ขับเคลื่อนโดย Blogger.

หนังสือและโจทย์ที่นักวิชาการสาธารณสสุขต้องอ่าน

เมื่อหลายปีก่อนหลังจากที่ผมสอบเข้าเรียนที่คณะสาธารณสุจศาสตร์โดยผมได้อ่านหนังสือเพียงไม่กี่เล่มเลยครับ  ผมทำคะแนนวิทย์ คณิต ภาษาอังกฤษแค่พอผ่าน  คือเฉลี่ย 40% หากผมจะพูดว่าหนังสือที่ทำให้ผมได้เรียนสาธษรณสุขหรือหนังสือที่ทำให้ผมได้เป็นนักวิชาการสาธารณสุข คือ หนังสือภาษาไทยของอาจารย์ ธเนศ  ผมอ่านเพียงเล่มเดียวก่อนสอบผมเข้าใจเนื้อหามากขึ้นผมทำคะแนนภาษาไทยถึง 72 คะแนน ซึ่งถอว่าเยอะมากเลยครับ  ดังนั้นน้องๆที่จะสอบเป็นนักวิชาการสาธารณสุข ควรเน้นที่จุดแข็งของเรานะครับ เพราะการกำจัดจุดอ่อนมันใช้เวลามากกว่าการเสริมสร้างจุดแข็ง

หลังจากที่เป็นนักวิชาการสาธารณสุขแล้วนะครับโจทย์อีกข้อหนึ่งที่พึงศึกษาไว้แต่เนิ่น ๆก็คือ ทำอย่างไรให้เก็บเงินได้ครับ ผมก็นำบทความดีๆมาฝากและเก็บไว้ให้ตัวเองงอ่านเช่นเคยครับ

"ทำอย่างไรจะมีเงินเก็บ

ทำอย่างไรจะมีเงินเก็บ
ดัดแปลงจากบทความ “ทำอย่างไรให้มีเงินออม” และ “พร้อมที่จะลงทุน” เคยตั้งคำถามกับตัวเองบ้างไหมว่า ตัวเราจะต้องทำงานไปจนถึงอายุเท่าไหร่จึงจะมีเงินไว้ใช้สอยอย่างสุขสบายตาม ฐานะ ส่งลูกเรียนหนังสือโดยไม่ลำบากได้ ไม่เป็นหนี้เป็นสินกับใคร และไม่ลำบากในยามแก่ชรา มีเงินเหลือพอที่จะเป็นค่ารักษาพยาบาล คำถามง่ายๆ แบบนี้ หลายคนยังหาคำตอบไม่ได้ หลายคนอาจจะมีคำตอบแล้ว แต่ยังไม่ได้เริ่มลงมือ ทำอะไร และหากว่าคุณเป็นคนที่อยู่ในวัยทำงานที่ไม่ว่าเมื่อวาน วันนี้ หรือพรุ่งนี้ก็ยังคงตั้งหน้าตั้งตาทำงานตัวเป็นเกลียว เคยตั้งคำถามให้กับตัวเองไหม

งานประจำไม่ทำให้คนรวยได้ จริงหรือไม่
การ ตั้งหน้าตั้งตาทำงานต่อไป แต่กลับไม่มีเงินเก็บออม หนำซ้ำในบางครั้งก็ยังคงมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ต้องประสบปัญหาทางการเงินถึงกับต้องกู้หนี้ยืมสิน ถ้าหากเหตุการณ์ที่ว่านี้เกิดขึ้นกับคุณแล้วละก็ คุณต้องลงมือทำอะไรสักอย่างแล้ว เพื่ออนาคตข้างหน้า

การที่จะมีเงิน เก็บออมได้นั้นไม่ใช่เรื่องยาก สิ่งแรกที่คุณต้องลงมือทำก็คือ การรู้จักวิธีวางแผนทางการเงินเสียก่อน โดยในขั้นแรกคือการจัดสรรเงินที่มีอยู่ให้พอเพียงกับวิถีชีวิตของคุณเอง ดูว่าคุณมีภาระค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์และ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ประจำวัน พยายามใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นเสียก่อน ให้เหลือเงินและกันส่วนที่เหลือไว้เป็นเงินออมให้มากที่สุดโดยไม่ลำบากกับ ชีวิตประจำวันมากนัก และหากเงินที่หาได้ในแต่ละเดือนไม่เพียงพอกับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่มีอยู่แล้วคุณมีทางเลือก 2 ทาง
ทางแรกคือการเพิ่มรายได้ หาอาชีพเสริม เพื่อจะได้มีรายรับที่เพิ่มมากขึ้น และ ทางที่สอง คือการหาทางลดค่าใช้จ่ายที่เป็นอยู่ อะไรที่เป็นสิ่งของฟุ่มเฟือยหรือไม่จำเป็นก็ตัดทิ้งไปบ้าง ถ้าคิดว่าจำเป็นทุกอย่าง ควรตัดสิ่งจำเป็นน้อยกว่าออกไปหรือลดการใช้จ่ายสิ่งจำเป็นลง ทนลำบากซักหน่อย

หลังจากนั้นแล้วก็เริ่มกันเงินส่วนหนึ่งไว้เป็นเงินออม เงินออมนี้โดยทั่วไปแล้วมีไว้ก็เพื่อวัตถุประสงค์หลักๆ 3 อย่าง
1. การสำรองไว้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น คุณหรือบุคคลในครอบครัวอาจมีเหตุให้ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นการด่วน เงินออมในส่วนนี้แนะนำให้มีไว้อย่างน้อย 6 เท่าของค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในแต่ละเดือน
2. การออมเพื่อวัตถุประสงค์ระยะยาว เช่น หากคุณมีครอบครัวแล้วก็จำเป็นจะต้องมีการออมเพื่อการศึกษาของลูกๆ ในวันข้างหน้า
3. การออมไว้ใช้ในยามเกษียณ เมื่อถึงวัยหนึ่งที่คุณไม่ทำงานอีกต่อไปแล้ว คุณจะได้มีเงินจับจ่ายใช้สอยต่อไปอย่างไม่ลำบาก และไม่เป็นภาระของใครๆ
เมื่อ มีเงินที่เก็บออมมาได้ระยะหนึ่งและพอจะตั้งต้นลงทุนได้แล้ว ก็ถึงเวลาที่คุณจะต้องทำการสำรวจตนเอง ประเมินตนเองแล้วว่ามีจุดมุ่งหมายในการลงทุนอย่างไร ชัดเจนหรือไม่ เช่น เพื่อการศึกษาของลูกๆ หรือเพื่อวางแผนชีวิตเกษียณ เป็นต้น เพราะแน่นอนว่าเมื่อนำเงินมาลงทุนหาประโยชน์ให้งอกเงยแล้ว ย่อมจะต้องการ “ผลตอบแทน” ที่ดีจากการลงทุน แต่สิ่งสำคัญคือคุณจะต้องไม่หลงทางไปกับคำว่า “ผลตอบแทน” เสียก่อน เพราะผลตอบแทนนั้นย่อมมี “ความเสี่ยง” ตามติดมาด้วยทุกคราไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องถามตัวเองว่า เป้าหมายที่ต้องการจากการลงทุนที่แท้จริงคืออะไร ขณะนี้คุณอายุเท่าไหร่ คุณแบกรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน ในแต่ละช่วงชีวิตนั้นมีเป้าหมายอย่างไร หากเกิดความผิดพลาดแล้ว ยังจะกลับมาแก้ไขได้ทันไหม ทั้งนี้ ก็เพื่อกำหนดกรอบการลงทุนของตนเองในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้นั่นเอง

ข้าง ต้นนั้นคนที่คิดเป็นทำเป็นอาจจะไม่ลำบากแต่หากเป็นชาวบ้านทั่วไปคิดไม่ออก ไม่รู้วิธีจัดการเพราะการที่จะต้องกันเงินออกหลายๆ ส่วนจะเหลือเป็นเงินก้อนส่วนน้อยนิดวางกองตรงหน้า มิหนำซ้ำ เงินก้อนที่ต้องใช้จ่ายในชีวิตประจำวันก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการอีก

หลัก การง่ายๆ คือ หารายได้เสริมเท่าที่พอจะมีแรง อย่าเกี่ยงงาน เงินล่องลอยอยู่รอบๆ ตัวเราเสมอ เพียงแต่เราจะรู้วิธีไขว่คว้ามาให้ได้อย่างไรเท่านั้น การออม ไม่ใช่เป็นการเก็บครั้งสองครั้งแล้วเห็นผล แต่หมายถึง การเก็บทีละเล็กละน้อยและมุ่งมั่นที่จะเก็บ ลองทำดูว่า การบังคับตัวเองเก็บเงินวันละร้อยสองร้อยบาทไปเรื่อยๆ เหมือนหยอดกระปุก ความคิดที่ว่า ทำอย่างไรจะมีเงินเก็บ ก็จะหายไปจากหัวสมอง

ที่มา www.cheapestav.com"

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio