ขับเคลื่อนโดย Blogger.

บทเรียนสำหรับนักวิชาการสาธารณสุขไทย

สวัสดีครับ...เพื่อนๆๆนักวิชาการสาธารณสุขทุกท่าน
จำได้ไหมครับ...สมัยที่เรายังเป็น...ว่าที่นักวิชาการสาธารณสุข
วันที่กำลังจบการศึกษา...จำความรู้สึกตอนนั้นได้ไหมครับ

เชื่อว่าเพื่อนๆนักวิชาการสาธารณสุขหลายคน...จำไม่ได้
แต่ผมจำได้ครับ...ผมจะเล่าความรู้สึกสมัยผมเป็น...ว่าที่นักวิชาการสาธารณสุขให้ฟังครับ

จากวันนั้นถึงวันนี้
จากวันที่ผมเป็นว่าที่นักวิชาการสาธารณสุข...จนถึงวันนี้...วันที่ผมได้ชื่อว่า...นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

เหตุการณ์วันที่ผมใกล้สำเร็จการศึกษา...ผมตื่นเต้น...ผมไม่รู้ว่างานที่เจอจะเป็นแบบไหน
ผมจะได้อยู่สถานณีอนามัย....หรือโรงพยาบาล...หรือสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
ผมต้องทำคลอดหรือไม่...ต้องเจ็บผู้ป่วยหนักจะส่งต่อ...หรือรักษา...ถ้ารักษา...รักษายังไง

ผมต้องเตรียมตัวอย่างไร...อ่านหนังสือเริ่มไหน...บอกว่าให้อ่านหมดที่เรียนมา...กูอ่านไม่ไหว

วันนี้ได้ไปเจอบทความ...ชื่อบทความ...ปัญหาสาธารณสุขของจังหวัดระนอง
เป็นบทความที่มีประโยชน์มากครับ...อ่านแล้วเห็นภาพรวม...เนื้อหาไม่มาก
ตัวบทความสามารถบอก..บทบาทหน้าที่...มาตรฐตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขได้พอสมครับ

ผมจึงก๊อบปี้มาให้อ่านครับ...ถ้าอยากดูต้นฉบับก็ไปที่..เวบไซต์สำนักงานสาธารณสุขเขต 7 ครับ ...เชิญรับชมบทความที่ถือว่าเป็นสุดยอดคำภีร์ของนักวิชาการสาธารณสุขได้เลยครับ

ปัญหาสาธารณสุขของจังหวัดระนอง
สถานการณ์ด้านสุขภาพที่เป็นปัญหาของจังหวัดระนอง ยังคงมีทั้งปัญหาด้านโรคติดต่อ เนื่องจากจังหวัดระนองเป็นจังหวัดชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านคือ สหภาพเมียนมาร์ ซึ่งมีประชากรจากประเทศดังกล่าวอพยพเข้ามาประกอบอาชีพในจังหวัดระนองอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดผลกระทบส่วนหนึ่งที่ตามมาก็คือ ปัญหาด้านสุขภาพต่อประชาชนในพื้นที่ด้วยการนำโรคติดต่อเข้ามาแพร่ระบาดสู่คนไทย เช่น โรคอหิวาตกโรค โรคไข้มาลาเรีย โรคเอดส์ ประกอบกับยังคงมีการระบาดของโรคติดต่อบางโรคที่เป็นโรคติดต่อประจำถิ่นของจังหวัดระนอง เช่น โรคไข้เลือดออก หรือโรคที่เป็นผลสืบเนื่องจากโรคอื่นๆ เช่น วัณโรค นอกจากนี้ ปัญหาด้านโรคติดต่อ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง และภัยสุขภาพอื่นๆ เช่น อุบัติเหตุจราจรทางบก หรือปัญหาสุขภาพจิตที่ส่งผลให้เกิดปัญหาการฆ่าตัวตายก็เริ่มมีความสำคัญต่อจังหวัดระนองมากขึ้น ซึ่งผลการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสาธารณสุขของจังหวัดระนอง สามารถสรุปได้ดังนี้

1. โรคไข้มาลาเรีย สถานการณ์ ปี พ.ศ.2551 ตั้งแต่มกราคม 2551 ถึง ตุลาคม 2551 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคมาลาเรีย จำนวนทั้งสิ้น 965 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 6.13 ต่อประชากรพันคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 0.64 อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ 0.11 และมีอัตราป่วยลดลงร้อยละ 22.01 ของค่า Median ย้อนหลัง 5 ปี (ปี2545-2549) กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 35 - 44 ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 15 - 24 ปี,25 - 34 ปี,45 - 54 ปี, 10 - 14 ปี, 55 - 64 ปี, 65 ปี ขึ้นไป, 5 - 9 ปี และ 0 - 4 ปี อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือเกษตร รองลงมาคือ อาชีพนักเรียน, อาชีพรับจ้าง,

2. โรคอหิวาตกโรค สถานการณ์ ตั้งแต่มกราคม 2551 ถึง ตุลาคม 2551ได้รับรายงานผู้ป่วยโรค จำนวนทั้งสิ้น 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2.21 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 55 - 64 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 2 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 35 - 44 ปี,65 ปี ขึ้นไป,45 - 54 ปี,25 - 34 ปี, 15 - 24 ปี, 10 - 14 ปี,5 - 9 ปี และ 0 - 4 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 2,0,0,0,0, 0 และ 0 ราย ตามลำดับ พบผู้ป่วยเพศชายเท่ากับเพศหญิง โดยพบเพศชาย 2 ราย เพศหญิง 2 ราย อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ 1 : 1

สถานการณ์โรคอหิวาตกโรคในชาวต่างชาติ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง ตุลาคม 2551 สสจ.ระนอง ได้รับรายงานผู้ป่วย จำนวนทั้งสิ้น 2 ราย และข้ามแดนมาเพื่อการรักษา จำนวน 3 ราย ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 5-9 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 3 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 25-34 ปี และ 35 - 44 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 1 และ 1 ราย ตามลำดับ (ที่พบในพื้นที่อายุ 5 ปี และ 39 ปี) พบผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยพบเพศหญิง 3 ราย เพศชาย 2 ราย อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ 1.5 : 1 อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือในปกครอง จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 3 ราย รองลงมาคือ อาชีพรับจ้างและประมง จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 1 และ 1 ราย พบผู้ป่วยเดือนกันยายน จำนวนผู้ป่วย เท่ากับ 2 ราย และเดือนตุลาคม จำนวนผู้ป่วย เท่ากับ 3 ราย พบผู้ป่วยเฉพาะอำเภอเมือง จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 2 ราย(ตำบลบางริ้นและปากน้ำ) ส่วนอำเภออื่นๆ ไม่พบผู้ป่วย

3. อุบัติเหตุจราจรทางบก อัตราตายจากอุบัติเหตุจราจร ปี 2551 (มกราคม – กันยายน 2551) เท่ากับ 21.59 ต่อประชากรแสนคน ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 2,703 ราย ได้รับการช่วยเหลือนำส่งโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจำนวน 736 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.23

4. วัณโรค สถานการณ์ จากสถานการณ์วัณโรคในพื้นที่จังหวัดระนอง ปีงบประมาณ 2551 พบผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภท ชาวไทย จำนวน 196 ราย ( TB/HIV+ จำนวน 33 ราย) แยกเป็นผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เสมหะบวก จำนวน 93 ราย ( TB/HIV+ จำนวน 18 ราย) ผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภทชาวต่างด้าว จำนวน 109 ราย ( TB/HIV+ จำนวน 24 ราย) แยกเป็นวัณโรครายใหม่เสมหะบวก จำนวน 74 ราย (TB/HIV + 15 ราย)การประเมินผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ชาวไทย เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 2551 ผู้ป่วยวัณโรค รายใหม่เสมหะบวก (ขึ้นทะเบียน Dots ในปีงบประมาณ 2550) นำมาประเมิน จำนวน 118 ราย ผลการรักษาหายขาด (Cure) จำนวน 92 ราย คิดเป็นร้อยละ 77.97 รักษาครบ (Complete) จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.25 ล้มเหลว (Failure) จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.54 ตายระหว่างการรักษา (Died) จำนวน 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.86 ขาดการรักษา (Default) จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.54 และโอนออก จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.84 สรุปผลอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค (Success Rate) เท่ากับร้อยละ 82.20 การประเมินผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ชาวต่างด้าว เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 2551 ผู้ป่วยวัณโรค รายใหม่เสมหะบวก (ขึ้นทะเบียน Dots ในปีงบประมาณ 2550) นำมาประเมิน จำนวน 64 ราย ผลการรักษาหายขาด (Cure) จำนวน 45 ราย คิดเป็นร้อยละ 70.31 รักษาครบ (Complete) จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.12 ล้มเหลว (Failure) จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.81 ตายระหว่างการรักษา (Died) จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.50 ขาดการรักษา (Default) จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.50 และโอนออก จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.68 สรุปผลอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค (Success Rate) เท่ากับร้อยละ 73.44

5. โรคไข้เลือดออก สถานการณ์ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 ถึงตุลาคม 2551 พบผู้ป่วย จำนวนทั้งสิ้น 92 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 50.93 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต และมีอัตราป่วยลดลงร้อยละ 39.87 ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ.2545-2549) พบมากในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม โดยมีแนวโน้มที่ลดลงในช่วงปลายปี กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 - 14 ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 15 - 24 ปี ซึ่งเป็นเด็กกลุ่มวัยเรียน อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคืออำเภอ เมือง อัตราป่วยเท่ากับ 77.39 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ อำเภอกะเปอร์, อำเภอกระบุรี, อำเภอละอุ่น, อำเภอสุขสำราญอัตราป่วยเท่ากับ 41.01 , 26.62 , 7.80 , 0 ตามลำดับ

6. โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมสถานการณ์ โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรีไทย ซึ่งทั้ง 2 โรค สามารถรักษาให้หายได้ถ้าได้รับการตรวจวินิจฉัยในเบื้องต้นได้เร็ว และพบว่าถ้าสามารถให้การตรวจค้นครอบคลุมประชากรได้มากเท่าไร จะช่วยลดอัตราตายได้มากขึ้น สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมของจังหวัดระนอง ตั้งแต่ปี 2548 – 2550 พบว่า อัตราตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก เป็น2.82, 3.35 และ 1.66 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ ส่วนอัตราตายด้วยโรคมะเร็งเต้านม เป็น 3.39,4.47 และ 2.77 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับผลการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ 2551 เป้าหมายการดำเนินงานของโรคมะเร็งปากมดลูก คือ ร้อยละ 60 ของสตรีตามกลุ่มอายุ 35,40,45,50,55 และ 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Pap Smear จากการที่สถานบริการทุกแห่งให้ความสำคัญ มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ โดยการส่งไปรษณียบัตร ไปถึงสตรีกลุ่มเป้าหมาย และออกหน่วยให้บริการเชิงรุกในพื้นที่มากขึ้น ทำให้การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Pap Smear ของจังหวัดระนอง ได้ผลงาน ร้อยละ 72.24 ( เป้าหมาย 4,482 คนผลงาน 3,238 คน) ซึ่งเกินเป้าหมายที่วางไว้ และจากการคัดกรอง พบเซลล์ที่ผิดปกติ ร้อยละ 5.16 (167 คนจาก 3,238 คน) ซึ่งได้แนะนำส่งต่อในรายที่ผิดปกติครอบคลุม ร้อยละ 100 ส่วนเป้าหมายการดำเนินงานของมะเร็งเต้านม คือ ร้อยละ 75 ของสตรีอายุ 35 ปีขึ้นไป ผ่านการประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ ในปีงบประมาณ 2551 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง ได้จัดซื้อหุ่นเต้านม ให้สถานบริการครอบคลุมทุกแห่ง เพื่อเป็นสื่อในการอบรมให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย ผลการดำเนินงาน สตรีอายุ 35 ปีขึ้นไปผ่านการประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 90.79 (เป้าหมาย 27,817 คน ผลงาน 25,257 คน)

7. โรคเอดส์สถานการณ์ ข้อมูลปีงบประมาณ 2551 ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 อัตราการถ่ายทอดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูกคิดเป็นร้อยละ 0.4 หญิงคลอดที่ติดเชื้อ HIV ได้รับการรับต้านไวรัสคิดเป็นร้อยละ 100 และเด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี ได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีอายุ 18-24 เดือน คิดเป็นร้อยละ 91.30 ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ และผู้ป่วยเอดส์ที่มีข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ สิทธิ์หลักประกันสุขภาพมารับบริการที่โรงพยาบาล จำนวน 591ราย ได้รับยาต้านไวรัส จำนวน 591 ราย คิดเป็นร้อยละ 100

8. การฆ่าตัวตาย สถานการณ์: ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2550 – 30 กันยายน 2551 มีผู้เสียชีวิตจากการทำร้ายตนเอง 19 ราย คิดเป็นอัตรา 10.52 ต่อประชากรแสนคน และมีผู้พยายามฆ่าตัวตายจำนวน 75 ราย คิดเป็นอัตรา 41.52 ต่อประชากรแสนคน ผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จเมื่อพิจารณาตามพื้นที่ พบว่า 3 อำเภอ ที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อน คือ อำเภอเมือง 9 ราย อัตรา 9.81 ต่อประชากรแสนคน อำเภอกระบุรี 6 ราย อัตรา13.31 ต่อประชากรแสนคน อำเภอละอุ่น 2 ราย อัตรา 15.60 ต่อประชากรแสนคน และ มี 1 อำเภอที่มีการฆ่าตัวตายสำเร็จลดลง คือ อำเภอกะเปอร์ 2 ราย อัตรา 10.25 ต่อประชากรแสนคน สำหรับอำเภอสุขสำราญไม่มีการฆ่าตัวตายสำเร็จ ผู้พยายามทำร้ายตนเอง พิจารณาตามพื้นที่พบว่า อำเภอละอุ่น 62.40 ต่อประชากรแสนคน อำเภอกระบุรี 44.37 ต่อประชากรแสนคน อำเภอเมือง 42.51 ต่อประชากรแสนคน อำเภอกะเปอร์ 35.88 ต่อประชากรแสนคน อำเภอสุขสำราญ 8.69 ต่อประชากรแสนคน

9. โรคหัวใจและหลอดเลือดสถานการณ์ ปี 2550 เมื่อเทียบกับปี 2549 พบว่าอัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวานมีแนวโน้มลดลง ส่วนโรคความดันโลหิตสูง อัตราตายเพิ่มขึ้น อัตราป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน เพิ่มขึ้น ปัจจัยเสี่ยงที่พบ ภาวะน้ำหนักเกิน ไขมันในเลือดสูง และสูบบุหรี่ นิยมอาหารรสเข้มข้น รสจัด เติมน้ำปลา/ซีอิ้วผลการดำเนินงาน ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองในเบาหวาน ร้อยละ 84.6 ความดันโลหิตร้อยละ 86.2 จากการประเมินผลระดับความสำเร็จในการป้องกันและควบคุมโรคหลอดเลือดสมอง ได้ร้อยละ 86 (เกณฑ์ ร้อยละ 80 ขึ้นไป) มีการอบรมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานฯ ทุกสถานบริการ สนับสนุนวิทยากรแก่หน่วยงานอื่นๆ อาทิ ตำรวจน้ำ ให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน ร่วมในโครงการเมืองน่าอยู่ ทุกอำเภอ และบูรณาการการคัดกรองเบาหวานในเด็กร่วมกับงานอนามัยโรงเรียน ผลิตสื่อสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ สำหรับสถานบริการทุกแห่ง และเผยแพร่ในชุมชน สนับสนุนแบบคัดกรองเบาหวาน อัมพฤกษ์-อัมพาต แบบสำรวจการบริโภคเกลือ

1 ความคิดเห็น:

GUSTUSO กล่าวว่า...

เป็นไงครับ...มีปะรโยชน์ไหมครับ

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio