ขับเคลื่อนโดย Blogger.

นักวิชาการสาธารณสุขบ้าคอม

เมื่อผมเลือกอาชีพนักวิชาการสาธารณสุขแล้ว
ผมทุ่มเทเวลาให้กับวิชาทางด้านสาธารณสุขมากๆๆ
โดยที่ผมแทบไม่ได้สนใจวิชาคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีและสารสนเทศชะเท่าไหร่เลยครับ
แต่พอจบออกมาทำงานผมอยู่ฝ่ายแผนงานและสารสนเทศครับ
ไอ้คำที่ว่า "สารสนเทศ"เล่นเอานักวิชาการสาธารณสุขอย่างผมถึงกับ งง งง
เพราะใครไม่รู้อะไรเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นต้องเรียกหาผม
ถ้าบอกว่าทำไม่ได้...เป็นนักวิชาการสาธารณสุขภาษาอะไรไม่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์

จริงๆคอมพิวเอตร์มีบทบาทสำคัญมากครับในการทำงานไม่ว่าด้านไหนๆ
เมื่อก่อนผมไม่สนใจ...ไม่แยแสมันเลย...
บ่งบอกว่าผมมีวิสัยทัศน์ที่โคตรแคบมากๆๆๆเลยครับ

ปราชณ์จีนบอกไว้ว่า "อุปสรรคและปัญหาคือหินปูทางสู่ความสำเร็จ" ผมท่องจนขึ้นใจครับ
ผมไม่รีรอจึงเร่งรีบ...มุ่งมั่นศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมครับ
วันนี้ผมเพิ่งรู้ว่าที่เขาให้เรากรอกโน่นนี้นั้นเวลาจะเข้าเวบอะไรสักเวบ
เขาเรียกมันว่า "แคปซ่า" รายละเอียดดังนี้ครับ

“CAPTCHA” ออกเสียงว่า แคปช่า ซึ่งย่อมาจาก Completely Automated Public Turing Computer and Humans Apart แปลให้เข้าใจง่ายๆก็คือ กลไกอัตโนมัติที่ใช้ทดสอบเพื่อให้ทราบว่า มนุษย์ หรือ คอมพิวเตอร์ มันเป็นการทดสอบการตอบสนองโดยใช้ทดสอบกับระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อตัดสินใจว่าผู้ใช้หรือผู้ที่กำลังติดต่อกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ เป็นมนุษย์หรือไม่
วัตถุประสงค์สำคัญของมันก็เพื่อความปลอดภัยโดยเฉพาะเว็บไซต์ที่ ต้องมีการ ป้อนข้อมูลส่วนตัว เนื่องจากแฮกเกอร์ส่วนใหญ่จะใช้สิ่งที่เรียกว่า “บอตส์” (bots) ในการโจมตีผู้ใช้ ซึ่งบอตที่ว่านี้สามารถสร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่สามารถแก้ปัญหาการทดสอบด้วย CAPTCHA ได้ จะต้องอาศัยมนุษย์ที่เพ่งดูกราฟฟิกยุ่งเหยิงเหล่านี้ และแกะตัวอักษรออกมาเพื่อพิมพ์ยืนยันอีกที

นักวิชาการสาธารณสุขกับวันคืนสู่เย้า


สวัสดีวันสงกรานต์ครับ...
ช่วงเทศกาลวันปีใหม่ไทย...งานที่นักวิชาการสาธารณสุขต้องรับผิดชอบอีกงาน...งานรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
โรงพยาบาลผมเองก็จัดงานรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุเช่นกันครับ
และนักวิชาการสาธารณสุขอย่างผม...มีหน้าที่ชงเหล้าแล้วกระดกครับ


บรรยากาศงานรดน้ำดำหัวที่โรงพยาาลเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 8.00 น.ครับ
ปีนี้ผมไม่ค่อยมีส่วนร่วมสักเท่าไหร่...คงเนื่องจากอาการเบื่อความจำเจ
ผมแวะลงไปกินไอศครีม 1 ถ้วยก็กลับขึ้นมา

ลืมเล่า..ที่โรงพยาบาลจะจัดงานรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุทุกๆปีครับ
จะมีไอศครีม..อาหารเล็กๆน้อยไว้ให้เจ้าหน้าที่และผู้สูงอายุที่มาร่วมงานครับ


ปี 2555 ก็เช่นกันครับมีไอศครีม...และลูกชิ้นครับ
แต่ปีนี้ผมไม่ได้เข้าร่วมประชุม กกบ.จึงไม่รู้รายละเอียดเท่าที่ควร
แต่จากภาพเหตุการณ์...ผมคิดว่าน่าจะเป็นอย่างนี้ครับ

จัดงานรดนำ้ดำหัวผู้สูงอายุ...เสร็จแล้วมีอาหารคือลูกชิ้นให้ท่าน...ตบด้วยของหวานคือไอศครีม
แล้วเจ้าหน้าที่ที่มาขอพร...สงค์น้ำพระก็รับประทานลูกชิ้นและไอศครีม

แต่เหตุการณ์จริงเป็นแบบนี้ครับ
เสร็จงานเจ้าหน้าที่มาเอาลูกชิ้น..ไอศครีมขึ้นไปกินบนตึก
ญาติคนไข้..เด็กๆๆก็มาเอาลูกชิ้น
ลูกชิ้่นหมดภายในไม่กี่นาที...แม่ค้าขายดีมากๆๆ
จากที่ตั้งงบไว้ 1500 บาท...แต่แจกไป 3000 บาท
งานนี้ไม่รู้ใครกำไร...ใครขาดทุน

ผมคิดว่าปีหน้าถ้ามีอีกควรทำแบบนี้ครับ
ลูกชิ้นห่อใส่ถุงเรียบร้อย..ถุงละ 5 ไม้
เจ้าหน้าที่ที่ทำงานติดภารกิจ...มีกี่คน...จัดเตรียมให้เรียบร้อย..ห่อให้เตรียมกิน
ทำอย่างนี้จะไม่เกิดปัญหางบบานปลายครับ

ที่เขียนก็เพื่อเตือนตัวเอง...

ตอนเย็นผมได้ไปงานคืนสู่เย้าชาวฟ้าเหลืองครับ
สนุกมากครับ...แต่เพื่อนไปน้อย
งานจัดแบบเอาใจคนรักสนุกครับ
เข้างานได้คูปอง 100 บาท โดยที่เราไม่เสียเงิน
ด้านหน้ามีคอนเสริตร์...เพลงแนวๆๆวัยรุ่น
ด้านข้างมีสาวรำวง..สำหรับผม 55+
แล้วรายล้อมด้วยชิงช้า ม้าหมุน ให้เด็กๆๆๆ
งานนี้จัดได้เยี่ยมมากครับ

นักวิชาการสาธารณสุขยามว่าง

สวัสดีครับ...หลังจากที่ตั้งใจจะอัพเดทบล็อกทุกวันผมก็ทำไม่สำเร็จ
มัวแต่ไปค้นหา...สืบค้น...วิธีแต่งบล็อกให้สวย...ดูดี...เป็นมืออาชีพ
ผลที่ได้ตามมาคือ บล็อกของนักวิชาการสาธารณสุข...สวยขึ้น...ดูง่ายขึ้น..แต่บทความไม่อัพเดท

ดร.เคลลี่ ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับพลังความมุ่งมั่นได้บอกว่า...
สาเหตุหลักที่ทำให้คนที่มีความตั้งใจทำอะไรสักอย่างล้มเลิกกลางใครคือ...การตำหนิตัวเอง
ทำไมต้องตำหนิตัวเอง...คงไม่มีใครที่จะตำหนิตัวเองโดยไร้เหตุุไร้ผลหรอกครับ
เรามักตำหนิตัวเองเมื่อเราทำอะไรที่ผิดพลาด...หรือทำไม่ได้ดังเป้าหมาย
แต่เรามีวิธีแก้ไขครับ

วิธีสร้างความุ่งมั่น...จากผู้ที่พลาดแล้วประสบผลสำเร็จ
1 สังเกตุอารมณ์และความคิดของตัวเองและยอมรับมัน
2 ยกโทษให้ตัวเอง บอกกับตัวเองว่าการทำพลาดเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนแปลง เราไม่ได้แย่อะไรมากมาย
3 จับจ้องที่เป้าหมายไม่ใช่อุปสรรค อย่าตำหนิตัวเองเมื่อพลาดไปแล้ว มองว่าเป้าหมายใหญ่คืออะไร

กรณีศึกษา...จากชีวิตจริงของนักวิชาการสาธารณสุข
.ผมเคยตั้งใจวิ่งออกกำลังกาย...โดยการวิ่งไปที่ตลาด....ผมเคยเขียนไว้ชื่อบทความ "สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน(ต้น)"
ผมเริ่มออกวิ่งตอนเช้า...และตั้งใจวิ่งโดยไม่หยดพักก...และวันนั้นอากาศหนาวมาก...เหนื่อยมาก...
ผมวิ่งไปไม่นานผมหยุดพักเหนื่อย...ผมพลาดที่ไม่สามารถวิ่งให้ต่อเนื่อง
ผมหยุดพักคิดว่าจะเลิกเดินกลับดีไหม...เพราะวันนี้ไม่สามารถวิ่งต่อเนื่องได้มันคงไม่เกิดประโยชน์อะไรแล้ว
เพราะหลักการออกกำลังกายต่อออกต่อเนื่อง 20 - 40 นาที
เมื่อไม่สามารถทำได้ผมจึงรู้สึกอยากเลิก...
สุดท้ายตอนนั้นผมบอกกับตัวเองว่าไม่มีใครสามารถวิ่งต่อเนื่องได้ในวันแรกหรอกน๊า
ใครๆๆเขาก็วิ่งแล้วพัก...วิ่งแล้วพักหมดแหละ
และขอสุกท้ายผมคิดว่าถ้าผมเดินกลับผมคงไม่ได้กินกาแฟหอมๆๆที่ตลาด...ผมจึงตัดสินใจวิ่งต่อไปครับ

5ส รากฐานแห่งการจัดการ



วันนี้ของพูดถึงกิจกรรม 5 ส บ้างนะครับ
กิจกรรม 5 ส ในมุมมองของผม..ผมคิดว่ามันสำคัญและควรทำให้สำเร็จ
ผมเองก็คลุกคลีกับการทำกิจกรรม 5 ส มาประมาณ 4 ปี แล้วครับ
หน่วยงานที่ผมทำงานอยู่ก็ได้รับป้ายทองเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ

เล่าขานกันมาว่า 5ส เป็นรากฐานแห่งการจัดการเรื่องคุณภาพของหน่วยงาน
หากทำ 5 ส ไม่สำเร็จ งานคุณภาพอื่นๆก็ยากจะสำเร็จตามไปด้วย

ขอวกกลับมาที่ กิจกรรม 5ส ของหน่วยงานผมนะครับ
การประเมินกิจกรรม 5 ส ...สถาบันที่เขามอบป้ายทองให้เรา...เขาจะกลับมาประเมินซ้ำทุกๆ 1ปีครับ

ณ วันที่ 3 เมษายน 2555 เป็นวันที่ครบรอบที่ หน่วยงานผมต้องได้รับการประเมินเรื่องสถานที่ครับ
หัวหน้าสั่งให้ผมเตรียมนำเสนอข้อมูลกิจกรรม 5 ส
ผมจัดการเรียบร้อยพร้อมนำเสนอ..ปรากฏว่าคณะอาจารย์ไม่ดู...แต่ขอดูสถานที่จริงครับ
ข้อดีของการทำกิจกรรม 5 ส คือ การเดินตามอาจารย์...แล้วฟังคอมเม้นครับ
เดินตั้งแต่ 09.00 น. - 12.30 น. ขาลากครับ...
ผมหิวจนจะเป็นลม...พอได้รับประทานอาหารเลยกินชะอิ่ม ..ผลคือบ่ายง่วงนอนมาก
พอง่วงนอนมากก็ฟังคอมเม้นอาจารย์ไม่รู้เรื่องครับ

เมื่อวันที่ 3 ผมเองทำหน้าที่ถ่ายรูป...และต้องจดด้วย
ด้วยประสบการณ์การทำงานมา 5 ปี ทำให้ผมรู้ว่าจดไปก็ไม่มีใครมาอ่าน
ดังนั้นผมจึงไม่จด..ถ่ายรูปและจำข้อคอมเม้นในส่วนของฝ่ายผมเท่านั้นครับ

ในช่วงบ่ายก็เดินดูสถานที่จนถึงเวลา 16.00 น.
หลังอาจารย์กลับ...อาจารย์ให้การบ้านผมถ่ายรูปส่วนที่รกมากๆๆ
แล้วให้ดำเนินการต้องแต่ สะสาง..ไปจนถึงสะดวก
หลังจากนั้นเราก็ประชุมกันก่อนกลับบ้าน...ตอนนี้แหละผมง่วงมาก
การประชุมเป็นไปแบบบ้านๆๆ..คือแบบสบายๆๆเพราะผมนั่งหลับ

ในวันที่ 19 เมษายน 2555 อาจารย์อีกท่านจะมาประเมินเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการ

เพื่อจะให้ทราบว่าเราดำเนินกิจกรรม 5 ส ตามที่เราทำคู่มือไว้หรือไม่





แพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข


หมออนามัย...นักวิชาการสาธารสุข...ล้วนเป็นนามเรียกขานผู้ที่ประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการสาธารณสุข
บ่อยครั้งผมฟังข่าว...ผมได้ยินแต่คำว่า..แพทย์...พยาบาล...แล้วหมออนามัยหรือนักวิชาการสาธารณสุขหายไปไหนครับ

นักวิชาการสาธารณสุข...เป็นชื่อจริงที่ใช้เรียกพวกเรา
หมออนามัย...แพทย์...พยาบาลหลายท่านอาจไม่รู้จัก...แต่ผมเชื่อว่าชื่อนี้มีที่มาจากชาวบ้านที่ "ตั้งให้เรา"

ด้วยความที่ว่าตามข่าวสารต่างๆไม่ค่อยได้เอ่ยถึงนักวิชาการสาธารณสุขมากนัก
ด้วยความเป็นคนดีของผม...กลัวว่าจะไม่มีใครรู้จักนักวิชาการสาธารณสุข...
นักวิชากการสาธารณสุขเป็นใคร...วันๆๆทำไรบ้าง...รับผิดชอบอะไรบ้าง
วันนี้จึงขอย้ำเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขอีกครั้งครับ

ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข ระดับตำแหน่ง ปฏิบัติการ
หน้าทีความรับผิดชอบหลัก

ปฏิบัติ งานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ทีต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกียวกับงานด้านวิชาการสาธารณสุข ภายใต้การกำกับ แนะนำตรวจสอบ และปฏิบัติงานอืนตามทีได้รับมอบหมาย

โดยมีลักษณะงานทีปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย สำรวจ รวบรวม ข้อมูลทางวิชาการเบื้องต้นทีไม่ซับซ้อน เกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุข เช่น การส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้ าระวังโรค การควบคุมป้ องกันโรคและภัยสุขภาพ และการฟื้ นฟูสุขภาพ รวมทั้ง การดูแลรักษาพยาบาล การจัดบริการ
สุขภาพ การสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ การสุขาภิบาล อนามัยสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบกลไกและการบังคับใช้กฎหมายสาธารณสุข เพื#อช่วยในการเสริมสร้างระบบการสาธารณสุขที#ดี
(2) สรุปรายงานเกี#ยวกับการดำเนินงาน หรือรายงานการรวบรวมข้อมูลทางวิชาการด้าน
สาธารณสุข เสนอผู้บังคับบัญชา เพื#อประกอบการวางแผนในการปฏิบัติงาน
(3) ติดตามผลการศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยงานด้านสาธารณสุข เพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ
(4) ร่วมพัฒนาเนื6อหา องค์ความรู้ คุณภาพมาตรฐานเกี#ยวกับงานด้านสาธารณสุข และระบบบริการสุขภาพ โดยบูรณาการแบบองค์รวมว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา เกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุขและระบบบริการสุขภาพ และจัดทำคู่มือ แนวทางปฏิบัติ เอกสารวิชาการ สื่อสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชน มีความรู้ สามารถ ป้องกันตนเองจากโรคและภัยสุขภาพ
(5) ปฏิบัติการในการส่งเสริมสุขภาพ อนามัยสิ่งแวดล้อม การควบคุมป้ องกันโรคและภัยสุขภาพ การเฝ้ าระวังโรค รักษาเบื6องต้น และติดตามฟื6 นฟูสุขภาพในชุมชน ดูแลบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ ที่พร้อมใช้งาน เพื่อพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข อย่างมีประสิทธิภาพและทัวถึง
(6) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลเบื6องต้นที#เกี#ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุข เช่น ข้อมูลของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง บุคลากรทางด้านบริการสุขภาพ ประชากร สถานะสุขภาพ ระบาดวิทยา สิ่งแวดล้อมทีเอื่อต่อ
สุขภาพ สถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรภาคีเครือข่าย เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ในการปรับปรุงระบบงานสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
(7) ให้บริการคัดกรอง ตรวจวินิจฉัย รักษาเบื6องต้น สอบสวนสืบสวนโรค ติดตามผู้ป่ วยผู้สัมผัส เพื่อการเฝ้ าระวัง ควบคุมป้ องกันโรคและภัยสุขภาพ รวมทั6งส่งเสริมสุขภาพ และฟื้ นฟูสุขภาพ
เพื่อให้ประชาชน มีสุขภาพทีดี
(8) ร่วมประเมินสิ่งแวดล้อมการทำงาน ประเมินสถานประกอบการ สถานบริการสาธารณะสถานที่สาธารณะทางด้านอนามัยสิ่ งแวดล้อม เพื่อการป้ องกันควบคุมโรคและภัยสุ ขภาพอย่างมี
ประสิทธิภาพ
(9) ช่วยปฏิบัติงานส่งเสริม ควบคุม กำกับมาตรฐาน การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการแพทย์
และสาธารณสุข และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ
โครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้ าหมายผลสัมฤทธิL ที#กำหนด

3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด
ความร่วมมือและผลสัมฤทธิLตามที่กำหนดไว้
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริ ง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ
(1) ตรวจสอบสภาพของเครื#องมืออุปกรณ์ต่างๆ ให้มีคุณภาพและเหมาะแก่การ
นำไปใช้งานอยู่เสมอ รวมทั6งสนับสนุนงานอื#นๆ ที#เกี#ยวข้องกับการให้บริการทางสาธารณสุข เพื่อให้
การบริการดังกล่าวเป็นไปอย่างราบรื่น
(2) สนับสนุนการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการหรื อเทคโนโลยี แก่บุคคลภายใน
หน่วยงาน เพื#อเป็นความรู้และให้สามารถดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
(3) ให้บริการทางวิชาการ เช่น การจัดทำเอกสาร ตำรา คู่มือ เอกสารสื่อ เผยแพร่ใน
รูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้และความเข้าใจในระดับต่าง ๆ ในงานด้านสาธารณสุข
(4) ร่วมปฏิบัติการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร และองค์กร เพื่อให้เป็นบุคลากรทีมีความชำนาญ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(5) นิเทศงานด้านสาธารณสุขให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื#อให้สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาการพยาบาล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางเทคนิคการแพทย์ หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ#งหรือหลายสาขาวิชา
ดังกล่าว ในทางที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่
ปฏิบัติ หรือสาขาวิชาอื่นที่ ก.พ. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาการพยาบาล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางเทคนิคการแพทย์สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรม
สิ่ ง แ ว ด ล้อ ม หรื อ ส า ข า วิ ช า ใ ด ส า ข า วิ ช าหนึ่ งหรื อห ล า ย ส า ข า วิ ช า ดัง ก ล่ า ว ใ นท า ง ที่
ส่วน ราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที#ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ ปฏิบัติ หรือสาขาวิชาอื่นที่ ก.พ. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
3. ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอืนที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาการพยาบาล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชา
แพทยศาสตร์ สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางเทคนิคการแพทย์สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทาวิศวกรรม
สิ่ง แ ว ด ล้อ ม หรื อ ส า ข า วิ ช า ใ ด ส า ข า วิ ช าหนึ่งหรื อห ล า ย ส า ข า วิ ช า ดัง ก ล่ า ว ใ นท า ง ที่
ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติ หรือสาขาวิชา
อื่นที ก.พ. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี6ได้
4. ได้รับปริญญาหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่ ก.พ. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้

สรุปง่าย ๆ คือ การศึกษาวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนางานด้านสาธารณสุข โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้เกิดเป็น นโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนงาน โครงการและกิจกรรม ต่าง ๆ เพื่อให้บุคคลากรต่าง ๆ ในกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีโดยการมีส่วนร่วม จากทุกฝ่าย

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio