บทความแรกเป็นบทความของท่าน ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ชื่อบทความว่า ถอดรหัส”12ไม้เด็ด สูตรสำเร็จข้าราชการ” ก็เป็นเรื่องของข้าราชการที่จะทำงานให้สำเร็จนะครับ
"ดิฉันได้เขียนหนังสือฉบับกระเป๋าเรื่อง “ 12ไม้เด็ด สูตรสำเร็จข้าราชการ” โดยบริษัทนานมีบุ๊คส์จำกัด ได้เป็นผู้จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายในปี 2552นี้ ดิฉันได้ถ่ายทอดประสบการณ์การรับราชการตลอดระยะเวลายาวนานถึง 38 ปี ซึ่งเป็นการเสนอแนะในฐานะดิฉันเป็นโค้ชให้แก่ข้าราชการที่ต้องการความก้าวหน้าและความสำเร็จในชีวิต และต่อไปนี้คือรหัสหรือสาระสำคัญที่เปรียบเหมือนลายแทง เพื่อการค้นหาขุมสมบัติทางปัญญาที่ซ่อนอยู่ในหนังสือเล่มนี้
1. ถอดรหัส สูตรเรียนลัด ใช้กูรูเป็นครูสอน
ต้องคิดการใหญ่ เรียนรู้จากผู้อื่น : เริ่มต้นด้วยความฝัน ฝึกเขียนโครงการโดยมีฐานข้อมูล ฝึกการทำงานเป็นลูกทีม ฝึกการเป็นหัวหน้าทีมเน้นสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน ฝีกการกำกับและตรวจสอบโครงการ รายงานความก้าวหน้า การบริหารโครงการใหม่ใหญ่และยาก
เรียนรู้จากกูรู เพื่อก้าวสู่เวทีสากล : เริ่มจากเวทีระดับพื้นที่หรือจังหวัด ก้าวสู่เวทีระดับประเทศ การประชุมสัมมนาระหว่างประเทศ การไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ เข้าร่วมแข่งขันระหว่างประเทศ จ้างผู้เชี่ยวชาญต่างชาติมาช่วยแนะนำ รับเชิญไปเป็นวิทยากรในต่างประเทศ การสร้างผลงานคุณภาพสูงแข่งขันกับต่างประเทศ สร้างความเข้มแข็งด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ค้นหาคัมภีร์ แล้วสร้างสูตรทำงานให้สำเร็จ : สูตรมหามงคลในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สูตรเศรษฐกิจพอเพียงแบบโชค บูลกุล เศรษฐกิจพอเพียงแบบหม่ำ จ๊กมก
นานาสูตรแห่งความสำเร็จ :
1.สูตรการสร้างทีมในการทำงานด้วยตัว C12 ข้อ
2.สร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ I AM READY
3.กำหนดเป้าหมายให้SMART
4. บริหารจัดการแบบ 7’S Model
5. การสื่อสารแบบP.E.R.F.E.C.T
6. นายบารัก โอบาม่า ประธานาธิบดีผิวสี ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้ สหรัฐอเมริกา
7. นาย มูเคช อัมบานี มหาเศรษฐีของอินเดียนิยมเรียนรู้จากนอกโรงเรียน
8.บิลล์ เกตส์ ผู้เขย่าวงการคอมพิวเตอร์
9.แจ๊ค เวลช์ ผู้จัดการแห่งศตวรรษที่ 21
10.หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี นักปราชญ์ และศิลปินแห่งชาติ
2. สร้างผลงาน สร้างโอกาสก่อน จึงชิงชัยเข้าสู่ตำแหน่ง
การช่วงชิงอำนาจให้เป็นของเรา: รู้จักความหมายของ“อำนาจ” เข้าให้ถึงผู้มีอำนาจตัวจริง อำนาจสร้างบารมี ต้องใช้อำนาจและบารมีในทางดี อย่าแอบอ้างอำนาจของผู้อื่น ฝึกทำงานกับผู้มีอำนาจ อย่าหักหลังผู้มีอำนาจ มีส่วนร่วมกับผู้มีอำนาจทำงานชิ้นสำคัญ รู้จักอาสาผู้มีอำนาจเพื่อสร้างผลงาน เรียนรู้วิธีทำงานจากเพื่อนร่วมวิชาชีพ สร้างผลงานให้หัวหน้าและเพื่อนร่วมงานยอมรับ งานสายหลักมีความได้เปรียบ สร้างผลงานให้ผู้บริหารสูงสุดยอมรับ อย่าข้ามเส้นหัวหน้าชั้นต้น ก้าวหน้าแบบค่อยเป็นค่อยไป ย้ายงานใหม่หากงานเดิมหมดโอกาส
การเอาชนะคู่ต่อสู้: ใช้ความรู้ความสามารถในการแข่งขัน ต้องรู้จริงในงานที่ทำ จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย อย่าฉกฉวยผลงานของคนอื่น ต้องประกาศความดีของผู้อื่นบ้าง เอาชนะใจเพื่อนร่วมงาน ฝึกความอดทนอดกลั้น ฝึกความสุขุมหนักแน่น รู้จักยกย่องผู้บังคับบัญชา เมื่อพูดถึงจุดอ่อนของผู้อื่นอย่าใช้วิธีประจาน การประนีประนอมในสถานการณ์ยุ่งยาก รักษาลูกน้องที่เก่งและดีให้อยู่กับเรา ศึกษาภูมิหลังของเพื่อนร่วมงาน กระจายความสนิทสนมให้กว้างขึ้น รู้จักใช้คำพูดถนอมน้ำใจ
ทดสอบหาคำตอบให้ตนเอง ถ้าอยากจะเป็นผู้บริหาร :
1.ความมุ่งมั่นและกำลังใจ
2. ค้นให้พบว่าเราอยากเป็นอะไร และมีกี่ทางเลือก
3.สำรวจความพร้อมของตนเอง
4.สำรวจจำนวนตัวช่วย หรือตัวฉุด
5.จัดทำแผนปฏิบัติการของตนเอง
6.ลงมือพัฒนาตนเองเป็นจุดเริ่มต้น
7.ค้นหาค้นหาต้นแบบแห่งความสำเร็จ
8. สร้างสูตรและวิธีทำงานให้เกิดความสำเร็จ
9.การประชาสัมพันธ์ผลงาน
10. ใครคือคู่ต่อสู้ของเรา
11. การเมืองในสำนักงาน
12.การสร้างโอกาสเข้าสู่ตำแหน่ง
3. จะเป็นใหญ่ต้องรู้หน้าที่และเล่นบทผู้กำกับการแสดง
การต่อสู้เริ่มขึ้นแล้ว: ต้องคิดสู้ การทำงานให้เต็มศักยภาพ เข้าใจสถานภาพของตัวเอง ตั้งเป้าหมายในการทำงาน การสร้างคุณสมบัติพิเศษ การฝึกจิตใจแผ่เมตตา ซ่อนความรู้สึกที่ไม่ดีไว้ภายใน แสดงจุดดีให้ปรากฏ ให้เกียรติเพื่อนร่วมงานทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทำงานแล้วสร้างฐานข้อมูล รู้จักพรรคพวกของตัวเอง รู้จักผู้มีบารมี ระวังการใช้เส้นสายพรรคพวก การเลือกเข้ากล่ม สร้างความโดดเด่นด้วยความรับผิดชอบ การวางตนท่ามกลางความขัดแย้ง
เข้าใจอำนาจและหน้าที่ของตำแหน่ง: อำนาจหน้าที่ของอธิบดี อำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวง อำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรี
หลักการทำงานของผู้บริหารทุกระดับ: หลักการทำงานอย่างมืออาชีพ ทำงานโดยใช้หลักธรรม ทำงานด้วยน้ำใจ ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ ทำงานเป็นสุขเพราะมองโลกในแง่ดี ทำงานตามหลักสุขภาพและจิตวิทยา ปัจจัยเสี่ยงตอสุขภาพ สมาธิในการทำงาน
ศิลปะการบริหารงานของผู้บริหาร : การปฏิบัติต่อตนเอง การปฏิบัติต่อผู้บังคับ
บัญชา การปฏิบัติต่อลูกทีมหรือผู้ใต้บังคับบัญชา การปฏิบัติต่อหัวหน้าระดับเดียวกัน
4. สร้างวิสัยทัศน์และใช้กลยุทธ์ที่เข้มแข็ง
แผนพัฒนาตนเองขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งที่เป็นจริง ค้นหาตัวจริงของเรา วิเคราะห์ตัวเองให้ครบถ้วนทุกมิติ พร้อมให้คนอื่นวิเคราะห์ตัวเรา วิเคราะห์โอกาสและทางเลือก การลงรายละเอียดในแต่ละขั้นตอน ลงมือแก้ไขตามที่วางแผนไว้ ฝึกอารมณ์ขันไว้แก้สถานการณ์คับขัน ฝึกความเชื่อมั่นในตนเอง ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ผู้บริหารยุคใหม่ต้องมีวิสัยทัศน์ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ตัวอย่างการเขียนวิสัยทัศน์และแผนยุทธศาสตร์ของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
ค้นหา พัฒนาและลงมือปฎิบัติ สาเหตุที่วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ล้มเหลว วิธีพัฒนายุทธศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพ แปลงยุทธศาสตร์เป็นแผนงานแผนเงิน ทำลายอุปสรรคที่ขวางกั้น กำกับและประเมินผลด้วยเทคนิคใหม่ ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการ การกำหนดวิสัยทัศน์และแผนยุทธศาสตร์โดยใช้ตัวช่วยจากแม่แบบ (CEO Templates)
5. เสริมแรงเสริมศักยภาพการแข่งขัน
เริ่มด้วยปัจจัยสร้างความไว้วางใจ: การทำให้คนอื่นไว้วางใจเรา สิ่งที่ไม่ควรทำในการสร้างความไว้วางใจ การไว้วางใจผู้ใต้บังคับบัญชา
การพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการแข่งขัน: ให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพ การปรับบุคลิกทางกาย การจัดการกับอารมณ์ การพัฒนาสติปัญญาในขั้นปรีชาญาณ บุคลิกภาพทางสังคม
การพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการยุคใหม่: เข้าใจสิ่งเปลี่ยนแปลงในโลกในยุคคลื่นลูกใหม่ ปรับตัวเป็นผู้นำในยุคคลื่นลูกใหม่ ศักยภาพของธุรกิจยุคใหม่ที่ต้องการสำหรับผู้นำระดับโลก วิธีการพัฒนาและฝึกอบรมผู้นำยุคใหม่ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของผู้นำต่างประเทศ วิธีเรียนรู้และพัฒนาตนเองของผู้บริหารในการเป็นผู้นำ ข้อเตือนใจในการพัฒนาผู้บริหารยุคใหม่ การประเมินตนเองด้านความรู้และทักษะจำเป็นของผู้บริหารระดับสูง ทักษะที่เป็นจุดอ่อนของผู้บริหารระดับสูงภาครัฐ
คิดบุกงาน ต้องจิตสบายกายแข็งแกร่ง: แบบทดสอบสุขภาพอย่างง่ายได้ด้วยตนเอง การตรวจสุขภาพประจำปี การควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกาย การควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ
6. บริหารในระบบคณะกรรมการ
การบริหารในรูปแบบคณะกรรมการ:ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยของการบริหารรูปแบบคณะกรรมการ สิ่งที่ควรปรับปรุงในการวางแผนการเลือกคณะกรรมการ แนวทางทำงานในรูปคณะกรรมการที่มีประสิทธิภาพ การดำเนินการจัดประชุมที่มีประสิทธิภาพของคณะกรรมการ การกำหนดรูปแบบของการประชุมคณะกรรมการ บทบาทของประธานหรือผู้นำการประชุมที่ดี ตัวอย่างหลักการของคณะกรรมการที่ดีจากหน่วยงานมืออาชีพ
ทักษะการนำเสนอในที่ประชุม:การนำเสนอในที่ประชุมนัดสำคัญ การนำเสนอในการประชุมเชิงวิชาการ การนำเสนอในฐานะผู้เข้าร่วมประชุม การนำเสนอในฐานะประธานการประชุม
รูปแบบการประชุม: การประชุมทั่วไป การประชุมทีมงาน การประชุมเฉพาะคณะกรรมการ การประชุมสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุมระดมความคิด การประชุมแบบกลุ่มย่อยเฉพาะกิจ การประชุมวิชาการแบบซิมโพเซียม การประชุมแบบโต๊ะกลม ลักษณะของการประชุมทีดี
การขายความคิดและจูงใจผู้อื่น: สามขั้นตอนของการขายความคิด ตัวอย่างการขายสินค้าของสตีฟ จ็อบส์
7.สร้างเครือข่าย กระจายงาน กระจายคน
วางเครือข่าย ต่อสายพันธมิตร:ความหมายของเครือข่าย ความสัมพันธ์ของเครือข่าย แนวคิดการสร้างเครือข่ายพันธมิตร การสร้างเครือข่ายภายในองค์กรเดียวกัน รูปแบบของเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น วิธีการสร้างความร่วมมือ ประโยชน์ของการทำงานร่วมกันโดยใช้เครือข่าย ตัวอย่างหน่วยงานต้นแบบแม่ข่ายกับลูกข่าย ทำให้คู่แข่งมาเป็นเครือข่าย
การบริหารจัดการแบบเครือข่าย:
1. ตกลงรูปแบบการรวมตัวของเครือข่าย
2. กำหนดระดับของความร่วมมือ
3. ตกลงแนวทางการบริหารจัดการแบบเครือข่าย
4.กำหนดขั้นตอนของกระบวนการจัดการเครือข่ายความร่วมมือ
5.ขจัดอุปสรรคของการจัดการความร่วมมือ
การสร้างเข้มแข็งเครือข่ายระดับสำคัญ: แนวทางการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในระดับองค์กรโลก แนวทางการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในองค์กรระดับกลุ่มประเทศ การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานระดับชาติ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกับชุมชน
8. สร้างความชอบธรรม บนพื้นฐานคุณธรรมและกฎหมาย
ยึดหลักคุณธรรมและธรรมาภิบาล: คุณธรรม ระบบคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม ทศพิธราชธรรม จรรยาบรรณ จรรยาบรรณวิชาชีพ จริยธรรมของข้าราชการ ธรรมาภิบาล
การแก้ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหาหลักของธรรมาภิบาล:รายงานการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ข้อเสนอให้จัดการป้องกันคอรัปชั่น เป็นวาระแห่งชาติ ปัจจัยองค์ประกอบความสำเร็จในการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการศึกษาและส่งเสริมคุณธรรม
การต่อสู้ทางกฎหมาย: เข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงาน ศึกษากฎหมายพื้นฐานทั่วไปสำหรับประชาชน การแก้กฎหมายเก่าหรือออกกฎหมายใหม่ ปรึกษานักกฎหมาย รู้จักใช้กฎหมายให้เป็นเครื่องมือ ข้อพึงระวังในการทำผิดกฎหมาย เหตุเพราะไม่สนองผู้บังคับบัญชาโดยเฉพาะฝ่ายการเมือง
9. ฝึกทักษะใหม่ จัดการความรู้ จัดการความคิด
สังคมโลกได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้: ความหมายของการจัดการความรู้ ประเภทของความรู้ 2 ประเภท ระดับของความรู้ มี 4 ระดับ กรอบการจัดการความรู้ด้วยแผนผังก้างปลา พัฒนาการของการจัดการความรู้ จุดอ่อนของการจัดการความรู้ทั่วโลก
แนวทางสร้างส่วนราชการไทยให้เป็นสังคมความรู้: ความรู้คือปัจจัยอำนาจพัฒนาประเทศ สภาพสังคมส่งผลต่อหน่วยงานในการจัดการความรู้ การสร้างหน่วยงานไทยเป็นสังคมความรู้ ใน10 ปีข้างหน้า หน่วยงานไทยเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้หรือไม่ กระบวนการจัดการความรู้ในองค์กรราชการ จุดอ่อนของการจัดการความรู้ในส่วนราชการไทย
การจัดการความคิด: พัฒนาความคิดคือการพัฒนาคนและงาน ปัญหาใหญ่ในการทำงานของคนไทยอยู่ที่การคิด ต้องจัดการความคิดให้ได้10 รูปแบบ การฝึกคิดวิเคราะห์ การฝึกคิดสร้างสรรค์ การฝึกคิดเพื่อความสำเร็จ
10. ประสิทธิภาพเพิ่มได้ เมื่อใช้เทคโนโลยี
เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ: ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีมี 4 ขั้นตอน สมองกลคอมพิวเตอร์มี 3 ขนาด ฮาร์ดแวร์,ซอฟท์แวร์ และพีเพิลแวร์ ข้อมูลและระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้บริหารองค์การสมัยใหม่: การจัดทำแผนแม่บท ICT ชาติ การบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรสมัยใหม่ ทักษะเฉพาะของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้บริหารต้องใช้ไอทีเป็น: ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เริ่มจากฝึกการใช้งานพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน ฝึกโปรแกรมนำเสนอด้วยภาพนิ่ง (Power Point Presentation) ฝึกเป็นผู้ใช้ งานคอมพิวเตอร์ (User) การใช้เว็บไซต์ (Website) การใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูล
11. เขียนรายงานให้ดี เขียนชี้แจง แสดงความก้าวหน้า
เทคนิคการเขียนโดยทั่วไป: การเขียนเป็นการสื่อให้ผู้อื่นรับรู้ด้วยตัวอักษร ลักษณะผู้เขียนที่ดี หลักการเขียนบทความโดยทั่วไป องค์ประกอบที่ทำให้งานเขียนเป็นผลงานที่ดี
เทคนิคการเขียนเพื่อรายงานความสำเร็จ:
1.ลักษณะจำเพาะการเขียนการรายงานของสื่อมวลชน
2. เป้าหมายการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์
3. วิธีการเขียนเนื้อหาของข่าว
4. การเขียนข่าวแจก
5. บทความเพื่อการโฆษณา
6.การเขียนสุนทรพจน์
7.การเขียนข่าวรายงานพิเศษ
8. การเขียนคำขวัญและโลโก้
9. การเขียนข่าววิทยุเพื่อการประชาสัมพันธ์
10. การเขียนเพื่อนำเสนอผ่าน สื่อวิทยุโทรทัศน์
11. การเขียนเพื่อรายงานผ่านอินเตอร์เน็ต
ตัวอย่างการเขียนข่าวจริง:
1. ตัวอย่างรายงานข่าวสั้นในหนังสือพิมพ์ ขนาดความยาว 2 ย่อหน้า
2. ตัวอย่างข่าวยาวเพื่อรายงานสัมมนาทางหนังสือพิมพ์
3. ตัวอย่างข่าวอินเตอร์เน็ตที่ต้องการชี้แจงข้อเท็จจริง
4. ตัวอย่างข่าวทางอินเตอร์เน็ตเพื่อรายงานผลปฏิบัติงานจริงในพื้นที่
5. ตัวอย่างการเขียนเพื่อจัดรายการวิทยุประเภทการศึกษา
6. ตัวอย่างการเขียนรายงานพิเศษจากการไปประชุมต่างประเทศ
12. ต้องโฆษณาประชาสัมพันธ์ ต้องสร้างภาพลักษณ์
เทคนิคการประชาสัมพันธ์: ใช้การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี การสื่อสารภายในองค์กร สื่อมวลชนสัมพันธ์และการรายงานต่อสาธารณชน ชุมชนสัมพันธ์ หรือองค์กรสัมพันธ์ การทำกิจกรรมสังคม
การประชาสัมพันธ์องค์กร: ประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักองค์กร ผู้บริหารเป็นตัวแทนภาพลักษณ์องค์กร ใช้สัญลักษณ์หรือคำขวัญที่ดี การวางตำแหน่งขององค์กร การติดตามความเคลื่อนไหวของคู่แข่งขัน งานประชาสัมพันธ์แตกต่างจากงานฝ่ายการตลาด จัดกิจกรรมแสดงถึงความคงอยู่ขององค์กร การจัดทำแผนประชาสัมพันธ์ขององค์กร กำหนดรูปแบบประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับเรื่องที่นำเสนอ การประชาสัมพันธ์ในช่วงวิกฤติ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์มืออาชีพ งานประชาสัมพันธ์ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย พัฒนาบุคลากรจากหลายฝ่ายให้มีทักษะประชาสัมพันธ์
ตัวอย่างจริงระบบงานประชาสัมพันธ์ระดับกระทรวง"
บทความที่ 2 เอามาจากเวบพลังจิตนะครับ เป็นแนวการสร้างสมาธิครับ
"วิธีประคองใจ ให้ทำงานสำเร็จ ก็คงจะหนีไม่พ้นคำว่า ต้องมี สมาธิ ในการทำงาน
แต่เขียนต่างจากคำว่า สมาธิ ในการทางพระพุทธศาสนา ที่ใช้คำว่า Meditation .... ในทางจิตวิทยา
จะใช้คำว่า Concentration แปลว่า การสำรวมใจ ซึ่งหมายถึง ความตั้งใจจดจ่ออยู่กับกิจการ ปัญหาหรือ
ประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งและการใช้กำลังกายและกำลังใจ แก้ไขปัญหานั้น ๆ อย่างมีสติ ดังน้น
เราต้องมีสมาธิ ความตั้งใจ เพ่งอยู่กับงานที่มุ่งหมายจะทำ และทำจนงานนั้นถึงที่สุด คืองานนั้นสำเร็จ
วิธีสำรวมใจ คือจงเขียนแผนงานลงไปว่า
1. จะทำอะไร
2. จะลงมื่อเมื่อใด เมื่อตั้งใจแล้วต้องทำอย่างจริงจัง ไม่ผลัดวัดประกันพรุ่ง
3. ลำดับงาน ก่อนหลัง
ให้อ่านทบทวน และสัญญากับตัวเองว่า จะต้องลงมือทำตามกำหนด เอารายการมาดูเสมอ ๆ
การเขียนแผนงานไว้อย่างนี้ จะช่วยในการสำรวมใจ (Concentration) ได้เป็นอย่างดี เรียกว่าการนัดหมาย
กับตนเอง หัวใจของการสำรวมใจคือ ต้องลงมือทำทันที อย่าปล่อยใจให้วุ่นวายกับเรื่องใด ๆ ทั้งสิ้น ให้นึกปลอบใจตัวเองว่า
เสร็จงานนี้ก็จะโล่งอก จะไปพักผ่อนไหนก็ไม่ต้องเป็นห่วง ทำอย่างนี้สักสามสี่ครั้งเท่านั้น ก็จะเกิดความเคยชิน
และการทำงานทุกครั้งให้มีเป้าหมายที่ชัดเจนด้วยนะคะ ....
จบแล้วค่ะ ไว้วันหลังจะหาสิ่งดี ๆ มาฝากอีกนะคะ"
แต่เขียนต่างจากคำว่า สมาธิ ในการทางพระพุทธศาสนา ที่ใช้คำว่า Meditation .... ในทางจิตวิทยา
จะใช้คำว่า Concentration แปลว่า การสำรวมใจ ซึ่งหมายถึง ความตั้งใจจดจ่ออยู่กับกิจการ ปัญหาหรือ
ประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งและการใช้กำลังกายและกำลังใจ แก้ไขปัญหานั้น ๆ อย่างมีสติ ดังน้น
เราต้องมีสมาธิ ความตั้งใจ เพ่งอยู่กับงานที่มุ่งหมายจะทำ และทำจนงานนั้นถึงที่สุด คืองานนั้นสำเร็จ
วิธีสำรวมใจ คือจงเขียนแผนงานลงไปว่า
1. จะทำอะไร
2. จะลงมื่อเมื่อใด เมื่อตั้งใจแล้วต้องทำอย่างจริงจัง ไม่ผลัดวัดประกันพรุ่ง
3. ลำดับงาน ก่อนหลัง
ให้อ่านทบทวน และสัญญากับตัวเองว่า จะต้องลงมือทำตามกำหนด เอารายการมาดูเสมอ ๆ
การเขียนแผนงานไว้อย่างนี้ จะช่วยในการสำรวมใจ (Concentration) ได้เป็นอย่างดี เรียกว่าการนัดหมาย
กับตนเอง หัวใจของการสำรวมใจคือ ต้องลงมือทำทันที อย่าปล่อยใจให้วุ่นวายกับเรื่องใด ๆ ทั้งสิ้น ให้นึกปลอบใจตัวเองว่า
เสร็จงานนี้ก็จะโล่งอก จะไปพักผ่อนไหนก็ไม่ต้องเป็นห่วง ทำอย่างนี้สักสามสี่ครั้งเท่านั้น ก็จะเกิดความเคยชิน
และการทำงานทุกครั้งให้มีเป้าหมายที่ชัดเจนด้วยนะคะ ....
จบแล้วค่ะ ไว้วันหลังจะหาสิ่งดี ๆ มาฝากอีกนะคะ"
บทความที่ 3 เป็นของท่านสาระนะครับ
"การทำงานให้สำเร็จ
โดย สาระ
|
แนวทางเพื่อทำให้งานเสร็จ
สำหรับงานที่สามารถทำได้เพียงคนเดียวและไม่สลับซับซ้อน อาจใช้แนวทางดังนี้
๑. ระบุชื่องาน --- เขียนชื่อกิจกรรมที่จะทำ ตามลำดับความสำคัญเร่งด่วน
๒. ลงมือทำ
๓. มุ่งมัน (Focus) --- รักษาความสนใจให้อยู่กับงาน สู้กับอุปสรรค ลดความสับสน มุ่งมั่นให้งานเสร็จ นอกจากนั้น การมุ่งมั่นเริ่มตั้งแต่ขั้นระบุชื่องาน คือถ้ามีงานหลายรายการอาจจะเขียนออกมา แล้วเลือกงานเร่งด่วนที่จะทำ
๔. เสร็จ
การไม่สามารถทำงานให้สำเร็จได้เป็นเพราะหลายสาเหตุ คนอื่นส่วนมากจะรู้แค่บางส่วน มักจะสงสัยว่าทำไมไม่อย่างนั้นอย่างนี้ แต่ตัวเราหรือผู้รับผิดชอบโครงการมักเข้าใจดี การจะสามารถทำงานให้สำเร็จนั้นถ้าอุปสรรคมากเกินไปก็ยากที่จะประสบความสำเร็จได้ ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคภายในตัวเองหรือองค์กรของตน หรืออุปสรรคภายนอก ซึ่งการจะทำให้งานสำเร็จแน่นอนนั้น ต้องผ่านได้ทั้งอุปสรรคภายในและภายนอก บางคนพบอุปสรรคน้อย บางคนเผชิญแต่อุปสรรค บางอุปสรรคบางครั้งก็ผ่านได้โดยบังเอิญ ที่เหลือต้องใช้พลังขับเคลื่อนมากเป็นพิเศษ
ขั้นตอนโดยทั่วไปของความสำเร็จในงาน ได้แก่
๑. มองเห็นปัญหาในปัจจุบันหรือโอกาส แล้วกำหนดเป็นเป้าหมาย ซึ่งเป้าหมายแรก ๆ ควรจะเป็นหน้าที่หรือสำคัญ และมีน้อยรายการ
๒. ศึกษาและวางแผน เกี่่ยวกับปัจจัยแห่งความสำเร็จของเป้าหมาย อุปสรรคและสิ่งสนับสนุนทั้งภายใน-ภายนอก และการปฏิบัติงาน
๓. เตรียมความพร้อมและตัดสินใจลงมือทำ อย่างต่อเนื่องหรือถูกจังหวะ มีระยะเวลาเพียงพอ มุ่งมั่นสู่ความสำเร็จของเป้าหมาย รอดจากอุปสรรค ได้รับการสนับสนุนจากคนที่เกี่ยวข้อง และมีความพร้อมของปัจจัยภายนอกอื่น ๆ เช่น เครื่องมือและอุปกรณ์ ตลาด ฯลฯ
๔. สามารถในการแก้ปัญหา และคิดสร้างสรรค์ ในกรณีที่ความสำเร็จต้องดูแลให้ดำรงคงอยู่
แนวความคิดที่ช่วยให้สามารถทำงานได้สำเร็จ ได้แก่
๑. 80/20 --- เป็นความยุ่งยาก เสียเวลา พลังงาน และค่าใช้จ่าย มาก ในการที่จะทำงานให้สำเร็จและได้ผลดีเลิศ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นการทำให้สำเร็จโดยที่งานดี ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ก็อาจจะเป็นที่ยอมรับได้
ใช่ว่าเราจะไม่ต้องการให้งานดีเลิศ แต่การทำให้ดีเลิศแล้วต้องใช้เวลาอีกมาก เวลาที่จะต้องใช้เพิ่มเรานำไปทำงานอื่นดีกว่า นอกจากนั้นเมื่อเราดำเนินต่อเพื่อทำให้ดีเลิศเราจะพบว่ามีงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ระยะห่างของเรากับความสำเร็จไม่รู้จักจบสิ้นเสียที
๒. ทำให้ง่าย --- นึกถึงความง่าย วัตถุประสงค์ และความจำเป็นเข้าไว้ เพื่อจะได้ไม่หลงประเด็น แตกแขนงงานจนยากที่จะทำให้เสร็จได้
๓. คิด--ลงมือทำ--สำเร็จ --- เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะทำอะไร ให้พยายามเริ่มลงมือทำในทันทีเท่าที่จะทำได้ และทำต่อเนื่องจนสำเร็จเสร็จสิ้น"
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น