ขับเคลื่อนโดย Blogger.

R2R งานประจำและฝันของนักวิชาการสาธารณสุข

ผมมีบทความหรือเรียกว่าบทอะไรไม่ทราบเกี่ยวกับ R2R  งานประจำ ผมคิดว่ามีประโยชน์และให้ข้อคิดมากครับ โดยเฉพาะนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัตงานที่ โรงพยาบาลชุมชน

"ผมเคยทำงานอยู่โรงพยาบาลชุมชนเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา ช่วงนั้นมี
พี่บางคนบอกว่า ผมนั่งทับทรัพย์สมบัติที่มีค่ามหาศาล หากรู้จักใช้จะเป็น
ประโยชน์ต่อผู้คนอย่างมาก ด้วยความที่ไม่มีทั้งความฉลาดและความเฉลียว
มากพอ ผมจึงต้องถามกลับไปด้วยคำถาม (โง่ๆ) ว่า “พี่หมายความว่า
อะไรครับ”
ผมเชื่อมั่นเสมอว่า “ความโง่” ย่อมมาก่อน “ความฉลาด” และ
คำถามโง่ๆ ของผมทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า ทรัพย์สมบัติที่มีค่าที่แพทย์รุ่นพี่
เอ่ยถึงนั่นก็คือ ข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผมจะหยิบ
ใช้เมื่อไรก็ได้ แต่ที่ผ่านมาก็ได้แต่ทำรายงานส่งให้คนอื่น ซึ่งไม่รู้ว่าเขาจะใช้
หรือไม่และประชาชนในอำเภอผมจะได้ประโยชน์อะไร
ความสนใจที่จะหาความหมายจากข้อมูลที่มีอยู่ ทำให้เกิดการเรียนรู้
ในประเด็นอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย
หนึ่ง คือ ข้อมูลนั่นมีอยู่ทุกแห่งหนทั้งที่ตัวคนไข้ ญาติคนไข้ เจ้าหน้าที่
ทุกๆ ระดับ ไล่เรียงมาตั้งแต่ยามเฝ้าโรงพยาบาล จนกระทั่งถึงคุณหมอ
ตลอดจนบันทึกต่างๆ ที่มี ฯลฯ
สอง ข้อมูลช่วยสะท้อนว่าสิ่งต่างๆ ดำเนินไปอย่างไร ดังนั้น ข้อมูลจึง
ช่วยสะท้อนปัญหาของระบบ และเป็นพื้นฐานสำคัญในการนำไปสู่วิธีการ
แก้ไขปัญหาด้วย
สาม การจัดการข้อมูลเป็นพื้นฐานสำหรับการสร้างและจัดการ
ความรู้ และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างชาญฉลาดในที่สุด
หนังสือเล่มนี้เป็นข้อมูลอีกชุดหนึ่งที่น่าสนใจ โดยเป็นข้อมูลที่
นำเสนอผ่านการเล่าเรื่องที่ทำให้เห็นชีวิตของผู้คนในวงการสุขภาพที่
สถานพยาบาลในระดับที่แตกต่างกัน ตั้งแต่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ลงไป
จนถึงศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นเรื่องราวที่นอกจากต้องการนำเสนอข้อมูลแล้ว
ยังต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนเห็นความสำคัญของการจัดการข้อมูล
อย่างเป็นระบบ ผ่านกระบวนการที่เรียกกันว่า “งานวิจัย” ในลักษณะที่
ทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือ การแก้ไขปัญหา
ต่างๆ และนำไปสู่คุณภาพงานที่ดีขึ้น ซึ่งหมายถึงการที่ประชาชนได้รับ
บริการและมีสุขภาพที่ดีขึ้นนั่นเอง งานวิจัยที่ยกระดับคุณภาพงานประจำให้
ดีขึ้นนี้คนยุคปัจจุบันเรียกว่า R2R
การได้ทำงานโดยมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นความสุขอย่าง
หนึ่งของผู้คน ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนเหล่านั้นให้มีกำลังกายและกำลัง
ใจในการทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย จนนำไปสู่ความสำเร็จของงานอย่าง
ต่อเนื่อง ทำให้องค์กรมีชีวิตและสามารถปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
ชีวิตของผู้คนและองค์กรเหล่านี้ ทุกท่านสามารถหาอ่านได้จากหนังสือ
เล่มนี้
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ดีใจที่มีโอกาสได้สนับสนุน
การเผยแพร่สิ่งดีๆ ที่เป็นมากกว่า “ความรู้” เหล่านี้ เพราะมีทุกท่านที่เป็น
ตัวละครที่เดินเรื่องราวดีๆ ในแต่ละกรณีศึกษา เราจึงมีสิ่งดีๆ ที่สามารถ
เผยแพร่ให้ทุกคนได้มีโอกาสชื่นชมในความสำเร็จ และอยากเป็นส่วนหนึ่ง
ของความสำเร็จนี้ในอนาคต
ขอชื่นชม แสดงความยินดี และให้กำลังใจกับทุกๆ ความสำเร็จครับ

นายแพทย์พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข"

ผมเชื่อว่าตอนนี้ผมยังเป็นนักวิชาการสาธรณสุขที่นั่งทับทรัพย์สมบัติที่มีค่า
ฝันของผมคือ...สักวันผมจะลุกขึ้นหยิบทรัพย์สมบัตินั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดครับ 


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio