ขับเคลื่อนโดย Blogger.

โรคปวดหลังของนักวิชาการสาธารณสุข

"สวัสดีครับผมไม่ได้อัพบล็อกนานมากเนื่องจากผมต้องเตรียมการรับนิเทศ และต้องเตรียมการรับประเมินHAอีกครับ วันๆผมนั่งอยู่แต่กับคอมพิวเตอร์เล่นกับข้อมูล เล่นFacebook แชทกับสาวๆ คุยกับเพื่อนๆๆผ่านทางคอมพิวเตอร์  วันนี้เป็นวันที่ผมรู้สึกปวดหลังมากๆครับ

ผมทำงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขมาประมาณ 6 ปีครับ ทำงานที่ฝ่านแผนงานและสารสนเทศ  ผมต้องทำหน้าที่รับนิเทศ ทำแผนงบpp บางคนหรือหลายคนมักพูดว่า ฝ่ายแผนฯสบาย วันๆเล่นแต่เกม เล่นแต่คอมพิวเตอร์ ผมยอมรับนะครับว่าสบายจริงๆแต่ด้วยความสบสยมันก็มีความลำบากครับ เพราะเมื่อทุกคนคิดว่าเราไม่มีงานทำก็จะโยนงานต่างๆมาให้เรา กลายเป็นงานจิปาถะไป

หลายคนสงสารผม บอกว่าผมโง่ไปรับมาทุกงาน บอกว่าผมพูดช้าอ้ายปากไม่ทันบ้าง แต่ความจริงนะครับผมมั่นใจว่าผมไม่ได้โง่หรอกครับ ผมอ้ายปากทันและเร็วกว่าทุกคนแหละครับ เพียงแต่ผมรับมาทุกงานก็ด้วยความเกรงใจ รับด้วยความเคารพเท่านั้น

วกกลับกลับมาเรื่องการนั่งสบายๆตากแอร์กันครับ ผมเองนั่งสบายๆๆตากแอร์มาเป็นเวลา 6 ปี ก็คือเริ่มตั้งแต่ผมทำงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขครับ ในความสบายย่อมมีความทุกข์อยู่ ฉันใดก็ฉันนั้นผมนั่งตากแอร์สบาย แต่วันนี้ผมรู้ปวดหลัง ผมคิดว่าสาเหตุก็มาจากการนั่งที่ไม่ถูกท่า และนั่งนานจนเกินไป ประกอบกับผมมีน้ำหนักมากและมากขึ้นๆทุกๆวันเนื่องจาการนั่่งอยู่เฉยๆไม่ค่อยได้ออกกำลัง จริงๆอาการปวดหลังไม่ได้เป็นเฉพาะนักวิชาการสาธารณสุขฝ่ายแผนฯหรอกครับ ที่ทราบเพื่อนผมเป็นโปรติวเซอร์ก็เป็นโรคกรวยไตอักเสบเนื่องจากนั่งนาน  ทันตแพทย์ที่ผมรู้จักก็มีอาการปวดหลัง ที่พิมพ์ๆมาก็เพื่อจะสื่อว่าโรคปวดหลังก็เป็นโรคหนึ่งใน "โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ"ครับ วันนี้ผมไปเจอบทควาวิชาการมาเป็นบทความของท่าน รศ.นพ.วรวิทย์ เลาห์เรณู ผมจึงนำมาไว้ให้เพื่อนๆได้ศึกษาครับ


1. หลังของเรา
หลังเป็นส่วนสำ คัญของร่างกายที่ทำ หน้าที่รับนํ้าหนักตัวส่วนบน กระดูกสันหลังประกอบไปด้วยกระดูก 24 ชิ้น แต่ที่เป็นส่วนสำ คัญของอาการปวดหลังที่พบบ่อยคือกระดูกสันหลังส่วนล่าง 5 ชิ้น ซึ่งต่อกับกระดูกกระเบนเหน็บ กระดูกสัน
หลังส่วนล่างนี้เชื่อมกันด้วยข้อต่อ และมีช่องระหว่างข้อให้ปลายประสาทผ่านออกมาเลี้ยงกล้ามเนื้อของเร

อาการปวดหลังอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ

1. อาการปวดแบบเฉียบพลัน ซึ่งเป็นมาภายในไม่กี่วันถึง 1-2 สัปดาห์ โดยมากมักจะเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ
2. อาการปวดเรื้อรังซึ่งมักเป็นนานกว่า 3 เดือนและมีสาเหตุมากมาย

2. สาเหตุของอาการปวดหลังที่พบบ่อย
1. อริยาบทหรือท่าทางที่ไม่ถูกต้องหรือหลังเคล็ด เป็นภาวะที่ทำ ให้เกิดอาการปวดหลังได้บ่อย เช่น นั่งทำ งานในท่า
ก้มหลังเป็นเวลานาน การก้มตัวยกของหนัก หลังถูกกระแทก เป็นต้น
2. ภาวะเสื่อมของกระดูกสันหลัง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังมีการเสื่อม
ทำ ให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง ในบางรายอาจมีกระดูกงอกไปกดปลายประสาททำ ให้เกิดอาการชาหรืออ่อนแรงของขาได้
3. หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน มักเกิดอาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน เกิดจากการที่ยกของหนักหรือล้มก้นกระแทกพื้น เกิดแรงดันทำ ให้หมอนรองกระดูกสันหลังไปกดเส้นประสาทที่ออกมาจากไขสันหลัง เกิดอาการปวดร้าวไปด้าน
หลังของขา ร่วมกับอาการชาและอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา ภาวะนี้จำ เป็นต้องการการผ่าตัดแก้ไข
4. ภาวะเครียด อาจส่งผลให้มีการเกร็งของกล้ามเนื้อหลังตลอดเวลา ทำ ให้ปวดหลังได้
5. กระดูกสันหลังอักเสบ เป็นภาวะที่มีการอักเสบ ของกระดูกสันหลัง พบได้บ่อยในผู้ชายวัยกลางคน มีอาการปวดหลังเรื้อรัง อาจมีข้ออักเสบอื่น ๆ ร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมีอาการหลังแข็ง ถ้าได้รับการวินิจฉัยไม่ถูกต้อง กระดูกสันหลังอาจยึดติด
กันไปหมด ก่อให้เกิดความพิการตามมาได้
6. สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ โรคของอวัยวะบางอย่างที่ทำ ให้เกิดอาการปวดร้าวมาบริเวณหลังได้ ได้แก่ โรคไต โรคเกี่ยวกับรังไข่และมดลูก โรคที่เกี่ยวกับต่อมลูกหมาก หรือการกระจายของมะเร็งมาที่บริเวณกระดูกสันหลัง เป็นต้น
3. สัญญาณอันตรายของอาการปวดหลังมีอะไรบ้าง ?
เมื่อมีอาการปวดหลังร่วมกับอาการต่อไปนี้ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์
1. อาการปวดหลังเป็นติดต่อกันนานกว่า 2 สัปดาห์
2. มีอาการชาหรืออ่อนแรงของขา
3. มีอาการปวดร้าวจากหลังลงไปที่ขาหรือเท้า
4. มีอาการปวดหลังภายหลังได้รับอุบัติเหตุ
5. มีอาการอื่น ๆ ร่วม เช่น ไข้ เบื่ออาหาร นํ้าหนักลด
4. การวินิจฉัย
แพทย์จะอาศัยการซักประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ ในบางครั้งแพทย์อาจจำ เป็นต้องทำ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การถ่ายภาพรังสี และการตรวจเลือดเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการรักษา
5. การรักษา
1. ควรระวังและหลีกเลี่ยงการทำ งานที่เกี่ยวข้องกับการยกของหนัก การที่ต้องทำ งานก้ม ๆ เงย ๆ เป็นต้น
2. ปรับอริยาบทต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดการปวดหลัง เช่น ที่นอนควรเป็นที่นานราบเรียบและแข็ง เก้าอี้นั่งควรเป็นเก้าอี้ที่มีพนักพิงหลังและนั่งตัวตรง เวลาขับรถควรปรับพนักเก้าอี้ให้อยู่ในท่าตรง เวลาก้มหยิบของควรใช้วิธีย่อเข่าลงเก็บของ เป็นต้น
3. อาจใช้ยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซทตามอล หรือแอสไพริน รับประทานแก้ปวดได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ในกรณีที่รับประทานยามาแล้ว 5-7 วันและอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
4. ในรายที่เป็นเรื้อรัง หรือมีอาการปวดอย่างมาก การทำ กายภาพบำ บัดจะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ การใช้กายอุปกรณ์ก็สามารถช่วยลดอาการเจ็บปวดได้เช่นกัน
5. การบริหารกล้ามเนื้อหลัง เป็นส่วนสำ คัญที่สุดในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง เพราะจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อหลัง และลดการเกร็งของกล้ามเนื้อหลัง การบริหารควรทำ ทุกวัน
6. หาทางออกกำลังกายเป็นการผ่อนคลายความเครียดกายบริหารสำ หรับอาการปวดหลัง

ท่าที่1 นอนหงายเหยียดขาตรงยกขาขึ้นเป็นมุมประมาณ 45 องศา เกร็งไว้นับ 1-10 ทำ สลับกันข้างละ 10 ครั้ง
ท่าที่ 2 นอนหงายและงอเข่าทั้ง 2 ข้าง แขม่วท้องเอาหลังกดพื้น และยกก้นขึ้นเล็กน้อยเกร็งไว้นับ 1-10 ทำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 3 นอนหงายและงอเข่าทั้ง 2 ข้างเอามือดึงเข่าทีละข้างมาชิดกับหน้าอกนับ 1-10 แล้วเอาขากลับที่เดิมทำ สลับกันข้างละ 10 ครั้ง
ท่าที่4 นอนหงายและงอเข่าทั้ง 2 ข้างเอามือดึงเข่าทั้ง 2 ข้างมาชิดกับหน้าอกนับ 1-10 แล้วนอนหงายงอเข่าตามเดิม ทำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 5 นอนหงายและงอเข่าทั้งสองข้าง จากนั้นงอเข่ามาชิดหน้าอกแล้วเหยียดขาตรงเกร็งไว้นับ 1-10 ทำ สลับกันข้างละ 10 ครั้ง

หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆๆนะครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio