ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ทำยังไงให้เก่งภาษาอังกฤษ


"ทำอย่างไรให้เก่งภาษาอังกฤษ...เป็นคำถามที่ผมถามตัวเองมาตั้งแต่ป.5 

ไปเจอบทความดีๆที่แนะนำแนวทางเก่งภาษาอังกฤษ"

ทำอย่างไรจึงจะเก่งภาษาอังกฤษ

สำราญ  คุรุครรชิต


ในฐานะครูสอนภาษาอังกฤษมานาน คำถามที่มักได้ยินบ่อยที่สุดก็คือ ทำอย่างไรจึงจะเก่งภาษาอังกฤษนี่แหละ ถ้าจะคิดตีความอย่างพาลหน่อยจากคำทำอย่างไรอาจไปไกลถึงว่ามีคาถาอาคมอะไรให้ท่องให้ยึดถือ ใช้การถ่ายทอดวิทยายุทธ์อย่างหนังกำลังภายใน หรือมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อะไรที่จะยังผลให้เก่งภาษาได้ แท้ที่จริงผู้ถามคงหมายถึง เรียนอย่างไรจึงจะเก่งภาษาอังกฤษและอาจหมายเพียง ควรเรียนเน้นทักษะใดอย่างไรก็ดี ผู้เขียนจะพยายามตอบคำถามนี้ รวมทั้งคำถามที่คิดว่าน่าจะเป็นความตั้งใจจริงทั้ง 3 คำถามนั่นแหละ
          แต่ขอออกตัวเสียก่อน ไม่ใช่ตาม ธรรมเนียมแต่เป็นข้อเท็จจริงว่าผู้เขียนไม่ใช่คนเก่ง เป็นเพียงผู้สอนภาษาอังกฤษมานาน เหลี่ยมคู ชั้นเชิง กระบวนเอาตัวรอดเชิงใช้ภาษาอังกฤษค่อนข้างแพรวพราวหน่อยเท่านั้น และที่กำลังเอาตัวรอดอยู่อีกอย่างในตอนนี้ก็คือ อยากจะบอกว่าเรื่องที่ท่านกำลังอ่านอาจไม่ใช่สาระทางวิชาการอะไรนัก เป็นความคิด ความเข้าใจ และความรู้สึกค่อนข้างจะล้วนๆของผู้เขียน และแน่นอนจากประสบการณ์อีกนั่นแหละ
          ทีนี้มาดูกันว่าเรียนภาษาอังกฤษไปทำไม
          ดูเหมือนส่วนใหญ่จะรับรู้รับทราบความเป็นจริงของโลกในยุคนี้อย่างหนึ่ง คือความจำเป็นในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร หาความรู้ความเข้าใจ ซึ่งหมายถึงโอกาสในการศึกษาและการงานอาชีพ
จำเป็นมากครับ อย่างสำนวนที่ผมมักใช้กับลูกศิษย์ว่า เอกอัครบรมมหาจำเป็นยิ่งโลกเจริญ พัฒนาไปมากเท่าไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งความก้าวหน้าทางการสื่อสาร ความจำเป็นที่โลก คือคนในสังคมโลกนะครับ ต้องใช้ภาษาอังกฤษมีมากขึ้นเท่านั้น ตรวจสอบดูได้ในทุกด้านเลย ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ธุรกิจ สารพัดเลยละ เป็นเช่นนี้แล้วเราไม่จำเป็นต้อง ขวางโลกหรอกครับ แค่นั่งนอนอยู่เฉยๆ คนเขาก็ไปกันสุดโด่งแล้ว
ถ้าจะถามว่าเราอยู่ได้ไหม ก็พอได้หรอก แต่อย่างคนไม่ทันชาวบ้านเขานะ แล้วคนในวงการศึกษาอย่างเราๆจะไหวหรือ         
          ครับต้องทำใจ ใส่ความคิดนี้ แล้วกุลีกุจอ รุ่มร้อนอยากมีอยากเป็นอยากได้อย่างคนอื่น และต้องเป็นความ อยากที่ถาวรนะครับ ไม่ใช่ประเดี๋ยวประด๋าว หลังจากวันสองวันแล้วดับวูบจนจุดติดยาก อย่างนี้ไม่ได้ครับ
          ขออนุญาตสรุปเอาเองตรงนี้ว่าความสำคัญของภาษาอังกฤษเป็นที่ชัดเจน และความสนใจเกิดขึ้นแล้วจากการเห็นความต้องการที่จำเป็น
ถึงได้มีคำถามเกิดขึ้นนั่นไงละ
ทีนี้มาดูกันว่าเขาเรียนกันอย่างไร
          ก็อย่างที่รู้ๆกันอยู่นั่นแหละครับว่าภาษาเป็นวิชาทักษะ (แม้บางคนมองว่าภาษาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ใช่วิชา) ต้องจำและต้องฝึกฝนครับ นี่ก็ไม่น่าประหลาดใจอะไรใช่ไหม ทุกกระบวนวิชาต้องเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว แต่ภาษาอังกฤษ ที่จริงทุกภาษานั่นแหละ โดยเฉพาะสถานการณ์การเรียนอย่างบ้านเราซึ่งเป็นการเรียนเป็นภาษาต่างประเทศ โอกาสการพบเห็น การใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารอย่างปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันค่อนข้างน้อย หลีกไม่พ้นต้องจำต้องฝึก คือทั้งจำและฝึก หรือทั้งฝึกและจำ เพื่อจะได้คล่องจนใช้การได้เมื่อจำเป็นต้องใช้
ไม่อายที่จะหยิบข้อเขียนภาษาอังกฤษมาอ่าน สร้างความจำเป็นที่จะต้องใช้ ให้โอกาสตนเองได้เปิดรับภาษาให้บ่อยที่สุด เช่นไปไหนมาไหนอาจถือเอกสารหรือหนังสือ(พิมพ์)ภาษาอังกฤษไปใช้เวลานั่งอ่าน เรียกว่าไม่ยอมให้เวลาฆ่าเราฝ่ายเดียว
หรือในระหว่างฝึกพูด อยากทดสอบการใช้สำนวนภาษาพูด เห็นฝรั่ง (หมายถึงเจ้าของภาษาอังกฤษเราชอบใช้คำว่า เจ้าของภาษา(Language owner) แต่ เจ้าของภาษามักจะบอกเราว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของภาษาหรอก ควรใช้คำ Native speaker หรือชาว/ คนอังกฤษ หรือชาวอเมริกาแทน นั่นก็ยุ่งอีก ต้องไปถามหาสัญชาติกันก่อน ลำบากเปล่าๆ) ก็จะวิ่ง ไม่ใช่หนีแต่ปรี่เข้าหา แล้วนำศัพท์แสง สำนวนภาษา ที่เคยท่องเคยจำไปลองใช้ ถึงจะผิดบ้าง ไม่ถูกบ้าง ก็ว่ากันไปเรื่อยๆ ในขณะที่บางคน (ที่เห็นว่าตนเองสัมปทานสัมปชัญญะที่ได้มายังอยู่ครบถ้วน) เห็นว่านั่นมัน บ๊องชัดๆ แต่มีผลต่างอยู่มากจากการทำเช่นนั้น คนที่กล้าฝึกกล้า ลองของไม่นานจะเก่ง มั่นใจการใช้ภาษามากขึ้น
นี่ ต้องเป็นอย่างนี้ครับ เรียกว่าต้องเป็นคนไม่ ครบบาทหรือดูจะไม่ค่อยเต็มเต็งนัก ประมาณเอาสัก 75 – 90 สตางค์ถึงจะดี

อยากให้พิจารณาข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นธรรมชาติของการเรียนภาษาอังกฤษกันสักนิดหน่อย จะได้ไม่ต้องโทษตัวเองนะครับ หากไม่ได้ดังใจขึ้นมา
          การเรียนภาษาเป็นกระบวนการดูดซับ (Assimilation) ความรู้ หรือทักษะ จะให้ปุ๊บปั๊บไม่ได้ ต้องใจเย็น ให้ความสนใจ ฝึกฝนอยู่สม่ำเสมอ ไม่นานเกินรอหรอก เราก็สามารถใช้ประโยชน์ได้ แต่จะดีเพียงใดหรือไม่ขึ้นอยู่กับวันเวลา และความพยายามที่ลงทุนไปนั่นแหละ
          เรียนยากหรือง่ายขึ้นอยู่กับแต่ละคน เป็นความจริงที่ว่าบางคนมีความถนัดหรือ หัวดีในด้านภาษา เรียนรู้ได้เร็ว แต่ก็ช่างหัว(ดี)”เขาปะไร เขาเรียน เขาฝึกครั้งสองครั้งก็เก่ง เราฝึกสัก 28 ครั้งไม่ได้ให้มันรู้ไป จริงไหมครับ
จริงๆแล้ว นอกจากเรื่องความถนัดตามธรรมชาติ ทัศนคติ ความรู้ในความจำเป็นของการเรียนหรือสร้างทักษะภาษาแล้ว น่าจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และตัวเราเอง รวมทั้งความสามารถที่จะจัดสภาพแวดล้อมการเรียนให้ตัวเองมากกว่า เช่นที่ยกตัวอย่างไปแล้วแต่ตอนต้น
การรู้จักสังเกตว่าวิธีการเรียนอย่างไรเหมาะกับตนก็น่าจะเป็นเหตุผลของความสำเร็จในการเรียนด้วยนะครับ
แน่นอน จะเรียนให้รู้อะไรก็ต้องอุทิศตัวเอง ยอมรับความยากลำบากให้ได้ ตั้งใจใช้ความพยายามจริง
ตรงนี้ต้องระวังด้วยนะครับ ที่ว่าต้องจริงจังตั้งใจ ไม่ได้หมายความว่าจะผ่อนคลาย หรือหาความสนุกจากการเรียนไม่ได้นะ บางครั้งบางคราวเราก็อาจหาความสุข คลายเครียดจากการเรียนในขณะที่ฝึกที่เรียนด้วยได้ นั่นก็ขึ้นอยู่กับว่าตอนนั้นกำลังเรียนกำลังฝึกอะไรอยู่ การเรียนการฝึกไม่ได้หมายถึงต้องหาทุกข์ ลำบากใส่ตัวตลอดเวลา จริงไหมครับ
ไม่เช่นนั้น จะลงเอยด้วยการเบื่อ ท้อแท้ และเลิกราไปในที่สุด
          ที่สำคัญอย่าเริ่มด้วยความคิดว่าเราเรียนภาษาอังกฤษไม่ได้หรอก หรือยากไปสำหรับเรา  ถ้าเริ่มจากแพ้ตัวเอง มีความคิด จากทัศนคติอย่างนี้แล้วก็เป็นอันเสร็จกัน
          แล้วก็อย่าบอกว่าไม่มีเวลา อยากได้ต้องให้เวลาเขา ลองแคะไค้หาดูจริงๆจังๆ พอมีเวลาบ้างละน่า วันหนึ่งๆสักครึ่งหรือหนึ่งชั่วโมงก็น่าจะพอ เพียงขอให้สม่ำเสมอ
          ที่สำคัญอีกอย่างคือ ไม่มีสูตรสำเร็จใดๆที่จะช่วยให้เรียน (เช่นอ่าน) ให้ประสบความสำเร็จได้ดี ราบรื่นและรวดเร็ว แต่ที่จะกล่าวไว้คือแนวทางที่น่าจะช่วยได้ ที่สำคัญต้องลงมือเอง ลุยเลย อย่างจริงเท่านั้น
          ทีนี้มาดูกันว่าอะไรที่ถือว่าสำคัญในการเรียนการฝึกภาษาอังกฤษ (และทุกภาษานั่นแหละ)
คำศัพท์ครับ ผมว่าสำคัญเหนืออื่นใดทั้งสิ้น ผมไม่ได้หมายถึงก่อนทักษะอื่นนะครับ หมายถึงจำเป็นกว่าทักษะอื่นๆ โดยเฉพาะในช่วงการเรียนการฝึกภาษาระดับต้นถึงระดับกลาง หากไม่ได้คำศัพท์จะทำอะไรได้ อ่าน ฟังให้รู้เรื่องได้อย่างไร จะหวังอะไรได้จากเขียน พูดสื่อสาร
ขออนุญาตแวะบ่นตรงนี้นิด
คืออย่างนี้ น่าประหลาดที่เดี๋ยวนี้เราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคำศัพท์นัก ครูอาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ โรงเรียนทุกระดับ นักเรียนทุกชั้นปีไม่ให้ความสนใจ หรือให้ความสำคัญเรื่องนี้  ส่วนใหญ่ท่องศัพท์ไม่เป็น ผลก็คือนักเรียนนักศึกษาจำนวนที่ว่าส่วนใหญ่นั้นนั่นแหละอ่อนทักษะภาษาอังกฤษไปทั้งยวง
          ใครที่เป็นอย่างนี้มาแล้วและคิดอยากเก่งภาษาอังกฤษ ทำตัวเป็นผู้ร้ายกลับใจเสียนะครับ เริ่มให้ความสนใจและจัดกระทำกับคำศัพท์ที่พบให้ถูกต้อง
          คำศัพท์ที่เราจะได้จะมีมาจากการอ่านและการฟังนั่นแหละ ในที่นี้ขอไม่พูดถึงคำศัพท์จากแหล่งหลังนะครับ เพราะโอกาสค่อนข้างน้อยมากสำหรับเรา
ในการอ่านเป็นความปกติ ที่เราอาจพบคำศัพท์ที่ไม่รู้ความหมาย คือคำศัพท์ที่เป็นปัญหา จะมากหรือน้อยขึ้นกับต้นทุนของเรา หากพบคำศัพท์ที่ไม่รู้ความหมายมาก ผลก็คืออ่านไม่รู้เรื่อง เว้นไว้แต่เรามีพื้นหลังในเนื้อหานั้นอยู่แล้ว  เช่นนั้นก็พอกล้อมแกล้ม หาแพะมาชนกับแกะพอได้อยู่หรอก
ต้องแก้ด้วยการสะสมปริมาณคำศัพท์พื้นฐานที่เขาเรียก Service words หรือทางการอ่านเขาเรียกศัพท์ฉับพลัน (Instant words) คือเห็นปุ๊บก็ทราบความหมายเลย (ตามปริบทนั้นๆ) บางทีจึงเรียก Sight words
ศัพท์ฉับพลันเป็น เพื่อนคู่คิดมิตรคู่ใจในการอ่าน หาก คบหาเอาไว้มากๆ ทำให้อุ่นใจ และมั่นใจว่าเราจะอ่านได้ด้วยความเข้าใจ เมื่อต้องการหรือจำเป็นต้องอ่าน
และวิธีที่ดีที่สุดในสร้างคำศัพท์พวกนี้ นอกจากด้วยการอ่านมากๆแล้วก็คือท่องศัพท์นั่นแหละครับ
วิธีการคือจดคำศัพท์ไว้ แล้วก็ท่อง
จดศัพท์และความหมายไว้ในเนื้อหาที่อ่านนั่นก็ได้ หากเอกสารนั้นเป็นของเราเอง เพราะสะดวกดี มีเวลาก็เปิดดูบ่อยๆ อ่านทั้งประโยคหรือส่วนของข้อความที่คำนั้นพบใช้ ช่วยการจำและเข้าใจความหมายคำได้ดี เพราะมีที่มาจากเนื้อหา ตามสถานการณ์หรือปริบทที่พบคำศัพท์นั้นใช้อยู่แล้ว แต่หากจะเอาเรื่องกับคำศัพท์จริงจัง ก็จดคำแยกไว้ในสมุด ค้นหาคำอ่านออกเสียง ใส่รายละเอียดเสียงเน้น หน้าที่และความหมายของคำที่พบในเนื้อหานั้น
วิธีท่องศัพท์ ผมคิดว่าคงไม่ต้องสอนฤๅษีกระมังครับ ใครๆก็เคยท่องหนังสือ แม้ยังไม่ลองท่องศัพท์ก็เถอะ แต่ที่อยากเน้นตรงนี้ ถือเป็นการเตือนความคิดก็แล้วกัน ว่าการท่องเป็นการฝึก คือการทำซ้ำๆ เป็นอาการปกติสำหรับการสร้างทักษะหรือความชำนาญ
อาจเข้าใจกันดีในกรณีการใช้มือ เท้าหรืออวัยวะส่วนอื่นของเรา เช่นการฝึกขี่จักรยาน ทำบ่อยๆจนกำหนดมือ เท้า สายตา การทรงตัว รวมทั้งกำลังที่ต้องใช้ให้พอเหมาะแก่ช่วงจังหวะได้ เหมือนการท่องศัพท์เราจัดโอกาสให้พบคำหนึ่งคำใดบ่อยหรือซ้ำๆ เมื่อเห็นคำ พยายามนึกหาความหมาย (และอาจรวมทั้งเสียงของคำที่เปล่งออกมาในคำนั้นด้วย) บ่อยๆจนที่สุดไม่ต้องพยายามอีก เห็นคำนั้นเมื่อไรก็บอกความหมายได้ทันที เพราะความทรงจำประทับหรือกดแน่นอยู่ในหัวเรา ในกรณีฝึกออกเสียงด้วย ก็เท่ากับการทำให้ลิ้น (ซึ่งเป็นอวัยวะหลักในการออกเสียง) เขาเชื่อเรา เกิดเงื่อนไขให้ไปแตะส่วนต่างๆในช่องปากได้ตามที่คิดอย่างที่ต้องการ
          เหมือนที่เราฝึกลูกเล่น (tricks) ให้ลูกหมายกขาหน้ามาจับมือกับเรา ไปคาบของใช้มาให้ ฝึกมันบ่อยๆ จนเชื่อคำสั่ง หรือเพียงให้เงื่อนไขแล้วมันก็ทำได้นั่นแหละ
จะใช้เวลามากน้อยเท่าไรในการให้จำแต่ละคำขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายอย่าง เช่นความคิดที่ติดอยู่กับคำศัพท์นั้น (และพื้นฐานความคิดในเรื่องนั้นของเราเอง) ช่วงเวลาที่เลือกใช้ท่อง เช่นเหนื่อย เพลียอยู่หรือไม่ ทั้งนี้นอกจากความสนใจ ความตั้งใจและความสามารถในการจำ
          ผมคิดว่าอย่าสนใจระดับสติปัญญา หรือสมองให้มากนัก หากเราตั้งใจจริงเสียอย่าง อะไรจะยับยั้งเราได้
          สมมติว่าเราไม่หล่อ อย่างเมื่อตอนหนุ่มๆนั่นแหละ ไม่มีอะไรให้สาวเขาเคลิบเคลิ้มได้เลย เช่นว่าไม่มีอะไรให้พอนับได้ว่ารวยด้วย แต่เกิดไปรักผู้หญิงคนหนึ่ง เราเห็นของเราว่าสวย และรักมาก แต่ผู้หญิงเขาไม่เล่นด้วย อาจถึงกับไม่สนใจเราเลย เพราะไม่มีอะไรให้สนใจ แต่หากเราเพียรตื้อ แสดงออกให้เห็นว่าเรารัก หวังดี เอื้ออาทรเขาด้วยจริงใจ และที่สำคัญแสดงออกให้รับรู้รับทราบว่ารักเขาคนเดียว รักตลอดมา และจะรักตลอดไป ชนิดที่ว่าขาดเขาไม่ได้ มีโอกาสเมื่อไรเป็นถึงบ้านถึงเจ้าหล่อน
          คิดว่าจะเหลือหรือครับ ประวัติศาสตร์บอกเราไว้อย่างนี้ ในที่สุดเขาใจอ่อน ก็เป็นอันเสร็จเราจนได้
          มีภาษาอังกฤษประโยคหนึ่ง เขาว่า Repetition makes impression ความหมายน่าจะทำนองตื้อครองโลกเป็นนัยที่ทุกคนทราบความหมายกันดี และอีกประโยคหนึ่งที่น่าคิดน่าสนใจ Love makes men inventors ควรจะเป็นความว่า ความ(คิด)อยากได้ อยากมี และอยากเป็นทำให้เรา(คิด)หาหนทางไปสู่ความสำเร็จ(จนได้)” และถ้าจะว่าไปแล้วนี่ก็คือหลักอิทธิบาทสี่ของเรานั่นละ
          แต่อย่าลืมนะครับ ก็เหมือนกรณีเกี้ยวหญิงนั่นแหละ แม้เธอจะเออออห่อหมกแล้ว หากห่างเหินไปนานอาจเป็นอื่นได้ ต้องหมั่นทบทวนเอาไว้
          และเหมือนกรณีขี่จักรยานอีกนั่นแหละ นานๆขึ้นคร่อมเสียที ใบ้กินเหมือนกันแหละครับ
          นอกจากด้วยวิธีเผชิญหน้าเอาดื้อๆกับคำศัพท์คือ เห็นหน้า จำไม่ได้ (หรือไม่รู้จัก) –ท่องมันซะเลยแล้ว มีวิธีเพิ่มพูนคำศัพท์ที่ดีมากๆอีกตั้งหลายอย่าง
          การรู้จักรากศัพท์ (Roots) ซึ่งส่วนใหญ่มาจากภาษากรีกและละติน (Greek and Latin) ไม่จำเป็นต้องตั้งหลักที่การท่องจำทุกคำที่หนังสือเขาเสนอแนะไว้หรอกครับ แต่ก็ควรอ่านดูพอผ่านตา พอรู้จัก ชนิดพอทักทายกันได้ เมื่ออ่านพบจึงค่อยกลับไปตรวจสอบว่ารากศัพท์คำหนึ่งคำใดให้นัยความหมายเช่นไร ส่วนประกอบของคำที่เรียกอุปสรรคและปัจจัย (Affixes) นั่นก็เป็นวิธีเพิ่มพูนคำศัพท์ที่ดี และเช่นเดียวกัน ไม่ต้องท่องจำจากรายการที่หนังสือหรือเอกสารตำราเขาเสนอแนะหรอก ใช้วิธีเดียวกับกรณีรากศัพท์นั่นแหละ เห็นแล้วค่อยทำความรู้จัก และจำ เพราะวิธีนี้ช่วยให้จำได้ดีกว่า เขาเรียกว่า Meaningful ดีกว่าใช่ไหมครับ
          ศัพท์อีกประเภทคือคำประสม (Compounds) ต้องศึกษารูป หน้าที่และความหมายของคำประเภทนี้แล้วจะช่วยเราแยะเลยในการ งัดแงะความหมายจากคำพวกนี้ได้
          การใช้คำศัพท์แวดล้อม (Context clues) เดาความหมายศัพท์ยากในขณะอ่าน เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ประโยชน์มาก เพียงแต่เทคนิคนี้ได้ผลดีเฉพาะกรณีที่เรามีปริมาณศัพท์พื้นฐานหรือศัพท์ฉับพลันมากพอแล้วเท่านั้น
การจัดการเรื่องคำศัพท์ที่กล่าวไปแล้ว เว้นไว้แต่กรณีคำศัพท์แวดล้อม เป็นทั้งวิธีเพิ่มพูนคำศัพท์ฉับพลันและการแก้ปัญหาคำศัพท์ในขณะอ่านด้วย (ซึ่งโดยปกติต้องใช้หลายเทคนิควิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้คำศัพท์แวดล้อมมาร่วมด้วยช่วยกัน)
การเรียนรู้เพื่อการเพิ่มพูนและแก้ปัญหาคำศัพท์ เป็นการเรียนรู้ที่จะพึ่งตนเอง เป็นยุทธวิธีเตรียมพร้อม เพื่อเป็นฝ่ายตั้งรับและการเริ่มรุก กับทั้งเป็นวิธีป้องกันการ ลัดวงจรหรือ ฟิวส์ขาดในขณะอ่าน
          คำศัพท์เป็นทักษะย่อยมากๆในการเรียนภาษาก็จริง แต่ในการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศถือว่าจำเป็นที่สุด เพราะหากขาดพื้นฐานคำศัพท์นี้เสียอย่างเดียว ทักษะอื่นเป็นอันง่อยเปลี้ยเสียขาไปหมดนั่นแหละ
เป็นความจริงที่ว่าทักษะภาษาส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเขียน อ่าน และแม้แต่ฟังพูด อาจถ่ายโอนกันได้จากทักษะภาษาไทยที่เรามีกันอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ทักษะหรือความสามารถด้านคำศัพท์ เราต้องก่อร่างสร้างตัวเอาเองใหม่หมดเลย ถ้าอยากจะให้เก่ง
         
          ถึงตรงนี้ คิดว่าผมตอบคำถาม ทำอย่างไรจึงจะเก่งภาษาอังกฤษ รวมทั้งเรียนอย่างไรและเน้นอะไรไปแล้วนะครับ ทวนอีกที คำตอบคือ เรียนคำศัพท์ครับ แล้วจะเก่งภาษาอังกฤษ
หากยังไม่แน่ใจ เชื่อไม่สนิทนัก ลองถามคนเก่งภาษาอังกฤษดู ที่มาของความเก่งนั้นมักเหมือนกันทุกคน คือเก่งศัพท์ อย่างที่บอกไว้แล้วว่า หากไม่ได้ศัพท์ ไม่เพียงหนวกแต่ทั้งบอดและใบ้ไปหมดทุกทักษะภาษาแหละครับ แม้เจ้าของภาษาเองเขายังให้ความสำคัญต่อคำศัพท์มาก ในโรงเรียนเขาใช้หลายวิธีที่จะให้เด็กของเขาเห็นคุณค่า เน้นความสำคัญและเพื่อให้เก่งคำศัพท์ ในชีวิตประจำวัน ปริมาณคำศัพท์ที่รู้เป็นเครื่องชี้ เป็นตัวกำหนดหน้าที่การงานรวมทั้งความสำเร็จในงานอาชีพด้วย
ครับ หากสนใจควรหาเอกสารตำราที่เสนอแนะวิธีการมานั่งดูเสียสักหน่อยก็จะดี จะได้เดินตามลู่ตามทาง ไม่ต้องเข้ารกเข้าพง โอกาสหลงทางมีน้อย จะได้ถึงเป้าหมายเร็วขึ้น
เกือบลืมไปนะครับ คิดว่าต้องมีคนถามต่อแน่ แล้วรู้ศัพท์สักเท่าไรจึงจะพอ คำศัพท์ภาษาอังกฤษมีตั้งเยอะแยะ ไม่ต้องท่องกันจนหงอกหรอกรึ
จากการศึกษาของนักการศึกษาด้านการอ่าน ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างมากในการเก็บรวบรวมและทดสอบทดลอง ว่ากันว่ารู้ศัพท์สัก 3,000 – 5,000 น่าจะพอ สำหรับการอ่านเอกสาร ตำราในระดับปริญญาตรีได้ แต่ต้องเป็นคำศัพท์ที่พบได้บ่อยที่สุดในปริมาณที่ว่านั้นนะครับ
ตัวคำศัพท์เหล่านี้ ซึ่งก็คือศัพท์ที่เราจะพบเห็นในการอ่านทั่วไปนั่นแหละ อาจแตกต่างกันไปบ้างตามแต่ละสำนักที่ศึกษาและรวบรวมเก็บคำ
หากสนใจจะตรวจสอบดู ว่าในบรรดารายการศัพท์ที่เขาเก็บรวบรวมไว้นั้นเป็นคำศัพท์ที่เรามีสักเท่าไร อาจเปิดหาเอกสารเรื่องคำศัพท์ดูได้จากหลายๆ Websites
ต่อการพิจารณาว่าเรามีศัพท์ฉับพลันไว้มากพอแล้วหรือยัง สังเกตเอาอย่างนี้ก็ได้ครับ ดูว่าเวลาอ่านเราสามารถเดาความหมายคำศัพท์ได้มากขึ้นแล้วหรือไม่ เช่นว่าใน 10 ประโยค พบคำยากประโยคละ 1 – 2 คำ แต่สามารถเดาความหมายได้ คือสามารถอ่านเข้าใจได้ พอจะถือได้ว่าเรามีคำศัพท์ฉับพลันไว้มากพอ คือน่าจะไม่ต้อง ปล้ำตัวตั้งใจท่อง สะสมศัพท์พื้นฐานกันมากนักแล้ว
ที่ว่าศัพท์แวดล้อมหรือปริบทของคำอาจเป็นระดับประโยค ย่อหน้า บทหรือตอนหนึ่งของเอกสารก็ได้
         
คำศัพท์นั้นสำคัญก็จริง แต่ไม่ถึงห้อยคอไว้บูชาหรือเป็นลมหายใจเข้าออกหรอกนะครับ ศัพท์คือหนทางหลักสู่ทักษะภาษาก็จริง แต่ถ้าถึงกับหมกมุ่นเอามาครุ่นคิดมากเกินไปก็จะเป็นอุปสรรคเสียเองในขณะอ่าน หรือพูด
         
          เอาเป็นอันว่าคำตอบมีแล้วว่าวิธี ทำให้เก่งภาษาอังกฤษคือเรียน ท่องศัพท์ เก่งคำศัพท์คือพื้นฐานหลักของความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษ หรือคือวิธีที่จะให้เก่งภาษาอังกฤษ เริ่มตรงนี้ จากคำศัพท์ครับ
         
น่าจะจบตรงนี้ได้ แต่ยังไม่สนิทดี
          อยากไปแตะที่ตัวทักษะภาษาอีกหน่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่การอ่าน เพราะผมเห็นเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดในบรรดา 4 ทักษะหลักของภาษา
          ผมเห็นเช่นนี้เสมอมา เพราะการอ่านคือที่มาของทักษะอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นฟัง พูด หรือเขียน โดยเฉพาะในการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ
          การเรียนภาษาเริ่มที่การรับ สำหรับการเรียนภาษาแม่เราเริ่มจากการฟังอย่างที่ทุกคนทราบดี แต่การเรียนภาษาต่างประเทศดูจะมีโอกาสที่จะทำเช่นนั้นได้น้อยมาก แต่ไม่น่าเสียเปรียบอะไรมากนัก ที่จะเริ่มจากการรับอีกอย่างคือการอ่าน
          ขอเริ่มจากชี้ไปที่ประโยชน์ของการอ่านกันสักหน่อยครับ ดูเหมือนทุกคนก็พอจะทราบอยู่หรอก แต่ก็จะขอชวนให้ดูสั้นๆ
ใคร่ท้าให้ไปสืบถามดู ใครที่เป็นนักพูดนักเขียนเก่งๆ คนคนนั้นต้องเป็นนักอ่านมาก่อน และไม่ใช่ธรรมดาด้วย เป็นระดับหนอนหนังสือกันทีเดียว และตราบใดที่ยังเป็นนักเขียนนักพูด คนคนนั้นก็ต้องเป็นนักอ่านตัวเก่งอยู่นั่นแหละ ความรอบรู้ในเนื้อหาสาระ ศัพท์สำนวนภาษา ความคิด วิธีคิด รวมทั้งความสามารถในการคิด ตลอดจนวิธีนำเสนอความคิด ส่วนใหญ่ก็ได้รับซึมซับมาจากการอ่านนั่นแหละ
และที่สำคัญอีกประการสำหรับนักอ่านก็คือบุคลิกภาพ มักเย็น สุขุม ลึกและมั่นใจในตัวเอง ชนิดที่น่าเป็นที่เกรงใจของคนอื่น
ในการอ่านภาษาอังกฤษก็เช่นเดียวกัน ผมเห็นว่าเป็นวิธีสร้างสมทักษะภาษาที่ดีที่สุด นั่นคือ ในด้านโครงสร้างภาษาสามารถตัดหรือลดไปได้เลยเรื่องท่องจำหรือพยายามที่จะจดจำหลักหรือกฎเกณฑ์ภาษา  ความคุ้นเคย การได้ผ่านพบ ประสบการณ์ที่จะได้จากการอ่านนั่นจะเป็นตัวช่วยให้เราตัดสินใจได้เองว่าใช้(หลัก)ภาษาอย่างไรจึงจะสื่อสารได้ถูก หรืออย่างที่เจ้าของภาษาเขาใช้
เรื่องคำศัพท์ก็เช่นกัน เราสามารถคิดหาคำมาใช้ได้หลากหลาย ในปริบทหนึ่งใด ควรใช้คำใดหรือไม่อย่างไร เป็นต้น
คำว่าใช้ภาษาหมายถึงใช้ในการพูดและเขียนนั่นแหละ
ในด้านการเขียน ทักษะอ่านเป็นประโยชน์เอื้อโดยตรง ทั้งถ้อยคำภาษา รูปแบบ วิธีการการจัดความคิดและเนื้อหา ในส่วนการพูด อาจมีคนแย้งว่าภาษา(เขียน)ที่ได้จากการอ่านส่วนหนึ่งไม่ใช่ภาษาพูด ผมคิดว่านั่นไม่สำคัญ ตราบใดที่สื่อสารได้ เป็นอันใช้ได้ โดยเฉพาะในชั้นต้น และเชื่อว่าเมื่อเราได้คุ้นเคยกับการพูดมากขึ้น เราปรับภาษาได้เองนั่นแหละ และเร็วด้วย เพราะเรามีจุดเริ่มต้นที่ดีแล้ว
         
ว่าแต่ว่าจะเริ่มอ่านอย่างไร
เหมือนอย่างที่เราอ่านภาษาของเรานั่นแหละ จะต่างกันตรงที่ไม่ใช่ วัดเราปัญหาแรกคือโครงสร้างประโยคหรือไวยากรณ์ อีกอย่างก็คือคำศัพท์ หากมีพื้นความรู้ภาษาอังกฤษพอสมควร เอาเป็นว่าระดับมัธยมปลาย โครงสร้างภาษาและพื้นหลังด้านคำศัพท์ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไรมากนัก ผมว่าที่เป็นปัญหาค่อนข้างมากคือตัวเราเองนั่นละ รักที่จะอ่าน คิดจะสร้าง ฐานะทางภาษาหรือไม่ จริงอยู่ หลายทักษะย่อยทางการอ่าน ถ่ายโอนกันได้จากทักษะการอ่านภาษาไทยของเรานั่นเอง แต่(การอ่าน)ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาไทยอยู่ดี
         
ตรงนี้นี่เองที่ใคร่ทำความเข้าใจ เพื่อจะได้ ทำใจเอาไว้เวลาอ่านข้อเขียนภาษาอังกฤษ
เวลาเราอ่านในภาษาของเรา เรารับความคิดได้เกือบจะทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเนื้อหานั้นเรามีพื้นความรู้ (ภาษาการอ่านเขาเรียก World knowledge หรือที่บางทีเรียกว่า schemata) อยู่บ้างแล้ว เพราะความคิดที่แฝงอยู่ในถ้อยคำ สำนวนภาษาซึมซับอยู่ในหัวเราอยู่นานแล้ว
แต่ในการอ่านภาษาอังกฤษมีเรื่องน่าลำบากใจอยู่ไม่น้อยทีเดียว
เป็นความจริงที่ว่าเมื่ออ่าน อาจอ่านซ้ำได้หลายเที่ยว จนกว่าจะเข้าใจหรือล้าไปเอง เพราะข้อเขียนในระดับของผู้ใหญ่มักประกอบด้วยความคิดที่หนาแน่น สถานการณ์เชิงปริบทที่ค่อนข้างกว้างและซับซ้อน เฉพาะในตัวคำศัพท์เองก็ค่อนข้างมากเรื่องเช่นผู้เขียนมักใช้ถ้อยคำภาษาที่หลากหลายเพื่อให้สื่อสารความหมายอย่างเดียวกัน 
ภาษาอังกฤษเขามีเครื่องหมายวรรคตอน นั่นก็ไม่ใช่ไม่สำคัญ ต้องเข้าใจสัญญาณตัวนี้ นี่เป็นช่องทางหนึ่งที่ผู้เขียนช่วยให้เรารับความคิดจากเขาได้ถูกต้องมากขึ้น
นึกออกไหมครับ เวลาเราพูดกับใคร เรามีตัวช่วยมากมายที่จะทำให้เข้าใจสาระที่ผู้พูดสื่อ เช่นสีหน้า ท่าทาง อารมณ์ขณะพูด ระดับและคุณภาพของเสียง แม้ระยะหรือจุดที่ยืนใกล้ ไกลในขณะพูดคุยกัน สิ่งเหล่านี้เครื่องหมายวรรคตอนเข้าไปชดเชยได้ระดับหนึ่ง
แม้คำอ้างโยงความคิดที่เรียก Reference Words ก็อย่าเห็นว่าไม่สำคัญ หลายคนพลาดอย่างที่ไม่ควรผิดมามากต่อมากแล้ว เช่นอาจเพียงขาดความชัดเจนในความคิด จนถึงสื่อความคิดไปคนละเรื่องจากเจตนาของข้อเขียน ถึงระดับที่เรียกว่าไม่รู้เรื่องไปเลย
นั่นแหละ ข้อเขียนภาษาอังกฤษจึงดูเหมือนจะยากไปหน่อย แต่ไม่ได้หมายความว่าเรียนหรือฝึกกันไม่ได้
           ค่อยๆฝึกค่อยๆอ่านไป เรามีพื้นฐานกันบ้างแล้วนี่ครับ และก็บอกไปแล้วเช่นกันว่า เกือบทุกทักษะอ่านนั่น เราถ่ายโอนความสามารถเชิงการอ่านของเราไปใช้ได้ ภายใต้เงื่อนไขว่าท่านต้องเป็นนักอ่านในภาษาของเราเองพอสมควรอยู่ด้วยนะครับ
          และเมื่อมีประสบการณ์การอ่านไว้มากพอ ไม่ใช่เก่งเฉพาะทักษะด้านนี้ แต่จะเป็นผลให้เก็บสะสมความสามารถด้านคำศัพท์ โครงสร้างประโยค และรวมไปทั้งความรู้ความเข้าใจเชิงวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในภาษา เช่นวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความคิด การกระทำของเจ้าของภาษา
          ตัวนี้ก็สำคัญต่อความเข้าใจในการฟัง การอ่าน ต่อการพูด เขียนสื่อสารไม่น้อยนะครับ เพราะเป็นตัวกำหนดวิธีและรูปแบบของความคิดของเขา
          นั่นไหมละ ตั้งใจจะพูดเรื่องการอ่านนิดหน่อยเท่านั้น ไม่ใช่ไม่ตั้งใจจะให้ยาวหรอก แต่เห็นว่าคำศัพท์กับการอ่านเป็นพื้นฐานภาษาที่สำคัญและสัมพันธ์กันแนบแน่นเหลือเกิน
          และทีนี้จบจริงๆแล้วละครับ อ่านไปๆหากเห็นว่าเป็นเสียงบ่นมากกว่าคำตอบ ต่อคำถามที่นั่นก็ขออภัยเถอะครับ ก็บอกแต่ตอนต้นแล้วว่าเขียนจากประสบการณ์ พบเห็นมามากก็แปลว่าแก่มากนั่นแหละ และคนแก่ที่ไม่ขี้บ่นมีมากนักหรือครับ

ทำอย่างไรจึงจะเก่งภาษาอังกฤษ

สำราญ  คุรุครรชิต


ในฐานะครูสอนภาษาอังกฤษมานาน คำถามที่มักได้ยินบ่อยที่สุดก็คือ ทำอย่างไรจึงจะเก่งภาษาอังกฤษนี่แหละ ถ้าจะคิดตีความอย่างพาลหน่อยจากคำทำอย่างไรอาจไปไกลถึงว่ามีคาถาอาคมอะไรให้ท่องให้ยึดถือ ใช้การถ่ายทอดวิทยายุทธ์อย่างหนังกำลังภายใน หรือมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อะไรที่จะยังผลให้เก่งภาษาได้ แท้ที่จริงผู้ถามคงหมายถึง เรียนอย่างไรจึงจะเก่งภาษาอังกฤษและอาจหมายเพียง ควรเรียนเน้นทักษะใดอย่างไรก็ดี ผู้เขียนจะพยายามตอบคำถามนี้ รวมทั้งคำถามที่คิดว่าน่าจะเป็นความตั้งใจจริงทั้ง 3 คำถามนั่นแหละ
          แต่ขอออกตัวเสียก่อน ไม่ใช่ตาม ธรรมเนียมแต่เป็นข้อเท็จจริงว่าผู้เขียนไม่ใช่คนเก่ง เป็นเพียงผู้สอนภาษาอังกฤษมานาน เหลี่ยมคู ชั้นเชิง กระบวนเอาตัวรอดเชิงใช้ภาษาอังกฤษค่อนข้างแพรวพราวหน่อยเท่านั้น และที่กำลังเอาตัวรอดอยู่อีกอย่างในตอนนี้ก็คือ อยากจะบอกว่าเรื่องที่ท่านกำลังอ่านอาจไม่ใช่สาระทางวิชาการอะไรนัก เป็นความคิด ความเข้าใจ และความรู้สึกค่อนข้างจะล้วนๆของผู้เขียน และแน่นอนจากประสบการณ์อีกนั่นแหละ
          ทีนี้มาดูกันว่าเรียนภาษาอังกฤษไปทำไม
          ดูเหมือนส่วนใหญ่จะรับรู้รับทราบความเป็นจริงของโลกในยุคนี้อย่างหนึ่ง คือความจำเป็นในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร หาความรู้ความเข้าใจ ซึ่งหมายถึงโอกาสในการศึกษาและการงานอาชีพ
จำเป็นมากครับ อย่างสำนวนที่ผมมักใช้กับลูกศิษย์ว่า เอกอัครบรมมหาจำเป็นยิ่งโลกเจริญ พัฒนาไปมากเท่าไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งความก้าวหน้าทางการสื่อสาร ความจำเป็นที่โลก คือคนในสังคมโลกนะครับ ต้องใช้ภาษาอังกฤษมีมากขึ้นเท่านั้น ตรวจสอบดูได้ในทุกด้านเลย ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ธุรกิจ สารพัดเลยละ เป็นเช่นนี้แล้วเราไม่จำเป็นต้อง ขวางโลกหรอกครับ แค่นั่งนอนอยู่เฉยๆ คนเขาก็ไปกันสุดโด่งแล้ว
ถ้าจะถามว่าเราอยู่ได้ไหม ก็พอได้หรอก แต่อย่างคนไม่ทันชาวบ้านเขานะ แล้วคนในวงการศึกษาอย่างเราๆจะไหวหรือ         
          ครับต้องทำใจ ใส่ความคิดนี้ แล้วกุลีกุจอ รุ่มร้อนอยากมีอยากเป็นอยากได้อย่างคนอื่น และต้องเป็นความ อยากที่ถาวรนะครับ ไม่ใช่ประเดี๋ยวประด๋าว หลังจากวันสองวันแล้วดับวูบจนจุดติดยาก อย่างนี้ไม่ได้ครับ
          ขออนุญาตสรุปเอาเองตรงนี้ว่าความสำคัญของภาษาอังกฤษเป็นที่ชัดเจน และความสนใจเกิดขึ้นแล้วจากการเห็นความต้องการที่จำเป็น
ถึงได้มีคำถามเกิดขึ้นนั่นไงละ
ทีนี้มาดูกันว่าเขาเรียนกันอย่างไร
          ก็อย่างที่รู้ๆกันอยู่นั่นแหละครับว่าภาษาเป็นวิชาทักษะ (แม้บางคนมองว่าภาษาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ใช่วิชา) ต้องจำและต้องฝึกฝนครับ นี่ก็ไม่น่าประหลาดใจอะไรใช่ไหม ทุกกระบวนวิชาต้องเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว แต่ภาษาอังกฤษ ที่จริงทุกภาษานั่นแหละ โดยเฉพาะสถานการณ์การเรียนอย่างบ้านเราซึ่งเป็นการเรียนเป็นภาษาต่างประเทศ โอกาสการพบเห็น การใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารอย่างปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันค่อนข้างน้อย หลีกไม่พ้นต้องจำต้องฝึก คือทั้งจำและฝึก หรือทั้งฝึกและจำ เพื่อจะได้คล่องจนใช้การได้เมื่อจำเป็นต้องใช้
ไม่อายที่จะหยิบข้อเขียนภาษาอังกฤษมาอ่าน สร้างความจำเป็นที่จะต้องใช้ ให้โอกาสตนเองได้เปิดรับภาษาให้บ่อยที่สุด เช่นไปไหนมาไหนอาจถือเอกสารหรือหนังสือ(พิมพ์)ภาษาอังกฤษไปใช้เวลานั่งอ่าน เรียกว่าไม่ยอมให้เวลาฆ่าเราฝ่ายเดียว
หรือในระหว่างฝึกพูด อยากทดสอบการใช้สำนวนภาษาพูด เห็นฝรั่ง (หมายถึงเจ้าของภาษาอังกฤษเราชอบใช้คำว่า เจ้าของภาษา(Language owner) แต่ เจ้าของภาษามักจะบอกเราว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของภาษาหรอก ควรใช้คำ Native speaker หรือชาว/ คนอังกฤษ หรือชาวอเมริกาแทน นั่นก็ยุ่งอีก ต้องไปถามหาสัญชาติกันก่อน ลำบากเปล่าๆ) ก็จะวิ่ง ไม่ใช่หนีแต่ปรี่เข้าหา แล้วนำศัพท์แสง สำนวนภาษา ที่เคยท่องเคยจำไปลองใช้ ถึงจะผิดบ้าง ไม่ถูกบ้าง ก็ว่ากันไปเรื่อยๆ ในขณะที่บางคน (ที่เห็นว่าตนเองสัมปทานสัมปชัญญะที่ได้มายังอยู่ครบถ้วน) เห็นว่านั่นมัน บ๊องชัดๆ แต่มีผลต่างอยู่มากจากการทำเช่นนั้น คนที่กล้าฝึกกล้า ลองของไม่นานจะเก่ง มั่นใจการใช้ภาษามากขึ้น
นี่ ต้องเป็นอย่างนี้ครับ เรียกว่าต้องเป็นคนไม่ ครบบาทหรือดูจะไม่ค่อยเต็มเต็งนัก ประมาณเอาสัก 75 – 90 สตางค์ถึงจะดี

อยากให้พิจารณาข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นธรรมชาติของการเรียนภาษาอังกฤษกันสักนิดหน่อย จะได้ไม่ต้องโทษตัวเองนะครับ หากไม่ได้ดังใจขึ้นมา
          การเรียนภาษาเป็นกระบวนการดูดซับ (Assimilation) ความรู้ หรือทักษะ จะให้ปุ๊บปั๊บไม่ได้ ต้องใจเย็น ให้ความสนใจ ฝึกฝนอยู่สม่ำเสมอ ไม่นานเกินรอหรอก เราก็สามารถใช้ประโยชน์ได้ แต่จะดีเพียงใดหรือไม่ขึ้นอยู่กับวันเวลา และความพยายามที่ลงทุนไปนั่นแหละ
          เรียนยากหรือง่ายขึ้นอยู่กับแต่ละคน เป็นความจริงที่ว่าบางคนมีความถนัดหรือ หัวดีในด้านภาษา เรียนรู้ได้เร็ว แต่ก็ช่างหัว(ดี)”เขาปะไร เขาเรียน เขาฝึกครั้งสองครั้งก็เก่ง เราฝึกสัก 28 ครั้งไม่ได้ให้มันรู้ไป จริงไหมครับ
จริงๆแล้ว นอกจากเรื่องความถนัดตามธรรมชาติ ทัศนคติ ความรู้ในความจำเป็นของการเรียนหรือสร้างทักษะภาษาแล้ว น่าจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และตัวเราเอง รวมทั้งความสามารถที่จะจัดสภาพแวดล้อมการเรียนให้ตัวเองมากกว่า เช่นที่ยกตัวอย่างไปแล้วแต่ตอนต้น
การรู้จักสังเกตว่าวิธีการเรียนอย่างไรเหมาะกับตนก็น่าจะเป็นเหตุผลของความสำเร็จในการเรียนด้วยนะครับ
แน่นอน จะเรียนให้รู้อะไรก็ต้องอุทิศตัวเอง ยอมรับความยากลำบากให้ได้ ตั้งใจใช้ความพยายามจริง
ตรงนี้ต้องระวังด้วยนะครับ ที่ว่าต้องจริงจังตั้งใจ ไม่ได้หมายความว่าจะผ่อนคลาย หรือหาความสนุกจากการเรียนไม่ได้นะ บางครั้งบางคราวเราก็อาจหาความสุข คลายเครียดจากการเรียนในขณะที่ฝึกที่เรียนด้วยได้ นั่นก็ขึ้นอยู่กับว่าตอนนั้นกำลังเรียนกำลังฝึกอะไรอยู่ การเรียนการฝึกไม่ได้หมายถึงต้องหาทุกข์ ลำบากใส่ตัวตลอดเวลา จริงไหมครับ
ไม่เช่นนั้น จะลงเอยด้วยการเบื่อ ท้อแท้ และเลิกราไปในที่สุด
          ที่สำคัญอย่าเริ่มด้วยความคิดว่าเราเรียนภาษาอังกฤษไม่ได้หรอก หรือยากไปสำหรับเรา  ถ้าเริ่มจากแพ้ตัวเอง มีความคิด จากทัศนคติอย่างนี้แล้วก็เป็นอันเสร็จกัน
          แล้วก็อย่าบอกว่าไม่มีเวลา อยากได้ต้องให้เวลาเขา ลองแคะไค้หาดูจริงๆจังๆ พอมีเวลาบ้างละน่า วันหนึ่งๆสักครึ่งหรือหนึ่งชั่วโมงก็น่าจะพอ เพียงขอให้สม่ำเสมอ
          ที่สำคัญอีกอย่างคือ ไม่มีสูตรสำเร็จใดๆที่จะช่วยให้เรียน (เช่นอ่าน) ให้ประสบความสำเร็จได้ดี ราบรื่นและรวดเร็ว แต่ที่จะกล่าวไว้คือแนวทางที่น่าจะช่วยได้ ที่สำคัญต้องลงมือเอง ลุยเลย อย่างจริงเท่านั้น
          ทีนี้มาดูกันว่าอะไรที่ถือว่าสำคัญในการเรียนการฝึกภาษาอังกฤษ (และทุกภาษานั่นแหละ)
คำศัพท์ครับ ผมว่าสำคัญเหนืออื่นใดทั้งสิ้น ผมไม่ได้หมายถึงก่อนทักษะอื่นนะครับ หมายถึงจำเป็นกว่าทักษะอื่นๆ โดยเฉพาะในช่วงการเรียนการฝึกภาษาระดับต้นถึงระดับกลาง หากไม่ได้คำศัพท์จะทำอะไรได้ อ่าน ฟังให้รู้เรื่องได้อย่างไร จะหวังอะไรได้จากเขียน พูดสื่อสาร
ขออนุญาตแวะบ่นตรงนี้นิด
คืออย่างนี้ น่าประหลาดที่เดี๋ยวนี้เราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคำศัพท์นัก ครูอาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ โรงเรียนทุกระดับ นักเรียนทุกชั้นปีไม่ให้ความสนใจ หรือให้ความสำคัญเรื่องนี้  ส่วนใหญ่ท่องศัพท์ไม่เป็น ผลก็คือนักเรียนนักศึกษาจำนวนที่ว่าส่วนใหญ่นั้นนั่นแหละอ่อนทักษะภาษาอังกฤษไปทั้งยวง
          ใครที่เป็นอย่างนี้มาแล้วและคิดอยากเก่งภาษาอังกฤษ ทำตัวเป็นผู้ร้ายกลับใจเสียนะครับ เริ่มให้ความสนใจและจัดกระทำกับคำศัพท์ที่พบให้ถูกต้อง
          คำศัพท์ที่เราจะได้จะมีมาจากการอ่านและการฟังนั่นแหละ ในที่นี้ขอไม่พูดถึงคำศัพท์จากแหล่งหลังนะครับ เพราะโอกาสค่อนข้างน้อยมากสำหรับเรา
ในการอ่านเป็นความปกติ ที่เราอาจพบคำศัพท์ที่ไม่รู้ความหมาย คือคำศัพท์ที่เป็นปัญหา จะมากหรือน้อยขึ้นกับต้นทุนของเรา หากพบคำศัพท์ที่ไม่รู้ความหมายมาก ผลก็คืออ่านไม่รู้เรื่อง เว้นไว้แต่เรามีพื้นหลังในเนื้อหานั้นอยู่แล้ว  เช่นนั้นก็พอกล้อมแกล้ม หาแพะมาชนกับแกะพอได้อยู่หรอก
ต้องแก้ด้วยการสะสมปริมาณคำศัพท์พื้นฐานที่เขาเรียก Service words หรือทางการอ่านเขาเรียกศัพท์ฉับพลัน (Instant words) คือเห็นปุ๊บก็ทราบความหมายเลย (ตามปริบทนั้นๆ) บางทีจึงเรียก Sight words
ศัพท์ฉับพลันเป็น เพื่อนคู่คิดมิตรคู่ใจในการอ่าน หาก คบหาเอาไว้มากๆ ทำให้อุ่นใจ และมั่นใจว่าเราจะอ่านได้ด้วยความเข้าใจ เมื่อต้องการหรือจำเป็นต้องอ่าน
และวิธีที่ดีที่สุดในสร้างคำศัพท์พวกนี้ นอกจากด้วยการอ่านมากๆแล้วก็คือท่องศัพท์นั่นแหละครับ
วิธีการคือจดคำศัพท์ไว้ แล้วก็ท่อง
จดศัพท์และความหมายไว้ในเนื้อหาที่อ่านนั่นก็ได้ หากเอกสารนั้นเป็นของเราเอง เพราะสะดวกดี มีเวลาก็เปิดดูบ่อยๆ อ่านทั้งประโยคหรือส่วนของข้อความที่คำนั้นพบใช้ ช่วยการจำและเข้าใจความหมายคำได้ดี เพราะมีที่มาจากเนื้อหา ตามสถานการณ์หรือปริบทที่พบคำศัพท์นั้นใช้อยู่แล้ว แต่หากจะเอาเรื่องกับคำศัพท์จริงจัง ก็จดคำแยกไว้ในสมุด ค้นหาคำอ่านออกเสียง ใส่รายละเอียดเสียงเน้น หน้าที่และความหมายของคำที่พบในเนื้อหานั้น
วิธีท่องศัพท์ ผมคิดว่าคงไม่ต้องสอนฤๅษีกระมังครับ ใครๆก็เคยท่องหนังสือ แม้ยังไม่ลองท่องศัพท์ก็เถอะ แต่ที่อยากเน้นตรงนี้ ถือเป็นการเตือนความคิดก็แล้วกัน ว่าการท่องเป็นการฝึก คือการทำซ้ำๆ เป็นอาการปกติสำหรับการสร้างทักษะหรือความชำนาญ
อาจเข้าใจกันดีในกรณีการใช้มือ เท้าหรืออวัยวะส่วนอื่นของเรา เช่นการฝึกขี่จักรยาน ทำบ่อยๆจนกำหนดมือ เท้า สายตา การทรงตัว รวมทั้งกำลังที่ต้องใช้ให้พอเหมาะแก่ช่วงจังหวะได้ เหมือนการท่องศัพท์เราจัดโอกาสให้พบคำหนึ่งคำใดบ่อยหรือซ้ำๆ เมื่อเห็นคำ พยายามนึกหาความหมาย (และอาจรวมทั้งเสียงของคำที่เปล่งออกมาในคำนั้นด้วย) บ่อยๆจนที่สุดไม่ต้องพยายามอีก เห็นคำนั้นเมื่อไรก็บอกความหมายได้ทันที เพราะความทรงจำประทับหรือกดแน่นอยู่ในหัวเรา ในกรณีฝึกออกเสียงด้วย ก็เท่ากับการทำให้ลิ้น (ซึ่งเป็นอวัยวะหลักในการออกเสียง) เขาเชื่อเรา เกิดเงื่อนไขให้ไปแตะส่วนต่างๆในช่องปากได้ตามที่คิดอย่างที่ต้องการ
          เหมือนที่เราฝึกลูกเล่น (tricks) ให้ลูกหมายกขาหน้ามาจับมือกับเรา ไปคาบของใช้มาให้ ฝึกมันบ่อยๆ จนเชื่อคำสั่ง หรือเพียงให้เงื่อนไขแล้วมันก็ทำได้นั่นแหละ
จะใช้เวลามากน้อยเท่าไรในการให้จำแต่ละคำขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายอย่าง เช่นความคิดที่ติดอยู่กับคำศัพท์นั้น (และพื้นฐานความคิดในเรื่องนั้นของเราเอง) ช่วงเวลาที่เลือกใช้ท่อง เช่นเหนื่อย เพลียอยู่หรือไม่ ทั้งนี้นอกจากความสนใจ ความตั้งใจและความสามารถในการจำ
          ผมคิดว่าอย่าสนใจระดับสติปัญญา หรือสมองให้มากนัก หากเราตั้งใจจริงเสียอย่าง อะไรจะยับยั้งเราได้
          สมมติว่าเราไม่หล่อ อย่างเมื่อตอนหนุ่มๆนั่นแหละ ไม่มีอะไรให้สาวเขาเคลิบเคลิ้มได้เลย เช่นว่าไม่มีอะไรให้พอนับได้ว่ารวยด้วย แต่เกิดไปรักผู้หญิงคนหนึ่ง เราเห็นของเราว่าสวย และรักมาก แต่ผู้หญิงเขาไม่เล่นด้วย อาจถึงกับไม่สนใจเราเลย เพราะไม่มีอะไรให้สนใจ แต่หากเราเพียรตื้อ แสดงออกให้เห็นว่าเรารัก หวังดี เอื้ออาทรเขาด้วยจริงใจ และที่สำคัญแสดงออกให้รับรู้รับทราบว่ารักเขาคนเดียว รักตลอดมา และจะรักตลอดไป ชนิดที่ว่าขาดเขาไม่ได้ มีโอกาสเมื่อไรเป็นถึงบ้านถึงเจ้าหล่อน
          คิดว่าจะเหลือหรือครับ ประวัติศาสตร์บอกเราไว้อย่างนี้ ในที่สุดเขาใจอ่อน ก็เป็นอันเสร็จเราจนได้
          มีภาษาอังกฤษประโยคหนึ่ง เขาว่า Repetition makes impression ความหมายน่าจะทำนองตื้อครองโลกเป็นนัยที่ทุกคนทราบความหมายกันดี และอีกประโยคหนึ่งที่น่าคิดน่าสนใจ Love makes men inventors ควรจะเป็นความว่า ความ(คิด)อยากได้ อยากมี และอยากเป็นทำให้เรา(คิด)หาหนทางไปสู่ความสำเร็จ(จนได้)” และถ้าจะว่าไปแล้วนี่ก็คือหลักอิทธิบาทสี่ของเรานั่นละ
          แต่อย่าลืมนะครับ ก็เหมือนกรณีเกี้ยวหญิงนั่นแหละ แม้เธอจะเออออห่อหมกแล้ว หากห่างเหินไปนานอาจเป็นอื่นได้ ต้องหมั่นทบทวนเอาไว้
          และเหมือนกรณีขี่จักรยานอีกนั่นแหละ นานๆขึ้นคร่อมเสียที ใบ้กินเหมือนกันแหละครับ
          นอกจากด้วยวิธีเผชิญหน้าเอาดื้อๆกับคำศัพท์คือ เห็นหน้า จำไม่ได้ (หรือไม่รู้จัก) –ท่องมันซะเลยแล้ว มีวิธีเพิ่มพูนคำศัพท์ที่ดีมากๆอีกตั้งหลายอย่าง
          การรู้จักรากศัพท์ (Roots) ซึ่งส่วนใหญ่มาจากภาษากรีกและละติน (Greek and Latin) ไม่จำเป็นต้องตั้งหลักที่การท่องจำทุกคำที่หนังสือเขาเสนอแนะไว้หรอกครับ แต่ก็ควรอ่านดูพอผ่านตา พอรู้จัก ชนิดพอทักทายกันได้ เมื่ออ่านพบจึงค่อยกลับไปตรวจสอบว่ารากศัพท์คำหนึ่งคำใดให้นัยความหมายเช่นไร ส่วนประกอบของคำที่เรียกอุปสรรคและปัจจัย (Affixes) นั่นก็เป็นวิธีเพิ่มพูนคำศัพท์ที่ดี และเช่นเดียวกัน ไม่ต้องท่องจำจากรายการที่หนังสือหรือเอกสารตำราเขาเสนอแนะหรอก ใช้วิธีเดียวกับกรณีรากศัพท์นั่นแหละ เห็นแล้วค่อยทำความรู้จัก และจำ เพราะวิธีนี้ช่วยให้จำได้ดีกว่า เขาเรียกว่า Meaningful ดีกว่าใช่ไหมครับ
          ศัพท์อีกประเภทคือคำประสม (Compounds) ต้องศึกษารูป หน้าที่และความหมายของคำประเภทนี้แล้วจะช่วยเราแยะเลยในการ งัดแงะความหมายจากคำพวกนี้ได้
          การใช้คำศัพท์แวดล้อม (Context clues) เดาความหมายศัพท์ยากในขณะอ่าน เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ประโยชน์มาก เพียงแต่เทคนิคนี้ได้ผลดีเฉพาะกรณีที่เรามีปริมาณศัพท์พื้นฐานหรือศัพท์ฉับพลันมากพอแล้วเท่านั้น
การจัดการเรื่องคำศัพท์ที่กล่าวไปแล้ว เว้นไว้แต่กรณีคำศัพท์แวดล้อม เป็นทั้งวิธีเพิ่มพูนคำศัพท์ฉับพลันและการแก้ปัญหาคำศัพท์ในขณะอ่านด้วย (ซึ่งโดยปกติต้องใช้หลายเทคนิควิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้คำศัพท์แวดล้อมมาร่วมด้วยช่วยกัน)
การเรียนรู้เพื่อการเพิ่มพูนและแก้ปัญหาคำศัพท์ เป็นการเรียนรู้ที่จะพึ่งตนเอง เป็นยุทธวิธีเตรียมพร้อม เพื่อเป็นฝ่ายตั้งรับและการเริ่มรุก กับทั้งเป็นวิธีป้องกันการ ลัดวงจรหรือ ฟิวส์ขาดในขณะอ่าน
          คำศัพท์เป็นทักษะย่อยมากๆในการเรียนภาษาก็จริง แต่ในการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศถือว่าจำเป็นที่สุด เพราะหากขาดพื้นฐานคำศัพท์นี้เสียอย่างเดียว ทักษะอื่นเป็นอันง่อยเปลี้ยเสียขาไปหมดนั่นแหละ
เป็นความจริงที่ว่าทักษะภาษาส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเขียน อ่าน และแม้แต่ฟังพูด อาจถ่ายโอนกันได้จากทักษะภาษาไทยที่เรามีกันอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ทักษะหรือความสามารถด้านคำศัพท์ เราต้องก่อร่างสร้างตัวเอาเองใหม่หมดเลย ถ้าอยากจะให้เก่ง
         
          ถึงตรงนี้ คิดว่าผมตอบคำถาม ทำอย่างไรจึงจะเก่งภาษาอังกฤษ รวมทั้งเรียนอย่างไรและเน้นอะไรไปแล้วนะครับ ทวนอีกที คำตอบคือ เรียนคำศัพท์ครับ แล้วจะเก่งภาษาอังกฤษ
หากยังไม่แน่ใจ เชื่อไม่สนิทนัก ลองถามคนเก่งภาษาอังกฤษดู ที่มาของความเก่งนั้นมักเหมือนกันทุกคน คือเก่งศัพท์ อย่างที่บอกไว้แล้วว่า หากไม่ได้ศัพท์ ไม่เพียงหนวกแต่ทั้งบอดและใบ้ไปหมดทุกทักษะภาษาแหละครับ แม้เจ้าของภาษาเองเขายังให้ความสำคัญต่อคำศัพท์มาก ในโรงเรียนเขาใช้หลายวิธีที่จะให้เด็กของเขาเห็นคุณค่า เน้นความสำคัญและเพื่อให้เก่งคำศัพท์ ในชีวิตประจำวัน ปริมาณคำศัพท์ที่รู้เป็นเครื่องชี้ เป็นตัวกำหนดหน้าที่การงานรวมทั้งความสำเร็จในงานอาชีพด้วย
ครับ หากสนใจควรหาเอกสารตำราที่เสนอแนะวิธีการมานั่งดูเสียสักหน่อยก็จะดี จะได้เดินตามลู่ตามทาง ไม่ต้องเข้ารกเข้าพง โอกาสหลงทางมีน้อย จะได้ถึงเป้าหมายเร็วขึ้น
เกือบลืมไปนะครับ คิดว่าต้องมีคนถามต่อแน่ แล้วรู้ศัพท์สักเท่าไรจึงจะพอ คำศัพท์ภาษาอังกฤษมีตั้งเยอะแยะ ไม่ต้องท่องกันจนหงอกหรอกรึ
จากการศึกษาของนักการศึกษาด้านการอ่าน ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างมากในการเก็บรวบรวมและทดสอบทดลอง ว่ากันว่ารู้ศัพท์สัก 3,000 – 5,000 น่าจะพอ สำหรับการอ่านเอกสาร ตำราในระดับปริญญาตรีได้ แต่ต้องเป็นคำศัพท์ที่พบได้บ่อยที่สุดในปริมาณที่ว่านั้นนะครับ
ตัวคำศัพท์เหล่านี้ ซึ่งก็คือศัพท์ที่เราจะพบเห็นในการอ่านทั่วไปนั่นแหละ อาจแตกต่างกันไปบ้างตามแต่ละสำนักที่ศึกษาและรวบรวมเก็บคำ
หากสนใจจะตรวจสอบดู ว่าในบรรดารายการศัพท์ที่เขาเก็บรวบรวมไว้นั้นเป็นคำศัพท์ที่เรามีสักเท่าไร อาจเปิดหาเอกสารเรื่องคำศัพท์ดูได้จากหลายๆ Websites
ต่อการพิจารณาว่าเรามีศัพท์ฉับพลันไว้มากพอแล้วหรือยัง สังเกตเอาอย่างนี้ก็ได้ครับ ดูว่าเวลาอ่านเราสามารถเดาความหมายคำศัพท์ได้มากขึ้นแล้วหรือไม่ เช่นว่าใน 10 ประโยค พบคำยากประโยคละ 1 – 2 คำ แต่สามารถเดาความหมายได้ คือสามารถอ่านเข้าใจได้ พอจะถือได้ว่าเรามีคำศัพท์ฉับพลันไว้มากพอ คือน่าจะไม่ต้อง ปล้ำตัวตั้งใจท่อง สะสมศัพท์พื้นฐานกันมากนักแล้ว
ที่ว่าศัพท์แวดล้อมหรือปริบทของคำอาจเป็นระดับประโยค ย่อหน้า บทหรือตอนหนึ่งของเอกสารก็ได้
         
คำศัพท์นั้นสำคัญก็จริง แต่ไม่ถึงห้อยคอไว้บูชาหรือเป็นลมหายใจเข้าออกหรอกนะครับ ศัพท์คือหนทางหลักสู่ทักษะภาษาก็จริง แต่ถ้าถึงกับหมกมุ่นเอามาครุ่นคิดมากเกินไปก็จะเป็นอุปสรรคเสียเองในขณะอ่าน หรือพูด
         
          เอาเป็นอันว่าคำตอบมีแล้วว่าวิธี ทำให้เก่งภาษาอังกฤษคือเรียน ท่องศัพท์ เก่งคำศัพท์คือพื้นฐานหลักของความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษ หรือคือวิธีที่จะให้เก่งภาษาอังกฤษ เริ่มตรงนี้ จากคำศัพท์ครับ
         
น่าจะจบตรงนี้ได้ แต่ยังไม่สนิทดี
          อยากไปแตะที่ตัวทักษะภาษาอีกหน่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่การอ่าน เพราะผมเห็นเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดในบรรดา 4 ทักษะหลักของภาษา
          ผมเห็นเช่นนี้เสมอมา เพราะการอ่านคือที่มาของทักษะอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นฟัง พูด หรือเขียน โดยเฉพาะในการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ
          การเรียนภาษาเริ่มที่การรับ สำหรับการเรียนภาษาแม่เราเริ่มจากการฟังอย่างที่ทุกคนทราบดี แต่การเรียนภาษาต่างประเทศดูจะมีโอกาสที่จะทำเช่นนั้นได้น้อยมาก แต่ไม่น่าเสียเปรียบอะไรมากนัก ที่จะเริ่มจากการรับอีกอย่างคือการอ่าน
          ขอเริ่มจากชี้ไปที่ประโยชน์ของการอ่านกันสักหน่อยครับ ดูเหมือนทุกคนก็พอจะทราบอยู่หรอก แต่ก็จะขอชวนให้ดูสั้นๆ
ใคร่ท้าให้ไปสืบถามดู ใครที่เป็นนักพูดนักเขียนเก่งๆ คนคนนั้นต้องเป็นนักอ่านมาก่อน และไม่ใช่ธรรมดาด้วย เป็นระดับหนอนหนังสือกันทีเดียว และตราบใดที่ยังเป็นนักเขียนนักพูด คนคนนั้นก็ต้องเป็นนักอ่านตัวเก่งอยู่นั่นแหละ ความรอบรู้ในเนื้อหาสาระ ศัพท์สำนวนภาษา ความคิด วิธีคิด รวมทั้งความสามารถในการคิด ตลอดจนวิธีนำเสนอความคิด ส่วนใหญ่ก็ได้รับซึมซับมาจากการอ่านนั่นแหละ
และที่สำคัญอีกประการสำหรับนักอ่านก็คือบุคลิกภาพ มักเย็น สุขุม ลึกและมั่นใจในตัวเอง ชนิดที่น่าเป็นที่เกรงใจของคนอื่น
ในการอ่านภาษาอังกฤษก็เช่นเดียวกัน ผมเห็นว่าเป็นวิธีสร้างสมทักษะภาษาที่ดีที่สุด นั่นคือ ในด้านโครงสร้างภาษาสามารถตัดหรือลดไปได้เลยเรื่องท่องจำหรือพยายามที่จะจดจำหลักหรือกฎเกณฑ์ภาษา  ความคุ้นเคย การได้ผ่านพบ ประสบการณ์ที่จะได้จากการอ่านนั่นจะเป็นตัวช่วยให้เราตัดสินใจได้เองว่าใช้(หลัก)ภาษาอย่างไรจึงจะสื่อสารได้ถูก หรืออย่างที่เจ้าของภาษาเขาใช้
เรื่องคำศัพท์ก็เช่นกัน เราสามารถคิดหาคำมาใช้ได้หลากหลาย ในปริบทหนึ่งใด ควรใช้คำใดหรือไม่อย่างไร เป็นต้น
คำว่าใช้ภาษาหมายถึงใช้ในการพูดและเขียนนั่นแหละ
ในด้านการเขียน ทักษะอ่านเป็นประโยชน์เอื้อโดยตรง ทั้งถ้อยคำภาษา รูปแบบ วิธีการการจัดความคิดและเนื้อหา ในส่วนการพูด อาจมีคนแย้งว่าภาษา(เขียน)ที่ได้จากการอ่านส่วนหนึ่งไม่ใช่ภาษาพูด ผมคิดว่านั่นไม่สำคัญ ตราบใดที่สื่อสารได้ เป็นอันใช้ได้ โดยเฉพาะในชั้นต้น และเชื่อว่าเมื่อเราได้คุ้นเคยกับการพูดมากขึ้น เราปรับภาษาได้เองนั่นแหละ และเร็วด้วย เพราะเรามีจุดเริ่มต้นที่ดีแล้ว
         
ว่าแต่ว่าจะเริ่มอ่านอย่างไร
เหมือนอย่างที่เราอ่านภาษาของเรานั่นแหละ จะต่างกันตรงที่ไม่ใช่ วัดเราปัญหาแรกคือโครงสร้างประโยคหรือไวยากรณ์ อีกอย่างก็คือคำศัพท์ หากมีพื้นความรู้ภาษาอังกฤษพอสมควร เอาเป็นว่าระดับมัธยมปลาย โครงสร้างภาษาและพื้นหลังด้านคำศัพท์ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไรมากนัก ผมว่าที่เป็นปัญหาค่อนข้างมากคือตัวเราเองนั่นละ รักที่จะอ่าน คิดจะสร้าง ฐานะทางภาษาหรือไม่ จริงอยู่ หลายทักษะย่อยทางการอ่าน ถ่ายโอนกันได้จากทักษะการอ่านภาษาไทยของเรานั่นเอง แต่(การอ่าน)ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาไทยอยู่ดี
         
ตรงนี้นี่เองที่ใคร่ทำความเข้าใจ เพื่อจะได้ ทำใจเอาไว้เวลาอ่านข้อเขียนภาษาอังกฤษ
เวลาเราอ่านในภาษาของเรา เรารับความคิดได้เกือบจะทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเนื้อหานั้นเรามีพื้นความรู้ (ภาษาการอ่านเขาเรียก World knowledge หรือที่บางทีเรียกว่า schemata) อยู่บ้างแล้ว เพราะความคิดที่แฝงอยู่ในถ้อยคำ สำนวนภาษาซึมซับอยู่ในหัวเราอยู่นานแล้ว
แต่ในการอ่านภาษาอังกฤษมีเรื่องน่าลำบากใจอยู่ไม่น้อยทีเดียว
เป็นความจริงที่ว่าเมื่ออ่าน อาจอ่านซ้ำได้หลายเที่ยว จนกว่าจะเข้าใจหรือล้าไปเอง เพราะข้อเขียนในระดับของผู้ใหญ่มักประกอบด้วยความคิดที่หนาแน่น สถานการณ์เชิงปริบทที่ค่อนข้างกว้างและซับซ้อน เฉพาะในตัวคำศัพท์เองก็ค่อนข้างมากเรื่องเช่นผู้เขียนมักใช้ถ้อยคำภาษาที่หลากหลายเพื่อให้สื่อสารความหมายอย่างเดียวกัน 
ภาษาอังกฤษเขามีเครื่องหมายวรรคตอน นั่นก็ไม่ใช่ไม่สำคัญ ต้องเข้าใจสัญญาณตัวนี้ นี่เป็นช่องทางหนึ่งที่ผู้เขียนช่วยให้เรารับความคิดจากเขาได้ถูกต้องมากขึ้น
นึกออกไหมครับ เวลาเราพูดกับใคร เรามีตัวช่วยมากมายที่จะทำให้เข้าใจสาระที่ผู้พูดสื่อ เช่นสีหน้า ท่าทาง อารมณ์ขณะพูด ระดับและคุณภาพของเสียง แม้ระยะหรือจุดที่ยืนใกล้ ไกลในขณะพูดคุยกัน สิ่งเหล่านี้เครื่องหมายวรรคตอนเข้าไปชดเชยได้ระดับหนึ่ง
แม้คำอ้างโยงความคิดที่เรียก Reference Words ก็อย่าเห็นว่าไม่สำคัญ หลายคนพลาดอย่างที่ไม่ควรผิดมามากต่อมากแล้ว เช่นอาจเพียงขาดความชัดเจนในความคิด จนถึงสื่อความคิดไปคนละเรื่องจากเจตนาของข้อเขียน ถึงระดับที่เรียกว่าไม่รู้เรื่องไปเลย
นั่นแหละ ข้อเขียนภาษาอังกฤษจึงดูเหมือนจะยากไปหน่อย แต่ไม่ได้หมายความว่าเรียนหรือฝึกกันไม่ได้
           ค่อยๆฝึกค่อยๆอ่านไป เรามีพื้นฐานกันบ้างแล้วนี่ครับ และก็บอกไปแล้วเช่นกันว่า เกือบทุกทักษะอ่านนั่น เราถ่ายโอนความสามารถเชิงการอ่านของเราไปใช้ได้ ภายใต้เงื่อนไขว่าท่านต้องเป็นนักอ่านในภาษาของเราเองพอสมควรอยู่ด้วยนะครับ
          และเมื่อมีประสบการณ์การอ่านไว้มากพอ ไม่ใช่เก่งเฉพาะทักษะด้านนี้ แต่จะเป็นผลให้เก็บสะสมความสามารถด้านคำศัพท์ โครงสร้างประโยค และรวมไปทั้งความรู้ความเข้าใจเชิงวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในภาษา เช่นวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความคิด การกระทำของเจ้าของภาษา
          ตัวนี้ก็สำคัญต่อความเข้าใจในการฟัง การอ่าน ต่อการพูด เขียนสื่อสารไม่น้อยนะครับ เพราะเป็นตัวกำหนดวิธีและรูปแบบของความคิดของเขา
          นั่นไหมละ ตั้งใจจะพูดเรื่องการอ่านนิดหน่อยเท่านั้น ไม่ใช่ไม่ตั้งใจจะให้ยาวหรอก แต่เห็นว่าคำศัพท์กับการอ่านเป็นพื้นฐานภาษาที่สำคัญและสัมพันธ์กันแนบแน่นเหลือเกิน
          และทีนี้จบจริงๆแล้วละครับ อ่านไปๆหากเห็นว่าเป็นเสียงบ่นมากกว่าคำตอบ ต่อคำถามที่นั่นก็ขออภัยเถอะครับ ก็บอกแต่ตอนต้นแล้วว่าเขียนจากประสบการณ์ พบเห็นมามากก็แปลว่าแก่มากนั่นแหละ และคนแก่ที่ไม่ขี้บ่นมีมากนักหรือครับ

ทำอย่างไรจึงจะเก่งภาษาอังกฤษ

สำราญ  คุรุครรชิต


ในฐานะครูสอนภาษาอังกฤษมานาน คำถามที่มักได้ยินบ่อยที่สุดก็คือ ทำอย่างไรจึงจะเก่งภาษาอังกฤษนี่แหละ ถ้าจะคิดตีความอย่างพาลหน่อยจากคำทำอย่างไรอาจไปไกลถึงว่ามีคาถาอาคมอะไรให้ท่องให้ยึดถือ ใช้การถ่ายทอดวิทยายุทธ์อย่างหนังกำลังภายใน หรือมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อะไรที่จะยังผลให้เก่งภาษาได้ แท้ที่จริงผู้ถามคงหมายถึง เรียนอย่างไรจึงจะเก่งภาษาอังกฤษและอาจหมายเพียง ควรเรียนเน้นทักษะใดอย่างไรก็ดี ผู้เขียนจะพยายามตอบคำถามนี้ รวมทั้งคำถามที่คิดว่าน่าจะเป็นความตั้งใจจริงทั้ง 3 คำถามนั่นแหละ
          แต่ขอออกตัวเสียก่อน ไม่ใช่ตาม ธรรมเนียมแต่เป็นข้อเท็จจริงว่าผู้เขียนไม่ใช่คนเก่ง เป็นเพียงผู้สอนภาษาอังกฤษมานาน เหลี่ยมคู ชั้นเชิง กระบวนเอาตัวรอดเชิงใช้ภาษาอังกฤษค่อนข้างแพรวพราวหน่อยเท่านั้น และที่กำลังเอาตัวรอดอยู่อีกอย่างในตอนนี้ก็คือ อยากจะบอกว่าเรื่องที่ท่านกำลังอ่านอาจไม่ใช่สาระทางวิชาการอะไรนัก เป็นความคิด ความเข้าใจ และความรู้สึกค่อนข้างจะล้วนๆของผู้เขียน และแน่นอนจากประสบการณ์อีกนั่นแหละ
          ทีนี้มาดูกันว่าเรียนภาษาอังกฤษไปทำไม
          ดูเหมือนส่วนใหญ่จะรับรู้รับทราบความเป็นจริงของโลกในยุคนี้อย่างหนึ่ง คือความจำเป็นในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร หาความรู้ความเข้าใจ ซึ่งหมายถึงโอกาสในการศึกษาและการงานอาชีพ
จำเป็นมากครับ อย่างสำนวนที่ผมมักใช้กับลูกศิษย์ว่า เอกอัครบรมมหาจำเป็นยิ่งโลกเจริญ พัฒนาไปมากเท่าไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งความก้าวหน้าทางการสื่อสาร ความจำเป็นที่โลก คือคนในสังคมโลกนะครับ ต้องใช้ภาษาอังกฤษมีมากขึ้นเท่านั้น ตรวจสอบดูได้ในทุกด้านเลย ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ธุรกิจ สารพัดเลยละ เป็นเช่นนี้แล้วเราไม่จำเป็นต้อง ขวางโลกหรอกครับ แค่นั่งนอนอยู่เฉยๆ คนเขาก็ไปกันสุดโด่งแล้ว
ถ้าจะถามว่าเราอยู่ได้ไหม ก็พอได้หรอก แต่อย่างคนไม่ทันชาวบ้านเขานะ แล้วคนในวงการศึกษาอย่างเราๆจะไหวหรือ         
          ครับต้องทำใจ ใส่ความคิดนี้ แล้วกุลีกุจอ รุ่มร้อนอยากมีอยากเป็นอยากได้อย่างคนอื่น และต้องเป็นความ อยากที่ถาวรนะครับ ไม่ใช่ประเดี๋ยวประด๋าว หลังจากวันสองวันแล้วดับวูบจนจุดติดยาก อย่างนี้ไม่ได้ครับ
          ขออนุญาตสรุปเอาเองตรงนี้ว่าความสำคัญของภาษาอังกฤษเป็นที่ชัดเจน และความสนใจเกิดขึ้นแล้วจากการเห็นความต้องการที่จำเป็น
ถึงได้มีคำถามเกิดขึ้นนั่นไงละ
ทีนี้มาดูกันว่าเขาเรียนกันอย่างไร
          ก็อย่างที่รู้ๆกันอยู่นั่นแหละครับว่าภาษาเป็นวิชาทักษะ (แม้บางคนมองว่าภาษาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ใช่วิชา) ต้องจำและต้องฝึกฝนครับ นี่ก็ไม่น่าประหลาดใจอะไรใช่ไหม ทุกกระบวนวิชาต้องเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว แต่ภาษาอังกฤษ ที่จริงทุกภาษานั่นแหละ โดยเฉพาะสถานการณ์การเรียนอย่างบ้านเราซึ่งเป็นการเรียนเป็นภาษาต่างประเทศ โอกาสการพบเห็น การใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารอย่างปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันค่อนข้างน้อย หลีกไม่พ้นต้องจำต้องฝึก คือทั้งจำและฝึก หรือทั้งฝึกและจำ เพื่อจะได้คล่องจนใช้การได้เมื่อจำเป็นต้องใช้
ไม่อายที่จะหยิบข้อเขียนภาษาอังกฤษมาอ่าน สร้างความจำเป็นที่จะต้องใช้ ให้โอกาสตนเองได้เปิดรับภาษาให้บ่อยที่สุด เช่นไปไหนมาไหนอาจถือเอกสารหรือหนังสือ(พิมพ์)ภาษาอังกฤษไปใช้เวลานั่งอ่าน เรียกว่าไม่ยอมให้เวลาฆ่าเราฝ่ายเดียว
หรือในระหว่างฝึกพูด อยากทดสอบการใช้สำนวนภาษาพูด เห็นฝรั่ง (หมายถึงเจ้าของภาษาอังกฤษเราชอบใช้คำว่า เจ้าของภาษา(Language owner) แต่ เจ้าของภาษามักจะบอกเราว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของภาษาหรอก ควรใช้คำ Native speaker หรือชาว/ คนอังกฤษ หรือชาวอเมริกาแทน นั่นก็ยุ่งอีก ต้องไปถามหาสัญชาติกันก่อน ลำบากเปล่าๆ) ก็จะวิ่ง ไม่ใช่หนีแต่ปรี่เข้าหา แล้วนำศัพท์แสง สำนวนภาษา ที่เคยท่องเคยจำไปลองใช้ ถึงจะผิดบ้าง ไม่ถูกบ้าง ก็ว่ากันไปเรื่อยๆ ในขณะที่บางคน (ที่เห็นว่าตนเองสัมปทานสัมปชัญญะที่ได้มายังอยู่ครบถ้วน) เห็นว่านั่นมัน บ๊องชัดๆ แต่มีผลต่างอยู่มากจากการทำเช่นนั้น คนที่กล้าฝึกกล้า ลองของไม่นานจะเก่ง มั่นใจการใช้ภาษามากขึ้น
นี่ ต้องเป็นอย่างนี้ครับ เรียกว่าต้องเป็นคนไม่ ครบบาทหรือดูจะไม่ค่อยเต็มเต็งนัก ประมาณเอาสัก 75 – 90 สตางค์ถึงจะดี

อยากให้พิจารณาข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นธรรมชาติของการเรียนภาษาอังกฤษกันสักนิดหน่อย จะได้ไม่ต้องโทษตัวเองนะครับ หากไม่ได้ดังใจขึ้นมา
          การเรียนภาษาเป็นกระบวนการดูดซับ (Assimilation) ความรู้ หรือทักษะ จะให้ปุ๊บปั๊บไม่ได้ ต้องใจเย็น ให้ความสนใจ ฝึกฝนอยู่สม่ำเสมอ ไม่นานเกินรอหรอก เราก็สามารถใช้ประโยชน์ได้ แต่จะดีเพียงใดหรือไม่ขึ้นอยู่กับวันเวลา และความพยายามที่ลงทุนไปนั่นแหละ
          เรียนยากหรือง่ายขึ้นอยู่กับแต่ละคน เป็นความจริงที่ว่าบางคนมีความถนัดหรือ หัวดีในด้านภาษา เรียนรู้ได้เร็ว แต่ก็ช่างหัว(ดี)”เขาปะไร เขาเรียน เขาฝึกครั้งสองครั้งก็เก่ง เราฝึกสัก 28 ครั้งไม่ได้ให้มันรู้ไป จริงไหมครับ
จริงๆแล้ว นอกจากเรื่องความถนัดตามธรรมชาติ ทัศนคติ ความรู้ในความจำเป็นของการเรียนหรือสร้างทักษะภาษาแล้ว น่าจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และตัวเราเอง รวมทั้งความสามารถที่จะจัดสภาพแวดล้อมการเรียนให้ตัวเองมากกว่า เช่นที่ยกตัวอย่างไปแล้วแต่ตอนต้น
การรู้จักสังเกตว่าวิธีการเรียนอย่างไรเหมาะกับตนก็น่าจะเป็นเหตุผลของความสำเร็จในการเรียนด้วยนะครับ
แน่นอน จะเรียนให้รู้อะไรก็ต้องอุทิศตัวเอง ยอมรับความยากลำบากให้ได้ ตั้งใจใช้ความพยายามจริง
ตรงนี้ต้องระวังด้วยนะครับ ที่ว่าต้องจริงจังตั้งใจ ไม่ได้หมายความว่าจะผ่อนคลาย หรือหาความสนุกจากการเรียนไม่ได้นะ บางครั้งบางคราวเราก็อาจหาความสุข คลายเครียดจากการเรียนในขณะที่ฝึกที่เรียนด้วยได้ นั่นก็ขึ้นอยู่กับว่าตอนนั้นกำลังเรียนกำลังฝึกอะไรอยู่ การเรียนการฝึกไม่ได้หมายถึงต้องหาทุกข์ ลำบากใส่ตัวตลอดเวลา จริงไหมครับ
ไม่เช่นนั้น จะลงเอยด้วยการเบื่อ ท้อแท้ และเลิกราไปในที่สุด
          ที่สำคัญอย่าเริ่มด้วยความคิดว่าเราเรียนภาษาอังกฤษไม่ได้หรอก หรือยากไปสำหรับเรา  ถ้าเริ่มจากแพ้ตัวเอง มีความคิด จากทัศนคติอย่างนี้แล้วก็เป็นอันเสร็จกัน
          แล้วก็อย่าบอกว่าไม่มีเวลา อยากได้ต้องให้เวลาเขา ลองแคะไค้หาดูจริงๆจังๆ พอมีเวลาบ้างละน่า วันหนึ่งๆสักครึ่งหรือหนึ่งชั่วโมงก็น่าจะพอ เพียงขอให้สม่ำเสมอ
          ที่สำคัญอีกอย่างคือ ไม่มีสูตรสำเร็จใดๆที่จะช่วยให้เรียน (เช่นอ่าน) ให้ประสบความสำเร็จได้ดี ราบรื่นและรวดเร็ว แต่ที่จะกล่าวไว้คือแนวทางที่น่าจะช่วยได้ ที่สำคัญต้องลงมือเอง ลุยเลย อย่างจริงเท่านั้น
          ทีนี้มาดูกันว่าอะไรที่ถือว่าสำคัญในการเรียนการฝึกภาษาอังกฤษ (และทุกภาษานั่นแหละ)
คำศัพท์ครับ ผมว่าสำคัญเหนืออื่นใดทั้งสิ้น ผมไม่ได้หมายถึงก่อนทักษะอื่นนะครับ หมายถึงจำเป็นกว่าทักษะอื่นๆ โดยเฉพาะในช่วงการเรียนการฝึกภาษาระดับต้นถึงระดับกลาง หากไม่ได้คำศัพท์จะทำอะไรได้ อ่าน ฟังให้รู้เรื่องได้อย่างไร จะหวังอะไรได้จากเขียน พูดสื่อสาร
ขออนุญาตแวะบ่นตรงนี้นิด
คืออย่างนี้ น่าประหลาดที่เดี๋ยวนี้เราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคำศัพท์นัก ครูอาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ โรงเรียนทุกระดับ นักเรียนทุกชั้นปีไม่ให้ความสนใจ หรือให้ความสำคัญเรื่องนี้  ส่วนใหญ่ท่องศัพท์ไม่เป็น ผลก็คือนักเรียนนักศึกษาจำนวนที่ว่าส่วนใหญ่นั้นนั่นแหละอ่อนทักษะภาษาอังกฤษไปทั้งยวง
          ใครที่เป็นอย่างนี้มาแล้วและคิดอยากเก่งภาษาอังกฤษ ทำตัวเป็นผู้ร้ายกลับใจเสียนะครับ เริ่มให้ความสนใจและจัดกระทำกับคำศัพท์ที่พบให้ถูกต้อง
          คำศัพท์ที่เราจะได้จะมีมาจากการอ่านและการฟังนั่นแหละ ในที่นี้ขอไม่พูดถึงคำศัพท์จากแหล่งหลังนะครับ เพราะโอกาสค่อนข้างน้อยมากสำหรับเรา
ในการอ่านเป็นความปกติ ที่เราอาจพบคำศัพท์ที่ไม่รู้ความหมาย คือคำศัพท์ที่เป็นปัญหา จะมากหรือน้อยขึ้นกับต้นทุนของเรา หากพบคำศัพท์ที่ไม่รู้ความหมายมาก ผลก็คืออ่านไม่รู้เรื่อง เว้นไว้แต่เรามีพื้นหลังในเนื้อหานั้นอยู่แล้ว  เช่นนั้นก็พอกล้อมแกล้ม หาแพะมาชนกับแกะพอได้อยู่หรอก
ต้องแก้ด้วยการสะสมปริมาณคำศัพท์พื้นฐานที่เขาเรียก Service words หรือทางการอ่านเขาเรียกศัพท์ฉับพลัน (Instant words) คือเห็นปุ๊บก็ทราบความหมายเลย (ตามปริบทนั้นๆ) บางทีจึงเรียก Sight words
ศัพท์ฉับพลันเป็น เพื่อนคู่คิดมิตรคู่ใจในการอ่าน หาก คบหาเอาไว้มากๆ ทำให้อุ่นใจ และมั่นใจว่าเราจะอ่านได้ด้วยความเข้าใจ เมื่อต้องการหรือจำเป็นต้องอ่าน
และวิธีที่ดีที่สุดในสร้างคำศัพท์พวกนี้ นอกจากด้วยการอ่านมากๆแล้วก็คือท่องศัพท์นั่นแหละครับ
วิธีการคือจดคำศัพท์ไว้ แล้วก็ท่อง
จดศัพท์และความหมายไว้ในเนื้อหาที่อ่านนั่นก็ได้ หากเอกสารนั้นเป็นของเราเอง เพราะสะดวกดี มีเวลาก็เปิดดูบ่อยๆ อ่านทั้งประโยคหรือส่วนของข้อความที่คำนั้นพบใช้ ช่วยการจำและเข้าใจความหมายคำได้ดี เพราะมีที่มาจากเนื้อหา ตามสถานการณ์หรือปริบทที่พบคำศัพท์นั้นใช้อยู่แล้ว แต่หากจะเอาเรื่องกับคำศัพท์จริงจัง ก็จดคำแยกไว้ในสมุด ค้นหาคำอ่านออกเสียง ใส่รายละเอียดเสียงเน้น หน้าที่และความหมายของคำที่พบในเนื้อหานั้น
วิธีท่องศัพท์ ผมคิดว่าคงไม่ต้องสอนฤๅษีกระมังครับ ใครๆก็เคยท่องหนังสือ แม้ยังไม่ลองท่องศัพท์ก็เถอะ แต่ที่อยากเน้นตรงนี้ ถือเป็นการเตือนความคิดก็แล้วกัน ว่าการท่องเป็นการฝึก คือการทำซ้ำๆ เป็นอาการปกติสำหรับการสร้างทักษะหรือความชำนาญ
อาจเข้าใจกันดีในกรณีการใช้มือ เท้าหรืออวัยวะส่วนอื่นของเรา เช่นการฝึกขี่จักรยาน ทำบ่อยๆจนกำหนดมือ เท้า สายตา การทรงตัว รวมทั้งกำลังที่ต้องใช้ให้พอเหมาะแก่ช่วงจังหวะได้ เหมือนการท่องศัพท์เราจัดโอกาสให้พบคำหนึ่งคำใดบ่อยหรือซ้ำๆ เมื่อเห็นคำ พยายามนึกหาความหมาย (และอาจรวมทั้งเสียงของคำที่เปล่งออกมาในคำนั้นด้วย) บ่อยๆจนที่สุดไม่ต้องพยายามอีก เห็นคำนั้นเมื่อไรก็บอกความหมายได้ทันที เพราะความทรงจำประทับหรือกดแน่นอยู่ในหัวเรา ในกรณีฝึกออกเสียงด้วย ก็เท่ากับการทำให้ลิ้น (ซึ่งเป็นอวัยวะหลักในการออกเสียง) เขาเชื่อเรา เกิดเงื่อนไขให้ไปแตะส่วนต่างๆในช่องปากได้ตามที่คิดอย่างที่ต้องการ
          เหมือนที่เราฝึกลูกเล่น (tricks) ให้ลูกหมายกขาหน้ามาจับมือกับเรา ไปคาบของใช้มาให้ ฝึกมันบ่อยๆ จนเชื่อคำสั่ง หรือเพียงให้เงื่อนไขแล้วมันก็ทำได้นั่นแหละ
จะใช้เวลามากน้อยเท่าไรในการให้จำแต่ละคำขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายอย่าง เช่นความคิดที่ติดอยู่กับคำศัพท์นั้น (และพื้นฐานความคิดในเรื่องนั้นของเราเอง) ช่วงเวลาที่เลือกใช้ท่อง เช่นเหนื่อย เพลียอยู่หรือไม่ ทั้งนี้นอกจากความสนใจ ความตั้งใจและความสามารถในการจำ
          ผมคิดว่าอย่าสนใจระดับสติปัญญา หรือสมองให้มากนัก หากเราตั้งใจจริงเสียอย่าง อะไรจะยับยั้งเราได้
          สมมติว่าเราไม่หล่อ อย่างเมื่อตอนหนุ่มๆนั่นแหละ ไม่มีอะไรให้สาวเขาเคลิบเคลิ้มได้เลย เช่นว่าไม่มีอะไรให้พอนับได้ว่ารวยด้วย แต่เกิดไปรักผู้หญิงคนหนึ่ง เราเห็นของเราว่าสวย และรักมาก แต่ผู้หญิงเขาไม่เล่นด้วย อาจถึงกับไม่สนใจเราเลย เพราะไม่มีอะไรให้สนใจ แต่หากเราเพียรตื้อ แสดงออกให้เห็นว่าเรารัก หวังดี เอื้ออาทรเขาด้วยจริงใจ และที่สำคัญแสดงออกให้รับรู้รับทราบว่ารักเขาคนเดียว รักตลอดมา และจะรักตลอดไป ชนิดที่ว่าขาดเขาไม่ได้ มีโอกาสเมื่อไรเป็นถึงบ้านถึงเจ้าหล่อน
          คิดว่าจะเหลือหรือครับ ประวัติศาสตร์บอกเราไว้อย่างนี้ ในที่สุดเขาใจอ่อน ก็เป็นอันเสร็จเราจนได้
          มีภาษาอังกฤษประโยคหนึ่ง เขาว่า Repetition makes impression ความหมายน่าจะทำนองตื้อครองโลกเป็นนัยที่ทุกคนทราบความหมายกันดี และอีกประโยคหนึ่งที่น่าคิดน่าสนใจ Love makes men inventors ควรจะเป็นความว่า ความ(คิด)อยากได้ อยากมี และอยากเป็นทำให้เรา(คิด)หาหนทางไปสู่ความสำเร็จ(จนได้)” และถ้าจะว่าไปแล้วนี่ก็คือหลักอิทธิบาทสี่ของเรานั่นละ
          แต่อย่าลืมนะครับ ก็เหมือนกรณีเกี้ยวหญิงนั่นแหละ แม้เธอจะเออออห่อหมกแล้ว หากห่างเหินไปนานอาจเป็นอื่นได้ ต้องหมั่นทบทวนเอาไว้
          และเหมือนกรณีขี่จักรยานอีกนั่นแหละ นานๆขึ้นคร่อมเสียที ใบ้กินเหมือนกันแหละครับ
          นอกจากด้วยวิธีเผชิญหน้าเอาดื้อๆกับคำศัพท์คือ เห็นหน้า จำไม่ได้ (หรือไม่รู้จัก) –ท่องมันซะเลยแล้ว มีวิธีเพิ่มพูนคำศัพท์ที่ดีมากๆอีกตั้งหลายอย่าง
          การรู้จักรากศัพท์ (Roots) ซึ่งส่วนใหญ่มาจากภาษากรีกและละติน (Greek and Latin) ไม่จำเป็นต้องตั้งหลักที่การท่องจำทุกคำที่หนังสือเขาเสนอแนะไว้หรอกครับ แต่ก็ควรอ่านดูพอผ่านตา พอรู้จัก ชนิดพอทักทายกันได้ เมื่ออ่านพบจึงค่อยกลับไปตรวจสอบว่ารากศัพท์คำหนึ่งคำใดให้นัยความหมายเช่นไร ส่วนประกอบของคำที่เรียกอุปสรรคและปัจจัย (Affixes) นั่นก็เป็นวิธีเพิ่มพูนคำศัพท์ที่ดี และเช่นเดียวกัน ไม่ต้องท่องจำจากรายการที่หนังสือหรือเอกสารตำราเขาเสนอแนะหรอก ใช้วิธีเดียวกับกรณีรากศัพท์นั่นแหละ เห็นแล้วค่อยทำความรู้จัก และจำ เพราะวิธีนี้ช่วยให้จำได้ดีกว่า เขาเรียกว่า Meaningful ดีกว่าใช่ไหมครับ
          ศัพท์อีกประเภทคือคำประสม (Compounds) ต้องศึกษารูป หน้าที่และความหมายของคำประเภทนี้แล้วจะช่วยเราแยะเลยในการ งัดแงะความหมายจากคำพวกนี้ได้
          การใช้คำศัพท์แวดล้อม (Context clues) เดาความหมายศัพท์ยากในขณะอ่าน เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ประโยชน์มาก เพียงแต่เทคนิคนี้ได้ผลดีเฉพาะกรณีที่เรามีปริมาณศัพท์พื้นฐานหรือศัพท์ฉับพลันมากพอแล้วเท่านั้น
การจัดการเรื่องคำศัพท์ที่กล่าวไปแล้ว เว้นไว้แต่กรณีคำศัพท์แวดล้อม เป็นทั้งวิธีเพิ่มพูนคำศัพท์ฉับพลันและการแก้ปัญหาคำศัพท์ในขณะอ่านด้วย (ซึ่งโดยปกติต้องใช้หลายเทคนิควิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้คำศัพท์แวดล้อมมาร่วมด้วยช่วยกัน)
การเรียนรู้เพื่อการเพิ่มพูนและแก้ปัญหาคำศัพท์ เป็นการเรียนรู้ที่จะพึ่งตนเอง เป็นยุทธวิธีเตรียมพร้อม เพื่อเป็นฝ่ายตั้งรับและการเริ่มรุก กับทั้งเป็นวิธีป้องกันการ ลัดวงจรหรือ ฟิวส์ขาดในขณะอ่าน
          คำศัพท์เป็นทักษะย่อยมากๆในการเรียนภาษาก็จริง แต่ในการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศถือว่าจำเป็นที่สุด เพราะหากขาดพื้นฐานคำศัพท์นี้เสียอย่างเดียว ทักษะอื่นเป็นอันง่อยเปลี้ยเสียขาไปหมดนั่นแหละ
เป็นความจริงที่ว่าทักษะภาษาส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเขียน อ่าน และแม้แต่ฟังพูด อาจถ่ายโอนกันได้จากทักษะภาษาไทยที่เรามีกันอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ทักษะหรือความสามารถด้านคำศัพท์ เราต้องก่อร่างสร้างตัวเอาเองใหม่หมดเลย ถ้าอยากจะให้เก่ง
         
          ถึงตรงนี้ คิดว่าผมตอบคำถาม ทำอย่างไรจึงจะเก่งภาษาอังกฤษ รวมทั้งเรียนอย่างไรและเน้นอะไรไปแล้วนะครับ ทวนอีกที คำตอบคือ เรียนคำศัพท์ครับ แล้วจะเก่งภาษาอังกฤษ
หากยังไม่แน่ใจ เชื่อไม่สนิทนัก ลองถามคนเก่งภาษาอังกฤษดู ที่มาของความเก่งนั้นมักเหมือนกันทุกคน คือเก่งศัพท์ อย่างที่บอกไว้แล้วว่า หากไม่ได้ศัพท์ ไม่เพียงหนวกแต่ทั้งบอดและใบ้ไปหมดทุกทักษะภาษาแหละครับ แม้เจ้าของภาษาเองเขายังให้ความสำคัญต่อคำศัพท์มาก ในโรงเรียนเขาใช้หลายวิธีที่จะให้เด็กของเขาเห็นคุณค่า เน้นความสำคัญและเพื่อให้เก่งคำศัพท์ ในชีวิตประจำวัน ปริมาณคำศัพท์ที่รู้เป็นเครื่องชี้ เป็นตัวกำหนดหน้าที่การงานรวมทั้งความสำเร็จในงานอาชีพด้วย
ครับ หากสนใจควรหาเอกสารตำราที่เสนอแนะวิธีการมานั่งดูเสียสักหน่อยก็จะดี จะได้เดินตามลู่ตามทาง ไม่ต้องเข้ารกเข้าพง โอกาสหลงทางมีน้อย จะได้ถึงเป้าหมายเร็วขึ้น
เกือบลืมไปนะครับ คิดว่าต้องมีคนถามต่อแน่ แล้วรู้ศัพท์สักเท่าไรจึงจะพอ คำศัพท์ภาษาอังกฤษมีตั้งเยอะแยะ ไม่ต้องท่องกันจนหงอกหรอกรึ
จากการศึกษาของนักการศึกษาด้านการอ่าน ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างมากในการเก็บรวบรวมและทดสอบทดลอง ว่ากันว่ารู้ศัพท์สัก 3,000 – 5,000 น่าจะพอ สำหรับการอ่านเอกสาร ตำราในระดับปริญญาตรีได้ แต่ต้องเป็นคำศัพท์ที่พบได้บ่อยที่สุดในปริมาณที่ว่านั้นนะครับ
ตัวคำศัพท์เหล่านี้ ซึ่งก็คือศัพท์ที่เราจะพบเห็นในการอ่านทั่วไปนั่นแหละ อาจแตกต่างกันไปบ้างตามแต่ละสำนักที่ศึกษาและรวบรวมเก็บคำ
หากสนใจจะตรวจสอบดู ว่าในบรรดารายการศัพท์ที่เขาเก็บรวบรวมไว้นั้นเป็นคำศัพท์ที่เรามีสักเท่าไร อาจเปิดหาเอกสารเรื่องคำศัพท์ดูได้จากหลายๆ Websites
ต่อการพิจารณาว่าเรามีศัพท์ฉับพลันไว้มากพอแล้วหรือยัง สังเกตเอาอย่างนี้ก็ได้ครับ ดูว่าเวลาอ่านเราสามารถเดาความหมายคำศัพท์ได้มากขึ้นแล้วหรือไม่ เช่นว่าใน 10 ประโยค พบคำยากประโยคละ 1 – 2 คำ แต่สามารถเดาความหมายได้ คือสามารถอ่านเข้าใจได้ พอจะถือได้ว่าเรามีคำศัพท์ฉับพลันไว้มากพอ คือน่าจะไม่ต้อง ปล้ำตัวตั้งใจท่อง สะสมศัพท์พื้นฐานกันมากนักแล้ว
ที่ว่าศัพท์แวดล้อมหรือปริบทของคำอาจเป็นระดับประโยค ย่อหน้า บทหรือตอนหนึ่งของเอกสารก็ได้
         
คำศัพท์นั้นสำคัญก็จริง แต่ไม่ถึงห้อยคอไว้บูชาหรือเป็นลมหายใจเข้าออกหรอกนะครับ ศัพท์คือหนทางหลักสู่ทักษะภาษาก็จริง แต่ถ้าถึงกับหมกมุ่นเอามาครุ่นคิดมากเกินไปก็จะเป็นอุปสรรคเสียเองในขณะอ่าน หรือพูด
         
          เอาเป็นอันว่าคำตอบมีแล้วว่าวิธี ทำให้เก่งภาษาอังกฤษคือเรียน ท่องศัพท์ เก่งคำศัพท์คือพื้นฐานหลักของความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษ หรือคือวิธีที่จะให้เก่งภาษาอังกฤษ เริ่มตรงนี้ จากคำศัพท์ครับ
         
น่าจะจบตรงนี้ได้ แต่ยังไม่สนิทดี
          อยากไปแตะที่ตัวทักษะภาษาอีกหน่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่การอ่าน เพราะผมเห็นเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดในบรรดา 4 ทักษะหลักของภาษา
          ผมเห็นเช่นนี้เสมอมา เพราะการอ่านคือที่มาของทักษะอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นฟัง พูด หรือเขียน โดยเฉพาะในการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ
          การเรียนภาษาเริ่มที่การรับ สำหรับการเรียนภาษาแม่เราเริ่มจากการฟังอย่างที่ทุกคนทราบดี แต่การเรียนภาษาต่างประเทศดูจะมีโอกาสที่จะทำเช่นนั้นได้น้อยมาก แต่ไม่น่าเสียเปรียบอะไรมากนัก ที่จะเริ่มจากการรับอีกอย่างคือการอ่าน
          ขอเริ่มจากชี้ไปที่ประโยชน์ของการอ่านกันสักหน่อยครับ ดูเหมือนทุกคนก็พอจะทราบอยู่หรอก แต่ก็จะขอชวนให้ดูสั้นๆ
ใคร่ท้าให้ไปสืบถามดู ใครที่เป็นนักพูดนักเขียนเก่งๆ คนคนนั้นต้องเป็นนักอ่านมาก่อน และไม่ใช่ธรรมดาด้วย เป็นระดับหนอนหนังสือกันทีเดียว และตราบใดที่ยังเป็นนักเขียนนักพูด คนคนนั้นก็ต้องเป็นนักอ่านตัวเก่งอยู่นั่นแหละ ความรอบรู้ในเนื้อหาสาระ ศัพท์สำนวนภาษา ความคิด วิธีคิด รวมทั้งความสามารถในการคิด ตลอดจนวิธีนำเสนอความคิด ส่วนใหญ่ก็ได้รับซึมซับมาจากการอ่านนั่นแหละ
และที่สำคัญอีกประการสำหรับนักอ่านก็คือบุคลิกภาพ มักเย็น สุขุม ลึกและมั่นใจในตัวเอง ชนิดที่น่าเป็นที่เกรงใจของคนอื่น
ในการอ่านภาษาอังกฤษก็เช่นเดียวกัน ผมเห็นว่าเป็นวิธีสร้างสมทักษะภาษาที่ดีที่สุด นั่นคือ ในด้านโครงสร้างภาษาสามารถตัดหรือลดไปได้เลยเรื่องท่องจำหรือพยายามที่จะจดจำหลักหรือกฎเกณฑ์ภาษา  ความคุ้นเคย การได้ผ่านพบ ประสบการณ์ที่จะได้จากการอ่านนั่นจะเป็นตัวช่วยให้เราตัดสินใจได้เองว่าใช้(หลัก)ภาษาอย่างไรจึงจะสื่อสารได้ถูก หรืออย่างที่เจ้าของภาษาเขาใช้
เรื่องคำศัพท์ก็เช่นกัน เราสามารถคิดหาคำมาใช้ได้หลากหลาย ในปริบทหนึ่งใด ควรใช้คำใดหรือไม่อย่างไร เป็นต้น
คำว่าใช้ภาษาหมายถึงใช้ในการพูดและเขียนนั่นแหละ
ในด้านการเขียน ทักษะอ่านเป็นประโยชน์เอื้อโดยตรง ทั้งถ้อยคำภาษา รูปแบบ วิธีการการจัดความคิดและเนื้อหา ในส่วนการพูด อาจมีคนแย้งว่าภาษา(เขียน)ที่ได้จากการอ่านส่วนหนึ่งไม่ใช่ภาษาพูด ผมคิดว่านั่นไม่สำคัญ ตราบใดที่สื่อสารได้ เป็นอันใช้ได้ โดยเฉพาะในชั้นต้น และเชื่อว่าเมื่อเราได้คุ้นเคยกับการพูดมากขึ้น เราปรับภาษาได้เองนั่นแหละ และเร็วด้วย เพราะเรามีจุดเริ่มต้นที่ดีแล้ว
         
ว่าแต่ว่าจะเริ่มอ่านอย่างไร
เหมือนอย่างที่เราอ่านภาษาของเรานั่นแหละ จะต่างกันตรงที่ไม่ใช่ วัดเราปัญหาแรกคือโครงสร้างประโยคหรือไวยากรณ์ อีกอย่างก็คือคำศัพท์ หากมีพื้นความรู้ภาษาอังกฤษพอสมควร เอาเป็นว่าระดับมัธยมปลาย โครงสร้างภาษาและพื้นหลังด้านคำศัพท์ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไรมากนัก ผมว่าที่เป็นปัญหาค่อนข้างมากคือตัวเราเองนั่นละ รักที่จะอ่าน คิดจะสร้าง ฐานะทางภาษาหรือไม่ จริงอยู่ หลายทักษะย่อยทางการอ่าน ถ่ายโอนกันได้จากทักษะการอ่านภาษาไทยของเรานั่นเอง แต่(การอ่าน)ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาไทยอยู่ดี
         
ตรงนี้นี่เองที่ใคร่ทำความเข้าใจ เพื่อจะได้ ทำใจเอาไว้เวลาอ่านข้อเขียนภาษาอังกฤษ
เวลาเราอ่านในภาษาของเรา เรารับความคิดได้เกือบจะทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเนื้อหานั้นเรามีพื้นความรู้ (ภาษาการอ่านเขาเรียก World knowledge หรือที่บางทีเรียกว่า schemata) อยู่บ้างแล้ว เพราะความคิดที่แฝงอยู่ในถ้อยคำ สำนวนภาษาซึมซับอยู่ในหัวเราอยู่นานแล้ว
แต่ในการอ่านภาษาอังกฤษมีเรื่องน่าลำบากใจอยู่ไม่น้อยทีเดียว
เป็นความจริงที่ว่าเมื่ออ่าน อาจอ่านซ้ำได้หลายเที่ยว จนกว่าจะเข้าใจหรือล้าไปเอง เพราะข้อเขียนในระดับของผู้ใหญ่มักประกอบด้วยความคิดที่หนาแน่น สถานการณ์เชิงปริบทที่ค่อนข้างกว้างและซับซ้อน เฉพาะในตัวคำศัพท์เองก็ค่อนข้างมากเรื่องเช่นผู้เขียนมักใช้ถ้อยคำภาษาที่หลากหลายเพื่อให้สื่อสารความหมายอย่างเดียวกัน 
ภาษาอังกฤษเขามีเครื่องหมายวรรคตอน นั่นก็ไม่ใช่ไม่สำคัญ ต้องเข้าใจสัญญาณตัวนี้ นี่เป็นช่องทางหนึ่งที่ผู้เขียนช่วยให้เรารับความคิดจากเขาได้ถูกต้องมากขึ้น
นึกออกไหมครับ เวลาเราพูดกับใคร เรามีตัวช่วยมากมายที่จะทำให้เข้าใจสาระที่ผู้พูดสื่อ เช่นสีหน้า ท่าทาง อารมณ์ขณะพูด ระดับและคุณภาพของเสียง แม้ระยะหรือจุดที่ยืนใกล้ ไกลในขณะพูดคุยกัน สิ่งเหล่านี้เครื่องหมายวรรคตอนเข้าไปชดเชยได้ระดับหนึ่ง
แม้คำอ้างโยงความคิดที่เรียก Reference Words ก็อย่าเห็นว่าไม่สำคัญ หลายคนพลาดอย่างที่ไม่ควรผิดมามากต่อมากแล้ว เช่นอาจเพียงขาดความชัดเจนในความคิด จนถึงสื่อความคิดไปคนละเรื่องจากเจตนาของข้อเขียน ถึงระดับที่เรียกว่าไม่รู้เรื่องไปเลย
นั่นแหละ ข้อเขียนภาษาอังกฤษจึงดูเหมือนจะยากไปหน่อย แต่ไม่ได้หมายความว่าเรียนหรือฝึกกันไม่ได้
           ค่อยๆฝึกค่อยๆอ่านไป เรามีพื้นฐานกันบ้างแล้วนี่ครับ และก็บอกไปแล้วเช่นกันว่า เกือบทุกทักษะอ่านนั่น เราถ่ายโอนความสามารถเชิงการอ่านของเราไปใช้ได้ ภายใต้เงื่อนไขว่าท่านต้องเป็นนักอ่านในภาษาของเราเองพอสมควรอยู่ด้วยนะครับ
          และเมื่อมีประสบการณ์การอ่านไว้มากพอ ไม่ใช่เก่งเฉพาะทักษะด้านนี้ แต่จะเป็นผลให้เก็บสะสมความสามารถด้านคำศัพท์ โครงสร้างประโยค และรวมไปทั้งความรู้ความเข้าใจเชิงวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในภาษา เช่นวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความคิด การกระทำของเจ้าของภาษา
          ตัวนี้ก็สำคัญต่อความเข้าใจในการฟัง การอ่าน ต่อการพูด เขียนสื่อสารไม่น้อยนะครับ เพราะเป็นตัวกำหนดวิธีและรูปแบบของความคิดของเขา
          นั่นไหมละ ตั้งใจจะพูดเรื่องการอ่านนิดหน่อยเท่านั้น ไม่ใช่ไม่ตั้งใจจะให้ยาวหรอก แต่เห็นว่าคำศัพท์กับการอ่านเป็นพื้นฐานภาษาที่สำคัญและสัมพันธ์กันแนบแน่นเหลือเกิน
          และทีนี้จบจริงๆแล้วละครับ อ่านไปๆหากเห็นว่าเป็นเสียงบ่นมากกว่าคำตอบ ต่อคำถามที่นั่นก็ขออภัยเถอะครับ ก็บอกแต่ตอนต้นแล้วว่าเขียนจากประสบการณ์ พบเห็นมามากก็แปลว่าแก่มากนั่นแหละ และคนแก่ที่ไม่ขี้บ่นมีมากนักหรือครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio