"ถ้าท่านเป็นนักวิชาการสาธารณสุขท่านต้องเจอคำถามที่ว่า ท้องเสีย ท้องร่วง อาหารเป็นพิษ ควรทำอย่างไร บางทีคุณอาจจำไม่ได้ และควรมาทบทวนโดยการอ่านบทความของผมครับ ผมไปเจอข้อมูลมาก็นำมาฝากไว้นะครับ หวังว่าเรื่องท้องร่วงน่าจะมีประโยชน์นะครับ"
โรคอาหารเป็นพิษ เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีสิ่งปนเปื้อน ได้แก่สารพิษหรือท็อกซิน (Toxin) ที่แบคทีเรียสร้างไว้ในอาหาร สารเคมีต่างๆ เช่น โลหะหนัก สารหรือวัตถุมีพิษซึ่งพบในพืชและสัตว์เช่น เห็ด ปลา หอย และอาหารทะเลต่างๆ รวมทั้งกลุ่มเชื้อโรคที่มีการสร้างสารพิษในสำไส้ ได้แก่ Staphylococcus aureus, Bacillus cereus, Clostridium perfringens Vibrio parahemolyticus และ Clostridium botulinum เป็นต้น
อาหารเป็นพิษจากเชื้ออื่นๆ รวมถึงการปนเปื้อนสารเคมี หรือสารอินทรีย์อื่นๆ ที่อาจจะปรากฏในอาหารบางอย่าง เช่น เห็ด, ปลา, หอย, ผลไม้ และผักหลายชนิด พิษจากเห็ดอาจจะเกิดจาก muscarine (อาการที่เกิดขึ้นภายใน 2-3 นาที ไปจนถึง 2 ชั่วโมง น้ำลายไหล, เหงื่อออก, อาเจียน, ปวดบิดในท้อง, อุจจาระร่วง, สับสน, โคม่า) หรือ phallolidine (อาการเกิด 6-24 ชั่วโมง อาการของทางเดินอาหารร่วมกับอาการไม่มีปัสสาวะ, ตัวเหลืองตาเหลือง, ตับถูกทำลาย) พิษจากเห็ดทั้งสองชนิดรักษาให้รอดชีวิตยากในกลุ่มพิษหลายชนิดจากปลา อาการ icthyosarcotoxism จาก ciguatera เพราะไปกินปลาที่มีพิษสร้างจาก dinoflagellates ในน้ำทะเลใกล้ปะการังริมไหล่ทะเลเขตร้อน หลังจาก ½ - 4 ชั่วโมงจะเกิดการระบาดจากแหล่งเชื้อโรครวมเริ่มด้วยคันยุบๆยิบๆ รอบปาก, อาเจียน,อุจจาระร่วง, ปวดเจ็บทั่วตัว, ไข้, ไม่มีเรี่ยวแรง, อัมพาต พิษจากหอยสองฝาและหอยฝาเดียวที่กิน dinoflagellates มีพิษอาจจะเกิดอาการคล้ายกัน 5-30 นาทีหลังกินหอยนางรมบางชนิดทำให้เกิดอาการของโรคทางเดินอาหาร เลือดไหล และการทำงานของตับไม่ปกติ เกิดหลังกิน 24-48 ชั่วโมง และมักไม่ค่อยรอดชีวิต พิษจากสารเคมีเป็นผลมาจากมีพิษของยาฆ่าแมลงอยู่บนผักและผลไม้หรือใช้เครื่อง ครัวที่เคลือบตะกั่ว ฯลฯ
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดกฎทอง 10 ประการ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคอาหารเป็นพิษ คือ
1. เลือกอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างปลอดภัย เช่น เลือกนมที่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ ผักผลไม้ควรล้างด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ ให้สะอาดทั่วถึง
2. ปรุงอาหารให้สุกทั่วถึงก่อนรับประทาน
3. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ
4. หากมีความจำเป็นต้องเก็บอาหารที่ปรุงสุกไว้นานกว่า 4-5 ชั่วโมง ควรเก็บไว้ในตู้เย็นส่วนอาหารสำหรับทารกนั้นไม่ควรเก็บไว้ข้ามมื้อ
5. ก่อนที่จะนำอาหารมารับประทานความอุ่นให้ร้อน
6. ไม่นำอาหารที่ปรุงสุกแล้วมาปนกับอาหารดิบอีก เพราะอาหารที่สุกอาจปนเปื้อนเชื้อโรคได้
7. ล้างมือให้สะอาด ไม่ว่าจะเป็นก่อนการปรุงอาหาร ก่อนรับประทาน และโดยเฉพาะหลังการเข้าห้องน้ำ
8. ดูแลความสะอาดของพื้นที่สำหรับเตรียมอาหาร ล้างทำความสะอาดหลังการใช้ทุกครั้ง
9. เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู หรือสัตว์อื่นๆ
10. ใช้น้ำสะอาดในการปรุงอาหาร และควรระวังเป็นพิเศษในการใช้น้ำเพื่อเตรียมอาหารเด็กทารกได้
เมื่อมีอาการของอาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วงก็สามารถเริ่มต้นรักษาได้ที่บ้านโดยใช้กฎ 3 ข้อ ขององค์การนามัยโลก
1. ให้สารน้ำละลายเกลือแร่โอ อาร์ เอส หรือ ของเหลวมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
2. ให้อาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือน้ำข้าว หรือแกงจืด ไม่งดอาหาร เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร
3. เมื่ออาการโรคอุจจาระร่วงไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์ได้แก่
- ถ่ายเป็นน้ำมากขึ้น
- อาเจียนบ่อย กินอาหารไม่ได้
- กระหายน้ำกว่าปกติ
- มีไข้สูง
- ถ่ายอุจจาระเป็นมูกหรือปนเลือด
วัคซีนป้องกันโรค
สำหรับวัคซีนป้องกันโรคนั้นปัจจุบันมี
1. วัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงชนิดกิน
2. วัคซีนป้องกันโรคไข้ทัยฟอยด์ชนิดกิน
การให้วัคซีนใช้เฉพาะคนที่เลี่ยงต่อการเกิดโรคเท่านั้น เช่น จะเดินทางไปในพื้นที่เกิดโรคเป็นประจำ หรือสมาชิกในครอบครัวเป็นพาหะเชื้อไข้ทัยฟอยด์ ส่วนวัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงประสิทธิภาพของวัคซีน และระยะเวลาของภูมิคุ้มกันอยู่ในระยะสั้น
10 เมนูอันตรายเสี่ยงอาหารเป็นพิษ
1.ลาบ/ก้อยดิบ เช่น ลาบหมู ก้อยปลาดิบ 2.ยำกุ้งเต้น 3.ยำหอยแครง 4.ข้าวผัดโรยเนื้อปู โดยเฉพาะกรณีที่ทำในปริมาณมาก เช่น อาหารกล่องแจกนักเรียนหรือคณะท่องเที่ยว 5.อาหาร/ขนม ที่ราดด้วยกะทิสด 6.ขนมจีน 7.ข้าวมันไก่ 8.ส้มตำ 9.สลัดผัก และ 10.น้ำแข็ง
ส่วนอาหารปิ้งย่างที่นิยมรับประทานกัน เช่น หมูกระทะ กุ้งกระทะ ช่วงหน้าร้อนนี้ควรปิ้งให้สุกจะได้ปลอดภัยจากอาหารเป็นพิษ ส่วนอาหารถุงอาหารกล่อง อาหารห่อ ต้องรับประทานภายใน 4 ชั่วโมงหลังปรุงสุก หากเป็นอาหารค้างคืน ต้องอุ่นทำให้สุกก่อนรับประทานทุกครั้ง ที่สำคัญ อย่าลืมว่า ฤดูร้อนผู้ปรุงอาหารต้องปรุงอาหารให้ “สุก ร้อน สะอาด” ส่วนผู้บริโภคต้อง “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ”
อย่างไรก็ตาม โรคอาหารเป็นพิษ มีอาการสำคัญคือ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นไข้ อุจจาระร่วง ซึ่งทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากการถ่ายอุจจาระ การรักษาในเบื้องต้นควรให้สารละลายเกลือแร่โอ อาร์ เอส เพื่อป้องกันการขาดน้ำ หาก ไม่มีสามารถทดแทนได้โดยใช้น้ำต้มสุก 1 ขวดน้ำปลาใหญ่ หรือประมาณ 750 ซีซี ผสมน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ และเกลือแกงครึ่งช้อนชาผสมให้เข้ากัน ทิ้งให้เย็นลง แล้วรับประทานแทนน้ำ
หรือไม่เช่นนั้น ให้ทานอาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือน้ำข้าว หรือแกงจืด โดยไม่งดอาหารรวมทั้งนมแม่(กรณีของเด็ก) ส่วนเด็กที่ดื่มนมผสมให้ผสมเหมือนเดิม แต่ปริมาณลดลงและให้สลับกับสารละลายน้ำตาลเกลือแร่
ทว่า รักษาเบื้องต้นแล้วอาการไม่ทุเลาลง ต้องไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ไม่ควรกินยาเพื่อให้หยุดถ่าย เพราะจะทำให้เชื้อโรคค้างอยู่ในร่างกาย เป็นอันตรายมากขึ้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น