ขับเคลื่อนโดย Blogger.

เจตนารมณ์การขอใช้สิทธิการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต

ผมเชื่อว่าแพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข ตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับ ทุกสาขาวิชาชีพล้วนแต่ต้องเจอกับสถานการณ์ที่เรียกว่า...วาระสุดท้ายของการมีชีวิต

สถานการณ์ที่ผู้ป่วย ไร้ซึ่งสติสัมปชัญญะ ไร้ซึ่งอำนาจการตัดสินใจที่จะมีชีวิตอยู่อย่างทรมานหรือเลือกที่จะจากไป

สถานการณ์เช่นที่กล่าวมา  อำนาจการตัดสินใจในการรักษาล้วนตกอยู่ในมือของแพทย์และญาติโดยสิ้นเชิง บางกรณีก็มีความเห็นไม่ลงรอยกัน

บางกรณีญาติและแพทย์ก็มีความเห็นตรงกันแตขัดกับเจตนาที่แท้จริงของผู้ป่วย...
ขัดกับเจตนาที่ไม่ต้องการการรักษา...ไม่ต้องการอยู่อย่างทรมาน...ไม่ต้องการอยู่อย่างไร้ค่า..ไร้ความสามารถในการดูแลตัวเอง

ด้วยเหตุดังกล่าว...จึงได้มีการคิดถึงเรื่อง...สิทธิขั้นพื้นฐาน...สิทธิการไม่รับการรักษา 
สิทธิการไม่รับการรักษาเป็นบ่อเกิดของร่างมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
ซึ่งมาตรา 12 นี้ได้รับรอง"สิทธิที่แสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข" สิทธิดังกล่าวมีรากฐานมาจาก "สิทธิในชีวิตและร่างกาย"


สาระสำคัญแห่งมาตรา 12 นี้เห็นจะเป็นเรื่องปัญหานานาประการที่จะตามมา ซึ่งนักวิชาการสาธารณสุขหรือประชาชนทั่วไปควรแก่การศึกษา  ไตร่ตรองให้มาก ผมได้นำตัวอย่างคดีเกี่ยวกับกรณีของวาระสุดท้ายของชีวิตมาให้ศึกษาครับ  

แนวคำตัดสินของศาลต่างประเทศเกี่ยวกับ “วาระสุดท้ายของชีวิต”

ตัวอย่างการตัดสินคดีเกี่ยวกับกรณีของวาระสุดท้ายของชีวิต ในศาลชั้นต้นของประเทศญี่ปุ่นซึ่งได้ให้เหตุผลในคำพิพากษาที่น่าสนใจ ดังนี้

๑. ผู้ป่วยเป็นผู้ที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคที่ไม่อาจรักษาได้และอยู่ในขั้นสุดท้ายของโรคที่เป็นต้นเหตุ ซึ่งผู้ป่วยนั้นไม่อาจฟื้นขึ้นมาได้อีก
๒. ผู้ป่วยนั้นได้แสดงความยินยอมไว้โดยชัดแจ้งและต้องได้รับการยินยอมรักษาไว้ก่อนที่จะถึงแก่ความตาย ถ้าผู้ไม่สามารถจะให้ความยินยอมได้โดยชัดแจ้ง ความยินยอมของผู้ป่วยนั้นอาจจะทำเป็นเอกสารแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าเหมือนกับการทำพินัยกรรม
๓. ผู้ป่วยอาจจะอยู่ในภาวะของการหยุดให้การรักษา หรือหยุดการใช้เครื่องช่วยหายใจ
๔. ผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมานกับความเจ็บป่วยด้านกายภาพเป็นอย่างมาก
มีข้อสังเกตว่า ผู้ป่วยต้องเป็นผู้ให้ความยินยอมเอง จะให้ทางครอบครัวให้ความยินยอมแทนไม่ได้ ถ้ายอมให้ครอบครัวเป็นผู้ให้ความยินยอมแทนอาจเข้าข่ายการส่งเสริมการฆาตกรรมได้

เรื่องกรณีการไม่ต้องการรับการรักษาเคยเกิดที่อเมริกาแะลเคยสร้างเป็นหนังนะครับ ผมเห็นเกี่ยวกับหนังที่  http://tonncub.blogspot.com/2011/11/blog-post_23.htmlh




เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน

ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชนเป็นอีกหนึ่งตำแหน่งที่น่าสนใจนะครับสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานในวงการสาธารณสุขและต้องการทำงานกับชุมชน ทำไมผมถึงบอกว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชนน่าสนใจก็เพราะตำแหน่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชนเรียน 2 ปี แล้วออกมาทำงานได้รับราชการ มีเงินเดือนใช้แล้วใช้ช่วงเวลาเสาร์-อาทิตย์เรียนต่อปริญญาตรี จบปริญญาตรีได้เป็นนักวิชาการสาธารณสุข หรือ อาจไปเรียนต่อพยาบาลก็ได้ 

สิ่งที่เป็นจุดเด่นที่ผมเห็นว่าดีมากๆสำหรับตำแหน่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชนคือ การที่เราทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยเรามีโอกาศได้นำความรู้มาพัฒนางานได้เลยซึ่งแน่นอนสิ่งนี้ผมเห็นว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากๆในการที่เราจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชนหรืออาจเรียกว่าเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนก็ได้ เขาเหล่านี้มีบทบาทอะไร ทำงานอย่างไร ถ้าสงสัยก็อ่านต่อเลยครับ


สายงาน เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน
ลักษณะงานโดยทั่วไป
สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางการสาธารณสุขชุมชน ซึ่งมีลักษณะงานที่
ปฏิบัติเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเบื้องต้น การส่งเสริมสุขภาพอนามัย ซึ่งรวมถึงงานอนามัยแม่และเด็ก
การสุขาภิบาล การควบคุมป้องกันโรคและทันตสาธารณสุข หรือปฏิบัติงานในลักษณะส่งเสริมสนับสนุนการ
ดำเนินงานของหน่วยงานสาธารณสุขที่อยู่ในความรับผิดชอบ เช่น วางแผนปฏิบัติงาน กำหนดวิธีการ
ดำเนินงานพิจารณาเสนอแนะ ตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานการให้บริการทางวิชาการสาธารณสุข
ฝึกอบรมเพื่อฟื้นฟูทางวิชาการแก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข สนับสนุนเครื่องมือ
เครื่องใช้และเวชภัณฑ์ทางสาธารณสุข เผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานสาธารณสุข หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรค
ระบาด เช่น
สอบสวนภาวะการเกิดโรคติดต่อ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการเกิดโรค เก็บวัตถุติดเชื้อส่งตรวจ ให้การ
นิเทศงานทางระบาดวิทยาของโรคต่าง ๆ เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ชื่อและระดับของตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้ คือ
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2 ระดับ 2
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 3 ระดับ 3
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 4 ระดับ 4
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 5 ระดับ 5
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 6 ระดับ 6
ชื่อตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับงานสาธารณสุขชุมชน ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ความ
สามารถ หรือความชำนาญงานค่อนข้างสูง ภายใต้การตรวจสอบโดยทั่วไป หรือตามคำสั่ง หรือแบบ หรือ
แนวทางปฏิบัติที่มีอยู่อย่างกว้าง ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
เป็นเจ้าหน้าที่ชั้นต้น ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยากเกี่ยวกับงานให้บริการทางสาธารณสุข โดยให้
บริการเยี่ยมเยียน ตรวจสุขภาพร่างกาย ให้คำแนะนำช่วยเหลือสงเคราะห์ให้ภูมิคุ้มกันโรคแก่ผู้ป่วยหรือ
ประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเบื้องต้น การส่งเสริมสุขภาพอนามัย ซึ่งรวมถึงงานอนามัยแม่และ
เด็ก และงานทันตสาธารณสุข การสุขาภิบาล กาบควบคุมป้องกันโรค หรือปฏิบัติงานสนับสนุนการให้บริการ
สาธารณสุขในด้านเวชภัณฑ์และเครื่องมือเครื่องใช้ทางสาธารณสุข หรือปฏิบัติงานด้านระบาดวิทยา เช่น
ช่วยควบคุมตรวจสอบและปฏิบัติงาน รวบรวมสถิติและข้อมูลการเกิดโรคติดต่อ หรือโรคที่เป็นปัญหาทาง
สาธารณสุข สอบสวนภาวะการเกิดโรคในเบื้องต้น ติดตามและรายงานการเกิดโรค เก็บวัตถุติดเชื้อส่งตรวจ
เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้รับประกาศนียบัตรทางการสาธารณสุข การพยาบาล การแพทย์แผนไทย ซึ่งมีระยะ
เวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากมัธยมศึกษาตอนปลายที่ศึกษาวิชาสามัญหรือทางอื่นที่ ก.อบต.
กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ หรือ
1. ได้รับประกาศนียบัตรหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางการสาธารณสุข การพยาบาล ซึ่งมี
ระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 3 ปี ต่อจากมัธยมศึกษาตอนปลายที่ศึกษาวิชาสามัญหรือทางอื่นที่ ก.อบต.
กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ หรือ
2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางการแพทย์แผนไทย
หรือทางอื่นที่ ก.อบต. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. มีความรู้ในงานสาธารณสุขชุมชน อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
2. มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล และกฎหมาย
กฎ ระเบียบ และข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
3. มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานธุรการ และงานสารบรรณอย่างเหมาะสมแก่
การปฏิบัติงานในหน้าที่
4. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
5. มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความละเอียดแม่นยำ
6. มีความสามารถในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความ
รับผิดชอบ
ชื่อตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 3
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานสาธารณสุขชุมชน ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานไม่
สูงนัก หรือปฏิบัติงานการสาธารณสุขชุมชนที่ยากพอสมควร ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้
ความสามารถหรือความชำนาญงานสูงพอสมควร ภายใต้การกำกับตรวจสอบบ้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่
ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ยากพอสมควรเกี่ยวกับงานสาธารณสุขชุมชน โดยให้บริการเยี่ยมเยียน
ตรวจสอบสุขภาพร่างกาย ให้คำแนะนำช่วยเหลือสงเคราะห์ให้ภูมิคุ้มกันแก่ผู้ป่วย หรือประชาชนทั่วไป
เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเบื้องต้น การส่งเสริมสุขภาพอนามัย ซึ่งรวมถึงงานอนามัยแม่และเด็ก และงาน
ทันตสาธารณสุขการสุขาภิบาล การควบคุมป้องกันโรค หรือปฏิบัติงานทางระบาดวิทยา เช่น สอบสวน
ภาวะการเกิดโรคติดต่อ รวบรวมและวิเคราะห์สถิติข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดโรค ศึกษาเกี่ยวกับการระบาดของ
โรค หรือช่วยปฏิบัติงาน สนับสนุนส่งเสริมการให้บริการสาธารณสุขแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น วางแผนงาน
ปฏิบัติงาน พิจารณาเสนอแนะ ตรวจสอบติดตามและประเมินผลงาน ให้บริการสาธารณสุข ประสานการ
ฝึกอบรมและนิเทศงานแก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2 และได้ดำรงตำแหน่งใน
ระดับ 2 หรือที่ ก.อบต.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสาธารณสุข
ชุมชน หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี กำหนดเวลา 2 ปี ให้เพิ่มเป็น 3 ปี สำหรับผู้มี
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2 ข้อ 1
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดย
เฉพาะอย่างยิ่งของประเทศไทย
2. มีความสามารถในการศึกษา หาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และสรุปเหตุผล
ชื่อตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 4
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานสาธารณสุขชุมชนที่ค่อนข้างยากมาก ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ความ
สามารถ หรือความชำนาญงานค่อนข้างสูงมาก โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้กำกับตรวจสอบ หรือภายใต้การ
ตรวจสอบบ้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยากมากเกี่ยวกับงานสาธารณสุขชุมชน โดยให้บริการเยี่ยมเยียน
ตรวจสุขภาพร่างกาย ให้คำแนะนำช่วยเหลือสงเคราะห์ให้ภูมิคุ้มกันโรคแก่ผู้ป่วย หรือประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับ
การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การส่งเสริมสุขภาพอนามัยซึ่งรวมถึงงานอนามัยแม่และเด็ก และงานทันตสา-
ธารณสุขการสุขาภิบาล การควบคุมป้องกันโรค หรือปฏิบัติงานทางระบาดวิทยา เช่น การสอบสวนภาวะการ
เกิดโรคติดต่อ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดโรค ศึกษาเกี่ยวกับการระบาดของโรค ให้การนิเทศ
งานทางระบาดวิทยาแก่เจ้าหน้าที่ หรือปฏิบัติงานสนับสนุนส่งเสริมการให้บริการสาธารณสุข ฝึกอบรมฟื้นฟู
ทางวิชาการแก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข ให้คำปรึกษาแนะนำ ตอบปัญหาและ
ชี้แจงเรื่องต่าง ๆเกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2 หรือเจ้าพนักงาน
ส่งเสริมสุขภาพ 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 3 หรือที่ ก.อบต.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้อง
ปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสาธารณสุขชุมชนหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2 หรือเจ้าพนักงาน
ส่งเสริมสุขภาพ 2 และดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 2 หรือที่ ก.อบต.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดย
จะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสาธารณสุขชุมชน หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
กำหนดเวลา 4 ปี ให้เพิ่มเป็น 5 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน
2 ข้อ 1
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 3 แล้ว
จะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานด้านต่าง ๆ ของส่วนราชการที่สังกัด
2. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน
ชื่อตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 5
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานสาธารณสุขชุมชนที่ยากมาก ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ความสามารถ หรือ
ความชำนาญงานสูงมาก โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้กำกับตรวจสอบและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ยากมากเกี่ยวกับงานสาธารณสุขชุมชน โดยการให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยซึ่งรวมถึงงานอนามัยแม่และเด็ก และงานทันตสาธารณสุข การสุขาภิบาล การให้
ภูมิคุ้มกันเพื่อการควบคุมป้องกันโรค หรือปฏิบัติงานทางระบาดวิทยา เช่น การสอบสวนภาวะการเกิด
โรคติดต่อ รวบรวมและวิเคราะห์สถิติข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดโรค ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการระบาดของโรค ให้การ
นิเทศงานทางระบาดวิทยาแก่เจ้าหน้าที่ หรือปฏิบัติงานสนับสนุนส่งเสริมการให้บริการสาธารณสุขแก่
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการบริหารงานและวิชาการสาธารณสุข เช่น วางแผนปฏิบัติงาน กำหนดวิธีการ
ดำเนินงาน พิจารณาเสนอแนะ ให้บริการสาธารณสุข ฝึกอบรมฟื้นฟูทางวิชาการแก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร
ที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข ฝึกอบรม และให้คำปรึกษาแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับ
งานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2 หรือเจ้าพนักงาน
ส่งเสริมสุขภาพ 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 4 หรือที่ ก.อบต.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้อง
ปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสาธารณสุขชุมชนหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2 หรือเจ้าพนักงาน
ส่งเสริมสุขภาพ 2 และดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 3 หรือที่ ก.อบต.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดย
จะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสาธารณสุขชุมชน หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 4 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล
2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์
ชื่อตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 6
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานสาธารณสุขชุมชนที่ยากมาก ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ความสามารถ หรือ
ความชำนาญงานสูงมาก โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้กำกับตรวจสอบและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ยากมากเกี่ยวกับงานสาธารณสุขชุมชน โดยการให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยซึ่งรวมถึงงานอนามัยแม่และเด็ก และงานทันตสาธารณสุข การสุขาภิบาล การให้
ภูมิคุ้มกันเพื่อการควบคุมป้องกันโรค หรือปฏิบัติงานทางระบาดวิทยา เช่น การสอบสวนภาวะการเกิด
โรคติดต่อ รวบรวมและวิเคราะห์สถิติข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดโรค ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการระบาดของโรค ให้การ
นิเทศงานทางระบาดวิทยาแก่เจ้าหน้าที่ หรือปฏิบัติงานสนับสนุนส่งเสริมการให้บริการสาธารณสุขแก่
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการบริหารงานและวิชาการสาธารณสุข เช่น วางแผนปฏิบัติงาน กำหนดวิธีการ
ดำเนินงาน พิจารณาเสนอแนะ ให้บริการสาธารณสุข ฝึกอบรมฟื้นฟูทางวิชาการแก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร
ที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข ฝึกอบรม และให้คำปรึกษาแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับ
งานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2 หรือเจ้าพนักงาน
ส่งเสริมสุขภาพ 2และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 5 หรือที่ ก.อบต.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้อง
ปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสาธารณสุขชุมชนหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2 หรือเจ้าพนักงาน
ส่งเสริมสุขภาพ 2 และดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 4 หรือที่ ก.อบต.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดย
จะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสาธารณสุขชุมชน หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 5 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล
2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์

นักวิชาการสาธารณสุขต้องเป็นCEOด้วย

 "ด้วยบทบาทของนักวิชาการสาธารณสุขเองต้องพัฒนางานประจำและต้องตอบสนองงานนโยบายอย่างไม่หยุดนิ่ง ดังนั้นนักวิชาการสาธารณสุขทุกคนต้องฝึกฝน ทุ่มเท่ให้กับการพัฒนาตนเองและเจ้าหน้าที่ที่อยู่หน่วยงานเดียวกับเรา  จะว่าไปเรียกได้ว่านักวิชาการสาธารณสุขเองก็ต้องเป็นCEO ให้กับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขับเคลื่อน รพ.สต. สู่ความเป็นเลิศให้ได้ บทความที่ผมนำมาลง เป็นภาษาอังกฤษครับ นักวิชาการสาธารณสุขอ่านออก แปลได้อยู่แล้วผมจึงไม่เอามาแปลอีกครับ ชื่อ บทความ How to become a ceo" 

 

How to Become A CEO


What is a CEO

The abbreviation CEO usually stands for Chief Executive Officer or less commonly Corporate Executive Officer. It is the highest paid position in an Incorporated company. The Chief Executive Officer normally reports directly to the Board of Directors and Shareholders of the company. He sometimes is the top person on the Board of Directors and sometimes just their answer person.
To rise to the top and become a CEO it helps if you are doing something that you really like, if you don’t then you’re not going to be that successful at it. You have to enjoy the field you are working in and welcome the challenge of working with people you may have disagreements with. Running a successful business involves utilizing the right people with the right skills and placing them in the right positions. It is also important not to micro-manage the tasks of those under you but give them the freedom to solve problems using their own methods.
Arthur Carmazzi, considered one of the top ten leadership coaches in the world teaches that “as a leader you must allow others to fail… If your into control, into making sure everything is perfect it is not going to happen and therefore you will not develop leadership in others. So you must allow others to fail”.
By allowing others to fail you can help them learn from their mistakes and where they went wrong. Learning through failure is an effective ways of becoming a stronger leader.

How to become a ceo quickly?

So how long does it take to become a ceo? If your young then you have a greater chance of rising to the top and becoming a CEO quickly in the tech sector, particularly the internet field.
More public-company CEOs age 40 and under lead organizations involved in technology products or services than work in any other industry.

บทความนี้ได้มาจาก http://www.managerleadershipcoaching.com/2010/03/how-to-become-a-ceo-2/ 

การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา


การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา

How to Write an Epidemiologic Investigation Report


สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

     

                การสอบสวนทางระบาดวิทยาของโรคหรือปัญหาสาธารณสุขต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อยหรือโรคไม่ติดต่อก็ตาม ขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งของการสอบสวน ได้แก่ การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา เพื่อนำเสนอเรื่องราวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและการดำเนินงานให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ระดับผู้บริหารสาธารณสุขจนถึงผู้รับผิดชอบในระดับต่างๆ ดังนั้น เจ้าหน้าที่ผู้สอบสวนโรคควรให้ความสำคัญกับการเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยาให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า

วัตถุประสงค์ของการเขียนรายงานสอบสวน

1.       เพื่อรายงานผลการสอบสวนทางระบาดวิทยา
2.       เพื่อเสนอข้อคิดเห็นแก่ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องในระดับต่างๆ
3.       เพื่อเป็นองค์ความรู้และแนวทางในการสอบสวนโรคครั้งต่อไป
4.       เพื่อบันทึกเหตุการณ์ระบาดของโรคหรือปัญหาสาธารณสุขที่เกิดขึ้น

ประเภทของรายงาน

                รายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา แบ่งตามลักษณะรายงานได้เป็น 3 ประเภท หลักๆ ดังนี้
                1. รายงานการสอบสวนเสนอผู้บริหาร แบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ รายงานการสอบสวนเบื้องต้น (Preliminary Report) และรายงานการสอบสวนสรุปเสนอผู้บริหาร (Final Report)
1.1 รายงานการสอบสวนเบื้องต้น (Preliminary Report) เป็นรายงานที่ผู้สอบสวนโรคจัดทำไว้เสนอต่อผู้บริหารงานสาธารณสุขโดยเร็ว เพื่อที่จะรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทันทีภายหลังจากที่ได้ทำการสอบสวนโรคจนได้ข้อมูลเบื้องต้นที่สำคัญๆ รายงานการสอบสวนเบื้องต้นมักจะประกอบด้วย 6 หัวข้อหลัก ได้แก่ ความเป็นมา ผลการสอบสวนที่เน้นประเด็นสำคัญๆที่พบในการสอบสวนโรค แนวโน้มของการระบาด กิจกรรมควบคุมโรคที่ได้ดำเนินไปแล้ว สรุปความสำคัญและเร่งด่วน และข้อเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ควรจะจัดทำทันทีเมื่อกลับมาจากการสอบสวนในพื้นที่ รายงานการสอบสวนเบื้องต้นอาจจะขาดความสมบูรณ์ในด้านเนื้อหา แต่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคให้ทันท่วงทีต่อสถานการณ์โรคในขณะนั้น  และความยาวของรายงานมักจะไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ
1.2 รายงานการสอบสวนสรุปเสนอผู้บริหาร (Final Report) เป็นรายงานการสอบสวนที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อผู้บริหารสาธารณสุข เมื่อสิ้นสุดการสอบสวนโรคและเหตุการณ์นั้นแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปรายละเอียดผลการสอบสวนโรคให้ครบถ้วน และบันทึกรายละเอียดเหตุการณ์การระบาดที่เกิดขึ้น รวมทั้งสัมฤทธิ์ผลจากการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคที่ได้ดำเนินการ ซึ่งจะเป็นหลักฐานสำหรับใช้อ้างอิงต่อไป
                2.  รายงานการสอบสวนฉบับสมบูรณ์ (Full Report) เป็นรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยาที่ผู้สอบสวนและทีมงานร่วมกันจัดทำขึ้นเพื่อสรุปรายละเอียดของผู้ป่วยหรือเหตุการณ์การระบาดของโรคที่ได้จากการสอบสวน รายงานประกอบด้วยชื่อเรื่อง ผู้รายงานและทีมสอบสวนโรค บทคัดย่อ ความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผลการสอบสวนโรค ตลอดจนกิจกรรมควบคุมป้องกันโรคต่างๆที่ได้ดำเนินการ ปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวน วิจารณ์ผล สรุปผล ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิงซึ่งรายงานฉบับสมบูรณ์นี้จะเป็นตัวชี้วัดผลงานของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานได้เป็นอย่างดี

                3. รายงานบทความวิชาการ (Scientific Article) เป็นบทความวิชาการที่สามารถใช้เผยแพร่ผลการสอบสวนโรคในวงกว้าง ผู้สอบสวนโรคเขียนขึ้นเพื่อส่งตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทยหรือต่างประเทศ ซึ่งวารสารแต่ละฉบับมักจะมีรูปแบบการเขียนที่บังคับเฉพาะแตกต่างกันไปบ้าง มีประโยชน์อย่างมากในการเผยแพร่ผลงานวิชาการในวงกว้างและได้รับการอ้างอึงถึงบ่อยครั้ง



1. การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยาเบื้องต้น


 
 

 


การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยาเบื้องต้น เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญของการเฝ้าระวังและสอบสวนทางระบาดวิทยา ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อ หรือโรคไร้เชื้อ เช่น การบาดเจ็บ หรือโรคจากการประกอบอาชีพอื่นๆ เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการสอบสวนทางระบาดวิทยาควรจะเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น เสนอต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 24-48 ชั่วโมง ภายหลังกลับจากการสอบสวนในพื้นที่ เพื่อเป็นการแจ้งรายละเอียดให้กับผู้บริหารได้รับทราบและมีการดำเนินงานในขั้นต่อไป รายงานการสอบสวนเบื้องต้นมักมีความยาว 1-2 หน้ากระดาษ เอ 4

โดยทั่วไป ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอ จะมีบทบาทหน้าที่หลักในการสอบสวนเหตุการณ์สาธารณสุขที่สำคัญในระดับอำเภอ ไม่ว่าจะเป็นการสอบสวนโรคเฉพาะราย เช่น กรณีที่มีผู้ป่วยเพียงรายเดียว หรือเพียงไม่กี่ราย ไปจนกระทั่งเมื่อพบผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นและเข้าข่ายของการระบาด ก็จะนับเป็นการสอบสวนการระบาด อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งแม้จะมีผู้ป่วยเพียงรายเดียว ก็นับว่าเป็นการระบาดได้ ถ้าหากเป็นโรคอุบัติใหม่ หรือโรคที่มีความสำคัญทางสาธารณสุข

ไม่ว่าจะเป็นการสอบสวนโรคเฉพาะรายหรือการสอบสวนการระบาดของโรค ผู้สอบสวนโรคจะทำการเก็บข้อมูลรายละเอียดจากผู้ป่วยทุกๆราย ดังนั้น การเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้นทั้ง 2 กรณี จึงใช้หลักการเดียวกัน แตกต่างเพียงที่รายงานการสอบสวนโรคเฉพาะราย สามารถบรรยายให้รายละเอียดข้อมูลของผู้ป่วยแต่ละรายได้ครบถ้วน ในขณะที่รายงานการสอบสวนการระบาด จะสรุปรายละเอียดข้อมูลผู้ป่วยทุกราย นำเสนอเป็นภาพรวมของการระบาด

องค์ประกอบของรายงานการสอบสวนเบื้องต้น (Preliminary report)

1.         ความเป็นมา
2.         ผลการสอบสวน
3.         กิจกรรมควบคุมโรคที่ดำเนินการแล้ว
4.         แนวโน้มของการระบาด
5.         สรุปความสำคัญทางสาธารณสุขและความเร่งด่วน
6.         ข้อเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

1.  ความเป็นมา
                เป็นส่วนที่บอกถึงที่มาของการออกไปสอบสวนโรค เช่น เริ่มต้นได้รับแจ้งข่าวการเกิดโรคจากใคร หน่วยงานใด เมื่อไร และด้วยวิธีใด คณะที่ออกไปร่วมสอบสวนประกอบด้วยใครหรือหน่วยงานใดบ้าง เริ่มสอบสวนโรคตั้งแต่เมื่อไร และเสร็จสิ้นเมื่อไร สามารถระบุวัตถุประสงค์ในการสอบสวนโรคไว้ในส่วนนี้

2.  ผลการสอบสวน
                เป็นส่วนที่แสดงผลที่ได้จากการสอบสวนโรค หากเป็นการสอบสวนโรคเฉพาะราย ให้เขียนบรรยายรายละเอียดสำคัญๆของผู้ป่วย เช่น อาการ อาการแสดง ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การวินิจฉัยโรค และการรักษา ข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติการเดินทาง ประวัติสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยง หรือสาเหตุการเกิดโรค ในกรณีที่เป็นการสอบสวนการระบาดมีผู้ป่วยจำนวนหลายราย ให้นำข้อมูลผู้ป่วยมาเรียบเรียงและนำเสนอด้วยการแจกแจงตามตัวแปร บุคคล เวลา และสถานที่ ในบางเหตุการณ์ระบาด อาจนำเสนอกราฟเส้นโค้งการระบาด (Epidemic curve) ตามวันเริ่มป่วย หรือใช้แผนที่แสดงการกระจายของผู้ป่วยตามพื้นที่ หรือภาพถ่ายแนบมาในรายงานการสอบสวนด้วย

3.  กิจกรรมควบคุมโรคที่ดำเนินการแล้ว
                ให้ระบุรายละเอียดว่ากิจกรรมควบคุมโรคใดที่ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่น การทำลายแหล่งรังโรค การรักษาผู้ติดเชื้อ การให้สุขศึกษากับประชาชนในพื้นที่เกิดโรค ตลอดจนถึงการเก็บวัตถุตัวอย่างส่งตรวจ การติดตามผู้สัมผัสโรค การเฝ้าระวังการระบาดต่อเนื่อง ถ้าหากมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน ให้ระบุว่าหน่วยงานใด ได้ดำเนินการในเรื่องใดไปบ้าง และกิจกรรมเหล่านี้ได้ส่งผลต่อการควบคุมโรคในพื้นที่อย่างไรบ้าง

 

4.  แนวโน้มของการระบาด
                จากข้อมูลสถานการณ์โรคที่ได้จากการสอบสวนโรค ตลอดจนถึงประสิทธิผลของกิจกรรมควบคุมโรคที่ดำเนินการแล้ว ให้พยากรณ์แนวโน้มสถานการณ์ของการระบาดของโรค เช่น จำนวนผู้ป่วยกำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ควบคุมสถานการณ์ได้ยาก หรือการระบาดกำลังสงบลง อย่างไรก็ตาม ถ้าหากไม่สามารถบอกแนวโน้มของการระบาดของโรคได้ เนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอ ควรบอกเหตุผลไว้ด้วย ข้อมูลในส่วนนี้มีความสำคัญต่อการทำงานของผู้บริหารสาธารณสุขในการตัดสินใจสั่งการ หรือให้การสนับสนุนการทำงาน

5.  สรุปความสำคัญทางสาธารณสุขและความเร่งด่วน
                จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการสอบสวนทางระบาดวิทยา ให้สรุปสถานการณ์ ระบุขนาดของปัญหาและผลกระทบที่มีต่อสุขภาพของประชาชน บอกให้ทราบว่าเป็นโรคอุบัติใหม่ หรือเป็นการระบาดของโรคที่รู้จักอยู่แล้วใช่หรือไม่ มีความต้องการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาในทันทีหรือไม่ โดยอาจจะพิจารณาเรื่องระดับของผลกระทบทางด้านอื่นๆ เช่น ผลกระทบทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ประกอบด้วย

6.  ข้อเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
                ให้เสนอแนะแนวทางหรือมาตรการที่ใช้ในการควบคุมและป้องกันโรคที่ควรจะต้องดำเนินงานต่อไป ไม่ว่าจะเป็นมาตรการเดิมที่จะให้ทำต่อเนื่อง หรือมาตรการใหม่ๆ ในกรณีที่ต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานสาธารณสุขนอกพื้นที่ หรือหน่วยงานกระทรวงอื่นๆ ให้ระบุเรื่องที่ต้องประสานงานไว้ให้ชัดเจน



2. การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยาสรุปเสนอผู้บริหาร

 
 

 


ใช้รูปแบบเดียวกันกับการเขียนรายงานการสอบสวน ฉบับสมบูรณ์ แต่ลดจำนวนองค์ประกอบลงให้

เหลือเพียงองค์ประกอบหลักๆ  เท่านั้น ซึ่งผู้เขียนรายงานสามารถปรับเพิ่มได้ตามความเหมาะสม


องค์ประกอบของรายงานการสอบสวนสรุปเสนอผู้บริหาร (Final report)

1.       ชื่อเรื่อง (Title)
2.       ผู้รายงานและทีมสอบสวนโรค (Authors and investigation team)
3.       บทนำหรือความเป็นมา (Introduction or Background)
4.       วัตถุประสงค์ (Objectives)
5.       วิธีการศึกษา (Methodology)
6.       ผลการสอบสวน (Results)
7.       มาตรการควบคุมและป้องกันโรค (Prevention and control measures)
8.       สรุปผล (Conclusion)
ส่วนรายละเอียดของการเขียนรายงานสรุปเสนอผู้บริหาร ใช้วิธีการเช่นเดียวกับการเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา ฉบับสมบูรณ์



3. การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา ฉบับสมบูรณ์


 
 

 

 


การเขียนรายงานการสอบสวน ฉบับสมบูรณ์ เป็นการบันทึกเรื่องราวของเหตุการณ์การระบาดของ

โรคและผลการสอบสวนโรค โดยใช้หลักการและรูปแบบการเขียน เช่นเดียวกับเอกสารวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขทั่วๆ ไป ซึ่งสามารถใช้เป็นผลงานวิชาการของเจ้าหน้าที่งานระบาดวิทยาได้อย่างดี

 

องค์ประกอบของรายงานการสอบสวน ฉบับสมบูรณ์ (Full report)

1.       ชื่อเรื่อง (Title)
2.       ผู้รายงานและทีมสอบสวนโรค (Authors and investigation team)
3.       บทคัดย่อ (Abstract)
4.       บทนำหรือความเป็นมา (Introduction or Background)
5.       วัตถุประสงค์ (Objectives)
6.       วิธีการศึกษา (Methodology)
7.       ผลการสอบสวน (Results)
8.       มาตรการควบคุมและป้องกันโรค (Prevention and control measures)
9.       วิจารณ์ผล (Discussion)
10.    ปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวน (Limitations)
11.    สรุปผล (Conclusion)
12.    ข้อเสนอแนะ (Recommendations)
13.    กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgment)
14.    เอกสารอ้างอิง (References)

1.  ชื่อเรื่อง (Title)
                เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของรายงาน ที่จะบอกให้ผู้อ่านทราบว่าเป็นการสอบสวนทางระบาดวิทยาเรื่องอะไร เกิดขึ้นที่ไหน และเมื่อไร ควรเลือกใช้ข้อความที่สั้นกระชับ ตรงประเด็น ได้ความหมายครบถ้วน

2. ผู้รายงานและทีมสอบสวนโรค (Authors and investigation team)
ระบุชื่อ ตำแหน่งและหน่วยงานสังกัดของผู้รายงาน และเจ้าหน้าที่คนอื่นๆที่ร่วมในทีมสอบสวนโรค

3.  บทคัดย่อ  (Abstract)
                เป็นส่วนที่สรุปสาระสำคัญทั้งหมดของการระบาดหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีความยาวประมาณ 250-350 คำ ครอบคลุมเนื้อหาตั้งแต่ ชื่อผู้รายงานและหน่วยงาน ความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา มาตรการควบคุมโรค และสรุปผล

4.  บทนำหรือความเป็นมา (Introduction or Background)
                เป็นส่วนที่บอกถึงที่มาของการออกไปสอบสวนโรค เช่น การได้รับแจ้งข่าวการเกิดโรคจากใคร หน่วยงานใด เมื่อไร และด้วยวิธีใด คณะที่ออกไปร่วมสอบสวนประกอบด้วยใครหรือหน่วยงานใดบ้าง เริ่มสอบสวนโรคตั้งแต่เมื่อไร และเสร็จสิ้นเมื่อไร

5.  วัตถุประสงค์ (Objectives)
                เป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างมากในการเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา เพราะจะช่วยให้ผู้อ่านทราบในเบื้องต้นว่า ผู้สอบสวนโรคมีวัตถุประสงค์อะไรบ้างในการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังเป็นตัวกำหนดแนวทาง และขอบเขตของวิธีการศึกษาที่จะใช้ค้นหาคำตอบในการสอบสวน

6.  วิธีการศึกษา  (Methodology)
                เป็นส่วนที่บอกถึงวิธีการที่ใช้ในการค้นหาความจริงและตอบวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ช่วยให้ผู้อ่านรู้ว่ามีวิธีการศึกษาอย่างไรบ้าง ในรูปแบบการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ให้นิยามผู้ป่วยอย่างไร มีเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์อะไรบ้างที่ใช้ในการหาคำตอบ ได้มีการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์เพื่อตอบสมมติฐานด้วยหรือไม่ ถ้ามีเป็นรูปแบบการศึกษาใด มีการศึกษาทางสภาพแวดล้อมหรือไม่ และมีการเก็บวัตถุตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างไร รวมทั้งให้บอกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

7.  ผลการสอบสวน (Results)
                เป็นส่วนที่แสดงผลที่ได้จากการสอบสวนโรคทั้งหมด ข้อมูลจะถูกนำมาเรียบเรียงผลการศึกษาตามตัวแปร บุคคล เวลา และสถานที่ อาจจะใช้รูปแบบการนำเสนอด้วยตาราง กราฟ แผนภูมิ ตามความเหมาะสม โดยการเสนอผลการสอบสวน ต้องเขียนให้สอดคล้องกับวิธีการศึกษาและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ รายละเอียดและแนวทางการเขียนผลการสอบสวน มีดังนี้
1.       ยืนยันการวินิจฉัยโรค แสดงข้อมูลให้ทราบว่ามีการเกิดโรคจริง โดยอาศัยผลการวินิจฉัยของแพทย์ ประกอบกับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ อาจใช้อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยเป็นหลักในโรคที่ยังไม่ได้รับการยืนยันการวินิจฉัย เช่น ถ้าเป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่

2.       ยืนยันการระบาด ในกรณีที่มีการระบาดของโรค ต้องแสดงข้อมูลให้ผู้อ่านเห็นว่ามีการระบาด (Outbreak) เกิดขึ้นจริง มีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมากกว่าปกติเท่าไร โดยแสดงตัวเลขจำนวนผู้ป่วยหรืออัตราป่วยที่คำนวณได้ ส่วนในกรณีที่เป็นโรคประจำถิ่น (Endemic disease) ให้แสดงข้อมูลเปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยในเวลานี้ เปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยในปีที่ผ่านๆมา ในระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งอาจจะใช้ค่า Median 3-5 ปี ย้อนหลัง หรือข้อมูลจากปีที่ผ่านมา แล้วแต่ความเหมาะสมในแต่ละกรณี

3.       ข้อมูลทั่วไป  เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นสภาพทั่วไปของพื้นที่เกิดโรค ในด้านต่างๆ ประกอบด้วย
-          ข้อมูลประชากร เช่น จำนวนประชากรแยกเพศ กลุ่มอายุ หรืออาชีพ
-          ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่เกิดโรค
-          การคมนาคม และพื้นที่ติดต่อที่มีความเชื่อมโยงกับการเกิดโรค
-          ข้อมูลเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมของประชาชนในพื้นที่ที่มีผลต่อการเกิดโรค
-          ข้อมูลทางสุขาภิบาล สาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อม

4.        ผลการศึกษาทางระบาดวิทยา
4.1       ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา  เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของการเกิดโรคและการกระจายของโรค ทางระบาดวิทยา ได้แก่
-          ลักษณะการกระจายของโรคตามลักษณะบุคคล ระบุกลุ่มอายุ เพศ หรืออาชีพที่มีอัตราป่วยสูงสุด ต่ำสุด และกลุ่มใดที่พบว่าเกิดโรคมากที่สุด และแสดงอัตราป่วยที่เกิดขึ้นในแต่ละกลุ่มผู้ป่วย (Attack rate)
-          ลักษณะการกระจายตามเวลา แสดงระยะเวลาของการเกิดโรคตั้งแต่รายแรกถึงรายสุดท้ายตามวันที่เริ่มป่วย ประมาณระยะฟักตัวของโรคจาก Epidemic curve อธิบายลักษณะการเกิดโรคว่าเป็นการระบาดแบบใด เช่น แหล่งโรคร่วมหรือแหล่งโรคแพร่กระจาย
-          ลักษณะการกระจายตามสถานที่ แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของการเกิดโรคในแต่ละพื้นที่ ในรูปของ Attack Rate ตัวอย่างเช่น อัตราป่วยจำแนกตามชั้นเรียน หรือจำแนกตามหมู่บ้าน รวมถึงการจัดทำ Spot map แสดงการกระจายของผู้ป่วยตามพื้นที่ เป็นการแสดงจุดที่เกิดผู้ป่วยรายแรก (index case) และผู้ป่วยรายต่อๆมา ที่แยกสีตามระยะเวลาก็ได้
4.2       ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ เป็นส่วนที่แสดงผลการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ โดยนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อตอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ เช่น
-          การทดสอบปัจจัยที่สงสัยว่าจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรค โดยนำเสนอผลการวิเคราะห์ในตาราง หาค่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในกลุ่มคนที่ป่วยและไม่ป่วยด้วยค่า Relative Risk หรือ Odds Ratio และค่าความเชื่อมั่น 95% (95% Confidence interval)
-          การทดสอบทางสถิติ เพื่อดูว่าอัตราป่วยในกลุ่มคนที่ได้รับและไม่ได้รับปัจจัยที่สงสัยจะเป็นสาเหตุของโรค มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่ โดยใช้ Chi-Square test

5.       ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เป็นส่วนที่แสดงให้ทราบว่าในการสอบสวนครั้งนี้ ได้เก็บตัวอย่างอะไรส่งตรวจ เก็บจากใครบ้าง จำนวนกี่ราย และได้ผลการตรวจเป็นอย่างไร แสดงสัดส่วนของการตรวจที่ได้ผลบวกเป็นร้อยละ โดยจำแนกเป็น การเก็บตัวอย่างจากคน เช่น การเก็บ Rectal swab, Throat swab, Serum และการเก็บตัวอย่างส่งตรวจจากสิ่งแวดล้อม เช่น ตัวอย่างอาหาร น้ำ หรือวัสดุอื่นๆ ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

6.       ผลการศึกษาสภาพแวดล้อม เป็นส่วนที่จะอธิบายเหตุการณ์แวดล้อมที่มีความสำคัญต่อการระบาดของโรค อาทิเช่น สภาพของโรงครัว แหล่งน้ำ ส้วม รายละเอียดขั้นตอนและกรรมวิธีการปรุงอาหาร มีขั้นตอนโดยละเอียดอย่างไร มีใครเกี่ยวข้องบ้าง

7.       ผลการเฝ้าระวังโรค เพื่อให้ทราบว่าสถานการณ์ระบาดได้ยุติลงจริงหรือไม่ จึงควรที่จะได้ทำการเฝ้าระวังโรคต่ออีกเป็นระยะเวลา 2 เท่าของระยะฟักตัวของโรค เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นอีก

                ให้ระบุรายละเอียดว่ามีมาตรการควบคุมและป้องกันโรคอะไรบ้างที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว มาตรการใดที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ และมาตรการใดที่เตรียมจะดำเนินการต่อไปในภายหน้า

9.  วิจารณ์ผล  (Discussion)
                เป็นส่วนที่ผู้สอบสวนโรคจะวิจารณ์ผลการสอบสวนโรคที่ได้ทำ โดยใช้ความรู้ที่ค้นคว้าเพิ่มเติมมาอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น วิเคราะห์หาเหตุผลและสมมติฐานในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังอาจชี้ให้เห็นว่าการระบาดในครั้งนี้แตกต่างหรือมีลักษณะคล้ายคลึงกับการระบาดในอดีตหรือไม่ อย่างไร

10. ปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวน (Limitations)
                การสอบสวนโรคครั้งนี้มีปัญหาอะไรบ้าง ที่ทำให้เป็นอุปสรรคหรือข้อจำกัดในการสอบสวนโรค ส่งผลให้ไม่สามารถตอบวัตถุประสงค์ได้ตามต้องการ ควรเขียนออกมาเป็นข้อๆ พร้อมทั้งบอกแนวทางการแก้ไขปัญหาในแต่ละข้อ เพราะจะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่จะทำการสอบสวนทางระบาดวิทยาของโรคเดียวกันนี้ในครั้งต่อไป

11.  สรุปผลการสอบสวน (Conclusion)
                เป็นการสรุปสาระสำคัญที่ค้นพบจริงจากการสอบสวนทางระบาดวิทยา เป็นการสรุปรวบยอดเพื่อตอบวัตถุประสงค์และสมมติฐานที่ตั้งไว้ อธิบายถึงความสัมพันธ์ของการเกิดโรคตามบุคคล เวลา สถานที่ โดยทั่วๆ ไป การสรุปผลการสอบสวนควรจะตอบคำถามในประเด็นต่างๆ ดังนี้
-          Etiologic agent ในการเกิดโรคคืออะไร โดยใช้อาการแสดง อาการของโรค และรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งระยะฟักตัว หรือ Epidemic curve
-          Source of infection คืออะไร บางโรคอาจหาได้ หรือบางโรคอาจหาไม่ได้ ถ้าไม่สามารถค้นหาได้ควรจะบอกในรายงานด้วย
-          Mode of transmission ระบุลักษณะการถ่ายทอดโรคว่าเป็นอย่างไร
-          High risk group กลุ่มประชากรที่เสี่ยง คือกลุ่มใด
-          Risk factor ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมีอะไรบ้าง
-          Current situation สถานการณ์ของโรคหรือเหตุการณ์ สงบเรียบร้อย หรือระบาดซ้ำ

12. ข้อเสนอแนะ (Recommendations)
                ข้อเสนอแนะที่ผู้สอบสวนและทีมงาน เสนอแนะต่อหน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการสอบสวนโรคในครั้งนี้ อาจจะเป็นข้อเสนอในเรื่องมาตรการควบคุมป้องกันการเกิดโรคในเหตุการณ์ครั้งนี้ หรือแนวทางการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในอนาคต หรือเป็นเข้อเสนอแนะที่จะช่วยทำให้การสอบสวนโรคมีประสิทธิภาพได้ผลดีมากขึ้น

13. กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgment)
                ให้กล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือในการสอบสวนโรค และให้การสนับสนุนด้านการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตลอดจนผู้ที่ให้ข้อมูลอื่นๆ ประกอบการทำงานสอบสวนโรคหรือเขียนรายงาน ซึ่งรายชื่อที่ปรากฏในส่วนของกิตติกรรมประกาศ จะไม่ซ้ำกับชื่อที่อยู่ในส่วนของทีมสอบสวนโรค

14. เอกสารอ้างอิง (References)
                โดยทั่วไปเมื่อมีการค้นคว้าหาข้อมูลทางวิชาการจากเอกสารทางการแพทย์หรือวารสารวิชาการต่างๆ เพื่อประกอบการเขียนรายงาน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนการวิจารณ์ผลหรือเนื้อหาส่วนอื่นก็ตาม ควรจะต้องทำการอ้างอิงชื่อผู้เขียน ชื่อบทความ ชื่อเอกสารนั้นและรายละเอียดอื่นๆ มาแสดงไว้ในส่วนเอกสารอ้างอิง เพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจสามารถไปศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมต่อไปได้ ปัจจุบัน รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในงานเขียนเอกสารวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ การอ้างอิงแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver style)

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเขียนรายงาน

1.       ผู้เขียนได้รับความรู้เพิ่มเติมจากการทบทวนความรู้จากหนังสือ เอกสาร วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งการสังเคราะห์ความรู้จากเหตุการณ์และกิจกรรมที่ดำเนินการในขณะทำการสอบสวน
2.       ผู้บริหารสาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด และสามารถนำข้อมูลจากการสอบสวนโรค ไปวางแผนเพื่อควบคุมและป้องกันโรคต่อไป
3.       ผู้อ่านที่เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับงานระบาดวิทยาได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสอบสวนทางระบาดวิทยาเพิ่มขึ้น
4.       ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของการสอบสวนทางระบาดวิทยาในประเทศไทย


เอกสารอ้างอิง
1.       อรพรรณ  แสงวรรณลอย การเขียนรายงานการสอบสวนโรค. เอกสารอัดสำเนา. กองระบาดวิทยา; 2532.
2.       ศุภชัย  ฤกษ์งาม. แนวทางการสอบสวนทางระบาดวิทยา. กองระบาดวิทยา; 2532 .
3.       ธวัชชัย  วรพงศธร, การเขียนอ้างอิงในรายงานวิจัย. คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล; 2534.
4.       อรวรรณ์  ชาแสงบง. การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา. เอกสารอัดสำเนา. ศูนย์ระบาดวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ;  2532.
5.       โสภณ เอี่ยมศิริถาวร. การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา. เอกสารอัดสำเนา. กองระบาดวิทยา;  2543.

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio