5.1 ของเสียอันตราย (Hazardous Waste Management)
ของเสียอันตราย หมายถึง สารหรือวัตถุใดๆ ที่ไม่มีใครต้องการถูกทิ้งจากกิจกรรมค่างๆ เช่น
ชุมชนอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ธุรกิจการค้าขายรวมไปถึงบริการต่างๆ ของเสียเหล่านี้มีความเป็นพิษต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ สัตว์ พืช หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือใช้เวลานานในการออกฤทธิ์ ของเสียอันตรายมักประกอบด้วย สารไวไฟ สารกัดกร่อน สารเกิดปฏิกิริยาได้ง่าย สารวัตถุระเบิด สารพิษ สารกัมมันตรังสี และ/หรือของเสียที่มีเชื้อโรคปะปนมา
5.2 ประเภทของมูลฝอยอันตราย
มูลฝอยอันตรายสามารถแบ่งตามสมบัติมีฤทธิ์ได้ ดังนี้
1. ติดไฟง่าย (Ignitability) คือ สารที่ติดไฟได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ถ้ามี
ปริมาณมากพอ
2. ทำปฏิกิริยาได้ง่าย (Reactivity) หรือเกิดการระเบิดได้ (Explosiveness) คือ
สามารถทำปฏิกิริยาได้เมื่อมีภาวะที่เหมาะสม โดยอาจทำให้เกิดแก็สต่างๆ หรืออาจเกิดระเบิดขึ้นได้
3. ทำให้เกิดการกัดกร่อน (Corrosivity) คือ สามารถเกิดปฏิกิริยาการกัดกร่อนของ
โลหะได้ จึงทำให้มีผลเสียหายต่อสิ่งของเครื่องใช้ที่เป็นโลหะ
4. เป็นพิษ (Toxicity) คือ สารที่เป็นพิษในตัวเองสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์
และสภาพแวดล้อมได้ ได้แก่ สารเคมีต่างๆ หรือสารกัมมันตรังสีที่มีความเป็นพิษในตัว
5. ถูกชะล้างได้ง่าย (Leachability) คือ พวกที่ถูกชะล้างปะปนไปในสภาพแวดล้อม
แหล่งน้ำได้ เช่น น้ำเสียจากกองมูลฝอยที่มีมูลฝอยจากร้านถ่ายรูป กระดาษอัดรูป ฟิล์ม เป็นต้น
6. มูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ (Pathogenicity) คือ ของเสียที่ติดเชื้อโรคต่างๆ จาก
สถานพยาบาล โรงพยาบาล ห้องปฏิบัติการเพาะเชื้อโรค โดยเรียกว่า มูลฝอยติดเชื้อ (infectous )
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ให้คำจำกัดความของคำว่า “วัตถุอันตราย”(ซึ่งรวมถึงของเสียอันตราย) ว่า
1. วัตถุระเบิดได้
2. วัตถุไวไฟ
3. วัตถุออกซิไดซ์ และวัตถุเปอร์ออกไซด์
4. วัตถุมีพิษ
5. วัตถุทำให้เกิดโรค
6. วัตถุกัมมันตรังสี
7. วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
8. วัตถุกัดกร่อน
9. วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
10. วัตถุอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อม
5.3 ประเภทของเสียที่เป็นอันตราย
สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (เดิม) แบ่งประเภทของเสียอันตรายเป็น 14
ประเภท ได้แก่
1. น้ำมัน (Oils) ได้แก่ ของเสียจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และพวกน้ำมันหล่อลื่น สารทำความเย็นของเครื่องจักร
2. กากสารอินทรีย์เหลว (Lquid Organic Residues) ของเสียเหลวจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและจากอุตสาหกรรมอินทรีย์เคมี ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะติดไฟได้หรือมีสารพิษเจือปน
3. ตะกอนและของแข็งสารอินทรีย์ (Organic Sludges and Solids) กากของเสียจากอุตสาหกรรมเคมี ส่วนใหญ่ติดไฟได้หรือมีโอกาสคายสารพิษได้ง่าย
4. ตะกอนและของแข็งสารอนินทรีย์ (Inorganic Sludges Solids) กากตะกอนหรือกากของเสียที่มีสารอนินทรีย์ (ยกเว้นโลหะหนัก) เช่น sulfur sludge, lime sludge gypsum (CaSO4) และphosphate waste
5. ตะกอนและของแข็งโลหะหนัก (Heavy metal sludges and solids) ของเสียที่มีโลหะหนักเจือปนส่วนใหญ่มาจากระบบบำบัดน้ำเสียหรือระบบฟอกอากาศ
6. ตัวทำละลาย(Solvents) ได้แก่ของเสียที่มีสารตัวทำลายใช้ในการทำความสะอาดโรงงานหรือซ่อมบำรุง ใช้ในกระบวนการผลิต เช่น พลาสติก ใยสังเคราะห์ยา
7. ของเสียเป็นกรด (Acid Wastes) pH ต่ำกว่า 2 เช่น น้ำเสียจากโรงงานฟอกหนังโรงงานชุบโลหะที่ใช้น้ำยากรดสำหรับทำความสะอาด รวมทั้งกรดที่ใช้แล้วในกระบวนการต่างๆ
8. ของเสียเป็นด่าง (Alkaline Wastes) ของเสียมีค่า pH สูงกว่า 12.5 เช่น สารละลายไซยาไนด์ในการชุบโลหะ น้ำยาค่างสำหรับทำความสะอาด สารละลายแอมโมเนียที่ใช้แล้ว
9. ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน (Off-specification products) คือผลิตภัณฑ์หรือวัตถุที่ไม่ได้มาตรฐาน เสื่อมคุณภาพ หรือหมดอายุการใช้งาน
10. พีซีบี (Polychlorinated Biphenyls(PCB)) ของเสียที่มี PCB มากกว่า 50 ppm เช่นจากหม้อแปลงไฟฟ้า capacitor
11. กากสารอินทรีย์น้ำ (Aqueous-Organic Residues) ของเสียที่มีสารอินทรีย์เคมีซึ่งเป็นพิษ เช่น น้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อม หรือจากการล้างน้ำยาฆ่าแมลง ยาปราบวัชพืช
12. น้ำเสียล้างอัดรูป (Photo Wastes) ของเสียที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการถ่ายรูป ล้าง และอัดรูป ซึ่งมีน้ำยา silver bromide และอื่นๆ
13. ขยะชุมชน (Municipal Wastes) ของเสียอันตรายจากบ้านเรือน สำนักงาน ร้านอาหาร เช่น ยาฆ่าแมลง สี ยาล้างห้องน้ำ หลอดไฟนีออน แบตเตอรี่ ยา เครื่องสำอาง ยาฟอกผ้าขาว
14. ขยะติดเชื้อ (Infectious Wastes) หรือ ของเสียติดเชื้อ เช่น น้ำเลือด น้ำหนอง สำลี ผ้าพันแผล เข็มฉีดยา
5.4 แหล่งที่มาของของเสียอันตราย
ของเสียอันตรายที่แหล่งที่มาหลาย ๆ แหล่ง ได้แก่
1) อุตสาหกรรมขนาดใหญ่
2) อุตสาหกรรมขนาดเล็ก
3) สถานีบริการซ่อมรถและจำหน่ายน้ำมัน
4) ห้องปฏิบัติการในสถานศึกษา
5) เกษตรกรรม
6) บ้านเรือนต่าง ๆ
7) ร้านค้าต่าง ๆ
8) สำนักงานต่าง ๆ
9) เหมืองและสถานีขุดเจาะน้ำมัน
ปัจจุบันของเสียอันตรายมีประมาณ 1 ล้านตันต่อปี โดยที่เกิดจากอุตสาหกรรมกว่า 80 %
และบริเวณที่ก่อให้เกิดมลพิษนี้อยู่ในเขต กทม. และปริมณฑลประมาณ 70 % ของปริมาณทั่วประเทศการควบคุมมลพิษได้จัดอันดับอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดของเสียอันตรายมากที่สุดพบว่า ได้แก่ โรงถลุงสังกะสี
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น