนำเสนอว่ามีที่มาและน่าสนใจเช่นไร อ่านแล้วจะได้รับ
ความรู้หรือสาระอะไรบ้าง แบ่งออกได้เป็นกี่ประเด็นและนำไปสู่เนื้อเรื่องต่อไป
๓. เนื้อเรื่อง ขยายความแต่ละประเด็น รวมทั้ง อาจมีการ
ขยายความหรืออ้างอิงต่อไปนอกบทความที่เขียน ในการเขียนจะต้องมีการ
เชื่อมข้อความสอดรับกันเป็นอย่างดี มีสำนวนการเขียนที่รื่นไหล ขึ้นหัวข้อ
ใหม่แต่ละเรื่องย่อย ไม่เขียนยาวติดกันเป็นพรืดไปหมด ไม่ยาวจนเกินไป เพราะ
บทความทั่วไปเป็นข้อเขียนขนาดสั้น
ข้อสำคัญ ใช้คำสุภาพในการเขียนไม่ควรใช้คำที่หยาบคาย
รุนแรง เสียดสี (ควรระมัดระวังให้มากในการเขียน เรื่องประเภท การเมือง,
ข่าว และเรื่องตามกระแส)
(เปรียบเทียบกับบล็อก ควรมีลิงก์เชื่อมโยงไปยังบทความที่ได้เคย
เขียนไปแล้ว เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ชมบล็อกของเราให้เพิ่มขึ้นอีกก็ได้ หรือ
อ้างอิงไปยังเว็บไซต์หรือบล็อกภายนอกก็ได้)
๔. สรุปเรื่อง เมื่อจบบทความแล้ว ควรจะมีการสรุปเรื่องทั้งหมด
เฉพาะสาระสำคัญให้ผู้อ่านได้ทราบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ผู้อ่านจดจำ หรือนำไป
ใช้ประโยชน์
๕. เอกสารอ้างอิง เมื่อนำข้อความใดมาจากที่อื่น ก็ควรระบุไว้
ตอนท้ายให้ชัดเจน
หมายเหตุ :
๑. สไตล์การเขียน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ควรศึกษาเรียนรู้ ที่นิยมโดย
ทั่วไปในปัจจุบัน ได้แก่สไตล์การเขียนของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ท่าน
นิยมเขียนประโยคสั้น ๆ, ๒ - ๓ บรรทัด ก็ขึ้นต้นบรรทัดใหม่ รวมทั้ง การคัด
เลือกคำที่เหมาะสมมาเขียน หรืออาจศึกษาสำนวนการเขียนของผู้เขียนท่าน
อื่น ๆ ที่มีชื่อเสียง
๒. ขนาดตัวอักษร ควรใหญ่พอควร และควรเน้นข้อความด้วย
ตัวอักษรใหญ่, อักษรหนา, อักษรเอียง, อักษรห่าง เพิ่มสีตัวอักษรให้สะดุดตา
ใส่เครื่องหมายคำพูด คำถาม หรือเครื่องหมายพิเศษ ที่ดึงดูดความสนใจพอ
สมควร
๓. ภาพประกอบ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมาก จะต้องสอดคล้อง
กับบทความที่นำเสนอ ขนาดที่พอเหมาะ ตกแต่งภาพที่สวยงามแปลกตา
จำนวนภาพเหมาะสมกับบทความ (รวมทั้งวิดีโอประกอบ สำหรับบล็อก)
๔. เสียงประกอบ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับบล็อก
จะต้องเลือกให้เหมาะสม เข้ากันได้กับบทความที่นำเสนอ ไม่ใช่ใส่แต่เพลง
ตามใจผู้เขียนอย่างเดียว
๕. การทบทวน เมื่อเขียนบทความเสร็จแล้ว ควรจะได้มีการทบทวน
หลาย
ๆ ครั้ง แก้ไขปรับปรุงไปเรื่อย ๆ บางครั้ง
ควรปล่อยระยะเวลาให้ผ่านไปสักระยะหนึ่ง แล้วมาอ่านทบทวนใหม่
อาจได้ไอเดียใหม่ ๆ เกิดขึ้น นำมาแก้ไข
ปรับปรุงต่อไป
๖. การแสดงความคิดเห็น สำหรับบล็อกนั้น สำคัญมาก ไม่ควร
ใช้ข้อความสั้นมาก หรือเหมือนกันทุกบล็อก ซึ่งแสดงว่า ใช้ก๊อปปี้ ไม่ได้อ่าน
เรื่องหรืออ่านแต่ผิวเผินเท่านั้น หรืออยากทำสถิติว่า ไปแสดงความคิดเห็น
ครบทุกบล็อก โดยมุ่งหวังจะให้มีการตอบกลับ เพื่อได้จำนวนผู้ชมมาก ๆ
อยากให้ตั้งใจอ่านเรื่องและแสดงความคิดเห็น มากกว่าทำไปโดยฉาบฉวย
ขอไปที
หวังว่า คงจะเป็นแนวทางในการเขียนบทความทั่วไปในเบื้องต้น
ให้ชวนอ่านยิ่งขึ้น และผู้เขียนยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทุกท่าน
*+*+*
เชิงอรรถ :
๑
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, เขียนบทความอย่างไรให้น่าอ่าน
(กรุงเทพฯ : บริษัท ซัคเซส มีเดีย จำกัด, ๒๕๔๓), หน้า ๒-๓.
เขียนบทความอย่างนักวิชาการสาธารณสุข
ป้ายกำกับ:
นักวิชาการสาธารณสุข
View Posts Recommended By Other Readers :
นักวิชาการสาธารณสุขคลังบทความของบล็อก
- พฤษภาคม (1)
- มีนาคม (3)
- มกราคม (1)
- มิถุนายน (1)
- เมษายน (2)
- พฤศจิกายน (1)
- สิงหาคม (2)
- พฤษภาคม (1)
- เมษายน (1)
- พฤศจิกายน (2)
- มีนาคม (1)
- กรกฎาคม (1)
- มิถุนายน (1)
- พฤษภาคม (2)
- เมษายน (4)
- มีนาคม (7)
- กุมภาพันธ์ (3)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (3)
- พฤศจิกายน (9)
- ตุลาคม (1)
- กันยายน (9)
- สิงหาคม (32)
- กรกฎาคม (42)
- มิถุนายน (41)
- พฤษภาคม (3)
- เมษายน (5)
- มีนาคม (3)
- กุมภาพันธ์ (13)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (7)
- พฤศจิกายน (10)
- ตุลาคม (4)
- กรกฎาคม (2)
- มิถุนายน (10)
Popular Posts
-
"เสื้อหมออนามัย" ใส่ได้เฉพาะ หมออนามัย หรือเปล่าครับ? เป็นคำถามที่เด็กอายุราว 4 ปีได้เอยถามผม พอผมได้ยินคำถามนี้ผมก็ถามตอบท...
-
"ขอเล่าเรื่องของผมครั้งสมัยก่อนที่ผมจะสอบได้บรรจุในตำแหน่งนักวิชาการสักนิดนึงนะครับ อาจเรีกได้ว่าเป็นการแชร์เคล็ดลับในการเตรียมตัวสอบก้...
-
เมื่อช่วงวันหยุดทีี่่ผ่านเมื่อกี้ผมได้ไปประชุม อบรม เรื่องของ PCA ที่จังหวัดสุรินทร์ ไปประชุม(จริงๆคือไปอบรม) และพักที่ รีสอร์ท แน่นอนครั...
-
เนื่องด้วยบุญพา บารมีเสริม ทำให้ผมได้มีโอกาศไปนั่งรับฟังนโยบายการดำเนินงานงานปฐมภูมิ ถึงแม้ว่าผมไม่ได้รับฟังจากปากท่านผู้ตรวจราชการ ท...
-
นับเวลาหลายปีแล้วที่เจ้าหน้าที่สาสุขต่างพยายามศึกษาต่อเพื่อให้ได้คำว่า ปริญญา......ในก่อนหน้านี้ก็ไปเรียนราชภัฎ เอกสุขศึกษา หรือลาเรียนต...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น