ขับเคลื่อนโดย Blogger.

นักตั้งเป้าหมายกับนักวิชาการสาธารณสุข

 วันนี้ผมไปเจอบทความเกี่ยวกับการเป็นนักตั้งเป้าหมาย การพัฒนาตนเองมาครับ ผมว่าเป็นบทความที่ดีมากๆ ผมจึงนำมาฝากให้กับนักวิชาการสาธารณสุขทุกๆท่านครับ  บทความที่ผมนำมาเสนอ เป็นบทความเกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือการเล่นกีต้าร์ ผมเห็นว่าสามารถนำมาเป็น case study ได้ดีมาก เราสามารถนำมาปรับให้เข้ากับเป้าหมายเราได้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทักษะการฟัง การเล่าเรื่อง หรือทักษะการเขียนโครงการ บทความที่ผมอ่านมีชื่อว่าPower Practicing Maximum Progress Minimum Time
 

"แน่นอนว่า ไม่มีใครเก่งทุกอย่างมาตั้งแต่เกิด และไม่มีทางที่คุณจะเป็นสุดยอดนักกีตาร์ในเวลาเพียงข้ามคืนได้เลย การที่จะเล่นกีตาร์ให้เก่งได้นั้นย่อมต้องอาศัยการฝึกฝนและศึกษาเพิ่มเติมไปเรื่อย ๆ   อย่างน้อยในขั้นแรกคุณก็ควรที่จะมีจุดมุ่งหมายในการเล่นกีตาร์ของคุณก่อน ว่าคุณมีจุดหมายอย่างไร
            กำหนดจุดมุ่งหมายของคุณ คุณต้องถามใจตนเอง ถามตัวเองว่าเป้าหมายของคุณนั้น คุณสามารถไปถึงได้ไหม แล้วคุณยินดีที่จะดำเนินไปตามแนวทางนั้นนานพอที่จะถึงเป้าหมายหรือไม่ ตัวอย่างการตั้งเป้าหมายเช่น
                1. เพื่อเป็นนักกีตารืที่ดีที่สุดในระบบสุริยะนี้หรือสุริยะอื่นใด
                2. เพื่อเริ่มเล่นในวงที่มีนักดนตรีที่มีความสนใจคล้ายกัน
            เป้าหมายที่ 1 นั้นอาจจะกินเวลายาวนานอาจใช้เวลาชั่วชีวิตกว่าจะสำเร็จ และอาจจะไปไม่ถึงเลยก็ได้ (แต่คุณก็อาจจะสนุกที่ได้พยายามก็ได้) เป้าหมายที่ 2 อยู่ในช่วงเวลาสั้น ๆ เพราะมันคงไม่นานหรอกที่จะทำสำเร็จ ด้วยการตั้งเป้าหมายระยะสั้นไว้หลาย ๆ เป้าหมาย คุณสามารถสร้างความพอใจให้ตัวเองได้ในแต่ละครั้งที่คุณไปถึงเป้าหมายหนึ่ง ๆ จากนั้นคุณก็สามารถตั้งเป้าหมายต่อไปอีกระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หัวใจสำคัญอยู่ที่เป้าหมายระยะสั้นต่าง ๆ ของคุณควรจะสีมพันธ์กับเป้าหมายระยะยาวของคุณ ตัวอย่างเช่น จะซ้อมกับวงบลูส์(เป้าหมายที่ 2)ไปทำไมในเมื่อคุณอยากจะเป็นนักกีตาร์คลาสสิกฝีมือดี(เป้าหมายที่ 1)
            ทำอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมาย รับคำแนะนำจากนักดนตรีที่จะสอนคุณได้เกี่ยวกับว่าจะฝึกอะไรและอย่างไร เขียนรายการของสิ่งที่จะฝึกประจำวันและวัตถุดิบเช่น หนังสือสอนต่าง ๆ โน๊ตเพลงต่าง ๆ และอื่น ๆ คุณจะได้จัดตารางเวลาของคุณได้ ปรับปรุงวัตถุดิบนั้นใหม่เพื่อจะได้ปรับปรุงดนตรีบนโลกใบนี้ จัดระบบมันเพื่อจะได้ถ่ายทอดให้คนอื่นได้ (การสอนจะยิ่งช่วยเพิ่มความเข้าใจของคุณด้วย) เรียนกับครูหลาย ๆ คน เพราะทุกคนต่างก็มีวิธีเฉพาะของตนในการมองดนตรี และครูที่ดีก็สามารถทำให้สิ่งต่าง ๆ นั้นง่ายขึ้นสำหรับคุณ
           การรับมือกับอุปสรรค คือสิ่งใดก็ตามที่ขัดขวางหรือทำให้ความก้าวหน้าของคุณช้าลง ซึ่งแต่ละคนจะเจออุปสรรคที่ต่าง ๆ กันไป เมื่อคุณรู้ว่าอุปสรรคของคุณคืออะไร คุณก็จะสามารถทำให้มันลดน้อยลงหรือกำจัดมันไปได้ ต่อไปจะเป็นอุปสรรคบางอย่างที่พบ
            1. กีตาร์ของคุณผิดปกติ หรือเป็นกีตาร์ที่ไม่เหมาะกับสไตล์ที่คุณเล่น
            2. เวลาทำงานของคุณมันมากเกินไปทำให้คุณเหนื่อยเกินไปที่จะฝึกกีตาร์ได้
            3. ปัญหาจากการดำเนินชีวิตประจำวันต่าง ๆ ที่บีบให้คุณไม่มีเวลาไปฝึกกีตาร์ ฯลฯ
            บางครั้งคุณเองที่เป็นคนสร้างปัญหาขึ้นมา เพราะฉะนั้นจงแน่ใจว่า วัตถุดิบที่คุณนำมาฝึกนั้นสัมพันธ์กับเป้าหมายของคุณ ถ้าหากไม่สอดคล้องกัน คุณก็จะเสียเวลาและพลังงานไปเปล่า ๆ   และจะหงุดหงิดกับผลที่ออกมาแย่ ๆ อีกด้วย คุณสามารถมองอุปสรรคต่าง ๆ เป็นการทดสอบว่า คุณเชื่อมั่นในดนตรีอย่างแท้จริงไหม การเจอสิ่งท้าทาย (รวมทั้งการสร้างสิ่งท้าทายขึ้นมา) จะนำไปสู่การพัฒนา
           การกำจัดอุปสรรค ถ้าคุณเอาจริงกับการเป็นนักดนตรี อาจต้องทำการเปลี่ยนแปลงบางประการ การเล่นดนตรีด้วยระดับฝีมือสูง ๆ คุณต้องมีวินัย เช่นการตัดเวลาดูโทรทัศน์ เวลาเที่ยวเตร่และต้องคุยอย่างใจเย็นกับคนที่คุณอยู่ด้วย เพื่อให้เขาเข้าใจถึงเรื่องการฝึกซ้อมของคุณอย่าใช้อารมณ์เมื่อเวลาฝึกซ้อมคุณถูกรบกวน
            การจัดสิ่งแวดล้อมสถานที่ฝึกที่ดี โดยเลือกส่วนที่ห่างจากส่วนที่วุ่นวายของบ้านเข้าไว้ ถ้าจำเป็นต้องฝึกในบริเวณใดชั่วคราว ก็จัดการที่ว่างนั้นให้อยู่ในการควบคุมของคุณ เพื่อที่คุณจะสามารถฝึกได้ลุล่วง ถ้าอยู่กับคนอื่นก็บอกให้เขารู้ว่าคุณจะเริ่มฝึกตอนไหน แล้วให้เขาช่วยบอกปัดโทรศัพท์ของคุณจนกว่าจะฝึกเสร็จ เพื่อให้การฝึกซ้อมไม่ถูกรบกวน
           ท่าทางที่เหมาะสมเวลาฝึก จะทำให้คุณมีสมาธิมากขึ้น เช่นเก้าอี้ที่นั่งสบาย การมีเมโทรโนมใกล้ ๆ เพื่อตั้งความเร็วและตรวสอบความก้าวหน้าของฝีมือได้ แท่นวางโน๊ต และหนังสืออ้างอิงทางดนตรีต่าง ๆ ควรอยู่ใกล้ ๆ เผื่อเวลาเบื่อจะได้มีเรื่องอื่นให้ได้เรียนรู้บ้าง เอากีตาร์ตั้งไว้ที่ขาตั้งในสภาพพร้อมเล่นได้ทันที หรือมีเครื่องเสียงเพื่อให้สามารถเล่นแจมไปกับเทปได้ รวมทั้งกระดาษ ดินสอเพื่อจดโน๊ตเวลาแกะเพลง ฯลฯ
            การทำตารางเวลาฝึก ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่ต้องตั้งเป้าหมายและจัดสรรเวลาของคุณแล้ว เขียนรายชื่อสิ่งแรก ๆ ที่คุณอยากจะฝึกออกมา แล้วค่อยเติมสิ่งอื่น ๆ เข้าไปในรายการนั้นทีหลัง แน่นอนสิ่งที่คุณฝึกนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของดนตรีที่คุณสนใจ ถ้าคุณชอบแนว rock คุณอาจต้องอุทิศเวลาให้กับเทคนิคและการเล่นริทึ่ม การอิมโพรไวส์ และการหัดโซโลกับหัดเพลงต่าง ๆ มือกีตาร์คลาสสิกมักจะมุ่งเน้นอยู่ที่เทคนิคส่วนต่าง ๆ ของเพลงและการ sight read (อ่านโน๊ตไป เล่นตามไปพร้อม ๆ กัน)
            สิ่งที่คุณฝึกนั้นยังขึ้นอยู่กับความจำเป็นเฉพาะบางประการอีกด้วย   แต่หัวข้อต่อไปนี้อาจจะช่วยให้คุณได้ไอเดียเกี่ยวกับวิธีการทำตารางเวลาฝึก ด้วยตัวคุณเองได้
            พัฒนาการทางเทคนิค เช่นการที่มุ่งฝึกไปที่สเกล อาร์เพจิโอและแบบฝึกหัดเรื่อง String-Crossing แผนภาพต่อไปนี้แสดงถึงการวางมือแบบต่าง ๆ สำหรับเมเจอร์สเกลทั้ง 12 คีย์ ในขณะที่อยู่ใน Fretboard Position เดียวกัน ซึ่งกำหนดไว้ในช่วง 6 เฟร็ท ตัวเลขที่แสดงหมายถึงการวางนิ้วมือซ้าย (นิ้วที่ 1 - 4 ครอบคลุมพื้นที่ของแต่ละเฟร็ท 1   คือนิ้วชี้จะคุมการเล่นสายทุกเส้นที่อยู่บนเฟร็ทที่ 1 และ 2 เป็นต้น) และตัว R หมายถึงตัว   root (ตัวหลักของสเกลและคอร์ด) และเพราะว่าการวางมือสามารถเลื่อนได้ คุณจึงสามารถเล่นได้ทั้ง 12 คีย์ตรงบริเวณ Fretboard ก็ได้ทั้งนั้น"

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio