ขับเคลื่อนโดย Blogger.

แนวทางควบคุมโรคไข้เลือดออก

 "ช่วงนี้เห็นเพื่อนๆนักวิชาการสาธารณสุขที่ทำงานชุมชน และต้องรับผิดชอบงานระบาดด้วย ได้บ่นเรื่องการควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ช่วงนี้กำลังระบาด ต้องออกไปพ่นควัน ผมเองไม่ได้รับผิดชอบงานระบาด แต่ใจจริงก็อยากไปเรียนงานระบาดเหมือนกันครับ   เอาแนวทางการจัดการปัญหาไข้เลือดออกมาไว้อ่านเผื่อวันไหนได้รับผิดชอบงานนี้บ้างครับ"

1. การจัดลำดับพื้นที่ตามขนาดของปัญหา
     

    การกำหนดพื้นที่  ควรจัดทำข้อมูลผู้ป่วยเป็นรายหมู่บ้าน ตำบล เพื่อจะได้เห็นจุดที่เป็นปัญหาชัดเจน  ใช้ Epidemic curve  รายหมู่บ้าน ร่วมกับแผนที่ที่แสดงให้เห็นถึงหมู่บ้านช่วยในการประเมินแนวโน้มและทิศทางการระบาด
    ขนาดของปัญหา  วิเคราะห์จากปัจจัยหลาย ๆ ปัจจัยร่วมกัน เช่น
        รายงานผู้ป่วยรายสุดท้ายหรือผู้ป่วยรายใหม่  ซึ่งจะบอกถึงพื้นที่ที่กำลังมีการระบาดและหากพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ใหม่ ๆ ทำให้เห็นทิศทางของการแพร่ระบาดได้
        รายงานการเคลื่อนย้ายประชากร เช่น การเดินทางของประชาชนจากพื้นที่ระบาด  ออกไปประกอบอาชีพในพื้นที่อื่น อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการระบาดในพื้นที่ที่เดินทางไปนั้น ๆ ด้วย

   
2. มาตรการในการควบคุมป้องกัน แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ  การจัดการที่ตัวพาหะคือยุง และการจัดการที่โฮสต์ ซึ่งหมายถึงประชาชน  ( มาตรการ 7 ป. ปิด ภาชนะ ,ปล่อย ปลากินลูกน้ำ,ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ,ปรับสภาพน้ำ(ใส่ทราย/น้ำส้ม/เกลือ),เปลี่ยนน้ำ,ป้องกันยุงกัด,ปฎิบัติต่อเนื่อง
     

2.1    การจัดการยุงพาหะ  ดำเนินการ ดังนี้
   
     

2.1.1 การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ เช่น  การทำลายภาชนะหรือวัสุดที่ไม่ใช้ ขยะ
เพื่อมิให้มีน้ำขังเมื่อฝนตก

2.2.2 การกำจัดลูกน้ำยุง  เช่น  การหยอดทรายอะเบทหรือเติมผงซักฟอก การเลี้ยงปลากัด  ปลาหางนกยูง

2.2.3 การกำจัดยุงตัวแก่ มีหลากหลายวิธีนอกเหนือจากการฉีดพ่นสารเคมี ในครัวเรือนสามารถใช้น้ำยาล้างจาน 1 ช้อนชา ผสมน้ำ 1 ลิตร บรรจุลงในกระบอกฉีดน้ำพรมผ้า ฉีดพ่นต่อเนื่องไปที่กลุ่มยุงที่เกาะพักตามมุมผนังในห้องน้ำหรือในภาชนะที่เป็๋นแหล่งเพาะพันธุ์ (กสินและคณะ ,2550)

   
     

2.2 การจัดการที่โฮสต์หรือประชาชน


2.2.1 การสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์   เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ควรเลือกใช้กลวิธีต่าง ๆ ที่จะสื่อสารและเข้าถึงประชาชนให้มากที่สุด  เพื่อให้ประชาชนตื่นตัวในการป้องกันตนเอง  และช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงอย่างสม่ำเสมอ

2.2.2 การสร้างความตระหนักส่วนบุคคลหรือในระดับครัวเรือน  ซึ่งอาจร่วมกับท้องถิ่นเพื่อทำประชาคม หรืออาจร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในการคืนข้อมูลเรื่องโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ให้กับประชาชนทราบ และร่วมกันหาแนวทางหรือมาตรการในการที่จะช่วยกันในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง

2.2.3 ป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัดตั้งแต่ช่วงเช้ามืดไปจนถึงช่วงกลางคืน  เนื่องจากพฤติกรรมการกัดของยุงในช่วงฤดูฝนสามารถพบได้ตั้งแต่ เวลา 04.00-  24.00 น. (อุษาวดีและคณะ,2552)
   
3. การกำกับติดตามการเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด
      3.1 การรายงานผู้ป่วยตามนิยามเฝ้าระวังอย่างครบถ้วนและทันเวลา  จะช่วยสะท้อนสถานการณ์ความเป็นจริงมากที่สุดและ เป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารในพื้นที่ในการตัดสินใจด้านนโยบายและยุทธศาสตร์   และยังช่วยให้การทำนายแนวโน้มของโรคในอนาคตมีความแม่นยำมากขึ้นด้วย    
     

3.2 การสอบสวนโรคในชุมชน   เป็นกิจกรรมสำคัญกิจกรรมหนึ่งของการเฝ้าระวังโรค
ทำให้ทราบถึงสาเหตุและปัจจัยเฉพาะของพื้นที่นั้น ๆ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรค
ต่าง ๆ ที่จะต้องแก้ไข  และจะต้องดำเนินการเชิงรุก  ดังนี้

    การค้นหาผู้ป่วยรายแรกและรายใหม่ในชุมชน
    การรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในขณะที่เกิดโรค  และดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป  เพื่อลดจำนวนประชากรยุง
    ร่วมกับท้องถิ่นในการทำประชาคม  เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการยุงพาหะและป้องกันตนเอง

   
      การเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยในการวางแผนและทำนายแนวโน้ม การ ระบาดให้แม่นยำมากขึ้น    แต่ละพื้นที่ควรติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการให้
รวดเร็ว และวิเคราะห์ข้อมูลของตัวอย่างเลือด โดยเฉพาะสัดส่วนตัวอย่างเลือดที่
ให้ผลเป็นบวก และซีโรทัยป์ต่าง ๆ ของไวรัสเดงกี    
     

มาตรการต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น  ต้องให้ความสำคัญมากขึ้นใน
ช่วงสัปดาห์แรกที่เริ่มมีฝนตกในพื้นที่
ช่วงที่ฝนตก ๆ หยุด ๆ และ
เมื่อฝนเริ่มจะหมดจากพื้นที่
เพราะเป็นช่วงที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์ไข้เลือดออกที่เพิ่มมากขึ้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio