ขับเคลื่อนโดย Blogger.

การสอนที่ฮาณ์วาร์ด

สมัยผมเป็นนักเรียนตั้งแต่ประถม มัธยมต้น -ปลาย  จนผมเรียนปริญญาตรีสาขาสาธารณสุขศาสตร์ และจบออกมาเป็นนักวิชาการสาธารณสุข  ผมไม่เคยคิดอยากไปเรียนต่อที่ต่างประเทศเลยครับ  ผมคิดว่าเรียนที่ไหนก็เหมือนกัน ซึ่งปัจจุบันผมคิดว่าไม่ใช่แล้วครับ ผมควรดิ้นรนเพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศบ้างเพื่อเปิดโลกทัศน์ วันนี้ได้ไปเจอบทความที่มากๆก็เอามาฝากนะครับ


                                                         ศ. ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
                                                                         www.kriengsak.com  


            "การ จัดการศึกษาที่มีคุณภาพ นับเป็นประเด็นที่ภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมไทย ต่างให้ความสนใจ และมุ่งพัฒนาให้ได้ตามเป้าหมาย โดยเฉพาะในสภาวะที่ประเทศไทยต้องเปิดเสรีการศึกษา อันจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะสถาบันการอุดมศึกษา
            อย่าง ไรก็ตาม แม้ว่ามหาวิทยาลัยและผู้เกี่ยวข้อง จะพยายามในการพัฒนาคุณภาพการอุดมศึกษาก็ตาม แต่ก็ยังคงมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับคุณภาพของมหาวิทยาลัย ไทยอย่างกว้างขวางว่า อาจไม่สามารถไปถึงฝั่งที่วาดฝันไว้ และมีแนวโน้มที่คุณภาพการอุดมศึกษาอาจไม่สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ ได้อย่างราบรื่นนักในเวลาอันสั้น
            จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกหรือมหาวิทยาลัยดีเด่น 200 อันดับทั่วโลก ของนิตยสารไทมส์ไฮเออร์ (Times Higher Education Supplement: THES) ร่วมกับหน่วยงานวิจัยชื่อดังอย่าง QS ของประเทศอังกฤษ ซึ่งจัดทำติดต่อกันและเผยแพร่มาเป็นปีที่ 3 ตั้งแต่ปี 2548 ถึงปัจจุบัน พบว่ามหาวิทยาลัยไทยเพียงมหาวิทยาลัยเดียวที่ติด 200 อันดับแรกคือ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ได้อันดับที่ 121 ในปี พ.. 2548 และลดมาอยู่ในอันดับที่  161 ในปี พ.. 2549
            ดัง นั้น ในสภาพการณ์ที่การแข่งขันและสภาพแรงกดดันด้านความต้องการคุณภาพของการจัดการ อุดมศึกษาที่มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำเป็นที่มหาวิทยาลัยไทยต้องเร่งพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โดยมิใช่เพื่อแข่งขันได้ในกลุ่มมหาวิทยาลัยไทยด้วยกันเองเท่านั้น แต่ต้องสามารถแข่งขันได้อย่างทัดเทียมกับมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ
ช่วงปีที่ผ่านมาในการศึกษาวิจัยที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผมได้มีโอกาสคลุกคลีและสนทนากับคณาจารย์ และสัมผัสการเรียนการสอนและการวิจัยที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทำให้ผมได้ข้อคิดและพบเห็นสภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในหลายประเด็นที่มีส่วนทำให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้ชื่อว่า เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับหนึ่งของ โลก ผมจึงขอแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยา ลัยฮาร์วาร์ด โดยมุ่งเฉพาะประเด็นการจัดการเรียนการสอน เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในการจัดการอุดมศึกษาไทย
การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Study) ฮาร์วาร์ด ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นวิธีการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนและผู้สอนมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ ทั้งจากภายในและนอกห้องเรียน ซึ่งกลายเป็นวัฒนธรรมการศึกษา ที่ก่อร่างให้ผู้ที่เข้ามาสัมผัสวิถีดังกล่าว ได้รับการพัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ เพื่อให้ไปถึงพรมแดนความรู้ในเรื่องนั้น ๆ อย่างลึกซึ้งได้
การสอนที่นำผู้เรียนสู่การปฏิบัติจริง เพื่อ การฝึกทักษะผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน แต่ละวิชาที่ผมได้เข้าเรียน ผู้สอนจะมีกิจกรรมหลายรูปแบบในการฝึกทักษะที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการ เรียน เช่น ในวิชาที่เกี่ยวข้องกับศิลปะการสื่อสาร จะมีการจัดกิจกรรมที่ฝึกการพูดในที่ชุมนุมชน ฝึกการเขียนบทความ การเขียนสุนทรพจน์ ในวิชาที่ว่าด้วยการฝึกฝนภาวะผู้นำ ผู้เรียนจะได้ฝึกการเป็นผู้นำในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ผู้เรียนผลัดกันเป็นผู้นำกลุ่มย่อยระหว่างสัปดาห์ ดูภาพยนตร์ ฟังเพลงเพื่อวิเคราะห์ภาวะผู้นำและการตอบสนองต่อสถานการณ์ของผู้นำประเภท ต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นการเรียนที่มีการนำสิ่งรอบตัวมาเป็นเครื่องมือในการเรียนการส อน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกตื่นตัวในการร่วมกิจกรรมเหล่านั้น
การสอนที่เน้นสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนค้นคว้าก่อนเข้าห้องเรียน ในหลายวิชาที่ผมเข้าไปเรียนพบว่า ผู้สอนจะมีโครงร่างการเรียนการสอน (Course syllabus) ที่ ละเอียด ทั้งหนังสือที่ต้องอ่าน วัตถุประสงค์ในการเรียนการสอนแต่ละคาบวิชาสะท้อนว่า ผู้สอนวางแผนล่วงหน้าในการสอนอย่างดี ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจกับหัวข้อที่จะเรียนในแต่ละคาบวิชาก่อนเข้าเรียน ประกอบกับการเข้าชั้นเรียนแต่ละสัปดาห์ผู้สอนมักมีคำถามให้ผู้เรียนตอบคำถาม ก่อนเข้าเรียนทุกครั้ง และมีการให้คะแนนในสิ่งที่ผู้เรียนตอบ รวมถึงในบางวิชาจะให้เพื่อร่วมชั้นได้ประเมินงานของเพื่อนแต่ละคน วิเคราะห์สิ่งที่เพื่อนร่วมชั้นแสดงความคิดเห็น ซึ่งระบบการให้คะแนนเช่นนี้ ส่งผลให้ผู้เรียนจำเป็นต้องอ่านหนังสือและค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ
          การสอนที่ใช้สื่อหลากหลายและมีคุณภาพ การเรียนการสอนในแต่ละวิชามีเป้าหมาย เพื่อผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งความรู้ที่ดีที่สุด โดยพบว่าแต่ละวิชา ผู้สอนจะคัดเลือกหนังสือที่ดี มีชื่อเสียง ที่ได้รับการยอมรับโดยการตีพิมพ์ในหลายภาษา มาให้ผู้เรียนได้อ่านประกอบการเรียนการสอน รวมถึงมีบทความ มีชุดหนังสือประกอบการสอนแต่ละคาบ (Course package) ที่รวมบทความ ข้อเขียนของคนดังในเรื่องนั้น ๆ อย่างหลากหลายมาไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น The Prince ของ Machiavelli The Republic ของพลาโต สุนทรพจน์ของประธานาธิบดี Roosevelt John F. Kennedy รวมถึงประธานาธิบดีบุชหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน ทำให้ผู้เรียนได้เข้าถึงองค์ความรู้ที่ดีที่สุดในวิชานั้น ๆ ฯลฯ
          การสอนที่มุ่งทำวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ การ ศึกษาในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดไม่ใช่เป็นการเรียนเพื่อสอบให้ผ่านเท่านั้น แต่มหาวิทยาลัยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนทุกคนต้องทำวิจัยหรือสร้างนวัตกรรม ใหม่ที่เป็นต้นฉบับ โดยคณาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษาในการทำวิจัย จะเข้มงวดในการให้คำปรึกษาและมีส่วนในการควบคุมคุณภาพการผลิตผลงานวิจัยของ ผู้เรียน อันเป็นที่มาที่ส่งผลให้มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดผลิตบุคลากรที่ได้รับรางวัล โนเบล 15 รางวัล พูลิตเซอร์ 15 รางวัล และมีส่วนในการผลิตปรมาจารย์ชื่อดังมากมายกระจายไปทั่วโลก
          การสอนโดยคณาจารย์ที่มีคุณภาพ คณาจารย์ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเจาะจง ความน่าสนใจของการเรียนแต่ละวิชาคือ อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในวิชาที่สอนอย่างลึกซึ้ง ซึ่งทำให้ลงรายละเอียดในภาคปฏิบัติและทฤษฎีได้อย่างสมดุล ทำให้ผู้ เรียนเกิดความเข้าใจและเห็นภาพในภาคปฏิบัติอย่างชัดเจน เช่น การนำผู้ที่มีประสบการณ์ในการเป็นผู้อำนวยการจัดทำโครงการหาเสียงเลือกตั้ง ให้กับพรรคเดโมเครตมาสอนในวิชาที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเลือกตั้ง การนำผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์และทำงานองค์การระหว่างประเทศเกี่ยวกับการ พัฒนาเศรษฐกิจมาสอนในวิชาเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นต้น
คณาจารย์ที่มีผลงานวิชาการ มหา วิทยาลัยฮาร์วาร์ดจะไม่รับนักศึกษาที่จบใหม่มาเป็นอาจารย์ แต่ให้ออกไปสร้างผลงานก่อน ต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นที่ให้โอกาสนักศึกษาของตนเองเข้ามาสอน เช่น การได้รางวัลทางวิชาการต่าง ๆ หรือมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์ มีประสบการณ์การทำงานในสาขานั้นอย่างเฉพาะเจาะจง ประการที่สำคัญอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต้องแข่งขันกันรักษาเก้าอี้ของตัวเอง โดยการสร้างผลงานวิชาการภายใน 5 ปี เพราะด้วยเงินค่าจ้างที่แพงมาก ประกอบกับมหาวิทยาลัยได้จ้างอาจารย์ผู้สอนหมุนเวียนทุกปี เพื่อผลิตนักศึกษาและผลงานวิชาการที่มีคุณภาพสูง อันเป็นแรงกดดันอยากหนักที่ทำให้อาจารย์ผู้สอนที่ไม่มีผลงานทางวิชาการหลุด จากเก้าอี้เมื่อใดก็ได้

ความ โดดเด่นในด้านการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดดังข้างต้นเป็น เพียงตัวอย่างบางส่วนจากประสบการณ์ที่ผมได้สัมผัสจริง ซึ่งนับเป็นกรณีศึกษาที่สถาบันอุดมศึกษาไทย อาจนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการอุดมศึกษา จนสามารถสร้างชื่อเสียงและแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ"

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio