ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงรักษาอาการหวัดได้หรือไม่

ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงรักษาอาการหวัดได้หรือไม่


 เมื่อ 2 - 3 ก่อน ขณะที่ผมท่องเที่ยวในโลกไซเบอร์ ผมได้พบกับคำถามที่น่าสนใจมาก
คำถามนั้นคือ ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง รักษาอาการหวัดได้หรือไม่
ซึ่งโดยส่วนตัวผมเองเมื่อมีอาการน้ำมูกไหล ผมก็พึ่งยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง  มาโดยตลอด

วันนี้พอมีเวลาจึงได้ค้นหาคำตอบให้ผมเอง เพราะผมไม่ชอบยาแก้หวัดกลุ่มที่ทำให้ง่วง
เพราะว่า แม้ไม่รับประทานยา ผมก็แทบจะหลับใน ขณะปฎิบัติงานอยู่เป็นประจำอยู่แล้วครับ

ข้อมูลที่ผมค้นหา ก็เริ่มตั้งแต่อาการ สาเหตุ การรักษาของไข้หวัด ซึ่งพอจะสรุปได้สั้นๆดังนี้ครับ

สาเหตุและอาการของไข้หวัด


ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อไวรัสที่ทางเดินหายใจส่วนบนเรียก
เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งเมื่อเชื้อเข้าสู่จมูก และคอ จะทำให้เยื่อบุจมูกบวมแดง
และมีการหลั่งสารหลั่งที่เป็นเมือกออกมา
 แม้ว่าโรคจะหายเองใน 1 สัปดาห์ แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุด
 โดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้หวัดปีละ 6-12 ครั้งต่อปี  ผู้ใหญ่อาจจะเป็น 2-4 ครั้งต่อปี
ผู้หญิงจะเป็นบ่อยเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็กมากกว่า และคนสูงอายุจะเป็นปีละครั้ง

ผู้ใหญ่จะมีอาการจาม น้ำมูกไหลมาก่อน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะเล็กน้อย แต่มักจะไม่ค่อยมีไข้
 เชื้อจะออกจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย 2-3 ชั่วโมง และหมดภายใน 2 สัปดาห์
บางรายมีอาการปวดหู เยื่อแก้หูมีเลือดคั่ง บางรายมีเยื่อบุตาอักเสบ เจ็บคอกลืนลำบาก
โรคมักเป็นไม่เกิน 2-5 วัน แต่อาจจะมีน้ำมูกไหลนานถึง 2 สัปดาห์
ในเด็กอาจจะรุนแรง และมักจะกลายเป็นหลอดลมอักเสบ และปอดบวม

ยาที่ใช้รักษาไข้หวัด


โดยทั่วไปยาที่ใช้เมื่อเป็นหวัดจะเป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาตามอาการ เนื่องจากไม่มีการใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสก่อโรคโดยตรง
 ดังนั้นจึงควรพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย  ยาที่นิยมใช้ทั่วไปเมื่อเป็นหวัดมีดังนี้

1. ยาลดไข้ paracetamol

 สำหรับผู้ใหญ่ รับประทานยาขนาด 500 mg ต่อเม็ด จำนวน 1-2 เม็ด สามารถรับประทานซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ใช้ไม่เกิน 8 เม็ดต่อวัน
 และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน

2. ยาลดน้ำมูกแก้คัดจมูก  ซึ่งสามารถแยกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 

   2.1 ยาแก้คัดจมูก ออกฤทธิ์โดยการหดหลอดเลือด ทำให้อาการคัดจมูกลดลง สำหรับรับประทาน ได้แก่ phenylephrine, pseudoephedrine (pseudoephedrine แพทย์สั่งเท่านั้น)
สาเหตุและอาการของภูมิแพ้
  2.2 ยาลดน้ำมูก ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งผลของฮีสตามีน (histamine) ซึ่งมีผลทำให้การหลั่งน้ำมูกลดลง แต่จะได้ผลน้อยกับอาการคัดจมูก สามารถแบ่งย่อย เป็น 2 กลุ่มคือ
        1) ยาลดน้ำมูกกลุ่มที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม ได้แก่ chlorpheniramine, brompheniramine, hydroxyzine, cyproheptadine เป็นต้น ยากลุ่มนี้จะลดปริมาณสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจ
ยาในกลุ่มนี้สามารถคุมอาการได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับยาในกลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงซึม
        2) ยาลดน้ำมูกกลุ่มที่ไม่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม ได้แก่ cetirizine, loratadine, desloratadine, fexofenadine เป็นต้น ซึ่งข้อดีของยาในกลุ่มนี้ก็คือ ไม่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม

3.ยาบรรเทาอาการไอ 

   ซึ่งอาจเป็นยาแก้ไอแบบมีเสมหะหรือไม่มีเสมหะ แล้วแต่อาการ แต่ที่นิยมจะเป็นยาแก้ไอแผนไทย จำพวก ยาแก้ไอมะขามป้อม หรือ ยาอมมะแว้ง

   จากข้อมู]ไข้หวัดดังกล่าวจึงพอจะสรุปได้ว่า การรักษาอาการไข้หวัด เป็นการรักษาตามอาการ ซึ่งหากผู้ป่วยมีน้ำมูกไหลแต่ไม่คัดจมูกมากก็สามารถเลือกใช้ยาในกลุ่มแก้แพ้แบบไม่ง่วงได้เช่นกัน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio