วันนี้ผมได้ไปอ่านบทความของเวบหมออนามัย แล้วบังเกิดความรู้สึกอยากนำมาเล่าต่อให้พี่ๆน้องได้ทราบตามประสานักวิชาการสาธารณสุขขี้คุย
เรื่องที่ผมนำมาเล่าต่อเป็นเรื่องราวชีวิตของนักวิชาการสาธารณสุขหรือชาวบ้านเรียกขานว่า "หมออนามัย"
นักวิชาการสาธารณสุขหรือหมออนามมัยท่านนี้มีนามเรียกขานว่า "หมอก้อง"
หมอก้อง เป็นหมออนามัยไฟแรงแห่งสถานีอนามัยบ้านทุ่งครก ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
เป็นไข่มุกดำเม็ดใหม่ของวงการสาธารณสุขที่ กล้าพูด กล้าทำ กล้าคิด เจ้าของผลผลิตมากมายที่ได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับชุมชน
ที่ได้รับผิดชอบ จนประจักษ์ชัดเข้าตากรรมการ !
หากเป็นนักวิชาการสาธารณสุขหรือหมออนามัยทั่วไปเช่นผม ระยะเวลา 3 ปีกว่า ๆ ของชีวิตการทำงานส่วนใหญ่แล้วช่วงสั้นแค่นี้คงทำได้เพียงเรียนรู้งานและค่อย ๆ เก็บเกี่ยวประสบการณ์
เอออ่อห่อหมกไปกับรุ่นพี่ รุ่นอา รุ่นพ่อ
แต่นักวิชาการสาธารณสุขที่ชาวบ้านขานนามว่า “หมอก้อง”
เขากลับติดเครื่องแรงแซงหน้าใคร ๆ พุ่งเข้ารับรางวัล “คนดีศรีสาธารณสุข ปี 2552” ไปอย่างไร้ข้อกังขา
แสดงว่าหนุ่มร่างใหญ่-จโตคนนี้ต้องมีอะไรไม่ธรรมดาแน่ เขาเองก็ยอมรับโดยดุษณีว่า
เป็นคนที่คิดต่างจากคนอื่น หากใครจะเรียกเขาว่าเป็น “พวกคิดแหกคอก - นอกกรอบ” ก็ไม่น่าจะผิด
เอาอย่างนี้ จะมีนักวิชาการสาธารณสุขสักกี่คนเล่าที่กล้าพูดประโยค... “ผมคิดว่า ตอนนี้ผมมีประสบการณ์มากเลยนะกับอนามัย เพราะเก็บเกี่ยวเยอะมากแล้ว” มั่นใจขนาดไหน ลองคิดดู ?!
อยากรู้กันแล้วใช่ไหม ว่าทำไมหมอหนุ่มแห่ง
“เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก” ถึงได้เชื่อมั่นในตัวเองนัก ?
เขามีความคิดแหกคอก – นอกกรอบอย่างไร
จึงประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานขนาดได้รับ
รางวัลที่เป็นศรีแห่งชีวิต ทั้ง ๆ ที่อายุเพิ่งผ่าน
เบญจเพสมาเพียงเสี้ยวปี ? !
นักวิชาการสาธารณสุขหลายท่านรวมทั้งผมด้วยหากได้รับรู้เรื่องราวของหมอก้องแล้วต้องรู้สึกแสบๆๆคันๆที่หัวใจแน่นอนครับ
เส้นทางสู่การเป็นนักวิชาการสาธารณสุขหรือหมออนามัยของหมอก้อง
เริ่มจากหมออนามัยที่ชื่อก้อง เป็นคนครศรีธรรมราช แต่ครอบครัสย้ายมาทำสวนที่กระบี่
เรื่องราวชีวิตวัยเด็กก็ไม่มีอะไรโดดเด่นมาก แต่เป็นเด็กเรียนดี ทำกิจกรรมตลอด ตอนประถมได้เป็น
ประธานโรงเรียน ได้เกียรติบัตรเด็กดีเด่นมาตั้งแต่ ป. 1 ถึง ป. 6 แล้วก็เรียนได้ที่ 1 มาตลอด
ตอนชั้นประถมผมเรียนที่ฉวางรัชฎาภิเษก จังหวัดนครฯ มากระบี่เรียนที่คลองท่อม-
ราษฎร์รังสรรค์ ได้เป็นประธานสี เป็นนักดนตรีโรงเรียน เป็นมือเบส
ได้เป็นตัวแทนจังหวัดไปแข่งมหกรรมดนตรีนักเรียนของภาคใต้ตลอด ได้รางวัลบ้างไม่ได้บ้าง
จนสุดท้ายจบ ม. 6 อาจารย์เดชา ชาวเหนือ อาจารย์ที่เป็นหัวหน้าวงดนตรีแกบอกว่าทาง
มหิดล คณะดุริยางคศาสตร์อะไรสักอย่างนี่แหละเขามีโควตามาให้ 1 คน แกถามผมว่าสนใจ
จะไปเรียนมั้ย เพราะเราเนี่ยมีความสามารถทางด้านดนตรีและมีอะไรหลายอย่างที่การันตีได้
ว่าสามารถไปเรียนได้ ผมก็กลับมาบอกที่บ้านว่าจะได้ไปเรียนดนตรีแล้วนะ ผมมีที่เรียนแน่ ๆ
แล้ว ผมเองก็อยากจะไป แต่พอบอกปั๊บ ดูพ่อแม่แล้วเขาก็ไม่ได้มีสีหน้าพอใจหรอกนะกับสิ่งที่
เราได้โอกาสมา กลับเฉย ๆ เห็นพรรค์นั้นผมก็รู้แล้วว่าพ่อแม่คิดอะไร ผมก็เริ่มหาที่เรียนใหม่
ก็ตัดสินใจว่าจะไปเรียนนิติศาสตร์ที่ราม ทีนี้บังเอิญเพื่อนมาบอกว่าเกรดเฉลี่ยก็ถึงคะแนน
เอนทรานซ์ก็ถึง ทำไมไม่ไปสมัครเรียนสาธารณสุข วันนั้นเป็นวันสุดท้ายแล้วนะที่เขารับสมัคร
ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ตอนนั้นบ่าย 3 แล้ว ผมรีบซิ่งรถเครื่องกลับบ้านไปเอา
หลักฐานเลย มาถึงสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคลองท่อม เจ้าหน้าที่เขาก็ปิดประตูแล้ว
เอาหลักฐานมายื่นให้เขา เขาบอกว่าปิดรับสมัครไปแล้ว ผมก็ขอว่า พี่ ! รับอีกสักคนเถอะ สุดท้ายเขา
ก็รับนะ กลับมาอยู่บ้านประมาณ 15 วัน เขาก็แจ้งมาว่าได้
จริง ๆ แล้วเราชอบเหรอ การเรียนที่จบแล้วต้องไปทำงานเกี่ยวกับด้านสาธารณสุขนี่
ความจริงเรื่องการทำงานเกี่ยวกับแวดวงสาธารณสุขนี่ตอนนั้นไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจเลย
สถานีอนามัยนี่ก็ไม่เคยเห็นด้วยซ้ำ ความฝันจริง ๆ ของผมก็คืออยากเรียนดนตรี แต่ถามว่า
พ่อแม่เขาจะมีความสุขมั้ยที่เราไปเรียน ก็ไม่มีความสุขแน่ เลยคิดว่าทำใน
สิ่งที่พ่อแม่มีความสุขดีกว่า เลยตัดใจว่าดนตรีไม่เอาแล้ว พอเขาประกาศ
ปั๊บว่าได้สาธารณสุข ผมก็มาบอกพ่อว่าจะได้ไปเรียนสาธารณสุขแล้วนะ
จะได้เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแล้ว พ่อก็แสดงอาการให้รู้เลยว่าดีใจ
สุดท้ายก็ได้ไปเรียนที่ยะลา ที่วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร
หมอก้องได้เข้าเรียน วท.บ. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตรุ่นที่ 6 เป็นหลักสูตร 4 ปี เริ่มเรียนปี 45 คือ
ตอนไปเรียนนี่รู้แล้วแหละว่าได้ปริญญาตรี แต่ไม่รู้หรอกว่าจะจบมาเป็น นวก. เป็นนักวิชาการ
อะไรแบบนี้ ไม่รู้ว่าจะได้ทำงานแน่มั้ยด้วยซ้ำไป นึกว่าจะต้องสอบเข้าทำงานอะไรพรรค์นี้ ไปเรียน
นี่มีเพื่อนมาเรียนด้วยกันจากทั่วประเทศเลย ทั้งรุ่นมี 50 คน กระบี่นี่มี 5 คน ไปเรียนปี 1 ก็ได้รับ
การคัดเลือกเป็นประธานหลักสูตรเลย พอขึ้นปี 2 นี่ เขาก็ให้สิทธิ์เข้าคัดเลือกเป็นนายกสโมสร-
นักศึกษา คือตำแหน่งนั้นมันเป็นของทั้งวิทยาลัยเลยนะ รับผิดชอบทุกหลักสูตร แต่ผมไม่อยาก
เป็นตรงนั้น ก็เลยสละสิทธิ์ให้เพื่อนที่เป็นรองประธานหลักสูตรเขาลงสมัครแทน ผมอยากอยู่ใน
ตำแหน่งที่ทำงานให้เพื่อนในหลักสูตรได้มากกว่า เกิดไปเป็นนายกสโมสรก็จะต้องเฉลี่ยทำงานให้
กับหลักสูตรอื่นด้วย คือความจริงตำแหน่งที่ผมอยู่มันก็ไม่ได้ยิ่งใหญ่เลย ตำแหน่งนายกสโมสรไป
ไหนใครก็รู้จัก โคตรเท่เลย แต่สำหรับผมแล้ว ผมว่ามันมากเกินไป ผมนี่เป็นแค่ประธานหลักสูตร
ก็พอแล้ว คือตรงนี้นี่มีความสุขที่จะทำให้เพื่อน แต่ถ้ามากกว่านั้นเนี่ยไม่เอาแล้ว สุดท้ายก็เป็นแค่
ประธานหลักสูตรแสดงว่าในโลกของกิจกรรม เราก็เข้าไปยุ่งเกี่ยวอยู่ตลอด ยังไม่ทิ้ง
ยังยุ่ง ยังยุ่งตลอด เรื่องดนตรีก็ยังไม่หยุด ได้เป็นนักดนตรีของวิทยาลัย มีกิจกรรม
เกี่ยวกับเรื่องดนตรีมาตลอด มีการแข่งโฟล์กซอง เป็นคนจัดงานให้คนอื่นมาแข่งกันบ้าง
เป็นกรรมการบ้าง แล้วก็ลงแข่งเองด้วย พอลงแข่งนี่ก็ได้ที่หนึ่งตลอดเลยนะ กีฬาสีนี่ก็จะเป็น
รองประธานสีด้วย คืออะไรเข้ามานี่ก็อาสาเลย ชอบ !
คิดว่ากิจกรรมที่เราสนใจและเข้าไปเกี่ยวข้องมาตลอดตั้งแต่
ประถมจนถึงเรียนระดับปริญญานี่มันให้อะไรเราบ้าง
กิจกรรมนี่ให้เยอะมาก ในความคิดของเรานะ การที่เราทำกิจกรรมนั้นต่างกับการที่เรา
นั่งเรียนอย่างเดียว กิจกรรมนี่มันให้ประสบการณ์ ให้ความคิดเกี่ยวกับการทำงานร่วมกับคนอื่น
ได้ในเรื่องการให้ความเชื่อใจ เรื่องนี้สำคัญเลยกับการเชื่อใจคนอื่น บางคนนี่ไม่เชื่อใจใคร ทำเอง
หมดทุกอย่าง แบบนี้ตายเลย แต่ถ้าเราได้ทำกิจกรรมมากนี่จะทำให้เรารู้จักแบ่งงานให้คนอื่นทำ
ฝึกให้เราเชื่อมั่นว่าเขาจะทำได้ เรื่องนี้มันติดตัวมาเลยนะ มันส่งผลถึงการทำงานในตอนนี้ด้วย
เกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอนในวิทยาลัยตลอดระยะเวลา 4 ปี
อาจารย์ที่เป็นประธานหลักสูตรการเรียนการสอนคือท่านอาจารย์ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ
ท่านเป็นอาจารย์ที่เข้ามงวดมาก นักศึกษาที่เข้ามาใหม่ๆจะกลัวท่านมาก
แต่จริง ๆ แล้วท่านเคี่ยวเพราะอยากจะให้เราเก่ง วิธีที่แกสอนในคาบก็แปลกดี คือไม่ได้สอนตามตำรามาก
เช่น ให้หาเรื่องสั้นมาคนละ 1 เรื่อง เป็นเรื่องสั้นเกี่ยวกับวิชาที่เราเรียน ค้นมาจากหนังสือ เอกสาร หรือจากอินเตอร์เน็ตก็ได้ อย่างสมมติว่าเรียนเกี่ยวกับวิถีโลก ก็ไปหาเรื่องสั้นอะไรก็ได้ในเรื่องระบบสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง
กับวิถีโลก ให้เราเอามาสรุปเรียบเรียงแล้วนำเสนอในห้องเรียนพร้อมทั้งให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันด้วย
อย่างเวลาที่เราขึ้นนำเสนอ อาจารย์กับเพื่อนอีก 49 คนก็จะนั่งวิพากษ์กันข้างล่าง การวิพากษ์นี้ถ้าใคร
เตรียมตัวมาไม่ดีก็อาจจะพลัดลงจากเวทีได้ คือมันเปรียบเหมือนกับโลกที่เราต้องต่อสู้ ถ้าไม่แข็งพอ
คนที่นั่งอยู่ข้างล่างนั้นจะดึงเราให้ร่วงลงข้างล่างได้ ผมนี่ทำอะไรแปลก ๆ ไม่เหมือนเพื่อนสักอย่าง ผมจะ
ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากเลย ขึ้นไปบนเวทีนี่เพื่อนก็จะถามจะซัก ซัก ซักมาก อย่างตอนปี 3 ผมทำเรื่อง
“วัวชน” ที่ฉวาง ทำเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนเลี้ยงวัวชน ผมมองว่าเกมนี้มันมีเล่ห์เหลี่ยม มันมีการพนัน
ทำไมคนที่เลี้ยงวัวไว้ชนนี่เขาถึงสามารถชักชวนคนทั้งหมู่บ้านให้ลงเงินมาหุ้นให้เขาคนเดียวเพื่อไปเล่นวัว
ได้ ทั้งที่มันเป็นการพนัน ทำเรื่องแบบนี้แหละ ผมจึงทำให้เพื่อนสงสัยว่าทำไมถึงได้ทำอะไรผิดแผกไปจาก
คนอื่น
ซึ่งเราก็สามารถเอามาเชื่อมโยงกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้
ใช่ ! คราวนี้ก็มาเริ่มทำวิจัยตอนปี 4 เพื่อนเขาก็ทำอะไรไม่รู้เกี่ยวกับทางด้านสาธารณสุข แต่ผม
ทำเรื่องสิ่งแวดล้อม กลับมาทำที่กระบี่เกี่ยวกับพฤติกรรมการอนุรักษ์ธรรมชาติของเด็กนักเรียน
ดูเหมือนว่ามันกว้างไปจากเรื่องของสาธารณสุขมาก แล้วเราตอบ
คำถามกับกรรมการผู้พิจารณางานวิจัยของเราอย่างไร
ว่ามันเกี่ยวข้องกับเรื่องสาธารณสุขตรงไหน
เขาถามเหมือนกัน เราก็บอกว่ามัน
เกี่ยวข้องแน่นอน พวกนี้นะถ้ามีพฤติกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ขยะก็จะไม่มีเกลื่อนกลาดบนถนน แมลงวันสัตว์นำโรคก็จะ
ไม่มี เนียะ ! เท่านี้ก็ทำให้รู้แล้ว เหมือนมีเด็กในชุมชน ๆ หนึ่งเนี่ยมีเหมือนเด็กพวกนี้สัก 80เปอร์เซ็นต์ รับรองว่าชุมชนนี้สะอาด ถึง
ไม่ที่สุดก็จะสะอาดมาก โรค กลิ่นเหม็น ผลพิษต่าง ๆ เนี่ยจะไม่มีมันเชื่อมโยงกันอยู่แล้ว แต่อาจารย์เขาก็ยอมรับนะ
อย่างเรื่องระเบียบวิธีวิจัยเนี่ย การันตีได้เลยว่าวสส. ยะลานี่มีคุณภาพแน่นอน บางคนหลังจากจบมา เอางานวิจัยนั้นแหละส่งเข้าประกวดก็ได้รับ
รางวัลระดับภาคมาแล้วด้วย
แล้วเรื่องวิชาการพยาบาลเราเรียน ! แต่เราก็ไม่เรียนมาก เราเรียนเพื่อเป็นพื้นฐานให้สามารถไปอยู่สถานีอนามัยได้ แต่
หลัก ๆ แล้วคือเรื่องของวิชาการนะ เขาเน้นมากเรื่องวิธีคิดนี่ เรื่องกระบวนการคิดนี่เน้นเลย คือหลักสูตรนี้เขาสอนมาเพื่อให้เราเป็นนักวิชาการน่ะ
เรื่องฝึกงานนี่ หลักสูตรนักวิชาการมีการฝึกงานทั้งหมด 3 ครั้ง ตอนปิดเทอมปี 1 อาจารย์จะพาไปดู
งานก่อน ปี 1 นี่ไม่ต้องทำโครงงาน แค่ดูงานเฉย ๆ แต่ก่อนจะเปิดเทอมก็ต้องสรุปมาเป็นเอกสารส่ง
อาจารย์แบบเล่มหนา ๆ เลยว่าเราไปดูอะไรมามั่ง ตอนปี 2 ฝึกงานที่โรงพยาบาลศูนย์และก็ศูนย์-
สาธารณสุขในเขตจังหวัดยะลา แต่ยังไม่ลง สอ. ในปีนี้ต้องการให้เรามีทักษะเรื่องการรักษาพยาบาล
ฝึกกัน 2 เดือน พอปี 3 ให้ฝึกโรงพยาบาลชุมชน นี่ก็ฝึก 2 เดือนเหมือนกัน ผมไปฝึกที่โรงพยาบาล-
ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พอขึ้นปี 4 เทอมแรกจะไป - กลับชุมชน ไปอนามัยทุก ๆ วันศุกร์ ก็
แบ่งกันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็รับผิดชอบหนึ่งชุมชนต่อหนึ่งตำบล หมดเทอมก็ให้ทำเอกสารมาส่งหนึ่งชุด
ต่อหนึ่งกลุ่ม พอขึ้นเทอม 2 คราวนี้ไปฝึกยาวที่อนามัยเทอมหนึ่งเต็ม ๆ ฝึกอยู่ 4 เดือน ผมไปฝึกที่
อนามัยบ้านวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ฝึกเหมือนเราทำงานจริงเลย แต่จะหนักกว่าคนทำงาน
จริงนะ เพราะเราจะต้องออกชุมชนทุกวัน แล้วต้องรู้ให้หมด ต้องทำแผนที่ชุมชนเป็น ต้องทำเอกสาร
ต้องทำโครงการ ต้องอยู่กับคนได้หมด ที่ผมไปทำนี่คือทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
จบมาตอนเมษายน ปี 2549 ผมก็มาทำงานที่อำเภอคลองท่อม อยู่ที่ สสอ. เดือนกว่า ๆ นั่ง
พิมพ์เอกสารไปตามเรื่อง คือมีแต่ความรู้ ไม่มีประสบการณ์ ก็เลยทำงานพวกนี้ไปก่อน ทำได้เดือน
กว่า ๆ ก็มาลงที่อนามัยทุ่งครกนี่เลย ตอนนั้นมีคนอยู่แค่ 2 คน พี่อีก 2 คนเขาไปเรียนต่อ ก็เหลือผมกับ
หัวหน้า
บรรยากาศตอนลงพื้นที่ใหม่ๆต่างกันมากเลยเลยกับที่เราเคยเจอมา ต้องใช้คำนี้เลย ต่างกันมาก... มาก ! ต้องใช้วิธีการปรับ
ตัวอย่างแรงพอเห็นแบบนี้แล้ว มันทำให้เราคิดเราอยากจะพัฒนาอะไรบ้างกับที่นี่
อย่างแรกเลยคือสภาพอนามัย อนามัยเก่ามาก แปลนนี้ก็ไม่เคยเห็นเลย ผมไปอยู่ที่เทพา นั่น
เป็น PCU นะ เป็นอนามัยใหญ่ คือที่โน่นนี่ดีมาก ส่งประกวดได้สถานีอนามัยดีเด่น พอเรามาเห็นที่นี่
เท่านั้นก็ ชะ ! อนามัยทำไมเก่าจังเลยวะ แต่ตอนแรกก็ไม่ได้ทำไม่ได้ปรับปรุงอะไรมาก งานในชุมชนก็
ไม่ได้ทำเลย ทำแต่งาน routine อย่างเดียว ทำแบบนี้อยู่ประมาณ 4 - 5 เดือน เพราะไม่มีคน
อยู่อนามัย เราต้องอยู่อนามัยตลอด สุดท้ายพอพี่ ๆ เขาจบกันมาก็เริ่มออกชุมชน พอดีมัน
มีเรื่องของการส่ง อสม. ดีเด่นเข้าประกวดผมก็เลยต้องออกไปเฟ้นหา อสม. ต้องออก
ไปเตรียมพื้นที่ในชุมชน ถึงได้เริ่มทำความรู้จักกับชุมชน นั่นแหละเป็นจุดเริ่มที่ทำให้
ได้ออกชุมชนสถานีอน า มั ย เล็ ก ๆ ที่ นี่ แหล ะ คื อแหล่ง ฟูมฟั ก “นั ก วิ ช า ก า ร . . .
แหกคอก!”
การได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกับชุมชน ได้เห็นปัญหาของชาวบ้าน นี่คือ
สาเหตุสำคัญใช่มั้ยที่ทำให้เราเอาโครงการมากมายมาลงในพื้นที่
ใช่ครับ ได้ไปคุยกับชาวบ้านได้เห็นสภาพชุมชน งานในชุมชนก็เริ่มต้นจากเรื่องของ อสม. นี่
แหละที่ทำให้เรามีทีมงาน เริ่มมีเครือข่ายในการทำงานทั้งข้างนอกและในชุมชน ก็เริ่มคิดจะทำโครงการ
แก้ไขปัญหาในชุมชนแล้วทีนี้ โครงการแรกที่ผมเอาลงไปทำคือ “โครงการยาเสพติด” โดยเอาเด็กเข้ามา
อบรมเรื่องยาเสพติดแล้วให้เขาทำกิจกรรมกันในชุมชน แต่นั่นถือว่าเป็นโครงการเล็ก ๆ ใช้งบของ อบต.
แต่ถ้าโครงการใหญ่ชิ้นแรกที่ใช้งบประมาณมาก ก็คือโครงการ “ธนาคารขยะ” เพราะตอนผมเข้าไปครั้ง
แรกเนี่ย เห็นเลยว่าขยะมันเยอะมาก ตัวผมเอง นี่ชอบเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว ก็
เลยคิดว่าจะทำอย่างไรให้ขยะมันน้อยลง ก็นั่งคิด ๆ หาวิธีการนะ พอดี search เข้าไปใน
เว็บไซต์ของ สสส. เขาประกาศไว้ว่ามีการเปิดกรอบให้ของบประมาณมาทำโครงการ ผมก็
เลยเขียนโครงการเข้าไปของบ ความจริงโครงการธนาคารนี่อาจจะไม่ใช่นวัตกรรม
ของที่อื่น ๆ เพราะเขาทำกันมามากแล้วทั่วโลก แต่สำหรับที่นี่แล้วถือเป็นเรื่องใหม่
มาก ๆ ผมเห็นว่ามันเคยทำกันมาแล้วได้ผลก็เลยอยากเอามาทำที่นี่ ก็เอาตังค์มา
ให้โรงเรียน ได้งบมาประมาณแสนต้น ๆเรื่องนี้พอพี่ ๆ ในอนามัย... โอ.เค. ทีม-
งานในชุมชน... โอ.เค. ผอ. โรงเรียน...โอ.เค. ก็ตกลงใจทำกัน
ผลออกมาก็ได้ผลดีนะ เด็ก ๆ เก็บขยะในชุมชนมาขายแล้วได้ตังค์ใช้ก็ชอบใจกัน ผลที่ได้คือชุมชนสะอาด
ไม่มีขยะเกลื่อนกลาดในหมู่บ้าน ระบบสาธารณสุขดีขึ้น คือผมนี่จะมีวิธีการทำงานแบบทำอย่างหนึ่งแล้ว
ให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม ทั้งเด็ก ทั้งโรงเรียน ทั้งชุมชน ให้ครอบคลุมหมดเลย ทำทีเดียวเราจะได้ไม่ต้อง
เหนื่อยหลายครั้ง อย่าง “ศูนย์การเรียนรู้เรื่องยาเสพติด” ที่ทำอยู่ตอนนี้เนี่ย ผมของบมาจาก สวรส.
โครงการนใี้ หญก่ วา่ ธนาคารขยะอกี นะ ตอ้ งการทำใหเ้ ปน็ นวตั กรรมของจงั หวดั เลย จะพฒั นาใหเ้ ปน็ ชมุ ชน-
ต้นแบบ อันนี้ทำครอบคลุมหมดทุกกลุ่มประชากรในชุมชนเลย ตอนนี้เบ็ดเสร็จที่ทำไปแล้วก็มี “โครงการ
เยาวชน เรียนรู้ เข้าใจ ป้องกันภัยยาเสพติด” “โครงการศูนย์การเรียนรู้ เฝ้าระวัง ป้องกัน และแกไ้ ขปญั หา
ยาเสพติด” “โครงการธนาคารขยะในโรงเรียน” “โครงการเครือข่ายสุขภาพคนคลองไคร ประสานใจสร้าง-
สุขในชุมชน” “โครงการเยาวชนทูบีนัมเบอร์วัน” แล้วก็ “โครงการกาชาด” อย่างโครงการกาชาดนี่ จะเน้น
เกี่ยวกับเรื่องการให้ความช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ ผมเขียนขอทุนไป
เพราะพื้นที่เรามันก็ได้รับผลกระทบมาเหมือนกัน จากโครงการนี้ทำให้ตอนนี้ผมได้เป็น “อาสากาชาด”
ด้วยนะ
การที่เราทำโครงการใหญ่ในชุมชนได้ แสดงว่าความร่วมมือ
ของชาวบ้านน่าจะมีมาก พลังชุมชนคงจะแข็งน่าดู
แข็ง ! ถือว่าแข็งมาก คือกลุ่มมุสลิมไงครับ ความเป็นศาสนาของเขานี่แข็งมาก มีการ
รวมตัวรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมทางศาสนาอยู่ตลอด ผมเข้าไปก็อิงตามบริบทเขาหมดเลยนะ
ผมใช้วิธีการเอากลุ่มทุกกลุ่มในชุมชนมารวมกันเป็นเครือข่าย ให้ทุกคนเป็นสมาชิกของกลุ่ม
เลย เครือข่ายเองก็มีการช่วยเหลือสมาชิกกันเอง มีกองทุนมีสวัสดิการพร้อม เนี่ยคือสิ่งที่มัน
เกิดจากเราได้มองว่าชุมชนมันมีบริบทแบบนี้แล้วจะทำงานยังไงได้บ้าง ก็ได้ผลออกมาที่น่า
พอใจนะ
หลัก ๆ เลยนี่คือแน่นอนเลยว่าเป็นชุมชน สำหรับทางพี่ ๆ ที่อนามัยเขาก็ไม่ขัดนะ แต่
ขอให้บอก จะทำอะไรขอให้บอก ผมก็บอกทุกเรื่อง ขอทุนจากไหน ทำอะไร อย่างขอทุนนี่ผมก็
ขอในนามอนามัยนะไม่ได้เขียนในนามตัวเองเลย แต่เวลาทำนี่ผมเป็นตัวหลัก นอกนั้นแนวร่วม
ก็เป็น อบต. ผู้ใหญ่บ้าน ประธานกลุ่มในชุมชน ความจริงแล้วชุมชนนี่เขาจะรู้มากนะ อย่าง
เครือข่ายสุขภาพของคนในหมู่บ้านนี่พวกประธานกลุ่มเขาจะรู้ละเอียดเลย เผลอ ๆ เขามี
ระบบความคิดที่รู้อะไรมากกว่าผมด้วยซ้ำไป อย่างผมนี่ถือเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ ช่วยหา
งบประมาณจากภาครัฐไว้ให้ ส่วนเรื่องประสานงานกับภาคเอกชน ชาวบ้านเขาก็ไปกันเอง
ได้นะ
เล่าเรื่องนักวิชาการสาธารณสุข
ป้ายกำกับ:
นักวิชาการสาธารณสุข
View Posts Recommended By Other Readers :
นักวิชาการสาธารณสุขคลังบทความของบล็อก
- พฤษภาคม (1)
- มีนาคม (3)
- มกราคม (1)
- มิถุนายน (1)
- เมษายน (2)
- พฤศจิกายน (1)
- สิงหาคม (2)
- พฤษภาคม (1)
- เมษายน (1)
- พฤศจิกายน (2)
- มีนาคม (1)
- กรกฎาคม (1)
- มิถุนายน (1)
- พฤษภาคม (2)
- เมษายน (4)
- มีนาคม (7)
- กุมภาพันธ์ (3)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (3)
- พฤศจิกายน (9)
- ตุลาคม (1)
- กันยายน (9)
- สิงหาคม (32)
- กรกฎาคม (42)
- มิถุนายน (41)
- พฤษภาคม (3)
- เมษายน (5)
- มีนาคม (3)
- กุมภาพันธ์ (13)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (7)
- พฤศจิกายน (10)
- ตุลาคม (4)
- กรกฎาคม (2)
- มิถุนายน (10)
Popular Posts
-
"เสื้อหมออนามัย" ใส่ได้เฉพาะ หมออนามัย หรือเปล่าครับ? เป็นคำถามที่เด็กอายุราว 4 ปีได้เอยถามผม พอผมได้ยินคำถามนี้ผมก็ถามตอบท...
-
"ขอเล่าเรื่องของผมครั้งสมัยก่อนที่ผมจะสอบได้บรรจุในตำแหน่งนักวิชาการสักนิดนึงนะครับ อาจเรีกได้ว่าเป็นการแชร์เคล็ดลับในการเตรียมตัวสอบก้...
-
เมื่อช่วงวันหยุดทีี่่ผ่านเมื่อกี้ผมได้ไปประชุม อบรม เรื่องของ PCA ที่จังหวัดสุรินทร์ ไปประชุม(จริงๆคือไปอบรม) และพักที่ รีสอร์ท แน่นอนครั...
-
นับเวลาหลายปีแล้วที่เจ้าหน้าที่สาสุขต่างพยายามศึกษาต่อเพื่อให้ได้คำว่า ปริญญา......ในก่อนหน้านี้ก็ไปเรียนราชภัฎ เอกสุขศึกษา หรือลาเรียนต...
-
เนื่องด้วยบุญพา บารมีเสริม ทำให้ผมได้มีโอกาศไปนั่งรับฟังนโยบายการดำเนินงานงานปฐมภูมิ ถึงแม้ว่าผมไม่ได้รับฟังจากปากท่านผู้ตรวจราชการ ท...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น