ตัวอย่างการพัฒนาระบบสุขภาพและเครือข่ายบริการปฐมภูมิระดับอำเภอ
(บทสรุปจากการเยี่ยมโรงพยาบาลชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนพ.สุรเกียรติ อาชานุภาพ
และนพ.ยงยุทธ พงษ์สุภาพ)
ท่ามกลางภาวะขาดแคลนแพทย์
พยาบาลและบุคลาการสาธารณสุข
ผู้บริหารของระบบบริการสาธารณสุขระดับอำเภอได้นำพาทีมงานพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่อง
ริเริ่มโครงการใหม่ๆ (นวัตกรรม) ขยายกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงบริการและอยู่อย่างไร้ศักดิ์ศรีในชุมชน)
สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายบริการสาธารณสุข (ระหว่างโรงพยาบาลกับสถานีอนามัย/ศูนย์สุขภาพชุมชน)
มีการทำงานประสานกับเครือข่ายชุมชน (อสม. อปท. ผู้นำชุมชน) เพื่อสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านสุขภาพของประชาชน
ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่ทำงานในสถานบริการปฐมภูมิ
เพื่อให้สามารถเป็นที่พึ่ง ”ใกล้บ้าน -ใกล้ใจ” ของประชาชนและผู้ป่วยในชุมชนได้
ในที่นี้ขอนำเสนอตัวอย่างการพัฒนาระบบสุขภาพและเครือข่ายบริการปฐมภูมิระดับอำเภอที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
1.
การจัดตั้งคณะทำงานพัฒนาเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนโรงพยาบาลชุมชน
สาธารณสุขอำเภอ สถานีอนามัย/ศูนย์สุขภาพชุมชน ทำหน้าที่วางแผน
และดำเนินการพัฒนาบริการและศักยภาพบุคลากร โดยเน้นความสัมพันธ์แบบแนวราบ
และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่
2. การจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
(home
care centre/HCC)
ในโรงพยาบาลชุมชนมีการกำหนดเกณฑ์เพื่อเลือกผู้ป่วยที่จะไปดูแลและให้บริการที่บ้าน
ทั้งจากผู้ป่วยนอก (Out-patient) และผู้ป่วยใน (In-patient) ดำเนินการเยี่ยมบ้านบนพื้นฐาน ความร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพจากโรงพยาบาล
(เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ นักกายภาพบำบัด
นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์) และเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย/ศูนย์สุขภาพชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ผู้พิการและผู้ป่วยจิตเวชที่มีปัญหายุ่งยากหรือเข้าไม่ถึงบริการ บางโรงพยาบาลมีการถ่ายวิดีโอทุกครั้งที่ไปเยี่ยมบ้านเพื่อดูความก้าวหน้าของผู้ป่วยและนำปัญหาไปปรึกษากับทีมงาน
โดยมีแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวเป็นหัวหน้าทีม (การเยี่ยมบ้านไม่จำเป็นต้องออกไปทั้งทีมสหวิชาชีพ
แต่อาจมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบหลักเป็นผู้เยี่ยม
แล้วนำข้อมูล/ปัญหากลับมาพูดคุยปรึกษา/เรียนรู้ร่วมกันในทีม)
3.
การพัฒนาสถานบริการปฐมภูมิ
มีการให้บริการสุขภาพในรูปแบบของเวชศาสตร์ครอบครัว
โดยพัฒนาให้มีคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวในโรงพยาบาลโดยแยกสถานที่ให้บริการออกจากห้องตรวจผู้ป่วยนอกทั่วไป
หรืออาจจะพัฒนาโดยการยกระดับสถานีอนามัยให้มีรูปแบบการให้บริการแบบเวชศาสตร์ครอบครัว
4.
โครงการส่งผู้ป่วยเบาหวานกลับไปรักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
5.
โครงการฟื้นฟูผู้พิการในชุมชน
มีการจ้างนักกายภาพบำบัดเพื่อให้บริการและดูแลผู้พิการ
ส่งนักภาพบำบัดไปให้บริการในชุมชน, เปิดบริการงานฟื้นฟูในโรงพยาบาล
เป็นต้น
6.
โครงการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน
ตัวอย่าง “โครงการปลดโซ่ตรวน”
ของอำเภอราษีไศลเป็นโครงการที่มีการส่งทีมงานออกไปให้การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน
ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาต่อเนื่องจนสามารถปลดโซ่ที่ล่ามไว้ได้ (จากเดิมเข้าไม่ถึงบริการจนมีอาการกำเริบอย่างเรื้อรังจนต้องล่ามโซ่ไว้ไม่ให้อาละวาด)
บางรายสามารถกลับมาช่วยเหลือตัวเอง ประกอบอาชีพได้ เป็นการช่วยคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับผู้ป่วยจิตเวช
นอกจากนี้บางแห่งยังมีการจัดคลินิกโดยมีแพทย์ของโรงพยาบาล และจิตแพทย์มาให้คำปรึกษาและให้บริการที่โรงพยาบาลชุมชน
7.
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน
โดยการระดมทรัพยากร ระดมความเห็น
และตัดสินใจร่วมกับชุมชน เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มีการสร้างความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบล
(อบต.), อปท. และอสม.
8.
การให้ประชาชนทั่วไป, ผู้พิการ
และผู้ป่วยจิตเวชเข้ามามีส่วนร่วมบริการในสถานบริการในลักษณะจิตอาสา
9.
การพัฒนาชุมชน
ตัวอย่างกิจกรรมพัฒนาชุมชน ได้แก่
การรวบรวมบุคคลต้นแบบเพื่อเป็นตัวอย่างใน ชุมชน,
มีการให้ความรู้และสุขศึกษาในประเด็นด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยของผู้ตายในงานศพ,
การรณรงค์ให้งดเหล้า งดน้ำหวานในงานพิธีต่างๆ,
การทำห้องสมุดเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมการอ่านให้กับประชาชน
หรือการทำโครงการจัดหาหนังสือให้มารดานำไปอ่านให้ลูกฟังตั้งแต่อายุ 6
ขวบของรพ.ด่านซ้าย (โครงการ “Book start”)
10.
การช่วยเหลือกันเองภายในชุมชน
โรงพยาบาลช่วยประสานงานกับเครือข่ายในชุมชน
เช่น อสม., อบต. เพื่อให้มีการบริจาค
หรือมีกิจกรรมต่างๆช่วยเหลือผู้ป่วยที่ทุกข์ยากในชุมชน เช่น ผู้พิการ
เด็กถูกทอดทิ้ง
11. การเชื่อมกับเครือข่ายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อร่วมให้บริการที่โรงพยาบาลชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น