ขับเคลื่อนโดย Blogger.

แนวข้อสอบสาธารณสุขฉบับขี้ลอก

 "วันนี้ได้ไปเจอแนนวข้อสอบสาธารณสุข หรือข้อสอบนักวิชาการสาธารณสุขที่จะสอบเข้ากรมควบคุมโรค ถึงว่าเป็นแนวข้อสอบที่ดีมากๆๆนะครับ หากมีเวลาไปวื้อหนังสือมาอ่านก็จะมีแนวข้อสอบเยอะมากๆๆเช่นกันครัับ ขอให้ทุกท่านได้เป็นนักวิชาการสาธารณสุขตามใจต้องการครับ"



1.อธิบดีกรมควบคุมโรค คนปัจจุบัน คือ ใคร
                1. นายวิทยา    บุรณศิริ                                        2. นายวรวัจน์   เอื้ออภิญญกุล
                3.  นายมานิต  ธีรตันติกานนท์                          4. นายสุรพงษ์  อึ้งอัมพรวิไล
ตอบ ข้อ 3.
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คือ ใคร
1. นายวิทยา    บุรณศิริ                                        2. นายวรวัจน์   เอื้ออภิญญกุล
                3.  นายมานิต  ธีรตันติกานนท์                          4. นายสุรพงษ์  อึ้งอัมพรวิไล
ตอบ ข้อ 1.
3. วิสัยทัศน์  กรมควบคุมโรค “ เป็นองค์การชั้นน้ำระดับนานาชาติ ที่สังคมเชื่อถือและไว้วางใจ เพื่อปกป้องประชาชนจากโรคและภัยสุขภาพ ด้วย.....................................................” ช่องว่าควรเติมข้อใด
                1. ความเป็นธรรมและทั่วถึง ทั่วประเทศ                         2. การเข้าถึงการรักษาประชาชนอย่างทั่วถึง
                3. การควบคุมโรคอันเป็นเลิศ ภายในปี 2569                4. ความเป็นเลิศทางวิชาการ ภายในปี 2563
ตอบ ข้อ 4.
4.ข้อใดไม่ใช่พันธกิจ กรมควบคุมโรค
1.    ส่งเสริมกระบวนการประสารงานร่วมมือเฉพาะเครือข่ายภายในประเทศ
2.    ส่งเสริม สนับสนุน ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความรู้ ให้เครือข่ายประชาชน
3.    ผลักดัน และติดตามการบังคับใช้กฎหมายที่จำเป็นต่อการปกป้องประชาชนจากโรค
4.    พัฒนาและประเมินศักยภาพระบบ กลไกของเครือข่ายการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค
ตอบ ข้อ 1.
5.กรณีมีเรื่องเกี่ยวกับ โรคระบาด หรือพบเห็น ควรแจ้งกรมควบคุมโรค เบอร์กลางใด
1. 1550                                                                  2. 1422
3. 1332                                                                  4. 1134
ตอบ ข้อ 2.
6.ค่านิยมหลักกของกรมควบคุมโรค คือ ข้อใด
1.  ISRATT                                           2.ISMART
3. MSATR                                           4.SMART
ตอบ ข้อ 2.
7.ข้อใดไม่ใช่โรคติดต่ออันตราย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523
        1. โรคไข้เหลือง                                                   2. โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
        3. บาดทะยัก                                                         4.  โรคซึมเศร้า
ตอบ ข้อ 4.
8.มี อาการไข้นำมาก่อน ต่อมามีเยื่อบุหนังตาอักเสบ มีอาการคล้ายเป็นหวัด หลอดลมอักเสบและมีจุดสีแดงที่เยื่อบุแก้ม หลังจากมีไข้ประมาณ 3-7 วัน  จะมีผื่นปรากฎที่บริเวณหน้า ต่อมาผื่นจะปรากฏทั้งตัวอยู่นาน 4-6 วัน  แล้วจะลอกออกไป ปรากฎเป็นสีแดงคล้ำอยู่หลายวัน เป็นโรคอะไร
                1. ไข้หัด                                                 2.ไข้หัดเยอรมัน
                3. ไข้รากสาด                                                        4. ไข้เหลือง
ตอบ  ข้อ 1.
9. โรคติดต่อใดที่กรมอนามัยโลกได้กำหนดให้ประเทศหรือเขตดินแดนติดต่อโรคดัง กล่าว ต้องมีความแจ้งข่าวเมื่อมีการเกิดระบาดหรือเป็นโรคประจำท้องถิ่น
                1. ไข้หัด                                                 2.ไข้หัดเยอรมัน
                3. ไข้รากสาด                                                        4. ไข้เหลือง
ตอบ  ข้อ 4.
10. . การป้องกันบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการปฏิบัติงานสารเคมี คือ ข้อใด
1.    ไม่ควรให้ผู้ดื่มสุราหรือของมึนเมาปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมี
2.    เจ้าของสวนส้มควรส่งพนักงานผู้รับผิดชอบในการปฐมพยาบาล
3.    คนงานที่ฉีดพ่นสารเคมีต้องสวมเสื้อผ้า หมวก ถุงมือ
4.    มีระบบประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษา
ตอบ ข้อ 1.
11. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากประเทศใดเป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านการ ป้องกัน ควบคุมและการรักษาพยาบาลด้านโรคจากการประกอบอาชีพโดยเฉพาะโรคพิษสารเคมี
                1. สิงคโปร์                                            2. จีน
                3. ญี่ปุ่น                                                  4. เกาหลี
ตอบ ข้อ 2.
12. ในพื้นที่มาบตาพุด พร้อมเก็บพิกัดทางภูมิศาสตร์ พบว่า ประชาชนที่อยู่ในชุมชนดังกล่าวอยู่ในภาวะที่เสี่ยงภัยสุขภาพต่อสารใด ซึ่งมาจากอุตสาหกรรม การจราจรและการขนส่ง
                1. สารกัมมันตรังสี                                               2.ควันพิษจากโรงงาน
                3. สารเบนซีน                                                      4. สารตะกั๋ว
ตอบ ข้อ 3.
13.จำนวนประชากรของประเทศ ปี 2550 มี 71 ล้านคน ประกอบไปด้วยผู้มีงานทำร้อยละเท่าไร
        1. ร้อยละ 50                                         2. ร้อยละ 53
        3. ร้อยละ 60                                         4. ร้อยละ 63
ตอบ ข้อ 2.
14. ข้อใดไม่ใช่เงื่อนไขการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
       
1. ขนาดของปัญหา
                                          2. ความรุนแรงของปัญหา
       
3. ความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหา             4.
5.    การมีส่วนร่วมของหน่วยงานเฉพาะภาครัฐเท่านั้น
ตอบ ข้อ 4.
15.ในภาคเกษตรกรรม โรคใดเป็นอันดับ 1 ของโรคประกอบวิชาชีพเกษตรกรรม
        1. สารก่อโรคภูมิแพ้                                            2. โรคพยาธิใบไม้
        3. สารเคมีกำจัดศัตรูพืช                                      4. โรคไข้มาลาเลีย
ตอบ ข้อ 3.

16.จากภาคเกษตรกรรม ผู้เสี่ยงและไม่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีใด มีถึงร้อยละ 29.4
                1. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
                        2. สารตะกั่ว
        3. สารออร์กาโนฟอสเฟต                                  4. สารหนูปนปรอท
ตอบ ข้อ 3.
17. ผลกระทบต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อม ที่กำลังเป็นปัญหา คือข้อต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
1.    สารเคมีรั่วไหลที่คลองเตย มีผู้เสี่ยง  105  ราย
2.    การปนเปื้อนสารตะกั่วที่ห้วยคลิตี้ จ.กาญจนบุรี ผู้เสี่ยง 5,000 ราย
3.    การปนเปื้อนของแคดเมียม จ.ลำปาง ผู้เสี่ยง   6,802  ราย
4.    สารหนูปนเปื้อน จ.นครศรีธรรมราช ผู้เสี่ยง 28,000 ราย
ตอบ ข้อ 3. แคมเมียมอยู่จ. ตาก
18.ในภาคอุตสาหรรมและภาคบริการ มีผู้ทำงานร้อยละเท่าไรของประเทศ
        1. ร้อยละ 50                                         2. ร้อยละ  53
        3. ร้อยละ 57                                         4. ร้อยละ 60
ตอบ ข้อ 3.
19.ในภาคอุตสาหกรรม กลุ่มเป้าหมายในการเกิดการเสี่ยงในการประกอบอาชีพในสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก คือข้อใด
        1.  ฝุ่นหินดินทราย และสารตะกั่ว                                    2. สารตะกั่ว สารปรอท และเสียงดัง
        3. สารตะกั่ว และสารโคบอลต์                                          4. ฝุ่นหิน ดินทราย สารตะกั่ว และเสียงดัง
ตอบ ข้อ 4.
20.ในภาคบริการ กลุ่มเป้าหมายในการเกิดการเสี่ยงสำคัญในการให้บริการคือข้อใด
                1. เจ้าหน้าที่แพทย์และสาธารสุข                                     2. ผู้ให้บริการตามสถานที่บันเทิง
                3. ผู้ให้บริการนวดแผนไทย                                              4.  ผู้ให้บริการร้านอาหาร โรงแรม
ตอบ ข้อ 1.

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบกรมควบคุมโรค ทุกตำแหน่ง ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ (เลือกตามตำแหน่งที่สอบ)
- ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล
- ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข
- ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผน
- ตำแหน่งนักประชาสัมพันธ์
- ตำแหน่งเจ้าพนักงานคอมพิวเตอร์

โรคปวดหลังของนักวิชาการสาธารณสุข

"สวัสดีครับผมไม่ได้อัพบล็อกนานมากเนื่องจากผมต้องเตรียมการรับนิเทศ และต้องเตรียมการรับประเมินHAอีกครับ วันๆผมนั่งอยู่แต่กับคอมพิวเตอร์เล่นกับข้อมูล เล่นFacebook แชทกับสาวๆ คุยกับเพื่อนๆๆผ่านทางคอมพิวเตอร์  วันนี้เป็นวันที่ผมรู้สึกปวดหลังมากๆครับ

ผมทำงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขมาประมาณ 6 ปีครับ ทำงานที่ฝ่านแผนงานและสารสนเทศ  ผมต้องทำหน้าที่รับนิเทศ ทำแผนงบpp บางคนหรือหลายคนมักพูดว่า ฝ่ายแผนฯสบาย วันๆเล่นแต่เกม เล่นแต่คอมพิวเตอร์ ผมยอมรับนะครับว่าสบายจริงๆแต่ด้วยความสบสยมันก็มีความลำบากครับ เพราะเมื่อทุกคนคิดว่าเราไม่มีงานทำก็จะโยนงานต่างๆมาให้เรา กลายเป็นงานจิปาถะไป

หลายคนสงสารผม บอกว่าผมโง่ไปรับมาทุกงาน บอกว่าผมพูดช้าอ้ายปากไม่ทันบ้าง แต่ความจริงนะครับผมมั่นใจว่าผมไม่ได้โง่หรอกครับ ผมอ้ายปากทันและเร็วกว่าทุกคนแหละครับ เพียงแต่ผมรับมาทุกงานก็ด้วยความเกรงใจ รับด้วยความเคารพเท่านั้น

วกกลับกลับมาเรื่องการนั่งสบายๆตากแอร์กันครับ ผมเองนั่งสบายๆๆตากแอร์มาเป็นเวลา 6 ปี ก็คือเริ่มตั้งแต่ผมทำงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขครับ ในความสบายย่อมมีความทุกข์อยู่ ฉันใดก็ฉันนั้นผมนั่งตากแอร์สบาย แต่วันนี้ผมรู้ปวดหลัง ผมคิดว่าสาเหตุก็มาจากการนั่งที่ไม่ถูกท่า และนั่งนานจนเกินไป ประกอบกับผมมีน้ำหนักมากและมากขึ้นๆทุกๆวันเนื่องจาการนั่่งอยู่เฉยๆไม่ค่อยได้ออกกำลัง จริงๆอาการปวดหลังไม่ได้เป็นเฉพาะนักวิชาการสาธารณสุขฝ่ายแผนฯหรอกครับ ที่ทราบเพื่อนผมเป็นโปรติวเซอร์ก็เป็นโรคกรวยไตอักเสบเนื่องจากนั่งนาน  ทันตแพทย์ที่ผมรู้จักก็มีอาการปวดหลัง ที่พิมพ์ๆมาก็เพื่อจะสื่อว่าโรคปวดหลังก็เป็นโรคหนึ่งใน "โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ"ครับ วันนี้ผมไปเจอบทควาวิชาการมาเป็นบทความของท่าน รศ.นพ.วรวิทย์ เลาห์เรณู ผมจึงนำมาไว้ให้เพื่อนๆได้ศึกษาครับ


1. หลังของเรา
หลังเป็นส่วนสำ คัญของร่างกายที่ทำ หน้าที่รับนํ้าหนักตัวส่วนบน กระดูกสันหลังประกอบไปด้วยกระดูก 24 ชิ้น แต่ที่เป็นส่วนสำ คัญของอาการปวดหลังที่พบบ่อยคือกระดูกสันหลังส่วนล่าง 5 ชิ้น ซึ่งต่อกับกระดูกกระเบนเหน็บ กระดูกสัน
หลังส่วนล่างนี้เชื่อมกันด้วยข้อต่อ และมีช่องระหว่างข้อให้ปลายประสาทผ่านออกมาเลี้ยงกล้ามเนื้อของเร

อาการปวดหลังอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ

1. อาการปวดแบบเฉียบพลัน ซึ่งเป็นมาภายในไม่กี่วันถึง 1-2 สัปดาห์ โดยมากมักจะเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ
2. อาการปวดเรื้อรังซึ่งมักเป็นนานกว่า 3 เดือนและมีสาเหตุมากมาย

2. สาเหตุของอาการปวดหลังที่พบบ่อย
1. อริยาบทหรือท่าทางที่ไม่ถูกต้องหรือหลังเคล็ด เป็นภาวะที่ทำ ให้เกิดอาการปวดหลังได้บ่อย เช่น นั่งทำ งานในท่า
ก้มหลังเป็นเวลานาน การก้มตัวยกของหนัก หลังถูกกระแทก เป็นต้น
2. ภาวะเสื่อมของกระดูกสันหลัง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังมีการเสื่อม
ทำ ให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง ในบางรายอาจมีกระดูกงอกไปกดปลายประสาททำ ให้เกิดอาการชาหรืออ่อนแรงของขาได้
3. หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน มักเกิดอาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน เกิดจากการที่ยกของหนักหรือล้มก้นกระแทกพื้น เกิดแรงดันทำ ให้หมอนรองกระดูกสันหลังไปกดเส้นประสาทที่ออกมาจากไขสันหลัง เกิดอาการปวดร้าวไปด้าน
หลังของขา ร่วมกับอาการชาและอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา ภาวะนี้จำ เป็นต้องการการผ่าตัดแก้ไข
4. ภาวะเครียด อาจส่งผลให้มีการเกร็งของกล้ามเนื้อหลังตลอดเวลา ทำ ให้ปวดหลังได้
5. กระดูกสันหลังอักเสบ เป็นภาวะที่มีการอักเสบ ของกระดูกสันหลัง พบได้บ่อยในผู้ชายวัยกลางคน มีอาการปวดหลังเรื้อรัง อาจมีข้ออักเสบอื่น ๆ ร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมีอาการหลังแข็ง ถ้าได้รับการวินิจฉัยไม่ถูกต้อง กระดูกสันหลังอาจยึดติด
กันไปหมด ก่อให้เกิดความพิการตามมาได้
6. สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ โรคของอวัยวะบางอย่างที่ทำ ให้เกิดอาการปวดร้าวมาบริเวณหลังได้ ได้แก่ โรคไต โรคเกี่ยวกับรังไข่และมดลูก โรคที่เกี่ยวกับต่อมลูกหมาก หรือการกระจายของมะเร็งมาที่บริเวณกระดูกสันหลัง เป็นต้น
3. สัญญาณอันตรายของอาการปวดหลังมีอะไรบ้าง ?
เมื่อมีอาการปวดหลังร่วมกับอาการต่อไปนี้ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์
1. อาการปวดหลังเป็นติดต่อกันนานกว่า 2 สัปดาห์
2. มีอาการชาหรืออ่อนแรงของขา
3. มีอาการปวดร้าวจากหลังลงไปที่ขาหรือเท้า
4. มีอาการปวดหลังภายหลังได้รับอุบัติเหตุ
5. มีอาการอื่น ๆ ร่วม เช่น ไข้ เบื่ออาหาร นํ้าหนักลด
4. การวินิจฉัย
แพทย์จะอาศัยการซักประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ ในบางครั้งแพทย์อาจจำ เป็นต้องทำ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การถ่ายภาพรังสี และการตรวจเลือดเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการรักษา
5. การรักษา
1. ควรระวังและหลีกเลี่ยงการทำ งานที่เกี่ยวข้องกับการยกของหนัก การที่ต้องทำ งานก้ม ๆ เงย ๆ เป็นต้น
2. ปรับอริยาบทต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดการปวดหลัง เช่น ที่นอนควรเป็นที่นานราบเรียบและแข็ง เก้าอี้นั่งควรเป็นเก้าอี้ที่มีพนักพิงหลังและนั่งตัวตรง เวลาขับรถควรปรับพนักเก้าอี้ให้อยู่ในท่าตรง เวลาก้มหยิบของควรใช้วิธีย่อเข่าลงเก็บของ เป็นต้น
3. อาจใช้ยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซทตามอล หรือแอสไพริน รับประทานแก้ปวดได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ในกรณีที่รับประทานยามาแล้ว 5-7 วันและอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
4. ในรายที่เป็นเรื้อรัง หรือมีอาการปวดอย่างมาก การทำ กายภาพบำ บัดจะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ การใช้กายอุปกรณ์ก็สามารถช่วยลดอาการเจ็บปวดได้เช่นกัน
5. การบริหารกล้ามเนื้อหลัง เป็นส่วนสำ คัญที่สุดในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง เพราะจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อหลัง และลดการเกร็งของกล้ามเนื้อหลัง การบริหารควรทำ ทุกวัน
6. หาทางออกกำลังกายเป็นการผ่อนคลายความเครียดกายบริหารสำ หรับอาการปวดหลัง

ท่าที่1 นอนหงายเหยียดขาตรงยกขาขึ้นเป็นมุมประมาณ 45 องศา เกร็งไว้นับ 1-10 ทำ สลับกันข้างละ 10 ครั้ง
ท่าที่ 2 นอนหงายและงอเข่าทั้ง 2 ข้าง แขม่วท้องเอาหลังกดพื้น และยกก้นขึ้นเล็กน้อยเกร็งไว้นับ 1-10 ทำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 3 นอนหงายและงอเข่าทั้ง 2 ข้างเอามือดึงเข่าทีละข้างมาชิดกับหน้าอกนับ 1-10 แล้วเอาขากลับที่เดิมทำ สลับกันข้างละ 10 ครั้ง
ท่าที่4 นอนหงายและงอเข่าทั้ง 2 ข้างเอามือดึงเข่าทั้ง 2 ข้างมาชิดกับหน้าอกนับ 1-10 แล้วนอนหงายงอเข่าตามเดิม ทำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 5 นอนหงายและงอเข่าทั้งสองข้าง จากนั้นงอเข่ามาชิดหน้าอกแล้วเหยียดขาตรงเกร็งไว้นับ 1-10 ทำ สลับกันข้างละ 10 ครั้ง

หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆๆนะครับ

เรื่องของนักวิชาการสาธารณสุข


จากประสบการณ์การเป็นนักวิชาการสาธารณสุขรับจ้างมายาวนาน ผมคิดว่าวิชาที่ได้นำมาใช้มากที่สุดจะเป็นวิชา ชีวสถิติสาธารณสุข ดังนั้นแล้วเพื่อให้บล็อกของผมเป็นบล็อกที่มีประโยชน์แก่แวดวงของนักวิชาการสาธารณสุข ผมจะรวบรวมเนื้อหาของวิชา ชีวสถิติสาธารณสุข เป็นเวลา 7 วันนะครับ มาโพสที่บล็อกของผมเอง ซึ่งก็เป็นนักวิชาการสาธารณสุขเช่นกันครับและผมคิดว่าบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขจริงๆคือการนำเอาหลักการของวิชา ชีวสถิติสาธารณสุข มาใช้ให้เกิดประโยชน์ หรืออาจกล่าวได้ว่าเรื่องของนักวิชาการสาธารณสุขจริงๆก็คือเรื่องของชีวสถิติสาธารณสุข

เนื้อหาของชีวสถิติสาธารณสุขที่ผมจะรวบรวมมานี้จะอยู่ในขอบเขตของนักศึกษาระดับปริญญาตรีนะครับ  โดยมีจุดมุ่งหมายให้พี่น้องใช้เป็นแนวทางในการเรียนการค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อให้มีความรู้ความ
เข้าใจในระเบียบวิธีทางชีวสถิติสาธารณสุขอย่างถูกต้อง สามารถที่จะนำความรู้ทางชีวสถิติสาธารณสุข
ไปใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล นำเสนอข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมายของข้อมูล ทางด้าน
การแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ

แต่ผมมีความเชื่อว่าเนื้อหาที่ผมจะนำมาเขียนในบล็อก จะสามารถนำไปใช้ประกอบการศึกษา วิชาการวิจัยทางด้านสาธารณสุขศาสตร์ ของนักศึกษาสาธารณสุข นักวิชาการสาธารณสุขตั้งแต่ระดับปฏิบัติการ จนไปถึงนักวิชาการสาธารณสุข ระดับชำนาญการพิเศษครับ

ผมเชื่อว่าการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลข้อมูล ทางการแพทย์และ
สาธารณสุข ชนิดของข้อมูล การแจกแจงความน่าจะเป็น ทฤษฎีการทดสอบ การประมาณช่วงความ
เชื่อมั่นของพารามิเตอร์ การทดสอบนัยสำคัญของการแจกแจง และของพารามิเตอร์ สหสัมพันธ์ และ
ความถดถอย มีประโยชน์ต่อวงการสาธารณสุขมากๆครับ ขอเพียงท่านเข้าใจและนำไปปรับใช้ครับ

ในท้ายที่สุดนี้ผมขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ทุกท่าน ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้แก่ผม
ทำให้สามารถเขียนบล็อกนี้ได้ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บล็อกนี้จะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษา
และนักวิจัยทางด้านสาธารณสุขศาสตร์ทุกคน

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio