"นอกจากการทำข้อสอบสาธารณสุขฉบับต่างๆแล้วนะครับ เราเองก็ควรอ่านเนื้อหาก่อนที่จะเริ่มแนวข้อสอบสาธษรณสุขนะครับ ผมจะพยายามสรุปเนื้อหาที่ใช้สอบเข้าบรรจุเป็นข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขไว้นะครับ สำหรับวันนี้ก็มีเนื้อหาเรื่องระบาดวิทยามาฝากครับ เป็นของท่าน นายแพทย์ประยูร กุนาศล"
ระบาดวิทยากับการป้องกันโรค
นายแพทย์ประยูร
กุนาศล
ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค
ขอบเขตเนื้อหา
1. หลักของระบาดวิทยา
2. ธรรมชาติของการเกิดโรค : ข้อความรู้เกี่ยวกับโรคและคน
3. การป้องกันควบคุมโรค : ระยะต้น ระยะกลาง
ระยะสุดท้าย
รากศัพท์ของระบาดวิทยา
-
ภาษาไทย วิชาที่เกี่ยวกับการระบาด
-
ภาษาอังกฤษ เรื่องราวเกี่ยวกับคน (Study of
people knowledge upon
people)
ความหมาย
ระบาดวิทยาเป็นการศึกษาให้เข้าใจถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับมนุษย์
เกี่ยวข้องกับลักษณะของการเกิดโรคในกลุ่มประชากร เหตุและปัจจัย
ซึ่งมีผลต่อลักษณะของการเกิดโรค
โดยความรู้ความเข้าใจได้มาเฝ้าสังเกตถึงลักษณะของการเกิดโรค
เปรียบเทียบกับลักษณะจำเพาะของกลุ่มประชากร ว่า
เชื่อมโยงเกี่ยวพันเป็นเหตุเอื้อให้เกิดผลเป็นโรคในแต่ละกลุ่มคนอย่างไร นับว่าเป็นการใช้ปัญญารวบรวมเหตุการณ์แล้วแยกแยะลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่างกัน
นำมาวิเคราะห์เป็นองค์ความรู้เพื่อให้เข้าใจโดยตลอดแบบรอบรู้ หรือ
เกิดดวงตาเห็นธรรม (INSIGHT)
ระบาดวิทยาเป็นวิชาที่รวบรวมหลักคิด ปรัชญา และวิธีการจากหลายสาขา ได้แก่แพทย์ศาสตร์ สถิติ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์
ชีววิทยา
นำมาประสานรวมกันให้เข้าใจถึงลักษณะ และ เหตุปัจจัยของการเกิดโรค / ภัยในกลุ่มประชาชน
เป็นที่ยอมรับกันว่าระบาดวิทยา
ได้มีการศึกษาและนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างจริงจังในสมัยของ จอห์น
สโนว์ เมื่อปี พ.ศ 2391 ที่กรุงลอนดอน
ประเทศอังกฤษ ในการควบคุมอหิวาตกโรคเป็นผลสำเร็จ
และหลังจากนั้นได้มีการใช้ระบาดวิทยาในการป้องกันควบคุมโรคอีกมากมาย ทั้งโรคติดเชื้อและไร้เชื้อ
แนวคิดของระบาดวิทยา
1 โรค / ภัยไม่ได้เกิดขึ้นเอง
2
โรค / ภัยมีเหตุทำให้เกิด และมีแนวทางป้องกันได้
โดยใช้การพินิจพิจารณาสอบสวนการเกิดโรคในกลุ่มคน สถานที่
และเวลาที่เกิดโรค ซึ่งแตกต่างกัน
การประยุกต์ใช้ระบาดวิทยา
1 วิเคราะห์เพื่อวินิจฉัยชุมชน (Community diagnosis)
2.
ประเมินผลการป้องกันควบคุมโรค
3.
ศึกษาให้เข้าใจถึงปัจจัย
และโอกาสที่จะเกิดโรค
4.
ทำความเข้าใจถึงลักษณะ
และธรรมชาติของโรค / ภัย
5.
หาวิธีป้องกันควบคุมโรคที่เหมาะสม
ข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ประกอบการศึกษาทางระบาดวิทยา
-
ลักษณะของประชากร
-
สถิติชีพ
-
ข้อมูลจากการระมัดระวังตรวจสอบติดตามการเกิดโรค
-
ข้อมูลสภาวสุขภาพ
และพฤติกรรมของประชาชน
-
ข้อมูลทางด้านสังคม และเศรษฐศาสตร์
-
ข้อมูลการดำเนินการควบคุมป้องกันโรค
การใช้ระบาดวิทยาเพื่อการควบคุมป้องกันโรค
1. ศึกษาข้อมูลของผู้ป่วย และผลการวินิจฉัยจากห้องปฏิบัติการ
2. ศึกษาพิเคราะห์ลักษณะโรค กลุ่มอาการที่คล้ายกัน
3. ศึกษาลักษณะการกระจายของโรคตาม วัน เวลา
สถานที่
4. เรียบเรียงข้อมูลต่างๆจนได้ลักษณะการเกิดโรคว่าเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับเหตุ
ปัจจัยใด แล้วตั้งเป็นสมมติฐาน
5. ศึกษาวิเคราะห์ถึงเหตุและปัจจัยที่น่าจะเป็นต้นเหตุ
6. ตั้งสมมติฐาน
วางแนวทางการป้องกันควบคุมโรค
วิธีการดำเนินงานทางระบาดวิทยา
1. เฝ้าระวัง
2. สอบสวนศึกษาการเกิดความผิดปกติ
3. วิจัย
ทดสอบสมมติฐานตามหลักระบาดวิทยา
ลักษณะและธรรมชาติของการเกิดโรค
-
ระยะที่เสี่ยงต่อการติดโรค
-
ระยะก่อนมีอาการตั้งแต่เริ่มติดเชื้อ
หรือ รับสาเหตุแล้ว
-
ระยะที่มีอาการของโรค
-
ระยะที่โรคก่อให้เกิดผลเสียหาย
ลักษณะของการเกิดโรคในแต่ละระยะ
จะมีความแตกต่างกัน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของการเกิดโรค
(Host Agent
และ Environment) การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคให้ได้ผล
จำเป็นต้องทราบว่าลักษณะการเกิดโรคอยู่ขั้นตอนใด
รวมทั้งเหตุและปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดโรคในขั้นตอนนั้นๆ เป็นอย่างไร นำมาตั้งสมมติฐานธรรมชาติของการเกิดโรค แล้วหาแนวทางป้องกันควบคุมโรค
มิให้แพร่กระจายตามเหตุและปัจจัยที่ตั้งสมมติฐานไว้
ควรทำการทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ด้วยว่าเป็นจริงหรือไม่ โดยทำการศึกษาวิจัยและทดสอบ เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของสิ่งที่ได้จาก การเฝ้าสังเกตและบันทึกไว้
การดำเนินการดังนี้
นับได้ว่าเป็นการป้องกันควบคุมโรคโดยใช้ปัญญาจากการศึกษาทางระบาดวิทยา รู้ถึงธรรมชาติของการเกิดโรค เหตุและปัจจัยที่เอื้อให้เกิดโรค
และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้มาใช้อย่างเป็นระบบ ตรวจสอบ
และพิสูจน์ได้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น