ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Callingของนักวิชาการสาธารณสุข

ผมเชื่อว่านักวิชาการสาธารณสุขร้อยละ 90 รู้สึกเบื่องาน  เซ็งกับงานต่างๆๆไม่ว่าจะงานประกันสุขภาพ  งานป้องกัน งานรักษา หรือการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง  อีกทั้งต้องดูแลในเรื่องของโภชนาการเด็ก  ดูแลเรื่องการในเด็กได้ดื่มนมแม่  แถมพ่วงด้วยการบำบัดผู้ติดสารเสพติด  ต้องคิดโครงการ ต้องหารแนวทางเผื่อให้เป็นหมู่บ้านปลอดเหล้า  งานต่างๆล้สนถาโถมเข้ามาให้นักวิชการสาธารณสุขต้องเร่งรีบจัดการ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จตามเป้าประสงค์ผู้เป็นนาย

ด้วยเหตุผลดังกล่าวก่อให้เกิดความท้อแท้เหนื่อยทั้งกาย เหนื่อทั้งใจ นักวิชาการสาธารณสุขบางคนก็มองหาช่องทางอื่นๆเผื่อที่จะแสวงหาสิ่งที่ดีกว่า แสวงหาหาทางที่คือว่าจะก่อเกิดความพึงพอใจกับตนเอง  บางคนก็ไปเรียนต่อแพทย์ที่่มหาวิทยาลัยนเรศวร  บางคนก็ไปเรียนต่อเภสัชกรรมที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ผมเองก็อยากไปเรียนต่อแพทย์เพื่อชนบทแต่สอบไม่ติดสักทีครับ

แพทย์newtract เป็นความฝันของผมเมื่อ5ปีก่อน และปัจจุบันก็ยังเป็นความฝันอยู่เหมือนเดิม แฮะๆๆ
ในปีนี้ผมเองก็คอดว่าจะไปสอบอีกเช่นเคย  และผมได้นำเรื่องนี้ไปคุยกับพ่อผม ด้วยว่าจะขอเงินค่าสมัครและค่าเดินทาง 

พ่อผมจึงได้เอ่ยถามถึงเหตุผลที่ผมจะไปสอบ เพราะเห็นไปสอบหลายปีละ แต่ยังสอบไม่ได้แถมไม่เห็นอ่านหนังสืออีกต่างหาก  พ่อผมจึงถามว่า "ตกลงมึงไปสอบหรือไปแดกเหล้ากับเพื่อนว่ะ"(จริงๆแล้วพ่อแค่ถามว่าไปสอบหรือไปเที่ยว) 

ผมเลยบอกพ่อผมว่า ผมเบื่องานที่ทำอยู่ครับ  ผมเบื่อที่ต้องคอยไปตั้งโปรเจคเตอร์  เบื่อที่ต้องเดินเวียนหนังสือ เบื่อที่ต้องไปเซ็นรับของ  เบื่อที่ต้องไปซ่อมคอมพิวเตอร์ตอนดึกๆๆ เบื่อที่ต้องไปคอยตอบคำถามอาจารย์เวลาที่เขามาประเมินโรงพยาบาล เบื่อที่ต้องทำสรูปผลงานประจำปี  เบื่อที่ต้องทำนำเสนอ เบื่อที่ต้องคอยตามข้อมูล

พ่อผมบอกว่ามึงเบื่อเยอะขนาดนั้นทำไมไม่ลาออกว่ะ 

ใช่ ผมอยากลาออกแต่ผมมีภาะมากมายเลย ผมต้องส่งน้องๆเรียนหนังสือ ค่าเทอม ค่าห้องพัก นานาจิปาถะ  ผมจึงลาออกไม่ได้ ผมไม่พร้อมที่เสี่ยงไปทำธุรกิจของตัวเอง

พ่อผมจึงเอาหนังสือ "ความสุขที่แท้จริงให้ผมอ่าน"  พร้อมเล่าเนื้อหาคร่าวๆให้ผมฟัง (แกรู้ว่าผมจะไม่อ่าน)

หนังสือเรื่อง "ความสุขที่แท้จริง" เขียนโดย Dr.Martin Seligman เป็นเรื่องเกี่ยวกับความพึงพอใจของบุคคลกับงานของตัวเอง  โดยยกงานวิจัยของ Amy  Wrzesniewski ที่ทำขึ้นในปี 1997 ซึ่งพบว่า
1ใน3 ของคนมองงานตัวเองว่าเป็นJob   คือทำเพื่อแลกกับเงิน ทำเพื่อประทังชีวิต
อีก1ใน3 ถัดไปมองว่าเป็น Career คือมีแรงจูงใจหลักอยู่ที่การไต่เต้าก้าวหน้าในองกรณ์
อีก1ใน3 สุดท้าย มองว่าเป็น Calling คือว่าหากไม่เดือดร้อนแล้ว สิ่งที่ทำแม้จะไม่ได้เงินเขาก็เต็มใจทำเพราะมันมีความหมายกับชีวิตของเขา

ยกตัวอย่างในเห็นชัดๆๆ

นักวิชาการสาธารณสุข ชื่อ ก ทำงานที่ รพ.สต แห่งหนึ่ง  ทำงานเพื่อหาเงินแต่งงาน หาเงินเลี้ยงครอบครัว ถ้าเขามีเงินมากพอเขาจะไม่เป้นนักวิชาการสาธารณสุข แต่จะไปทำงานอื่น เวลาทำงานเขาจะภาวนาให้เวลาผ่านไปเร็วๆ เขาจะรอคอยวันหยุดสุดสัปดาห์

นักวิชาการสาธารณสุข ชื่อ ข ทำงานที่ รพ.สต เดียวกัน  สนุกกับงานที่ทำ แต่ไม่ต้องการจะทำงานเดิมเกิน 5 ปี เขาต้องการตำแหน่งที่คอดว่าดีกว่านักวิชาการสาธารณสุข  เพราะในบางเวลางานในหน้าที่นักวิชาการสาธารณสุขก็น่าเบื่อ เขาจึงหาหาทางเพื่อที่จะไปเรียนต่อแพทย์ 


นักวิชาการสาธารณสุข ชื่อ ค ทำงานที่ รพ.สต เดียวกัน  เขาภาคภูมิใจในตำแหน่งหน้าที่ของเขา มันเป็นตัวตนของเขา เขาจะบอกคนอื่นเวลาแนะนำตัวว่าเขาทำงานอะไรอยู่ด้วยความภาคภูมิใจ  และเขามักจะหอบงานมาทำที่บ้านด้วยความติดพัน เขารักสิ่งที่เขาทำ เขาจึงสนับสนุนให้น้องๆเขาทำเหมือนเขา

พ่อผมจบด้วยประโยคที่ว่า  "ไปค้นหาความหมายหรือCalling จากงานของมึงเดียวนี้"



3 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผ่านมาหลายปีแล้วตอนนี้หาความหมายของคำว่าcalling จากงานได้หรือยังคะ?? ^^.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ช่วงนี้เหนื่อยใจกับการวิ่งไล่ตัวชี้วัดเอย นโยบายเอย ไม่มีแรงจูงใจเลย ไม่เป็นตัวของตัวเอง ห่างไกลประชาชน อยากขอคำชี้แนะให้มีความสุขกับงานสาธารณสุขค่ะ ^^.

GUSTUSO กล่าวว่า...

หายังไม่ได้..แต่ใกล้ละครับ

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio