ขับเคลื่อนโดย Blogger.

บทบาทนักวิชาการสาธารณสุขที่แท้จริง

"บทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขที่จริงคืออะไร เป็นประเด็นที่ผมเองสงสัยมานานมากแล้วครับ  ผมเคยเดินเข้าไปถามหัวหน้าฝ่ายบริหารเมื่อครั้งผมเริ่มทำงานใหม่ๆได้รับคำตอบคือ มีอะไรให้ทำเดียวบอกเอง คนเรารับราชการต้องไม่เกี่ยงงาน  หัวหน้าสั่งให้ทำไรก็ต้องทำ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ ทำไม่ทัน ไม่มีเวลา   แกพูดถูกครับ แต่งานที่มอบหมายให้ผม จัดโต๊ะห้องประชุม  คุมเครื่องเสียง คอบยเปิดปิดแอร์ ซ่อมคอมพิวเตอร์  ถ่ายรูป    เรามาศึกษาบทบาทของนักวิชาการสาธารณสุขกันดีกว่าครับ แม้เป็นบทบาทในระดับอาเซียนก็ควรศึกษาไว้นะครับ"

บทบาทด้านสาธารณสุขของประเทศไทยในอาเซียน

1. ความร่วมมือด้านการสาธารณสุขในอาเซียนที่ผ่านมา

ความร่วมมือด้านการสาธารณสุขในอาเซียนที่ผ่านมาได้ดำเนินกา

รผ่านกลไกความร่วมมือ 3ระดับ ได้แก่

1. การประชุมระดับรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน

(ASEAN Health Ministers’ Meeting: AHMM)

2.

การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการพัฒน

าสาธารณสุข (Senior Official’s Meeting on

Health Development: SOMHD) และ

3. การประชุมคณะทำงาน/ผู้เชี่ยวชาญ

ซึ่งมีคณะทำงานด้านต่างๆ เช่น

การควบคุมโรคติดต่อ
การควบคุมและป้องกันโรคเอดส์
การพัฒนายา
ด้านความปลอดภัยของอาหาร
ด้านการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการระบาดให
ญ่
การควบคุมยาสูบ


ความร่วมมือในการป้องกันโรคติดต่อ/

โรคระบาด มีการดำเนินงานเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการระบาดของโรคซาร์ส

ที่มีผลทั้งต่อสุขภาพประชาชนและกระทบต่อการพัฒนาเศร

ษฐกิจ ทำให้ประชาคมอาเซียนให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้มาก

จึงมีการแบ่งหน้าที่ให้แต่ละประ

เทศร่วมมือกันพัฒนางานด้านนี้

ซึ่งประเทศไทยได้รับมอบหมายให้พัฒนาเครือข่ายการควบ

คุมและเฝ้าระวังโรคติดต่อ

ที่ผ่านมาภาพรวมความร่วมมือด้านสาธารณสุ

ขของอาเซียนจะเป็นความร่วมมือทางวิชาการ

ประเทศสมาชิกที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านใด

ก็จะมาช่วยกันทำงาน

ซึ่งนอกเหนือจากประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันเองแล้ว

จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น

ก็เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางานทางด้านนี้ด้วย

บทบาทของประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย

ความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียนในประเด็นข้างต้น

ไทยมีนโยบายและดำเนินการอยู่แล้ว

ทั้งที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน

จึงมีศักยภาพและความพร้อมในการแลกเปลี่ยนค

วามรู้และประสบการณ์กับประเทศสมาชิกอาเซียน

ดังจะเห็นได้ว่าไทยมีบทบาทนำในหลายด้าน

ซึ่งนโยบายที่เกี่ยวข้องมีดังนี้

ด้านการควบคุมโรค ป้องกันโรคและการรับมือกับโรคระบาด

ประเทศไทยมีนโยบายในการควบคุมป้องกันโรค

เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้างและลดการเสียชีวิต

เพื่อตรวจจับการระบาดให้ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น

โดยให้สถานพยาบาลทุกแห่งทบทวนและให้การดูแลรักษาผู้

ป่วย ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้

ยังมีนโยบายให้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อ

งร่วมรณรงค์ให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ

เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อทั้งในครอบครัวและชุมชน

และได้มีการสร้างความเข้มแข็งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วเ

พื่อรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขตั้งแต่ระดับตำบล

อำเภอ จังหวัด จนถึงระดับประเทศ

ซึ่งขณะนี้มีทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วมากกว่า 1,000 ทีม

และมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

และไทยมีนโยบายที่จะสร้างทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็วเพื่อให้ค

รอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

รวมทั้งการสร้างเครือข่ายสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วระหว่างป

ระเทศในภูมิภาคนี้ด้วย

ด้านการป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์

ไทยให้ความสำคัญกับการลดการติดเชื้อเอชไอวีร

ายใหม่ในประชากรกลุ่มต่างๆ โดยมีมาตรการต่างๆ

คือ ให้ความรู้กับสาธารณะชนโดยใช้สื่อต่างๆ

โครงการส่งเสริมการใช้ถุงอนามัย 100 เปอร์เซ็นต์

เสริมสร้างพลังมวลชนในชุมชนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอดส์

เสริมสร้างพลังองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์

จัดประชุมเกี่ยวกับเอดส์ในพื้นที่

จัดสูตรนมผงในโครงการป้อง

กันการติดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก

ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากการเกิดอุบัติเหตุในการปฏิบัติ

งานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

ด้านความปลอดภัยด้านอาหารและยา

กระทรวงฯ มีนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภค

เน้นการบังคับใช้กฎหมายและรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาช

น โดยให้ส่วนราชการเร่งกำกับดูแลตัวผลิตภัณฑ์

สถานประกอบการ และควบคุมตัวยาและสารตั้งต้น

ส่วนความปลอดภัยของอาหารต้องมีการสุ่มตรวจอย่างต่อเนื่

อง จริงจังและเข้มแข็ง

หากมีการกระทำผิดจะต้องดำเนินการตามกฎหมาย ทั้งนี้

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้คิดค้นพัฒนาชุดทดสอบสารต

กค้างและสารเคมี

ซึ่งประชาชนและหน่วยงานในระดับจังหวัด เช่น เทศบาล

องค์การบริหารส่วนตำบล โรงเรียน โรงพยาบาล

สถานศึกษา ตลาด และอาสาสมัคร

สามารถใช้ชุดทดสอบนี้ได้ ซึ่งมีประโยชน์มากและ

คุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง

ด้านยาสูบ

มีการตั้งเป้าหมายภายใน 4 ปี (2554-2557)

จะรณรงค์ลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ทั้งประเทศให้ได้อย่างน้อย 1

ล้าน 4 แสนคน หรือมีคนสูบบุหรี่ทั้งประเทศไม่เกิน 13

ล้านคน จากประชาชนทั้งหมด 60 กว่าล้านคน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรณรงค์ไม่ให้ผู้หญิงและวัยรุ่นเป็นผู้สู

บบุหรี่รายใหม่

เพราะกลุ่มนี้เป็นเป้าหมายใหญ่ของบริษัทบุหรี่ นอกจากนี้

ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขเพื่อจำกัดพื้นที่อนุญาตให้

สูบบุหรี่เหลือน้อยลง โดยได้บังคับใช้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน

2553 แบ่งเป็นพื้นที่ 3 ประเภท คือ (1)

พื้นที่ห้ามสูบบุหรี่เด็ดขาด (2)

พื้นที่กำหนดให้สูบภายนอกอาคารเฉพาะที่จัดไว้ (3)

พื้นที่อนุญาตให้สูบในอาคารได้ อย่างไรก็ตาม

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับใหม่ได้เปลี่ยนพื้นที่จากเดิ

มที่เคยอนุญาตให้สูบบุหรี่ได้เป็นเขตปลอดบุหรี่ทั้งหมด เช่น

ในสถานศึกษา ศาสนสถาน

สถานที่ทำงานของรัฐและเอกชน เป็นต้น

ด้านการแพทย์แผนไทย

กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการนำการบริการการแพ

ทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพในสถาน

บริการสาธารณสุขของรัฐทั่วประเทศ

และพัฒนามาตรฐานบริการและผลิตภัณฑ์ให้ได้ระดับสากล

ขณะนี้ ยาแผนไทยบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ

จำนวน 19 ตำรับ

ที่มีผลการวิจัยแล้วว่ามีสรรพคุณในการรักษาโรคได้

และมีนโยบายให้แพทย์แผนไทยปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทุ

กระดับรวมทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดละ 2-

3 โรงพยาบาล

และพัฒนาโรงพยาบาลต้นแบบแพทย์แผนไทยภาคละ 1

แห่ง รวมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาหมอพื้นบ้าน

ให้สามารถดูแลประชาชนที่เจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ได้

1. บทบาทของกระทรวงสาธารณสุขกับอาเซียน
กระทรวงสาธารณสุขมีบทบาทสนับสนุนงานต่างๆ

ของอาเซียนอย่างสม่ำเสมอ

โดยเป็นทั้งสมาชิกของคณะทำงานและเป็นหน่ว

ยประสานงานหลัก ในระหว่างปี 2551 - 2553

มีโครงการหลายโครงการที่เกิดขึ้นจากการริเริ่มของประเทศ

ไทย เช่น

ความริเริ่มในความร่วมมือเกี่ยวกับการควบ

คุมการบริโภคยาสูบ (Tobacco Control):
โดยได้เสนอความร่วมมือดังกล่าวในที่ปร
ะชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 9
เมื่อเดือนตุลาคม 2551 ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
จึงมีการจัดตั้ง task force ในระดับภูมิภาค
และแต่งตั้งผู้ประสานงานหลักด้านการควบคุมก
ารบริโภคยาสูบ ภายใต้ขอบเขตของ SOMHD
โดยประเทศไทยรับที่จะจัดทำโครงการในระดับภูมิภาค
และประสานงานกับผู้ประสานงานหลักของประเทศต่างๆ
ต่อไป ทั้งนี้ ได้มีการจัดการประชุมฯ แล้ว 2 ครั้ง
ความคิดริเริ่มในการจัดทำแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วย
การมีส่วนร่วมของ
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ [National action Plan on
Greater Involvement and Empowerment of People
Living with HIV/AIDS (PLHIV)] เมื่อเดือนกรกฎาคม
2553
กระทรวงสาธารณสุข (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)
ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซี
ยนด้านเครื่องสำอาง (ASEAN Cosmetic Reference
Laboratory: ACRL) ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552
กระทรวงสาธารณสุข
(สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)
ได้รับความเห็นชอบให้เป็นประเทศนำสำหรับระบบการตร
วจสอบและรับรองสถานประกอบการและร้านอาหาร
(Inspection and Certification Scheme for Food
Premises)
และดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับชุดทดสอบความปลอดภัยของ
อาหารที่เห็นผลอย่างรวดเร็ว (Activities on Rapid Test
Kits)
ในที่ประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของอาหาร
ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 23-25 มกราคม 2551
กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมพัฒนาการแพท
ย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้รับความเ
ห็นชอบให้เป็นประเทศนำสำหรับการผสมผสา
นการแพทย์ดั้งเดิมในระบบสาธารณสุขมูลฐาน
โดยให้ผู้ที่มีใบประกอบโรคศิลป์ด้านการแพทย์แผนไทยป
ระจำอยู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

นอกจากนี้

กระทรวงสาธารณสุขไทยได้ดำเนินกิจกรรมที่สำคัญในกรอบอาเ

ซียน ดังนี้

1. บทบาทการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

1.1 การประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน+3 สมัยพิเศษ
ว่าด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช 1 เอ็น 1)
ระหว่างวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2552 ณ กรุงเทพฯ

1.2 การประชุมวิชาการการแพทย์ดั้งเดิมอาเซียน ครั้งที่ 1
ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 2กันยายน 2552 ณ กรุงเทพฯ

1.3
การประชุมเพื่อกำหนดแผนงานของอาเซียนในระดับภู
มิภาคด้านการพัฒนาสาธารณสุข (SOMHD Planning
Meeting) ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคม 2553
จังหวัดเชียงใหม่

ทั้งนี้ ในปี 2555

ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเ

ซียน ครั้งที่ 11

2. บทบาทเป็นประธานในคณะทำงานต่างๆ เช่น

2.1 การเป็นประธานคณะทำงานควบคุมโรค AIDS

ระหว่างปี 2551-2553

2.2

การเป็นประธานคณะทำงานด้านวิชาการการเตรียมความพร้อมแ

ละรับมือกับโรคระบาดใหญ่ ระหว่างปี 2551-2553

2.3 การเป็นผู้ประสานงานหลักในการควบคุมยาสูบ

2551-2553

3. บทบาทนำที่นอกเหนือจากกรอบของ SOMHD

ประเทศไทยมีบทบาทนำด้านความร่วมมือในประเด็นอื่นๆ ดังนี้

1. อนามัยแม่และเด็ก (Maternal and child health)

2. การเพิ่มการเข้าถึงการดูแลสุขภาพ

(รวมทั้งสาธารณสุขมูลฐาน [Increase access to health care

(including primary health care)]

3. สุขภาพของผู้อพยพ (Migrants health)

4. การแพทย์ดั้งเดิม (Traditional medicines)

5. การพัฒนาด้านเภสัชกรรม (Pharmaceutical

development)

6. สุขภาพจิต (Mental Health) - สาขาใหม่

ซึ่งประเทศไทยเสนอในประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน

ครั้งที่ ๑๐

การจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี

2558 อาจจะยากในทางปฏิบัติ

เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนมีความแตกต่างกัน

ทั้งในด้านสังคม วัฒนธรรม ศาสนา และการเมือง

รวมถึงความสนใจในการพัฒนาประเทศด้านสาธารณสุขต่างกัน

อย่างไรก็ดี

การที่อาเซียนมีเป้าหมายที่จะเป็นประชาคมอาเซี

ยนและมีแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียนทั้ง

3 ด้าน คือ ด้านการเมืองและความมั่นคง

ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมและวัฒนธรรม นั้น

จะเป็นแนวทางการปฏิบัติแก่ประเทศสมาชิกให้มีจุดร่วมการพัฒนา

งานด้านสาธารณสุขไปในทิศทางเดียวกัน

ความร่วมมือด้านสาธารณสุขส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้แผนงานปร

ะชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural

Community Blueprint) ซึ่งมีหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. การส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร

(ข้อ B3)
2. การเข้าถึงการดูแลสุขภาพและส่งเสริมการดำรงชีวิตที่มีคุ
ณภาพ (ข้อ B4)
3. การเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ (ข้อ B5)
4.
การสร้างรัฐที่พร้อมรับกับภัยพิบัติและประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
(ข้อ B7) : มาตรการ
12การส่งเสริมการประสานงานและก
ารวางแผนร่วมกันในหลายภาคส่วน
ในการเตรียมความพร้อมและการรับมือกับโรคระบาดต่างๆ
ในระดับภูมิภาค

อย่างไรก็ดี

ความร่วมมือด้านสาธารณสุขภายใต้กรอบอาเซียนที่ผ่านมา

มักเน้นในเรื่องของการควบคุมโรค ความปลอดภัยด้านอาหาร

และการรับมือกับภัยพิบัติ ซึ่งได้มีกิจกรรมและการดำเนินงานต่างๆ

เป็นจำนวนมาก

ดังนั้นจึงเห็นควรเพิ่มเติมด้านการสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนอา

เซียนมีความตระหนักต่อการส่งเสริมสุขภาพและการเข้าถึงการบริ

การด้านสุขภาพให้มากยิ่งขึ้น

โดยสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนมีวิถีการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณ

ภาพ (Healthy Lifestyles)

ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการใช้ชีวิตเพื่อสุ

ขภาพที่ดี

ซึ่งเป็นการพัฒนาการสาธารณสุขและการมีสุขภาพดีที่ยั่งยืน

นำไปสู่ประชาคมอาเซียนที่ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีมีความสุข

ประเทศไทยได้ปรับแผนยุทธศาสตร์และการดำเนินงานให้สอดคล้

องกับ ASCC Blueprint เช่น

- การบูรณาการยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบปฏิบัติการฉุ
กเฉินกับระบบปฏิบัติการฉุกเฉินในภาวะภัยพิบัติกับ the
ASEAN Agreement on disaster management and
emergency response

- การปรับกฎระเบียบต่างๆ
ให้เป็นไปตามข้อตกลงของอาเซียน เช่น
กฎระเบียบเครื่องสำอาง ผลิตภัณฺฑ์ยา เครื่องมือแพทย์
เป็นต้น

- การเข้าร่วมฝึกซ้อมรับสาธารณภัยในระดับภูมิภาคอาเซีย
น (the ASEAN Regional Forum Disaster Response
Exercise 2011 (ARF DiREx 2011)

- การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
เพื่อสร้างความปลอดภัยแก่ประชาชน
ทั้งในสถานการณ์ปกติและภาวะภัยพิบัติ
โดยการร่วมมือกับอาเซียนต่อไป

- การจัดประชุมหน่วยงานในสังกัดเพื่อสร้างความเข้าใจใน
เรื่องประชาคมอาเซียนและความเชื่อมโยงระหว่างอาเซีย
น (ASEAN Connectivity)

นอกจากนี้
ได้มีการรณรงค์ให้เกิดความรู้ความเข้าใจแก่ข้ารา
ชการในเรื่องการเปิดเสรีการค้าและบริการสุขภาพ
(Trade in Health Services in ASEAN)

ซึ่งกำหนดให้มีการเคลื่อนย้ายบริการและแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี
(Free flow of services and skilled labor)
ที่รวมถึงบริการด้านสุขภาพ (healthcare services)
เป็นผลให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์
(Medical Practitioners) ทันตแพทย์ (Dental
Practitioners) และการพยาบาล (Nursing Services)
เป็นสาขาวิขาชีพที่รวมอยู่ในข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชา
ชีพต่างๆ (Mutual Recognition Arrangements-MRAs)
สามารถเดินทางไปประกอบอาชีพในประเทศอาเซียนได้อย่างเสรี
เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่เป็นรูปธรรม
โดยเบื้องต้นได้จัดทำคู่มือสองภาษา คือ
ภาษาไทยและอังกฤษแล้วตั้งแต่ปี 2552

เป็นที่ทราบกันดีว่า

การเคลื่อนย้ายบริการและแรงงานฝีมืออย่างเสรี

ซึ่งอนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์ ทันตแพทย์

และการพยาบาล

สามารถเดินทางไปประกอบวิชาชีพในประเทศอาเซียนได้อย่างเสรี

ได้สร้างความกังวลว่าจะก่อให้เกิดการขาดแคลนบุคลากรทางด้าน

การแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งจะทำให้ประชาชน คนยากจน

ประสบปัญหาการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ ในเรื่องนี้

กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายการเร่งรัดผลิตและพัฒนาบุคลากร

ให้เพียงต่อการปฏิบัติงานในสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณ

สุข โดยการสร้างแรงจูงใจ

ขวัญกำลังใจให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ

การปรับปรุงกฎระเบียบให้มีรายได้จากเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่

นๆ ที่เหมาะสม เป็นธรรม

การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพด้านการแพ

การกระจายบุคลากรทางการแพทย์อย่างสอดคล้องกับความต้องกา

รของพื้นที่ ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่ง

โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio