จากกรณีการเกิดโรคไข้เลือดออก ในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นักระบาดวิทยาได้ดาเนินการสอบสวนโรคและดาเนินการควบคุมโรคซึ่งมีรายละเอียดทางวิชาการดังนี้ พื้นที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมีรายงานผู้ป่วยต้องสงสัยเป็นโรคไข้เลือดออก จานวน 3 ราย ในช่วงเดือน มิถุนายน 2550 1. ผู้ป่วยรายแรกที่สงสัยเป็นผู้ป่วยไข้เลือดออก เป็นเพศหญิง อายุ 18 ปี เป็นนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ สานักวิชาศิลปศาสตร์ พักหอพัก F 2 ห้อง 311 และบ้านอยู่จังหวัดเชียงราย เริ่มป่วยวันที่ 8 มิถุนายน 2550 และวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแม่จัน ซึ่งได้รับยาแก้ไข้และยาแก้อักเสบ ไม่ทราบชนิด มารับการรักษาที่ศูนย์การแพทย์แผนไทยประยุกต์ ในวันที่ 12 มิถุนายน 2550 จากการตรวจร่างกายทั่วไป พบว่า ผู้ป่วยมีความดันปกติ มีไข้ 38 องศาเซลเซียส และผลการตรวจหาไข้เลือดออก เบื้องต้นโดยวิธี Tourniquet test ปรากฏว่า ให้ผล Positive แพทย์จึงตัดสินใจส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ซึ่ง และหลังจากผู้ป่วยไปถึงโรงพยาบาลพบว่ามีผู้ป่วยรอจานวนมาก จึงเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลโอเวอร์บรุค การวินิจฉัยแรกรับ R/O DF และ Final diagnosis เป็น URI 2. ผู้ป่วยรายที่ 2 ที่สงสัยเป็นไข้เลือดออก เป็นเพศหญิง ยุ 20 ปี เป็นนักศึกษาสานักวิชาการจัดการเริ่มป่วยวันที่ 9 มิถุนายน 2550 เข้ารับการรักษาที่คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วันที่ 13 มิถุนายน 2550 พักอยู่ที่หอ F6 ห้อง 328 อาการแรกรับผู้ป่วยมีอาการไข้ ความดันปกติ เมื่อทดสอบด้วย Tourniquet test ปรากฏว่าให้ผลบวก แพทย์ผู้รักษาจึงตัดสินใจส่งต่อโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ แรกรับแพทย์วินิจฉัยว่า R/O DF และFinal diagnosis เป็น Common cold 3. ผู้ป่วยรายที่ 3 ที่สงสัยเป็นไข้เลือดออก เป็นเพศหญิง อายุ 18 ปี เป็นนักศึกษาสานักวิชาศิลปศาสตร์ พักอยู่ที่หอพัก F1 เริ่มป่วยวันที่ 15 มิถุนายน 2550 ด้วยอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดท้องร่วม และได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค ในที่ 20 มิถุนายน 2550-23 มิถุนายน 2550 ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคไข้เลือดออก (DF) ผู้ป่วยรายนี้บ้านอยู่ตาบลแม่สาย อาเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
จากการสอบสวนโรคยังไม่สามารถสรุปได้ว่าผู้ป่วยติดเชื้อไข้เลือดออกจากบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยหรือไม่ เพราะในจานวนผู้ป่วยทั้ง 3 ราย เป็นผู้ป่วยที่ยังเดินทางไปกลับบ้านช่วงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ และภูมิลาเนาอาศัยเป็นเขตอาเภอเมืองและอาเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออดอยู่แล้ว ส่วนผู้ป่วยรายที่สามอาจจะเป็นไปได้ว่าเป็นกลุ่ม Secondary infection คือเป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อต่อจากผู้ป่วย 2 คนแรกที่อาศัยอยู่บริเวณหอใกล้เคียงกัน ซึ่งถ้าเป็น Secondary infection แสดงว่ามียุงที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก อาศัยอยู่บริเวณที่พักแล้ว จึงจาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดาเนินการกาจัดยุงอย่างเร่งด่วน สาหรับการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ ในปัจจุบันแพทย์ใช้อาการทางคลินิก และผลทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น 2 อย่าง เป็นตัววินิจฉัย คือ ความเข้มข้นของเม็ดเลือด และปริมาณของเกร็ดเลือด ซึ่งสามารถตรวจยืนยันได้ในโรงพยาบาลเบื้องต้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดการระบาดเกิดขึ้นต้องการแยกชนิดของเชื้อให้มีความเจาะจงมากขึ้น ห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจได้ คือ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงราย โดยจะตรวจในเรื่อง Serotyping ซึ่งจะตรวจในเรื่องภูมิคุ้มกันวิทยาขงคนไข้ต่อเชื้อนั้น ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการตรวจและต้องเก็บข้อมูลระยะเวลาของการป่วยของผู้ป่วยให้ชัดเจน เพื่อเปรียบเทียบและแปลผลให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
มาตรการการควบคุมป้องกันโดยสานักวิชาวิชาวิทยาศาสตร์
1. การประชาสัมพันธ์แจ้งการระบาดโรคไข้เลือดออก โดยผ่านทาง Internet หนังสืออย่างเป็นทางการต่อทุหน่วยงานในมหาวิทยาลัย และ 2. ควบคุมโรคโดยการพ่นหมอกควันรัศมี 100 เมตร บริเวณที่พักอาศัยของผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ในวันที่ 14 มิถุนายน 2550 3.เตรียมการรณรงค์โดยการขอความอนุเคราะห์ทรายทีมีฟอส จานวน 50 กก. และแผ่นพับประชาสัมพันธ์จานวน 200 แผ่น ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและควบคุมโรคป้องกันโรคไข้เลือดออกจังหวัดเชียงราย 4. ประสานงานกับหน่วยควบคุมโรคนาโดยแมลงที่ 4 จังหวัดชียงราย เพื่อดาเนินการพ่นหมอกควันในวันที่ 16-17 มิถุนายน 2550 5. แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกเฉพาะกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 6. เฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างใกล้ชิด โดยขอข้อมูลทางระบาดวิทยาจากสานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงรายเพื่อเฝ้าระวังโรคและประเมินสถานการณ์ทุก ๆ อาทิตย์ 7. เตรียมความพร้อมในด้านการแพทย์และพยาบาลที่ศูนย์การแพทย์แผนไทยประยุกต์ โดยจัดเตรียมวัสดุการแพทย์ ตลอดทั้งซักซ้อมความเข้าใจในเรื่องการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก ตลอดทั้งการรายงานสถานการณ์ 8. เชิญประชุมตัวแทนหน่วยงานทุกหน่วยงานเพื่อชี้แจงสถานการณ์ และให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก โดยคณบดีสานักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (นายแพทย์สาเริง กาญจนเมธากุล) 9. แต่งตั้งคณะกรรมทางานเฉพาะกิจจากตัวแทนหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้มีหน้าที่ในการตรวจสอบ ทาลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบริเวณที่ตั้งสานักงาน ตลอดทั้งรายงานสถานการณ์ให้สานักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพทราบเพื่อให้นักระบาดวิทยาวิเคราะห์และประเมินผลทุก ๆ สัปดาห์ และคณะทางานจะประชุมร่วมกันทุก ๆ วันจันทร์ เวลา 13.00-14.00 น. ที่สานักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 10. ร่วมประชุมกับองค์การบริหารส่วนตาบลท่าสุด สานักงานสาธารณสุขอาเภอเมือง และสถานีอนามัยตาบลท่าสุด เรื่องการวางแผนการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ ในวันที่ 19 มิถุนายน 2550 เวลา 09.00-11.00 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตาบลท่าสุด โดยข้อสรุปในที่ประชุม มีดังนี้ 10.1 กรณีที่เกิดโรค สานักงานสาธารณสุขอาเภอเมืองและสถานีอนามัยตาบลท่าสุดจะเป็นผู้ดาเนินการพ่นหมอกควันและจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด 10.2 กรณีการพ่นเพื่อกาจัดยุงลายปีละ 2 ครั้งนั้น ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนครั้งที่ 2 องค์การบริหารส่วนตาบลท่าสุดเป็นผู้รับผิดชอบ โดยแต่ละครั้งจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายประมาณ 15,000-20,000 บาท ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมในส่วนของมหาวิทยาลัย คือ อาจารย์ธวัชชัย คีรีคามสุข และอาจารย์จักรกฤษณ์ วงค์ลังกา ในเบื้องต้นอาจารย์ทั้งสองได้แจ้งว่าต่อที่ประชุมว่าจะเข้าไปเสนอผู้บริหารของมหาวิทยาลัยก่อน เพราะไม่มีอานาจในการตัดสินใจ 11. ได้ประสานไปยังสานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงรายให้มาดาเนินการพ่นหมอกควัน ครั้งที่ 2 ซึ่งได้มาดาเนินการพ่นหมอกควันวันที่ 25 มิถุนายน 2550 ในกลุ่มอาคารหอพัก F1 และ F2.
คลังบทความของบล็อก
- พฤษภาคม (1)
- มีนาคม (3)
- มกราคม (1)
- มิถุนายน (1)
- เมษายน (2)
- พฤศจิกายน (1)
- สิงหาคม (2)
- พฤษภาคม (1)
- เมษายน (1)
- พฤศจิกายน (2)
- มีนาคม (1)
- กรกฎาคม (1)
- มิถุนายน (1)
- พฤษภาคม (2)
- เมษายน (4)
- มีนาคม (7)
- กุมภาพันธ์ (3)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (3)
- พฤศจิกายน (9)
- ตุลาคม (1)
- กันยายน (9)
- สิงหาคม (32)
- กรกฎาคม (42)
- มิถุนายน (41)
- พฤษภาคม (3)
- เมษายน (5)
- มีนาคม (3)
- กุมภาพันธ์ (13)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (7)
- พฤศจิกายน (10)
- ตุลาคม (4)
- กรกฎาคม (2)
- มิถุนายน (10)
Popular Posts
-
เมื่อช่วงวันหยุดทีี่่ผ่านเมื่อกี้ผมได้ไปประชุม อบรม เรื่องของ PCA ที่จังหวัดสุรินทร์ ไปประชุม(จริงๆคือไปอบรม) และพักที่ รีสอร์ท แน่นอนครั...
-
ยายี่ห้อ zithromax มีตัวยา AZITHROMYCIN ส่วนใหญ่แพทย์เฉพาะทางจะจ่ายยาตัวนี้เพราะไม่ต้องกินมากและหายเร็ว แต่ตามโรงพยาบาลหรือร้านยาจะไม่จ่...
-
ตัวอย่างการแบ่งงานใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนะครับ มีทั้งหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข หน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุ...
-
"ขอเล่าเรื่องของผมครั้งสมัยก่อนที่ผมจะสอบได้บรรจุในตำแหน่งนักวิชาการสักนิดนึงนะครับ อาจเรีกได้ว่าเป็นการแชร์เคล็ดลับในการเตรียมตัวสอบก้...
-
"เสื้อหมออนามัย" ใส่ได้เฉพาะ หมออนามัย หรือเปล่าครับ? เป็นคำถามที่เด็กอายุราว 4 ปีได้เอยถามผม พอผมได้ยินคำถามนี้ผมก็ถามตอบท...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น