ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จัดการอารมณ์ของนักวิชาการสาธารณสุข


วุฒิภาวะทางอารมณ์เป็นคุณสมบัติสำคัญของชีวิต ซึ่งจะทำให้เราได้อยู่ในสังคมอย่างเป็นปกติสุข
และยังเป็นปัจจัยสำคัญในการทำงานเป็นทีมซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จของชีวิต

ความสมารถในการควบคุมอารมณ์ นอกจากจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เราประสบความสำเร็จในชีวิตแล้ว
ความสามารถนี้ ยังช่วยให้เราไม่เป็นโรคซึมเศร้า หรือจมอยู่กับความวิตกกังวลอยู่นาน

คนที่ควบคุมอารมณ์ได้ดี ก็มักจะยิ้ม หัวเราะ  และชอบช่วยเหลือคนอื่น
คนที่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ก็จะเครียด หงุดหงิด ขี้โมโห

การเป็นนักวิชาการสาธารณสุขที่ประสบความสำเร็จ จึงต้องฝึกควบคุมอารมณ์
การฝึกควบคุมหรือจัดการอารมณ์สามารถทำดังนี้ครับ
1.ฝึกคิดทบทวน
·         นึกคิดทบทวนเหตุการณ์ที่ผ่านมาทั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
·         หายใจเข้าลึกๆ ผ่อนลมหายใจออก แล้วยิ้มให้กับตัวเอง
2.ฝึกคิดอย่างมีสติ
·       ฝึกคิดว่าขณะนี้อารมณ์อะไร คิดอะไรอยู่
·       สิ่งที่คิดแล้วกำลังจะทำ จะพูด ดีต่อตนเองหรือไม่ ทำให้ตัวเรามีความสุขหรือไม่

การฝึกก็คล้ายๆกับการฝึกทำสมาธิหรือฝึกสติ ตามแบบพุทธศาสนา ดูเหมือนง่ายแต่ทำยาก
และถึงแม้จะทำได้ยาก ก็ไม่ใช่จะทำไม่ได้
ขอเพียงฝึกบ่อยๆ ขยันก็ฝึก ขี้เกียจก็ฝึก

หากเราสามารถฝึกให้ตนเองจัดการอารมณ์ได้ดีแล้ว นอกจากจะเป็นการส่งเสริมให้เป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ทั้งเรื่องงานและเรื่องความสัมพันธ์แล้ว ยังเป็นการช่วยชาติลดความรุนแรงและลดจำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าด้วยครับ

สร้างสุขแบบนักวิชาการสาธารณสุข


ช่วงหลังๆ(อายุมากขึ้น) ผมมีคำถามที่จะถามตัวเองเสมอๆแต่ไม่ได้ทุกวันว่า ผมจะมีความสุขได้อย่างไร?

ผมจึงเริ่มค้นหานิยามคำว่า "ความสุข" ทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งพอจะสรุปข้อมูลได้ดังนี้ครับ

ความสุข หรือ สุข พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "น. ความสบายกายสบายใจ.คือความรู้สึกหรืออารมณ์ประเภทหนึ่ง มีหลายระดับตั้งแต่ความสบายใจเล็กน้อยหรือความพอใจจนถึงความเพลิดเพลินหรือเต็มไปด้วยความสนุก มีการใช้แนวความคิดทางปรัชญา ศาสนา จิตวิทยา ชีววิทยาอธิบายความหมายของความสุข รวมถึงสิ่งที่ทำให้เกิดความสุข

ผมสรุปว่า ความสุข คือ ความพึงพอใจ ความสบายใจ สบายกาย 

สุขเพราะ...ความพึงพอใจในชีวิต...ช่วยเหลือสังคม
สุขเพราะ...ความสบายใจ...เข้าใจตัวเอง...รู้จักผ่อนคลาย....เจอปัญหาไม่กลัวเกรง
สุขเพราะ...สบายกาย...ไม่เจ็บ..ไม่ปวด..เดินเหินคล่องแคล่ว

แล้วจะสร้างสุขอย่างไร?

สุขจากความพึงพอใจ...ทำทาน....ใส่บาตร....บริจาคเงิน
สุขเพราะสบายใจ...สวดมนต์...เล่นดนตรี...นั่งสมาธิ
สุขเพราะสบายกาย...ออกกำลังกาย...ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ...ไม่ทำงานหนัก(เกินไป)

สุขในแต่ละอย่างเราสามารถสร้างเองได้ทุกวัน ง้าย ง่าย
แล้วถ้าถามผมว่าอาชีพไหนที่ทำแล้วมีความสุขที่สุด คงหนีไม่พ้น นักวิชาการสาธารณสุข

ความทรงจำเกี่ยวกับพิษสุนัขบ้า


            ช่วงนี้ได้ข่าวว่าโรคพิษสุนัขบ้ากำลังระบาด กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศพื้นที่สีแดงหลายจังหวัด และ หนึ่งในนั้นคือจังหวัดสมุทรปราการ  
            หลายคนพอได้ยินว่าโรคพิษสุนัขบ้า คงนึกถึงภาพสุนัขหางตก น้ำลายไหลและวิ่งไล่กัดคนไปทั่ว 
มันกัดแบบไร้เหตุไร้ผล ดังนั้น เราต้องอยู่ห่างๆสุนัขที่น้ำลายไหลและหางตก เพราะกลัวโดนกัด
            อันที่จริงโรคพิษสุนัขบ้า อันตรายมากกว่าการเจ็บปวดจากแผลที่โดนกัด เพราะมันสามารถติดต่อจากสุนัขไปสู่คนได้  และที่สำคัญคือใครเป็นโรคนี้แล้วแสดงอาการจะตายแน่นอน ไม่มีทางรักษา (ภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากมีอาการ...ถ้าจำไม่ผิด)
            อีกชื่อหนึ่งของโรคพิษสุนัขบ้า คือ โรคกลัวน้ำ สาเหตุที่เรียกว่าโรคกลัวน้ำเพราะ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเกร็งดื่มน้ำไม่ได้
            โรคพิษสุนัขบ้า หรือ โรคกลัวน้ำ มีวิธีการป้องกัน คือ การนำสุนัขไปฉีดวัคซีน(ถึงแม้ว่าเราจะเลี้ยงในพื้นที่ปิด)
            สำหรับคนที่โดนสัตว์ที่เป็นโรคนี้กัดหรือข่วน(สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด) ต้องรีบล้างแผลและไปโรงพยาบาลเพื่อรับวัคซีนป้องกันก่อนที่จะมีการติดเชื้อ (ภายใน 24 ชั่วโมง คล้ายกินยาคุมฉุกเฉินเลยนะ)
            การรับวัคซีนจะรับทั้งหมด 5 ครั้ง คือ วันที่ 0 3 7 14 และ 30 ฉีดที่กล้ามเนื้อหัวไหล่ ฉีดแล้วห้ามคลึง และมันจะเป็นกระเปาะ ไม่ต้องตกใจ มันเป็นเรื่องปกติ
            ว่ากันว่าสมัยก่อนการฉีดวัคซีนป้องกันสุนัขบ้า ต้องฉีดรอบสะดือ 12 เข็ม ซึ่งฟังดูน่ากลัวมากๆๆ

            สำหรับการป้องกันการระบาด คือ ผู้ที่เลี้ยงหมา แมว ต้องรับผิดชอบพาสัตว์ไปฉีดวัคซีน และต้องใส่ใจมากๆ เพราะถ้าสัตว์เลี้ยงท่านเป็นโรคนี้แล้ว ผู้ที่เคยสัมผัสหรือใกล้ชิด ต้องมาฉีดยา เพื่อป้องกันโรคทุกคน
ปล.ไม่สามารถใช้อ้างอิงใดๆได้ เป็นเพียงการฝึกเขียนบทความ

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio