ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ไข้เลือดออกระบาด

ด้วยช่วงนี้เป็นฤดูฝน จึงทาให้มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดจานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเกิดจากจานวนประชากรของยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก มีการเจริญพันธุ์จานวนมาก ดังนั้นจึงทาให้มีโอกาสเป็นไข้เลือดออกมากเช่นกัน ดังนั้นเรามารู้จักโรคไข้เลือดออกกันนะครับ
สาเหตุ : โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัส Dengue virus ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์ โดยมียุงลายเป็นพาหะ
การติดต่อแพร่กระจาย : การติดเชื้อหรือการติดต่อเกิดจากผู้ป่วยถูกยุงลายกัด โดยเฉพาะยุงลาย Aedes aegypti ซึ่งเป็นยุงลายชนิดหนึ่งที่ชุกชุมและออกหากินในเวลากลางวัน และอาศัยอยู่ในที่ชุมชนหรือที่อยู่อาศัยของคน
อาการ: อาการของโรคจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของเชื้อ อายุผู้ป่วย ภูมิคุ้มกันผู้ป่วย และจานวนครั้งที่ติดเชื้อ : อาการผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีไข้คล้ายการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ คือมีอาการอักเสบของคอ น้ามูกไหล ไอ มีไข้อยู่ 1-5 วัน ซึ่งไม่สามารถแยกได้ด้วยอาการทางคลินิก เด็กโตหรือผู้ใหญ่ จะมีอาการไข้ 39.5-41.4 C ชีพจรจะช้าเมื่อเทียบกับอุณหภูมิร่างกาย ปวดศีรษะ และกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อและกระดูกมาก อาจจะมีผื่นขึ้นตามตัวใน 2-4 วันแรกของการมีไข้ หลังจากนั้นผู้ป่วยเริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ต่อมน้าเหลืองโต อาจจะมีเลือดกาเดาออก จุดเลือดออกใต้ผิวหนังหรือกระเพาะอาหาร
ปัจจัยสาคัญทางระบาดวิทยา
เนื่องจากขณะนี้มีไข้เลือดออกระบาดในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยเฉาะอย่างยิ่งอาเภอแม่จัน ซึ่งมีผู้ป่วยจานวนมาก และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และนักระบาดวิทยาเชื้อว่าเป็นสายพันธุ์ชนิดที่ 2 ซึ่งจะทาให้เกิดความรุนแรงของการก่อโรคมากที่สุดในบรรดาสายพันธุ์ทั้งหมด ประจวบกับเป็นรอบของการเกิดการระบาดของไข้เลือดออก และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่พบว่ามีดัชนีชี้วัดที่สาคัญที่ชี้วัดว่าจะมีการระบาดไข้เลือดออกในปี 2550 คือ การเกิดฝนตกอย่างหนักและต่อเนื่องช่วงเดือน พฤษภาคม 2550 และมีความชื้นในอากาศสูงเหมาะแก่การเจริญเติบโตและขยายพันธ์ของยุงลายพาหะนาโรค
ข้อแนะนาสาหรับบุคลากร เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาทุกท่าน
1. กรณีที่รู้สึกไม่สบายคล้ายเป็นไข้หวัด โดยเฉพาะไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อต้องรีบพบแพทย์ เพื่อรับวินิจโรคที่ถูกต้อง
2. รับประทานน้ามาก ๆ
3. ทาลายแหล่งเพาะยุงลายบริเวณหอพัก
4. เติมทรายทีมีฟอส (ทรายอะเบท) ลงในบริเวณน้าขังใกล้ที่พัก ทั้งนี้เบิกได้จาก สานักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio