ขับเคลื่อนโดย Blogger.

กรศึกษาลูกน้องไม่ปลื้มหัวหน้า

"ผมเห็นหลายๆคนในวงการสาธารณสุข และคนที่ทำงานภาครัฐนะครับ ชอบบ่น นินทรา ให้หัวหน้าหรือเจ้านายตัวเอง บ้างก็ว่าบ้างาน บ้างก็ว่าชอบเอาหน้า บ้างก็ว่าไม่ยุติธรรม บ้างก็ว่าไม่แจกงาน ไม่ทำโทษคนทำผิด และความจริงที่ผมเห็นนะครับ บางคนทำงานหนักมากๆๆ ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน เท่ากับผม คือผมไม่ค่อยได้ทำอะไรครับ ไม่งั้นไม่มีเวลามาเขียนบล็อกแน่ๆ เรื่องการซื้อใจเจ้านายและไม่ได้ใจลูกน้องคงมีอยู่ทุกวงการครับ อย่างของเอกชนเนี๊ยก็เป็น แอปเปิ้ลครับ ที่มีคนนิยมใช้สินค้ามาก(ลูกค้าคือเจ้านาย) แต่พนักงานกับไม่พอใจCEOเอาละครับ ผมไปเจอบทความจากกรุงเทพธุรกิจ ผมคิดว่าเป็นบทความที่ควรศึกษานะครับ"


"แอปเปิล" ทำให้ใครต่อใครอยากช้อปผลิตภัณฑ์สุดเจ๋ง แต่ดูเหมือนจะไม่สามารถ "ซื้อใจ" พนักงานบางส่วนได้
กระแสคลั่งไคล้สมาร์ทโฟนในสหรัฐมีส่วนช่วยสร้างงานนับหมื่นตำแหน่งในร้านค้าปลีก อาทิ เบสต์ บาย และเวอริซอน ไวร์เลส รวมถึงปั๊มเงินหลายพันล้านดอลลาร์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสหรัฐ
ในโลกใบนี้ ไม่มีใครปฏิเสธความยิ่งใหญ่ของแอปเปิล ผู้สร้างปรากฏการณ์ในแวดวงค้าปลีกจากการดีไซน์ที่ไม่มีที่ติ บริการขั้นเทพ และตัวเลขรายได้ที่น่าตื่นเต้น
ข้อมูลจากรีเทลเซลส์ พบว่า ปีที่แล้ว ร้าน "แอปเปิล สโตร์" 327 แห่งทั่วโลก ทำเงินเมื่อเทียบเป็นตารางฟุตได้มากกว่าร้านค้าปลีกอเมริกันรายอื่นๆ และมากกว่าอันดับ 2 อย่าง "ทิฟฟานี" เกือบ 2 เท่า และขายสินค้าได้ราว 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ทั่วโลก
"นิวยอร์ก ไทม์ส" ตั้งข้อสังเกตว่า ดูเหมือนพนักงานจำนวนมากในร้านแอปเปิล สโตร์ ไม่ปลื้มกับความมั่งคั่งที่ได้รับน้อยนิด ทั้งที่พนักงานเหล่านี้เป็นกำลังหลักในตลาดสหรัฐ ซึ่งได้ผลตอบแทนจากการขายไอโฟนและแมคบุ๊กเป็นรายชั่วโมง ไม่ใช่วิศวกร หรือผู้บริหาร ที่มีรายได้และโบนัสก้อนโต
อย่างกรณีของ "จอร์แดน โกลสัน" ซึ่งขายผลิตภัณฑ์ในร้านแอปเปิล สโตร์ คิดเป็นมูลค่า 750,000 ดอลลาร์ ในช่วงดวงขึ้น 3 เดือนซ้อนในปีที่แล้ว บอกว่า ได้รับค่าจ้างชั่วโมงละ 11.25 ดอลลาร์ แต่เมื่อมองไปถึงกำไรที่บริษัททำได้ เทียบกับเงินเดือนที่พนักงานได้รับ ทำให้รู้สึกว่าค่อนข้างเขี้ยว
ทั้งที่แอปเปิลอยู่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี แต่ตำแหน่งงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคบริการ ทั้งพนักงานขาย ตัวแทนบริการลูกค้า งานซ่อมแซม และการจัดส่ง พนักงานแอปเปิลราว 30,000 คน จากทั้งหมด 43,000 คน ทำงานในร้านแอปเปิล สโตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบเศรษฐกิจภาคบริการ โดยพนักงานส่วนใหญ่ได้ค่าตอบแทนประมาณ 25,000 ดอลลาร์ต่อปี
อุตสาหกรรมบริการมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสหรัฐ เพราะงานที่เกี่ยวกับภาคบริการมีส่วนขับเคลื่อนการจ้างงานมาตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ขณะที่ชาวอเมริกันที่ทำงานในภาคการผลิตมีสัดส่วนเพียง 8%
เมื่อเทียบกับมาตรฐานในอุตสาหกรรมค้าปลีก แอปเปิลจ่ายค่าตอบแทนงามกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมเดียวกัน และดีกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่ 7.25 ดอลลาร์ รวมถึงมีสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ โอกาสในการซื้อหุ้นของบริษัท และสิทธิในการซื้อผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลในราคาลดพิเศษ ล่าสุดบริษัทมีแผนจะปรับขึ้นค่าตอบแทนสำหรับพนักงาน ซึ่งยังไม่ได้เคาะรายละเอียด
แม้แอปเปิล จะประสบความสำเร็จในการสร้างวัฒนธรรมในการพัฒนางานให้ดีขึ้น และเป็นบริษัทที่มีผู้คนอยากร่วมงานด้วยเป็นอันดับต้นๆ แต่อัตราการลาออกของพนักงานแอปเปิล สโตร์ กลับเพิ่มขึ้นในหลายสาขา
จากการสำรวจภายในบริษัท พบว่า มีความไม่พอใจในหมู่พนักงาน โดยเฉพาะพนักงานด้านเทคนิค หรือพวกขั้นเทพที่เรียกว่า Genius ที่อยู่หลัง "จีเนียส บาร์" โดยอัตราการจ้างงานพนักงานกลุ่มนี้อยู่ที่เกือบ 90% ต่อปี
"เชน การ์เซีย" อดีตผู้จัดการร้านแอปเปิล สโตร์ ในชิคาโก ที่ลาออกเมื่อปีก่อนหลังร่วมงานกับแอปเปิล 4 ปี เพราะงานกองท่วมมากมาย รวมทั้งไม่สนุกกับการระงับอารมณ์ของทั้งพนักงานและลูกค้า อธิบายว่า ในความเป็นจริง บรรดาช่างเทคนิคเหล่านี้ชอบงานของตัวเอง เพราะได้เปลี่ยนบรรยากาศไปทั่วประเทศ และได้ค่าตอบแทนปีละประมาณ 40,000 ดอลลาร์ ในเขตเมืองชิคาโก กระนั้นช่างเทคนิคมือดีจำนวนไม่น้อยอยากลาออก แต่ยังไม่สามารถหางานที่เทียบเคียงกันได้ ซึ่งส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอ
ปัญหาสำคัญ ที่ทำให้พนักงานในแอปเปิล สโตร์ รู้สึกเช่นนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องความก้าวหน้า แต่แอปเปิลยังมีปัญหาเรื่องการเลื่อนตำแหน่ง ถึงแม้จะมีงานหลากหลายที่แอปเปิล สโตร์ แต่ก็มีผู้ชิงชัยเป็นจำนวนหลายสิบคนในแต่ละตำแหน่ง ยิ่งการจะขยับไปทำงานในสำนักงานใหญ่ยิ่งไม่ใช่เรื่องธรรมดา
นอกจากนี้ ความต้องการใช้บริการที่มากขึ้น ส่งผลให้ร้านจำกัดเวลาในการซ่อมอุปกรณ์ของแอปเปิล โดยการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะต้องไม่เกิน 15 นาที และอุปกรณ์อื่นๆ 10 นาที หากมีปัญหาที่ต้องใช้เวลานานขึ้น หมายความว่าช่างเทคนิคเหล่านี้จะต้องทำงานแบบน็อนสต็อประหว่างกะของตัวเอง แทนที่จะมีเวลาพักเบรก 15 นาที 2 ครั้ง
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ระดับความไม่มีความสุขของพนักงานไล่ตามผู้ที่มีความสุขมากขึ้น ขณะเดียวกัน แอปเปิลก็ไม่เคยขาดแคลนจดหมายสมัครงาน เพราะผู้คนจำนวนมากยังต้องการร่วมงานกับอาณาจักรแห่งนี้


อ้างอิง:กรุงเทพธุรกิจ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio