ขับเคลื่อนโดย Blogger.

นักวิชาการสาธารณสุขกับทักษะที่ต้องเป็น

ด้วยนิสัยส่วนตัวผมแล้ว ผมไม่ชอบการอ่านหนังสือเท่ากับการทำโจทย์เลข  และไม่ชอบการจดเลคเซอร์ด้วย นั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมเขียนไม่เก่ง  เขียนถูกบ้างผิดบ้าง  แต่ด้วยอาชีพการงานคืออาชีพนักวิชาการสาธารณสุข ผมจึงต้องเริ่มต้นหัดอ่านหนังสือ หัดเขียนบทความ

ด้วยเหตุประการทั้งปวงเป็นที่มาของบทความนี้ครับ เมื่อคืนผมได้อ่านหนังสือเรื่อง เป็นที่ 1 ในธุรกิจของคุณ มีบทหนึ่งที่ผมประทับใจมาก คือ ฝึกซ้อมทักษะที่ทำให้เกิดความแตกต่าง ในหนังสือแนะนำทักษะที่ผู้ที่เป็นนักการตลาด นักขาย นักธุรกิจ ต้องฝึกฝน ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า คือ 1.ทักษะการจัดการข้อโต้แย้ง เช่น เราไปนำเสนอสินค้าแล้ว เขาตอบเรามาว่า ยี่ห้อนี้แพงเกินจริง เราจะโต้ตอบเขาอย่างไร ซึ่งวิธีที่คนไม่ได้ซ้อมและฝึกฝนทักษะนี้ทำคือ นิ่ง..เงียบ หรือไม่ก็พูดน้ำไหลไฟดับ...แต่นอกเรื่อง  ทักษะที่ 2 คือ ทักษะการนำเสนออย่างจูงใจ ซึ่งก็ต้องซ้อมทุกๆๆวัน

พอผมอ่านจบ ผมจึงคิดทบทวน ใคร่ครวญ แต่ไม่ได้ครวญคราง
อาชีพนักวิชาการสาธารณสุขจำเป็นต้องมีทักษะอะไรบ้าง เพื่อที่จะประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน เท่าที่สมองอันน้อยนิด ผนวกกับเวลาที่จำกัด (คือเอาเวลางานมาเขียนบล็อก)ผมก็พอสรุปได้ว่า ทักษะที่จำเป็นสำหรับนักวิชาการสาธษรณสุข 1.ทักษะการเขียนความเรียง และ 2. การนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะการเขียนความเรียง

1. กำหนดกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน
เพื่อให้ข้อมูลเนื้อหาที่เหมาะสมสอดคล้องกับกลุ่มนั้น ๆ ตัวอย่างนักเขียนบางคนที่เสนองานเขียนของคนกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเช่นนิธิ เอียวศรีวงศ์ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักการเมือง นักการศึกษา นักประวัติศาสตร์คำหมาน คนไค มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มครูวิทยากร เชียงกูล มีกลุ่มเป้าหมายเป็นปัญญาชนที่มีบทบาทเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศดังนั้นเนื้อหาจึงมีความหลากหลายในด้าน สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นโยบาย ต่าง ๆเดชา ศิริภัทร มีกลุ่มเป้าหมาย เป็นคนของรัฐโดยเฉพาะในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นักวิชาการการเกษตรสัมพันธ์ เตชะอธิก มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักพัฒนา นักศึกษาพัฒนาชุมชน



2. จัดระบบความคิดตลอดจนการเรียบเรียงถ้อยคำอย่างชัดเจน โดยยึดหลักการดังนี้
    2.1 เขียนให้เป็นรูปประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ ไม่ฟุ่มเฟือยด้วยคำที่ไม่มีความหมายใช้คำเชื่อม เฉพาะที่จำเป็นและเหมาะสม คำบางคำเช่น "ที่ และ ซึ่ง ยังงี้ ทั้งนี้ นอกจากนั้นแต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก เพราะว่า โดย ก็" หากไม่มีความหมาย ควรตัดออก ไม่ควรใช้โดยไม่มีเหตุผล
    2.2 เว้นวรรคตอนให้ถูกต้อง
    2.3 ย่อหน้าที่ให้ถูกต้อง ไม่ควรย่อหน้าบ่อยเกินไปหรือบางคนเขียนไม่มีย่อหน้าเลยทั้ง ๆ ที่เป็นเนื้อความใหม่ ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ต้องมีไม่น้อยกว่า 2-3 ประโยคและย่อหน้าใหม่ต้องมีเนื้อความเชื่อมโยงกับย่อหน้าเดิม
3. เขียนให้อ่านง่าย
หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์วิชาการที่หรูหรา หรือศัพท์เทคนิค รวมทั้งคำศัพท์ต่างประเทศที่จะทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจ นอกจากนั้นต้องหลีกเลี่ยงคำหยาบ กวน กำกวมควรเสนอประเด็นให้ชัดเจน
4. กำหนดหัวข้อให้ชัดเจน
เสนอประเด็นหลักเพียงประเด็นเดียว ไม่ใช่นึกอะไรออกก็เขียนลงไปทำให้เกิดสับสนไม่น่าสนใจ ทั้งนี้ในการเขียนบทความอาจเป็นการบอกเรื่องราวต่าง ๆ ที่คนไม่รู้ หรือเป็นการเสนอความคิดบางอย่างที่คนอื่น ๆ ยังไม่ค่อยได้คิดกันก็ได้ หรือ บางครั้งอาจจะเสนอทั้งสองอย่างด้วยกันก็ยิ่งจะทำให้บทความน่าสนใจยิ่งขึ้น
5. เขียนเสนอประเด็นเล็ก ๆ ให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกับประเด็นใหญ่
เพื่อให้เห็นภาพแต่ละเรื่องได้ชัดเจนเช่นเรื่องรถไถเดินตาม ซึ่งสมัยก่อนไม่มีต้องใช้วัวควายไถนาต่อมาเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น คนหันมาใช้รถไถเดินตามหรือความเหล็กแทน ทำให้ผู้ชายหรือพ่อบ้านเสียชีวิตเพราะการกระแทกอย่างรุนแรงของควายเหล็กซึ่งมีกำลังสั่นสะเทือนมากบางคนก็ล้มป่วย นอกจากนั้นวัวควายก็ขายไปซึ่งอาจสูญพันธุ์ในวันใดวันหนึ่ง ปัญหาสึกหรอของควายเหล็กทำให้ชาวบ้านมีหนี้สินรุงรัง ดังนั้นบทความประเภทนี้น่าจะเสนอผลกระทบถึงนโยบายต่าง ๆจะทำให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

6. เสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสังคมหรือสถานการณ์
ที่ทำให้ประชาชนมีอารมณ์ร่วม เช่น ปัญหาเขื่อนปากมูล อุบัติเหตุการจราจร น้ำเน่าเสียในกรุงเทพฯ ปัญหาแม่เมาะที่ลำปางเป็นต้น ประเด็นปัญหาที่แสดงอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนได้นั้นสามารถดึงดูดความสนใจของผู้อื่นได้ดี
7. กำหนดและวางเค้าโครงเรื่อง
 โดยทั่วไปโครงเรื่องควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆคือ การกล่าวถึงสภาพปัญหา สาเหตุและภูมิหลังของปัญหา สิ่งแวดล้อมของปัญหาในสภาพการณ์ต่าง ๆ ข้อเสนอแนะของทางเลือกหรือการแก้ปัญหา ซึ่งควรลำดับก่อนหลังให้ชัดเจน ไม่ควรกล่าวถึงเฉพาะปัญหาแล้วก็บ่น ระบายความทุกข์อย่างเดียวจะทำให้บทความน่าเบื่อ ไม่สร้างสรรควรกำหนดกรอบดังกล่าวข้างต้นให้ชัดเจน
8. ใช้ยุทธศาสตร์ในการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ
เช่นการตั้งชื่อ การขึ้นต้นบทความหรือการย่อหน้าแรก การเสนอเนื้อหาที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงตามลำดับการลงท้ายด้วยการกินใจประทับใจ เป็นต้น
9. การเสนอความคิดเห็น
 นักเขียนบทความที่ประสพผลสำเร็จต้องฝึกการมองในแง่มุมที่แตกต่างจากคนอื่น ฝึกจัดระบบข้อมูลและวิเคราะห์ให้ถ่องแท้แล้วนำเสนอความคิดเห็นอย่างชัดเจนสำหรับนักเขียนใหม่ ๆ ควรยึดหลัก อริยสัจ 4 คือ
       ปัญหาหรือลักษณะปัญหา (ทุกข์)
       สาเหตุของปัญหา (สมุทัย)
       หลักฐานข้อมูลประกอบ (นิโรธ)
       วิธีการแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ (มรรค)

ดังนั้นหากเขียนบทความครอบคุลมประเด็นต่าง ๆ ดังกล่าวจะทำให้บทความนั้นน่าสนใจน่าติดตามและทำให้ผู้อ่านมีภูมิรู้ ภูมิธรรม และภูมิปัญญาได้
การนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ อ่านตามบทความนี้เลยครับ





0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio