บทบาทสำคัญของนักวิชาการสาธารณสุข ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการทำหน้าที่ในการลดโลกร้อน หรือที่เราเคยได้ยินคำที่ว่า สาธารณสุขร่วมใจลดโลกร้อน ถ้าเป็นนักวิชาการสาธารณสุขคุยกับนักวิชาการสาธารณสุขเองก็จะเรียกว่าโครงการ GREEN & CLEAN ซึ่งโครงการนี้จะทำทั้งในโรงพยาบาลและรพ.สต
GREEN & CLEAN หมายถึงอะไรนะเหรอครับ ผมเองก็เพิ่งได้รู้จริงๆเมื่อสองสามวันมานี้เองครับ ทีแรกก็รู้แต่เพียงว่า เขียวและสะอาด
แต่จริงๆแล้วมีความหมายเชิงกว่านั้นอีกนะครับ
G : Garbage
R : Rest room
E : Energy
E : Environment
N : Nutrition
C : Communication
L : Leader
E : Effectiveness
A : Activity
N : Networking
และโครงการที่จะเป็นตัวชูโรงในการประเมิน GREEN & CLEAN คงจะหนีไม่พ้นโครงการธนาคารขยะหรือโครงการขยะทองคำครับ
เพราะไม่เพียงแต่ลดโลกร้อนแล้วยังเพิ่มเงินบำรุงให้กับสถานประกอบการอีกต่างหาก
ขยะรีไซเคิล คือขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยนำไปผ่านกระบวนการแปรรูปในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่ปะปนกับขยะมูลฝอยที่เราสร้างขึ้น สามารถแบ่งประเภทได้เป็น กระดาษ แก้ว พลาสติก โลหะ และอโลหะ ซึ่งเราสามารถคัดแยกและนำกลับมาใช้ได้อีกครั้งหนึ่ง โดยขยะแต่ละประเภทสามารถแยกย่อยได้มากมาย
และคำนวนเป็นเงิน แล้วบันทึกลงสมุดคู่ฝาก โดยใช้ราคาที่ทางโรงพยาบาลประสานกับร้านรับซื้อของเก่า เป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคา รายได้ของกิจกรรมมาจากผลต่าง ของราคาที่คณะทำงานของโรงเรียนกำหนด กับราคาที่สามารถขายให้กับร้านรับซื้อของเก่า ซึ่งต้องมีการหักรายจ่ายอื่นๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ ติดต่อ ประสานงาน ซึ่งรายได้สามารถใช้เป็นทุนหมุนเวียน และจัดตั้งเป็นกองทุน เพื่อใช้เป็นทุนการศึกษา
- วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เยาวชนมีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ และรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนและชุมชน
- เป็นการช่วยลดปริมาณขยะ และส่งเสริมความรู้ให้แก่เยาวชนในเรื่องการคัดแยกขยะ ที่ถูกต้องและเหมาะสม
- เพื่อนำผลพลอยได้จากการตั้งธนาคารขยะ มาตั้งกองทุนสนับสนุนการศึกษาของเยาวชน
- เพื่อเป็นการสร้างรูปแบบการจัดการขยะ โดยเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการดำเนินงาน - อุปกรณ์
- เครื่องชั่ง
- สถานที่เก็บรวบรวมวัสดุรีไซเคิล
- สมุดคู่ฝากและเอกสารบัญชี
ขั้นตอนการดำเนินงาน ธนาคารขยะ
ขั้นตอนที่
1
คณะทำงาน หน้าที่ของคณะทำงาน
คณะทำงาน หน้าที่ของคณะทำงาน
- ผู้จัดการธนาคาร
รับผิดชอบดำเนินงาน ในภาพรวมของธนาคาร - เจ้าหน้าที่จดบันทึก
รับผิดชอบการจดบันทึกรายละเอียด เกี่ยวกับสมาชิก ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล เลขที่ ประเภท และปริมาณวัสดุรีไซเคิล เพื่อส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ - เจ้าหน้าที่คัดแยก
รับผิดชอบการคัดแยกขยะ และชั่งน้ำหนัก เพื่อจัดเก็บในสถานที่เก็บ - เจ้าหน้าที่คิดเงิน
รับผิดชอบการเทียบกับราคาที่กำหนด และคิดจำนวนเงินของสินค้า ที่สมาชิกนำมาฝาก พร้อมทั้งรับผิดชอบการฝาก – ถอนเงินของสมาชิก
· เจ้าหน้าที่บัญชี
รับผิดชอบเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เช่น สรุปยอดเงินฝากของสมาชิก สรุปยอดรายรับ รายจ่ายของธนาคารขยะฯ และบันทึกรายละเอียด ยอดคงเหลือของสินค้า ตามประเภทปริมาณราคา โดยต้องทำการบันทึกทุกวันที่เปิดทำการ
รับผิดชอบเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เช่น สรุปยอดเงินฝากของสมาชิก สรุปยอดรายรับ รายจ่ายของธนาคารขยะฯ และบันทึกรายละเอียด ยอดคงเหลือของสินค้า ตามประเภทปริมาณราคา โดยต้องทำการบันทึกทุกวันที่เปิดทำการ
· เจ้าหน้าที่ควบคุมการเงิน
รับผิดชอบควบคุมการเงินของธนาคารขยะ รายรับ รายจ่าย การเบิกเงินเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรม การเบิกจ่ายเงินของสมาชิกธนาคารขยะ ให้สามารถตรวจสอบได้
รับผิดชอบควบคุมการเงินของธนาคารขยะ รายรับ รายจ่าย การเบิกเงินเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรม การเบิกจ่ายเงินของสมาชิกธนาคารขยะ ให้สามารถตรวจสอบได้
· เจ้าหน้าที่ควบคุมการซื้อ-ขาย
รับผิดชอบข้อมูลการซื้อ ขาย ราคาสินค้าในท้องตลาด การปรับเปลี่ยนราคา การนำสินค้าไปขาย ประสานร้านรับซื้อของเก่า
รับผิดชอบข้อมูลการซื้อ ขาย ราคาสินค้าในท้องตลาด การปรับเปลี่ยนราคา การนำสินค้าไปขาย ประสานร้านรับซื้อของเก่า
· ครูที่ปรึกษากิจกรรม
รับผิดชอบการดำเนินงานของธนาคารขยะ การประสานร้านรับซื้อของเก่า และดูแลเกี่ยวกับการเงินของโครงการ พร้อมทั้งดูเอกสารการเบิกจ่ายเงิน และสามารถตรวจสอบได้
ขั้นตอนที่ 2รับผิดชอบการดำเนินงานของธนาคารขยะ การประสานร้านรับซื้อของเก่า และดูแลเกี่ยวกับการเงินของโครงการ พร้อมทั้งดูเอกสารการเบิกจ่ายเงิน และสามารถตรวจสอบได้
คณะทำงานมีการประชุม
- การสำรวจร้านรับซื้อของเก่าที่มีอยู่ในชุมชน ราคา ประเภทของขยะรีไซเคิลที่รับซื้อ- การประสานงานร้านรับซื้อของเก่า ให้เข้าร่วมโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ราคาที่จูงใจ ซึ่งส่วนใหญ่คิดที่ 30 เปอร์เซนต์ของราคาที่ได้มาจากร้านรับซื้อของเก่า
- กำหนดระยะเวลาที่จะเข้ามารับซื้อ
- การวางแผนกำหนดวัน เวลา เปิด ธนาคารขยะ
ขั้นตอนที่ 3
การจัดเตรียมสถานที่เก็บรวมรวบ
- ยึดหลักง่ายๆ โดยสามารถเก็บรวบรวมขยะได้ ป้องกันฝน
- มีการคัดแยกขยะอย่างชัดเจน
- แบ่งเป็น 4 ช่อง สำหรับจัดเก็บ กระดาษ โลหะ อโลหะ และพลาสติก
- มีการติดป้ายราคาของขยะที่รับซื้อ
- กรณีไม่มีสถานที่จัดเก็บรวบรวม ก็สามารถใช้วิธีการซื้อตอนเช้า และให้ร้านของเก่ามารับซื้อตอนเย็นได้
ขั้นตอนที่ 4
การประชาสัมพันธ์
- การเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในโรงพยาบาลสามารถทำได้โดย
- การประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ของโรงเรียน
- การประชาสัมพันธ์ ช่วงหลังเข้าแถวเคารพธงชาติ
- การจักบอร์ดนิทรรศการ
- การเดินบอกในแต่ละห้องเรียน
- การแทรกในกิจกรรมของแต่ละรายวิชา เช่น วิชาการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต สิ่งแวดล้อมศึกษา เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 5
การเปิดธนาคารขยะรีไซเคิล
- รับสมัครสมาชิกของธนาคาร โดยให้ผู้ที่สนใจกรอกรายละเอียดใบสมัคร- เจ้าหน้าที่ธนาคารให้เลขที่สมาชิก พร้อมสมุดคู่ฝาก โดยธนาคารจะเป็นผู้เก็บรวบรวมสมุดคู่ฝากไว้ สมาชิกสามารถขอดูได้ในวันที่ธนาคารเปิดทำการ
- เจ้าหน้าที่ธนาคารลงรายละเอียด สมาชิกในทะเบียนลูกค้า
- เมื่อสมาชิกนำขยะรีไซเคิลมาฝาก ที่ธนาคาร เจ้าหน้าที่จะทำการคัดแยกประเภทและช่างน้ำหนัก
- คิดเป็นจำนวนเงิน โดยเทีบยกับใบราคาที่ได้มาจากร้านรับซื้อของเก่า ลงบันทึกในใบนำฝาก
- เจ้าหน้าที่บันทึกรายละเอียด เลขที่สมาชิก ประเภทขยะรีไซเคิล จำนวนเงิน ลงในเอกสารใบสรุปการนำฝาก
บันทึกลงในสมุดคู่ฝาก เพื่อเก็บเป็นหลักฐานการฝากถอนของสมาชิก
- ถ้าสมาชิกต้องการถอนเงิน ให้เขียนรายละเอียด ใบถอนเงินแล้วให้กับเจ้าหน้าที่
- ภายหลังเปิดธนาคารเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ต้องทำการรวบรวมรายรับ รายจ่าย และทะเบียนคุมเจ้าหนี้ของธนาคารในแต่ละวัน เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ การลงค่าใช้จ่าย การซื้อ ขายขยะรีไซเคิล ลงในสมุดเงินสด เพื่อสามารถตรวจสอบการขาดทุน กำไร
- ควรมีการสรุปการดำเนินงาน ในแต่ละเดือน และแจ้งแก่สมาชิกของธนาคาร โดยการจัดบอร์ดนิทรรศการ บริเวณที่ทำการ
ขั้นตอนที่ 6
การติดตามประเมินผล
- พิจารณาจากปริมาณขยะรีไซเคิลที่รวบรวมได้- จำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรม
- กำไรจากการซื้อขาย
1 ความคิดเห็น:
เชน ถาน ถานหิน น้ำมัน เชื้อเพลิง อะไร ๆ ตาง ๆ เหลานี้ทำใหคารบอน ขึ้น ไป ใน. อากาศ จำนวน ... พระราชดำรัส. ชื่อหนังสือ: บันทึกเรื่องราว GREEN and CLEAN ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ... แนวคิดการจัดการขยะคือการพัฒนาคนของผู้อำนวยการศูนย์อนามัย ...
แสดงความคิดเห็น