เรื่องสะเทือนอารมณ์ของข้าราชการสาธารณสุข เมื่อลาภ ยศ และเกียรติยศ กลายเป็นมูลเหตุแห่งความหายนะของชีวิต ครอบครัวต้องแตกสลาย เรื่องราวที่ผมนำมาเสนอนี้เป็นเรื่องที่ควรค่าแก่การศึกษามากครับ ผมเองก็ดื่มสุราเล่นการพนัน เชื่อว่าเพื่อนหลายคนก็กำลังหลงระเริงอยู่กับลาภและยศ เฉกเช่นเดียวกันกับตัวผมเมื่อปีที่แล้ว หลายท่านอาจบอกว่า ผมไม่ได้ติดสุรา ผมไม่ได้ติดการพนัน แค่ดื่ม และเล่นฆ่าเวลาเท่านั้น ท่านลองไม่ดื่ม ไม่เล่น สัก 7 วันหรือยังครับ ถ้ายังเข้าพรรษานี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะเจาะมากครับ ลองงดเหล้า อดบุหรี แล้วเลิกเล่นการพนันแลจีบหญิงดูไหมครับ
บทความที่นำเสนอชื่อ "พบป.โท เร่ร่อน อยู่สนามหลวง อดีตดาวรุ่ง สธ.ได้ทุนไปสหรัฐ" คือชื่อของพาดหัวข่าวรองของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2554 ผมอ่านเพลินตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มตั้งแต่ประโยคแรกว่า ชีวิตจริงยิ่งกว่านิยายของชายชราวัย 80 ปี เชิญอ่านอย่างตั้งใจได้เลยครับ
ชีวิตจริงยิ่งกว่านิยายของชายชราวัย 80 ปี อดีตข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ที่เคยได้รับทุนไปเรียนต่อเมืองนอก รุ่นเดียวกับ “หมอบรรลุ” อดีตรองปลัด สธ.จนจบปริญญาโท แต่จากชีวิตมีอันจะกิน กลับผกผันมาเป็นคนไร้บ้าน ไร้ญาติ นอนตากยุง จนคนดูแคลนว่า “วิกลจริต” เจ้าตัวเผยปูมหลังเพราะเคยผิดพลาดครั้งใหญ่ ติดเหล้า-อารมณ์รุนแรง ทำครอบครัวแตกสลาย จึงตัดสินใจออกมาใช้ชีวิตข้างถนน แต่ไม่ยอมรับเป็นคนเร่ร่อน โดยมีความหวังสุดท้ายก่อนลาโลก อยากให้ลูกอโหสิกรรม พร้อมทำพินัยกรรมมอบเงินมรดกเฉียดล้านบาทให้ทดแทนความผิดที่ละทิ้งครอบ ครัว...
เรื่องราวสะท้อนชีวิตอีกมุมหนึ่งของคนเร่ร่อนสนามหลวง ได้รับการเปิดเผยขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ที่บริเวณริมคลองหลอด หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มูลนิธิส่งเสริมอิสระชน ที่ทำงานด้านช่วยเหลือคนเร่ร่อน ร่วมกับคณะนักวิจัยปริญญาโท-เอก ด้านสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล ลงพื้นที่สำรวจการใช้ ชีวิตคนเร่ร่อนและหญิงขายบริการ ย่านสนามหลวง เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือด้านสุขอนามัย โดยพบชายชรารายหนึ่ง แต่งกายซอมซ่อ คอคล้องบัตรหลายใบ ถือย่าม-สะพายถุงกระสอบ มีป้ายภาษาไทยและภาษาอังกฤษติดไว้ว่า “ไปเรื่อยๆ” “moving on aimlessly” และ “jingle all the way” มีใบประกาศนียบัตรปริญญาโท มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา เมืองแชมเปิลฮิล ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมภาพถ่ายศิษย์เก่าคนไทยร่วมสถาบันถูกผูกติดอยู่
จากการเข้าไปพูด คุย ชายชราคนดังกล่าวบอกว่าชื่อ นายชัยพร วัฒนาพร อายุ 80 ปี บ้านอยู่เขตดุสิต กทม. เมื่อทีมงานมูลนิธิส่งเสริมอิสระชนและนักวิจัยมหิดล ได้ทดสอบความรู้ ปรากฏว่านายชัยพรสามารถแปลอังกฤษเป็นไทยได้เป็นอย่างดี ทั้งเมื่อตรวจสอบประวัติการศึกษา พบว่าจบปริญญาโทจากประเทศสหรัฐอเมริกาจริง โดยในเว็บไซต์สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีระเบียบเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ ครั้งที่ 33/2512 ลงวันที่ 25 พ.ย.2512 ข้อความ “ทางกระทรวงสาธารณสุขได้รายงานการไปศึกษาวิชาสาธารณสุข ณ สหรัฐอเมริกาของนายชัยพร วัฒนาพร” ซึ่งเอกสารชิ้นเดียวกันยังปรากฏชื่อบุคคลที่เคยถูกส่งไปศึกษาต่อต่างประเทศ ในปีเดียวกันคือ นพ.บรรลุ ศิริพาณิชย์ อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ไปศึกษาวิชาการบริหารโรงพยาบาล ที่ประเทศอังกฤษด้วย
ทั้งนี้ นายชัยพรเผยปูมหลังก่อนออกมาเร่ร่อนว่า เกิดมาในครอบครัวที่ค่อนข้างมีฐานะมั่นคง บิดาไปรับราชการที่ จ.เชียงใหม่ ในวัยเด็กจึงเข้าเรียนที่ปรินส์-รอยแยลส์วิทยาลัยเชียงใหม่ จบมัธยมศึกษาโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นได้สอบเข้าศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ ที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศิริราช จนจบอนุปริญญา แล้วมารับราชการที่กระทรวงสาธารณสุข ในตำแหน่งสารวัตรสาธารณสุข ในสมัยนั้นมีหน้าที่ออกหน่วยบริการไปทั่วประเทศ ช่วงรับราชการใหม่ๆ ชีวิตค่อนข้างก้าวหน้า เพราะไม่นานก็ได้ทุนไปเรียนต่อคณะสาธารณสุขศาสตร์ จนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากนั้นได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา เสนอชื่อให้รับทุนรัฐบาลสหรัฐอเมริกาไปศึกษาระดับปริญญาโท คณะสาธารณสุขศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ช่วงนั้นได้ใช้ชีวิตอยู่ในหอของมหาวิทยาลัย มีเพื่อนฝูงเป็นข้าราชการไทยจำนวนมาก เมื่อจบการศึกษาแล้ว เพื่อนๆทุกคนกลับมารับราชการจนมีตำแหน่งใหญ่โต บางคนเป็นอดีตผู้บริหารสำนักผังเมือง ผู้บริหารกระทรวงศึกษาฯ คณบดีของมหาวิทยาลัยชื่อดัง ส่วน นพ.บรรลุ ศิริพาณิชย์ ไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว แต่ ทราบว่าเป็นข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ที่ถูกส่งไปศึกษาปีเดียวกันแต่คนละประเทศ
นายชัยพรเล่าชีวิตที่ ผันผวนให้ฟังด้วยว่า แม้จะเป็นคนที่มีความสามารถด้านการศึกษา แต่อาภัพในเรื่องความรัก ทั้งอดีตเป็นคนที่เคยดื่มสุราอย่างหนักมาก่อน เมื่อเรียนจบจากสหรัฐฯ ได้พบรักแต่งงานอยู่กินกับอดีตลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุขคนหนึ่ง จนมีบุตรสาว 2 คน แต่ด้วยความไม่เข้าใจกัน ประกอบกับเป็นคนที่มีอารมณ์โกรธรุนแรง โดยเฉพาะช่วงที่ดื่มสุรา ทำให้ชีวิตคู่เกิดปัญหา ที่สุดก็ต้องหย่าร้างกัน ด้วยความเสียใจ จึงตัดสินใจลาออกจากกระทรวงสาธารณสุข ไปทำงานเป็นผู้จัดการอยู่ที่สถาบันแม็คเคน เพื่อการฟื้นฟูสภาพ จ.เชียงใหม่ ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อน โดยทิ้งครอบครัวและลูกออกจากบ้านไปไม่เคยกลับไปพบอีกเลย ปัจจุบันบุตรสาวทั้งคู่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยคนสุดท้องมีอาชีพเป็นพยาบาล
แม้จะอายุร่วม 80 ปี แต่อดีตข้าราชการจบโทเมืองนอก ยังจดจำเรื่องราวของตัวเองในอดีตได้เป็นอย่างดี โดยกล่าวว่า หลังออกจากราชการมาได้หลายปี ที่สุดก็กลับมาเข้ารับราชการอีก จนเกษียณในตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 5 สำนักงานสาธารณสุขเชียงใหม่ ชีวิตช่วงนั้นเนื่องจากไม่มีครอบครัว จึงไปพักอาศัยอยู่ กับญาติใน จ.เชียงใหม่ แต่เป็นคนที่ไม่ชอบรบกวนใคร จึงตัดสินใจออกมาทำงานอาสาสมัครในมูลนิธิวัดสวนแก้ว จ.นนทบุรี และด้วยความมีนิสัยส่วนตัวที่มีความเห็นขัดแย้งกับคนอื่น สุดท้ายก็ออกมา ในที่สุดด้วยความต้องการที่จะมีอิสระกับการเดินทางท่องเที่ยวอย่างอิสระใน ชีวิต ประกอบกับความฝังใจกับเรื่องล้มเหลวในชีวิตครอบครัว จึงตัดสินใจมาอยู่ที่สนามหลวง เมื่อปี 2550 จากนั้นอยู่ต่อมาเรื่อยๆจนปัจจุบัน ทุกวันนี้ทรัพย์สินที่ติดตัวมีเพียงเสื้อผ้า 2 ชุด กับหนังสือดิกชันนารี ที่เก็บเอาไว้ อ่านทบทวนความรู้
นายชัยพรกล่าวอีกว่า แม้มีปัญญาซื้อชุดที่ดีกว่านี้ใส่ได้ เพราะมีเงินบำนาญเลี้ยงชีพ แต่ก็ไม่อยากทำเพราะกลัวจะไม่กลมกลืน ทำให้คนคิดว่าเป็นขอทาน ซึ่งเป็นข้อดีปลอดภัยจากมิจฉาชีพ ส่วนที่หลับที่นอน ก็อาศัยปักหลักตามฟุตปาทด้านใน ริมถนนถนนราชดำเนินกลาง เนื่องจากสนามหลวงปิดซ่อมแซม เช้าตื่นลืมตาดูโลกก็ไปอาบน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วหาข้าวแกงข้างถนนกิน ตกบ่ายก็มานั่งดูทีวีตามร้านค้าข้างถนน ค่ำๆ ก็นอน เบื่อก็กลับไปอยู่บ้านเพื่อน แม้ชีวิตอาจลำบากบ้าง แต่ก็มีอิสระและสบายใจดี
ทั้ง นี้ ขอยืนยันว่าตนไม่ใช่คนเร่ร่อนเพราะมีที่อยู่ ทั้งยังมีบำนาญกินเดือนละ 6 พันกว่าบาท แต่นิยามของการมาอยู่สนามหลวงของตนคือ การท่องเที่ยวออกกำลังกาย ซึ่งอาจมีปัญหาบ้าง เช่น ยุงเยอะ ทั้งเวลาจะเรียกรถแท็กซี่ไปไหนมักไม่ค่อยจอดรับ คิดว่าเป็นขอทาน หรือเวลาไปซื้อของตามร้านค้าก็มักถูกไล่ แม่ค้านึกว่ามาขอเงิน ต้องนำบัตรข้าราชการบำนาญมาแขวน รวมทั้งประกาศนียบัตร ป.โท เพื่อให้คนรู้ว่าไม่ได้บ้า จะได้ไม่รังเกียจเรื่องราวสะท้อนชีวิตอีกมุมหนึ่งของคนเร่ร่อนสนามหลวง ได้รับการเปิดเผยขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ที่บริเวณริมคลองหลอด หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มูลนิธิส่งเสริมอิสระชน ที่ทำงานด้านช่วยเหลือคนเร่ร่อน ร่วมกับคณะนักวิจัยปริญญาโท-เอก ด้านสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล ลงพื้นที่สำรวจการใช้ ชีวิตคนเร่ร่อนและหญิงขายบริการ ย่านสนามหลวง เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือด้านสุขอนามัย โดยพบชายชรารายหนึ่ง แต่งกายซอมซ่อ คอคล้องบัตรหลายใบ ถือย่าม-สะพายถุงกระสอบ มีป้ายภาษาไทยและภาษาอังกฤษติดไว้ว่า “ไปเรื่อยๆ” “moving on aimlessly” และ “jingle all the way” มีใบประกาศนียบัตรปริญญาโท มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา เมืองแชมเปิลฮิล ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมภาพถ่ายศิษย์เก่าคนไทยร่วมสถาบันถูกผูกติดอยู่
จากการเข้าไปพูด คุย ชายชราคนดังกล่าวบอกว่าชื่อ นายชัยพร วัฒนาพร อายุ 80 ปี บ้านอยู่เขตดุสิต กทม. เมื่อทีมงานมูลนิธิส่งเสริมอิสระชนและนักวิจัยมหิดล ได้ทดสอบความรู้ ปรากฏว่านายชัยพรสามารถแปลอังกฤษเป็นไทยได้เป็นอย่างดี ทั้งเมื่อตรวจสอบประวัติการศึกษา พบว่าจบปริญญาโทจากประเทศสหรัฐอเมริกาจริง โดยในเว็บไซต์สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีระเบียบเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ ครั้งที่ 33/2512 ลงวันที่ 25 พ.ย.2512 ข้อความ “ทางกระทรวงสาธารณสุขได้รายงานการไปศึกษาวิชาสาธารณสุข ณ สหรัฐอเมริกาของนายชัยพร วัฒนาพร” ซึ่งเอกสารชิ้นเดียวกันยังปรากฏชื่อบุคคลที่เคยถูกส่งไปศึกษาต่อต่างประเทศ ในปีเดียวกันคือ นพ.บรรลุ ศิริพาณิชย์ อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ไปศึกษาวิชาการบริหารโรงพยาบาล ที่ประเทศอังกฤษด้วย
ทั้งนี้ นายชัยพรเผยปูมหลังก่อนออกมาเร่ร่อนว่า เกิดมาในครอบครัวที่ค่อนข้างมีฐานะมั่นคง บิดาไปรับราชการที่ จ.เชียงใหม่ ในวัยเด็กจึงเข้าเรียนที่ปรินส์-รอยแยลส์วิทยาลัยเชียงใหม่ จบมัธยมศึกษาโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นได้สอบเข้าศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ ที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศิริราช จนจบอนุปริญญา แล้วมารับราชการที่กระทรวงสาธารณสุข ในตำแหน่งสารวัตรสาธารณสุข ในสมัยนั้นมีหน้าที่ออกหน่วยบริการไปทั่วประเทศ ช่วงรับราชการใหม่ๆ ชีวิตค่อนข้างก้าวหน้า เพราะไม่นานก็ได้ทุนไปเรียนต่อคณะสาธารณสุขศาสตร์ จนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากนั้นได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา เสนอชื่อให้รับทุนรัฐบาลสหรัฐอเมริกาไปศึกษาระดับปริญญาโท คณะสาธารณสุขศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ช่วงนั้นได้ใช้ชีวิตอยู่ในหอของมหาวิทยาลัย มีเพื่อนฝูงเป็นข้าราชการไทยจำนวนมาก เมื่อจบการศึกษาแล้ว เพื่อนๆทุกคนกลับมารับราชการจนมีตำแหน่งใหญ่โต บางคนเป็นอดีตผู้บริหารสำนักผังเมือง ผู้บริหารกระทรวงศึกษาฯ คณบดีของมหาวิทยาลัยชื่อดัง ส่วน นพ.บรรลุ ศิริพาณิชย์ ไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว แต่ ทราบว่าเป็นข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ที่ถูกส่งไปศึกษาปีเดียวกันแต่คนละประเทศ
นายชัยพรเล่าชีวิตที่ ผันผวนให้ฟังด้วยว่า แม้จะเป็นคนที่มีความสามารถด้านการศึกษา แต่อาภัพในเรื่องความรัก ทั้งอดีตเป็นคนที่เคยดื่มสุราอย่างหนักมาก่อน เมื่อเรียนจบจากสหรัฐฯ ได้พบรักแต่งงานอยู่กินกับอดีตลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุขคนหนึ่ง จนมีบุตรสาว 2 คน แต่ด้วยความไม่เข้าใจกัน ประกอบกับเป็นคนที่มีอารมณ์โกรธรุนแรง โดยเฉพาะช่วงที่ดื่มสุรา ทำให้ชีวิตคู่เกิดปัญหา ที่สุดก็ต้องหย่าร้างกัน ด้วยความเสียใจ จึงตัดสินใจลาออกจากกระทรวงสาธารณสุข ไปทำงานเป็นผู้จัดการอยู่ที่สถาบันแม็คเคน เพื่อการฟื้นฟูสภาพ จ.เชียงใหม่ ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อน โดยทิ้งครอบครัวและลูกออกจากบ้านไปไม่เคยกลับไปพบอีกเลย ปัจจุบันบุตรสาวทั้งคู่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยคนสุดท้องมีอาชีพเป็นพยาบาล
แม้จะอายุร่วม 80 ปี แต่อดีตข้าราชการจบโทเมืองนอก ยังจดจำเรื่องราวของตัวเองในอดีตได้เป็นอย่างดี โดยกล่าวว่า หลังออกจากราชการมาได้หลายปี ที่สุดก็กลับมาเข้ารับราชการอีก จนเกษียณในตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล 5 สำนักงานสาธารณสุขเชียงใหม่ ชีวิตช่วงนั้นเนื่องจากไม่มีครอบครัว จึงไปพักอาศัยอยู่ กับญาติใน จ.เชียงใหม่ แต่เป็นคนที่ไม่ชอบรบกวนใคร จึงตัดสินใจออกมาทำงานอาสาสมัครในมูลนิธิวัดสวนแก้ว จ.นนทบุรี และด้วยความมีนิสัยส่วนตัวที่มีความเห็นขัดแย้งกับคนอื่น สุดท้ายก็ออกมา ในที่สุดด้วยความต้องการที่จะมีอิสระกับการเดินทางท่องเที่ยวอย่างอิสระใน ชีวิต ประกอบกับความฝังใจกับเรื่องล้มเหลวในชีวิตครอบครัว จึงตัดสินใจมาอยู่ที่สนามหลวง เมื่อปี 2550 จากนั้นอยู่ต่อมาเรื่อยๆจนปัจจุบัน ทุกวันนี้ทรัพย์สินที่ติดตัวมีเพียงเสื้อผ้า 2 ชุด กับหนังสือดิกชันนารี ที่เก็บเอาไว้ อ่านทบทวนความรู้
นายชัยพรกล่าวอีกว่า แม้มีปัญญาซื้อชุดที่ดีกว่านี้ใส่ได้ เพราะมีเงินบำนาญเลี้ยงชีพ แต่ก็ไม่อยากทำเพราะกลัวจะไม่กลมกลืน ทำให้คนคิดว่าเป็นขอทาน ซึ่งเป็นข้อดีปลอดภัยจากมิจฉาชีพ ส่วนที่หลับที่นอน ก็อาศัยปักหลักตามฟุตปาทด้านใน ริมถนนถนนราชดำเนินกลาง เนื่องจากสนามหลวงปิดซ่อมแซม เช้าตื่นลืมตาดูโลกก็ไปอาบน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วหาข้าวแกงข้างถนนกิน ตกบ่ายก็มานั่งดูทีวีตามร้านค้าข้างถนน ค่ำๆ ก็นอน เบื่อก็กลับไปอยู่บ้านเพื่อน แม้ชีวิตอาจลำบากบ้าง แต่ก็มีอิสระและสบายใจดี
ผู้สื่อข่าวถามว่าทำไม ลูกไม่มารับไปเลี้ยงดู นายชัยพรบอกว่า ไม่อยากโทษลูก เพราะตนทอดทิ้งครอบครัวไปนาน ลูกอาจได้ข้อมูลบางอย่างผิดๆ ว่าตนเป็นคนเลว จึงไม่ค่อยยอมรับเท่าที่ควร เคยกลับไปหาลูก แต่ดูแล้วเหมือนลูกไม่สบายใจ จึงไม่ขอกลับไปอีก และขอใช้ชีวิตที่สนามหลวงไปเรื่อยๆ ยอมรับว่าเป็นคนที่ทระนง ไม่ชอบให้ใครมองเป็นคนไร้ค่า ชีวิตที่อยู่ทุกวันนี้ยังมีความหวังก่อนลาโลกนี้ว่า ลูกๆอาจจะให้อภัยและอโหสิให้กับสิ่งที่เคยทำไป สิ่งที่เกิดกับทุกวันนี้ น่าจะเป็นผลกรรมจากชาติก่อน ซึ่งหากย้อนเวลากลับไปได้ก็อยากกลับไปแก้ตัวอีกซักครั้ง และหากวันหนึ่งถ้าต้องตาย อยากขอแค่ได้ตายในโรงพยาบาลของรัฐ และไม่ให้มีการทำศพ แต่ได้ทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินและเงินกองทุกฌาปนกิจที่มีเกือบล้านบาทให้ลูก ทั้งหมด เพื่อทดแทนที่ได้ทอดทิ้งไปเมื่อตอนยังเล็ก
ต่อมาผู้สื่อข่าว สอบถามไปยัง นพ.วัฒนา กาญจนกามล นายแพทย์สาธารณสุข (สสจ.) เชียงใหม่ ซึ่งเผยว่า นายชัยพรเป็นอดีตข้าราชการที่เกษียณจริง ถือเป็นคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในชีวิตราชการ เพราะสามารถทำงานจนเกษียณ ทั้งนี้ จากการสอบถามผู้ที่เคยร่วมงานกับนายชัยพร ทราบว่าเป็นคนที่มีความรู้ด้านภาษาเป็นอย่างดี จบการศึกษาต่างประเทศ ทั้งยังมีฐานะที่มั่นคง แต่ไม่มีใครทราบสาเหตุที่ต้องกลายเป็นคนเร่ร่อน และรู้สึกแปลกใจด้วย อย่างไรก็ตาม สสจ.เชียงใหม่ มีชมรมของข้าราชการบำนาญ ซึ่งคงจะนำเรื่องนี้ไปเสนอให้ชมรมทราบ อาจหาทางช่วยเหลือนายชัยพร สำหรับความเห็นส่วนตัว คนที่ออกมาเร่ร่อนนั้น อาจเป็นเพราะการจะพบกับปัญหาบางอย่างที่ทำให้ไม่มีความสุขในชีวิต จนอยากออกมาเพื่อจะหลุดพ้นจากบ่วงพันธะ การที่คนสูงอายุออกมาเร่ร่อนก็สะท้อนถึงการดูแลผู้สูงอายุในสังคมปัจจุบัน ที่ครอบครัวอาจจะไม่ทราบถึงความต้องการของคนวัยนี้ และมีความห่างเหินกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น