ผมเชื่อว่าแพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข ตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับ ทุกสาขาวิชาชีพล้วนแต่ต้องเจอกับสถานการณ์ที่เรียกว่า...วาระสุดท้ายของการมีชีวิต
สถานการณ์ที่ผู้ป่วย ไร้ซึ่งสติสัมปชัญญะ ไร้ซึ่งอำนาจการตัดสินใจที่จะมีชีวิตอยู่อย่างทรมานหรือเลือกที่จะจากไป
สถานการณ์เช่นที่กล่าวมา อำนาจการตัดสินใจในการรักษาล้วนตกอยู่ในมือของแพทย์และญาติโดยสิ้นเชิง บางกรณีก็มีความเห็นไม่ลงรอยกัน
บางกรณีญาติและแพทย์ก็มีความเห็นตรงกันแตขัดกับเจตนาที่แท้จริงของผู้ป่วย...
ขัดกับเจตนาที่ไม่ต้องการการรักษา...ไม่ต้องการอยู่อย่างทรมาน...ไม่ต้องการอยู่อย่างไร้ค่า..ไร้ความสามารถในการดูแลตัวเอง
ด้วยเหตุดังกล่าว...จึงได้มีการคิดถึงเรื่อง...สิทธิขั้นพื้นฐาน...สิทธิการไม่รับการรักษา
สิทธิการไม่รับการรักษาเป็นบ่อเกิดของร่างมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
ซึ่งมาตรา 12 นี้ได้รับรอง"สิทธิที่แสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข" สิทธิดังกล่าวมีรากฐานมาจาก "สิทธิในชีวิตและร่างกาย"
สาระสำคัญแห่งมาตรา 12 นี้เห็นจะเป็นเรื่องปัญหานานาประการที่จะตามมา ซึ่งนักวิชาการสาธารณสุขหรือประชาชนทั่วไปควรแก่การศึกษา ไตร่ตรองให้มาก ผมได้นำตัวอย่างคดีเกี่ยวกับกรณีของวาระสุดท้ายของชีวิตมาให้ศึกษาครับ
แนวคำตัดสินของศาลต่างประเทศเกี่ยวกับ “วาระสุดท้ายของชีวิต”
ตัวอย่างการตัดสินคดีเกี่ยวกับกรณีของวาระสุดท้ายของชีวิต ในศาลชั้นต้นของประเทศญี่ปุ่นซึ่งได้ให้เหตุผลในคำพิพากษาที่น่าสนใจ ดังนี้
๑. ผู้ป่วยเป็นผู้ที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคที่ไม่อาจรักษาได้และอยู่ในขั้นสุดท้ายของโรคที่เป็นต้นเหตุ ซึ่งผู้ป่วยนั้นไม่อาจฟื้นขึ้นมาได้อีก
๒. ผู้ป่วยนั้นได้แสดงความยินยอมไว้โดยชัดแจ้งและต้องได้รับการยินยอมรักษาไว้ก่อนที่จะถึงแก่ความตาย ถ้าผู้ไม่สามารถจะให้ความยินยอมได้โดยชัดแจ้ง ความยินยอมของผู้ป่วยนั้นอาจจะทำเป็นเอกสารแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าเหมือนกับการทำพินัยกรรม
๓. ผู้ป่วยอาจจะอยู่ในภาวะของการหยุดให้การรักษา หรือหยุดการใช้เครื่องช่วยหายใจ
๔. ผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมานกับความเจ็บป่วยด้านกายภาพเป็นอย่างมาก
มีข้อสังเกตว่า ผู้ป่วยต้องเป็นผู้ให้ความยินยอมเอง จะให้ทางครอบครัวให้ความยินยอมแทนไม่ได้ ถ้ายอมให้ครอบครัวเป็นผู้ให้ความยินยอมแทนอาจเข้าข่ายการส่งเสริมการฆาตกรรมได้
เรื่องกรณีการไม่ต้องการรับการรักษาเคยเกิดที่อเมริกาแะลเคยสร้างเป็นหนังนะครับ ผมเห็นเกี่ยวกับหนังที่ http://tonncub.blogspot.com/2011/11/blog-post_23.htmlh
เจตนารมณ์การขอใช้สิทธิการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต
ป้ายกำกับ:
วาระสุดท้ายของชีวิต
View Posts Recommended By Other Readers :
วาระสุดท้ายของชีวิตคลังบทความของบล็อก
- พฤษภาคม (1)
- มีนาคม (3)
- มกราคม (1)
- มิถุนายน (1)
- เมษายน (2)
- พฤศจิกายน (1)
- สิงหาคม (2)
- พฤษภาคม (1)
- เมษายน (1)
- พฤศจิกายน (2)
- มีนาคม (1)
- กรกฎาคม (1)
- มิถุนายน (1)
- พฤษภาคม (2)
- เมษายน (4)
- มีนาคม (7)
- กุมภาพันธ์ (3)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (3)
- พฤศจิกายน (9)
- ตุลาคม (1)
- กันยายน (9)
- สิงหาคม (32)
- กรกฎาคม (42)
- มิถุนายน (41)
- พฤษภาคม (3)
- เมษายน (5)
- มีนาคม (3)
- กุมภาพันธ์ (13)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (7)
- พฤศจิกายน (10)
- ตุลาคม (4)
- กรกฎาคม (2)
- มิถุนายน (10)
Popular Posts
-
ตัวอย่างการแบ่งงานใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนะครับ มีทั้งหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข หน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุ...
-
มีคำกล่าวที่ว่า "ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ" จากคำกล่าวนี้จะเห็นได้ว่า ตามีความสำคัญมาก ดังนั้นแล้ว ยาหยอดตา ก็เป็น...
-
"เสื้อหมออนามัย" ใส่ได้เฉพาะ หมออนามัย หรือเปล่าครับ? เป็นคำถามที่เด็กอายุราว 4 ปีได้เอยถามผม พอผมได้ยินคำถามนี้ผมก็ถามตอบท...
-
เนื่องด้วยบุญพา บารมีเสริม ทำให้ผมได้มีโอกาศไปนั่งรับฟังนโยบายการดำเนินงานงานปฐมภูมิ ถึงแม้ว่าผมไม่ได้รับฟังจากปากท่านผู้ตรวจราชการ ท...
-
เมื่อช่วงวันหยุดทีี่่ผ่านเมื่อกี้ผมได้ไปประชุม อบรม เรื่องของ PCA ที่จังหวัดสุรินทร์ ไปประชุม(จริงๆคือไปอบรม) และพักที่ รีสอร์ท แน่นอนครั...
Related Websites
- จัดการอารมณ์ของนักวิชาการสาธารณสุข - GUSTUSO
- สร้างสุขแบบนักวิชาการสาธารณสุข - GUSTUSO
- ความทรงจำเกี่ยวกับพิษสุนัขบ้า - GUSTUSO
บล็อกเพื่อนๆๆ
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
349,340
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น