ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Home Health Care



 "เพื่อนผมเป็นนักวิชาการสาธารณสุข ทำงานที่ รพ.สต.แห่งหนึ่ง โพสถามว่าใครมีแบบฟอร์ม

Home Health Care !! บ้าง  ผมไม่มีแต่ก็จะช่วยเพื่อนหา  ปรากฏว่าไปเจอบทความ  แนวคิด Home Health Care จาก เวบชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศูนย์อนามัยที่ 9 พิษณุโลกครับ"



มีความรู้ดี ๆ น่าสนใจเกี่ยวกับ Concept ของ Home Health Care ที่ได้รับความกรุณาจาก ท่าน ผศ.ดร.นงนุช โอบะ ในเวทีการอบรมบุคลากรผู้ปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน เมื่อ 17 - 19 พค. 2551 มาให้กับผู้ที่สนใจการดูแลสุขภาพที่บ้าน … และไม่ได้เข้ารับการฝึกอบบรม เพื่อจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง หน่วยงาน และผู้สูงอายุที่ท่านดูแล…
แนวคิดเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่บ้าน
โดย ผศ.ดร.นงนุช  โอบะ 
วัตถุประสงค์
1. อธิบายความสำคัญและความจำเป็นในการดูแลสุขภาพที่บ้านได้
2. อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่บ้านได้
3. อธิบายรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน
4. อธิบายบทบาทหน้าที่และกลวิธีของ home care nurse ได้เนื้อหาความ สำคัญและความจำเป็นในการดูแลสุขภาพที่บ้านแนวคิดการดูแลสุขภาพที่บ้านรูปแบบ การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านบทบาทหน้าที่ของพยาบาลในการดูแลสุขภาพที่บ้าน
แนวคิด/ความคิดรวบยอด
การดูแลรักษาการพยาบาลในโรงพยาบาลต้องใช้งบประมาณจากภาครัฐและเอกชนเป็น จำนวนมาก การดูแลสุขภาพที่บ้านเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายทั้งของผู้ป่วยเองและจากภาครัฐ และเอกชนลงได้ พยาบาลมีความสามารถในการประเมินสุขภาพ ค้นหาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น วางแผนให้การพยาบาลและออกแบบการดูแลที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย การพยาบาลสุขภาพที่บ้านจึงเป็นการดูแลเชิงรุกที่ทั้งด้านการรักษาพยาบาล ให้การฟื้นฟูสภาพ และยังป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และช่วยในการส่งเสริมสุขภาพด้วยการดูแลสุขภาพที่บ้านเป็นการประเมินปัญหา และความต้องการการดูแลสุขภาพของบุคคล ครอบครัว ร่วมวิเคราะห์ปัญหา ร่วมวางแผน และดำเนินแก้ไขปัญหาโดยครอบครัวมีส่วนร่วมโดยมุ่งให้บุคคลและครอบครัวสามารถ ดูแลสุขภาพตนเอง รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านเป็นการนำกระบวนการพยาบาล ประกอบด้วยการประเมินปัญหา การวินิจฉัยปัญหา การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาลและการประเมินผลการพยาบาลไปใช้ในการดูแลสุขภาผู้ป่วยที่ บ้านโดยมุ่งให้ผู้ป่วยสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้โดยได้รับความร่วมมือจากครอบ ครัวและการสนับสนุนจากชุมชน บทบาทพยาบาลในการดูแลสุขภาพที่บ้าน ได้แก่ บทบาทการเป็นผู้จัดการ การเป็นผู้นำ การเป็นผู้ดูแล การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง การเป็นผู้ให้คำปรึกษา  การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง การให้คำปรึกษา การเป็นผู้สอนและการให้ความรู้ด้านสุขภาพ การเป็นผู้ติดต่อและให้การช่วยเหลือ การพิทักษ์สิทธิของผู้รับบริการ และการเป็นนักวิจัย
ความสำคัญและความจำเป็นในการดูแลสุขภาพที่บ้าน
แนวคิดการดูแลสุขภาพที่บ้าน เกิดขึ้นจากความต้องการต่าง ๆ (วิลาวัลย์ เสนารักษ์ และประยงค์ ลิ้มตระกุล, 2538. หน้า 1-2, Allender, 2005. p. 586)  ดังนี้
1. โครงสร้างประชากรมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้น จึงมีการเจ็บป่วยมาก เมื่อเจ็บป่วยแต่ละครั้งต้องใช้เวลาในการรักษา ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล เมื่อมีผู้ป่วยมาก จำนวนเตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงเป็นภาระทั้งของรัฐและประชาชนในการดูแลรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล
2. แบบแผนการเจ็บป่วยมีการเปลี่ยนแปลงจากโรคติดเชื้อเป็นโรคไร้เชื้อเช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อุบัติเหตุ เอดส์ โรคหัวใจ ฯลฯ ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ในเวลาที่จำกัด โรงพยาบาลไม่มีเตียงเพียงพอที่จะรับการรักษาเป็นเวลานาน การดูแลต่อเนื่องที่บ้านจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และผู้ป่วยมีความพึงพอใจที่จะรักษาอยู่ที่บ้านมากกว่า
3. สภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม  บุคคลในครอบครัวต้องออกไปทำงานนอกบ้าน จึงขาดผู้ดูแลผู้ป่วย จึงจำเป็นต้องจัดบริการดูแลสุขภาพที่บ้าน
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบดูแลสุขภาพที่ต้องการลดการอยู่ในโรง พยาบาลให้น้อยลง เพราะการรักษาในโรงพยาบาลสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายทั้งของโรงพยาบาลและผู้รับ บริการ เสี่ยงต่อการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ  แนวคิดของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโดยทีมสหสาขาจึงเกิดขึ้น มีการจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคต่าง ๆ ซึ่งกำหนดให้มีการตรวจสอบสภาพของผู้ป่วย (ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยถึงการใช้ยา วิเคราะห์ความสามารถของผู้ป่วยในการบริหารยาและเครื่องมือต่าง ๆ อธิบายถึงอาการและอาการแทรกซ้อนที่ควรกลับมาพบแพทย์แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล วิเคราะห์ความสามารถของผู้ป่วยในการช่วยเหลือตนเอง ความต้องการการดูแลจากพยาบาลที่บ้าน การเคลื่อนไหว การใช้เครื่องมือต่างๆ การค้นหาผู้ช่วยเหลือ เช่น ผู้ดูแล เพื่อนบ้าน ฯลฯ  (Green & Lydon, 2000. pp. 72-77)
การดูแลสุขภาพที่บ้านเกิดขึ้นจากแนวคิดของการดูแลต่อเนื่องที่เชื่อมโยง การดูแลสุขภาพจากโรงพยาบาลมายังสถานบริการในชุมชนและที่บ้านปัจจุบันมีการ จัดตั้งหน่วยปฐมภูมิ (Primary care unit) ซึ่งให้การดูแลสุขภาพบุคคล ครอบครัวและชุมชน ที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดีของประชาชน และเป็นการดูแลต่อเนื่อง (continuum care) ที่เชื่อมประสานการบริการรักษาพยาบาลระหว่างสถานบริการกับครอบครัวและชุมชน (กองการพยาบาล, 2545. หน้า 15) ซึ่งมีพยาบาลเป็นเหมือนเป็นสะพานเชื่อมต่อของระบบการดูแลต่อเนื่องระหว่าง การบริการในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ซึ่งนับว่าเป็นกลไกสำคัญที่สามารถลดช่องว่างของรอยต่อโดยการส่งเสริมการให้ ความรู้  และการสื่อสารที่เหมาะสม  (Green & Lydon, 2000. pp. 72-77)
เพื่อให้การดำเนินการดูแลต่อเนื่องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพแนวคิดเกี่ยว กับการวางแผนจำหน่าย (discharge planning) ได้เข้ามาช่วยให้การดูแลต่อเนื่องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
หลักการวางแผนผู้ป่วย คือการกำหนดกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยแต่ละประเภทเป็นรายวัน (clinical pathway) โดยทีมสหวิชาชีพ (Multidisciplinary) ซึ่งพบว่า สามารถช่วยลดการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วย และค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี เมื่อมีนโยบายหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า ซึ่งประชาชนทุกคนมีสิทธิพึงได้รับการบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานอย่างเสมอภาค ด้วยเกรียติและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน  สถานบริการทุกแห่งจึงจัดบริการปฐมภูมิ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายใกล้ตัว ใกล้ใจ โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพที่ดี และสามารถพึ่งพาตนเองทางสุขภาพได้ การดูแลสุขภาพที่บ้าน เป็นบริการที่จัดให้ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ  ผู้ที่ต้องการพักฟื้นหรือผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองให้ได้รับการดูแลต่อ เนื่องโดยมีบุคลากรทีมสุภาพที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ บุคคลและครอบครัวให้ดำรงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีและความเป็นอิสระในการพึ่ง พาตนเอง พยาบาลในฐานะที่เป็นบุคลากรทางสุขภาพที่มีความสามารถทั้งด้านการประเมิน สุขภาพ การวินิจฉัยปัญหา การวางแผนการพยาบาล การออกแบบการพยาบาลให้แต่ละบุคคลได้สอดคล้องกับปัญหา สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ จึงเป็นบุคคลกรที่เหมาะสมอย่างมากในการเป็นผู้นำในการดูแลสุขภาพที่บ้าน
นอกจากนั้น การดูแลผู้ป่วยรายกรณี (case management) ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ซึ่งหมายถึง การบริการที่เกี่ยวข้องการการประสานงานระหว่างแหล่งประโยชน์ต่าง ๆ ในการดูแลต่อเนื่องเป็นรายบุคคล การดำเนินการเป็นการบูรณาการการประเมินผู้รับบริการ การระบุเป้าหมายที่ควรวัด การประสานความร่วมมือและสร้างเครือข่ายในการบริการสุขภาพต่าง ๆ  ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันมีบุคลากรหลายประเภทมาทำหน้าที่ case manager แต่บุคลากรที่นิยมมาก คือ พยาบาลวิชาชีพ หน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยรายกรณีมี  (Kane 1990 cited in Hitchcock, Schubert, & Thomas, 1999. pp. 312-314) ได้แก่
- การค้นหาผู้ป่วย (case finding)
- การประเมินสุขภาพ (assessment)
- การวางแผนการดูแล  (care planning)
- การตรวจประเมิน (monitoring)
- การประเมินซ้ำ และการประเมินผล  (reassessment and evaluation)
ซึ่งพยาบาลสามารถนำไปใช้ในการเยี่ยมบ้าน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio