"เมื่อเราได้มารับหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขที่โรงพยาบาลชุมชน เรื่องของขยะติดเชื่อเป็นเรื่องเราต้องมีความรู้มากๆครับ จากที่ผมเรียนเรื่องขยะติดเชื้อในโรงพยาบาล ผมมุ่งประเด็นความสำคัญที่ความรู้การใช้เตาเผาขยะติดเชื้อในโรงพยาบาล เพราะเมื่อ10 ปีก่อน โรงพยบาลชุมชนจะเผาขยะติดเชื้อเองครับ แต่ปัจจุบันผมมั่นใจว่าโรงพยาบาลชุมชนหลายแห่งจ้างเอกชนในการกำจัดขยะติดเชื้อครับ สาเหตุก็เพราะชุมชนได้ขยายตัวมาอยู่รอบๆโรงพยาบาลเวลาโรงพยาบาลเผาขยะติดเชื้อก็จะส่งกลิ่นเหม็นที่สู่ชุมชน และจะนำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างโรงพยาบาลชุมชนกับชาวบ้านเพราะการเผาขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลครับ วันนี้ก็นำข้อมูลเรื่องของขยะติดเชื้อมาฝากพิจารณาครับ"
จากการให้คำจำกัดความของคณะอนุกรรมการศูนย์วิชาการการแก้ไขปัญหาปัญหามูลฝอยในกรุงเทพมหานครและปริมลฑล ขยะติดเชื้อ หมายถึง สิ่งของที่ไม่ต้องการ หรือถูกทิ้งจากสภานพยาบาล อาทิ เนื้อเยื่อ ชิ้นส่วน อวัยวะต่าง ๆ และสิ่งขับถ่าย หรือของเหลวจากร่างกายผู้ป่วย (เช่น น้ำเหลือง น้ำหนอง เสมหะ น้ำลาย เหงื่อ ปัสสาวะ อุจจาระ ไขข้อ น้ำในกระดูก น้ำอสุจิ ) เลือดและผลิตภัณฑ์เลือด (เช่น เซรุ่ม น้ำเลือด ) รวมทั้งเครื่องใช้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย และ / หรือสิ่งของดังกล่าวข้างต้น (เช่น สำลี ผ้ากอซ กระดาษชำระ เข็มฉีดยา มีดผ่าตัด เสื้อผ้า ) ตลอดจนซากสัตว์ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ทดลอง ซึ่งทิ้งมาจากห้องตรวจผู้ป่วย ( เช่น ห้องฉุกเฉิน ห้องปัจจุบันพยาบาล ห้องชันสูตรโรค ห้องผ่าตัด ห้องทันตกรรม ห้องสูติกรรม ห้องจักษุ ห้องโสต ศอ นาสิกกรรม ห้องออร์โธปิดิกส์ หน่วยโลหิตวิทยา) หออภิบาลผู้ป่วย ( เช่น ศัลยกรรม อายุรกรรม กุมารเวชกรรม สูตินรีเวชกรรม) ห้องปฏิบัติการ ( เช่น หน่วยพยาธิวิทยา ห้องเลี้ยงสัตว์ทดลอง ) หรืออื่น ๆ ตามที่สถานพยาบาลจะพิจารณตามความเหมาะสม ตามที่ได้ถามมาขยะเหล่านี้ไม่จำเป็นจะต้องมาจากโรงพยาบาลเสมอไป อาจจะมาจากคลินิค สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาล รักษาสัตว์ก็ได้
การจัดการกับขยะเหล่านี้ต้องมีวิธีการที่ต้องระมัดระวังมากกว่าขยะมูลฝอยทั่วไป ตั้งแต่การเก็บรวบรวม การขนส่งการบำบัดและจำกัด ในการรวบรวม ณ แหล่งกำเนิด ขยะส่วนที่เป็นเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง จะต้องใส่ลงถังรองรับที่ไม่มีการรั่วไหลได้ มีฝามิดชิด หรือวัสดุพวกเข็มฉีดยา มีดต้องใส่ลงในภาชนะที่แข็งแรงป้องกันการแทงทะลุได้ก่อนที่จะทิ้งลงในถุงพลาสติก จากนั้นจะต้องมีการบำบัดเบื้องต้นหรือการฆ่าเชื้อโรคก่อน เช่น ใช้โซเดียมไฮโปคลอไรด์เข้มข้น 0.1 - 0.5 % เทราดให้ทั่ว ขยะที่ฆ่าเชื้อในเบื้องต้นแล้วจะถูกนำไปรวบรวมไว้เพื่อรอการกำจัด โดยภาชนะที่ใช้เก็บขยะติดเชื้อที่ใช้กันมากคือถุงพลาสติกสีแดง เพื่อให้แตกต่างจากถุงบรรจุขยะมูลฝอยทั่วไป ถุงบรรจุขยะติดเชื้อมักจะใช้เพียงครั้งดียว แล้วทำลายไปพร้อมกับขยะติดเชื้อ ในส่วนของที่พักขยะก็ควรจะเป็นที่เฉพาะไม่ใช้ร่วมกับขยะมูลฝอยทั่วไป มีการควบคุมอุณหภูมิในที่เก็บจะอยุ่ที่ประมาณ 15 องศาเซลเซียล และไม่ควรเก็บไว้นานเกินกว่า 3 วัน ในกรณีที่โรงพยาบาลไม่มีที่กำจัดขยะติดเชื้อของตนเอง การเก็บขนและลำเลียงจะต้องทำอย่างระมัดระวัง การใช้รถเข็นและลิฟต์จะเป็นวิธีที่ดี ขณะละเลียงเจ้าหน้าที่จะต้องใส่ถุงมือยาว มีผ้าปิดปากและจมูก เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติหน้าที่ และไม่ควรโยนถุงเพราะอาจจะทำให้ถุงขาดได้ มาถึงวิธีการกำจัดซึ่งต้องทำอย่างถูกหลักวิชาการและอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคจากผู้ป่วย โดยวิธีการที่ดีที่สุดคือการเผาในเตาเผ่าที่อุณหภูมิ 870 องศาเซลเซียลขึ้นไป และต้องมีการควบคุมสารพิษที่เกิดจากการเผาด้วย ส่วนเถาถ่านที่เหลือจากการเผาจะต้องนำไปฝังดิน
ปัจจุบันทั่วประเทศไทยมีโรงพยาบาลมากกว่า 20,000 แห่ง มีคนไข้จากโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนอยู่ประมาณ 130,000 คน ในแต่ละวันจะมีขยะติดเชื้อ 130 ตัน/วัน เฉพาะในกรุงเทพมหานครเฉลี่ยปริมาณขยะติดเชื้อมีถึง 0.11 กิโลกรัม/จำนวนเตียงคนไข้ 1 เตียง/วัน ตัวเลขเหล่านี้ดูจะเป็นปัญหามากขึ้น ถ้าหากได้ทราบถึงความสามารถในการกำจัดขยะติดเชื้อในประเทศไทย
ในกรุงเทพมหานคร ในแต่ละวัน กทม. สามารถเก็บขยะติดเชื้อได้ประมาณ 8.5 ตัน จากศูนย์ปริการสุขภาพและโรงพยาบาลทั่วไป 582 โรง ซึ่งถ้าหากคิดเป็นเปอร์เซ็นก็สามารถเก็บได้เพียงร้อยละ 40 จากทั้งหมด กทม. มีรรถขนขยะติดเชื้อทั้งหมด 15 คัน ขนส่งขยะไปยังเตาเผา 2 แห่ง คือ เตาเผาในซอยอ่อนนุช และที่หนองแขม โดยในแต่ละวัน กทม. กำจัดขยะเหล่านี้ได้ 10 ตัน ซึ่งในอนาคต กทม. มีแผนจะสร้างเตาเผาขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีก 2 เตา ต้องลงทุนอีกไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท
นอกจากนี้ในอีกส่วนหนึ่งโรงพยาบาลบางแห่งได้ติดตั้งเตาเผาขยะติดเชื้อเพื่อใช้ในโรงพยาบาลของตน โดยมีโรงพยาบาลที่ติดตั้งระบบกำจัดขยะแล้ว 800 กว่าแห่ง ในปี พ.ศ. 2540 กระทรวงสาธารณสุขมีแผนจะให้โรงพยาบาลชุมชนในความรับผิดชอบติดตั้งเตาเผาให้ครบ อย่างไรก็ตาม สถานพยาบาลขนาดเล็ก คลินิกต่าง ๆ และโรงพยาบาลในต่างจังหวัดอีกหลายแห่ง ก็ยังไม่มีขยะเหล่านี้ออกมาปะปนกับขยะอื่น ๆ โดยให้เทศบาลหรือสุขาภิบาลเป็นผู้จัดการ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น