ขับเคลื่อนโดย Blogger.

The Angel Inside

ทอมเดินทางทั่วโลกเพื่อค้นหาตัวเอง...
จนมาเมืองสุดท้ายคือฟลอเรนซ์...ประเทศอิตาลี
แต่เขาก็ยังไม่สามารถค้นพบตัวเองได้
ชราคนหนึ่งรู้เรื่องเข้า..จึงชวนทอมไปดูรูปสลักเดวิด
ไมเคิลแองเจอโล...เป็นผู้สลักรูปปั้นนี้...ซึ่งใช้เวลา 28 เดือน


เช้าวันหนึ่งมีเด็กหนุ่มถามไมเคิลแองเจอโลว่า...ทำไมต้องมุ่งมั่นในการแกะสลักมากขนาดนี้
ไมเคิลแองเจอโลตอบว่า"เพราะในหินนี้มีเทวดาอยู่"

ขอเล่าประวัติหินก่อนนะครับ
หินก่อนนี้เคยถูกปฏิเสธจาก..ลีโอนาโด ดาวิซี
และเคยโดนปฏิเสธจากศิลปิน 2 ท่าน
ทุกคนต่างไม่รู้จะแกะสลักอะไรกับหินก่อนนี้

แต่ไมเคิล แองเจอโลรู้ว่ามีเทวดาอยู่ข้างใน...
เขาจึงได้แกะสลักรูปปั้นของเดวิดครับ

หลายคนคงสงสัยว่าเดวิดเป็นใคร...ทำไมไมเคิลแองเจอโลเลือกแกะสลักหินนี้เป็นรูปเดวิด

เรื่องของเดวิด
นานมาแล้วพระเจ้าได้มอบมหายให้..ซามูเอลออกไปค้นหากษัติคนต่อไป
ซามูเอลไปได้ตัวของเดวิดมา...ซึ่งคนทุกคนรวมทั้งพ่อของเดวิด...ต่างบอกว่าเดวิดโคตรธรรมดา.
เดวิดไม่มีแววเป้นกษัตริย์ได้เลย....แต่ซามูลเอลตอบว่า “มนุษย์เราพากันมองแต่เปลือกนอก แต่พระเป็นเจ้ากลับมองเข้าไปข้างใน”

เปรียบเทียบเราซึ่งเป็นคนบ้านๆๆ...เชื่อว่าหลายคนต้องการเป็นคนร่ำรวย...แต่คนในหมู่บ้านบอกว่าเรากระจอก...ทำไม่ได้แน่
อาจจะมีผู้หวังดีมาเตือนต่างๆๆ..เช่นเงินไม่พอหรอก...มันเสี่ยงนะ...แก่แล้ว บราๆๆๆๆ
ก็ขอให้เราๆท่านอย่างสนใจ...ค้นหาเทวดาในตัวเราให้เจอ...แล้วมุ่งมั่น...ทุ่มเท...ไม่หยุดฝันเสียก่อน
สักวันฝันต้องเป็นจริงแน่นอนครับ...เชื่อผมเหอะ

กรอบแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ

กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่ดูแลสุขภาพของประชาชนทั้งด้านการส่งเสริม การป้องกันโรค การรักษา การฟื้นฟูสุขภาพ ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงมีการแบ่งระบบบริการสุขภาพ เป็น 3 ระดับ ...ได้แก่..ปฐมภูมิ..ทุติยภูมิ...ตติยภูมิ แต่ละระดับมีบทบาทหน้าที่ต่างกัน...แต่เชื่อมโยงด้วยระบบ referral System...เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพ
การจัดสรรทรัพยากรโดยขาดการวางแผนก่อให้เกิดปัญหาต่างๆเช่น ปัญหาด้านประสิทธิภาพ..คุณภาพ..ความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการ
ดังนั้น การพัฒนาระบบบริการสุข...ต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดพื้นฐาน...มุมมองต่อปัญหาเพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลง..ของสังคม...ของประชาชน...ได้ทันท่วงที

เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในปี 2553 – 2554 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข...จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ....เพื่อพิจารณากรอบแนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ...ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1.ใช้หลักการ “เครือข่ายบริการที่ไร้รอยต่อ”...คือต้องเชื่อมโยงทั้ง..ปฐมภูมิ..ทุติยภูมิ..ตติภูมิ
โดยไม่มีเส้นแบ่งการปกครองมาขวางกั้น....กล่าวคือให้พิจารณาตามสภาพจริงของการคมนาคม

2.ทุกจังหวัดต้องมี “เครือข่ายบริการระดับจังหวัด” ...อย่างน้อย 1 เครือข่าย
กล่าวคือ โรงพยาบาลทั่วไปรับผิดชอบการบริหารจัดการ...โรงพยาบาลทุติยภูมิและเครือข่ายปฐมภูมิ

3.จัดให้มี “ระดับโรงพยาบาลรับผู้ป่วยส่งต่อ” เพื่อหลีกเลี่ยงการลงทุนที่ซ้ำซ้อน...และขจัดสภาพการแข่งขัน
โดยแบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้
3.1โรงพยาบาลรับผู้ป่วยส่งต่อระดับต้น...รับผู้ป่วยจากเครือข่ายปฐมภูมิ
3.2โรงพยาบาลรับผู้ป่วยส่งต่อระดับกลาง...รับผู้ป่วยจากเครือข่ายบริการทุติยภูมิ
3.3โรงพยาบาลรับผู้ป่วยส่งต่อระดับสูง...รับผู้ป่วยจากโรงพยาบาลตติยภูมิ
แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
1.โรงพยาบาลทั่วไป
2.โรงพยาบาลศูนย์

ทั้งหมดก็เป็นเพียงการสรุปกรอบแนวคิดการจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ...ที่ผมสรุปเองจากการอ่านเพียง 1 รอบเท่านั้นครับ...หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขอโทษ..ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ระบบสุขภาพภาคประชาชน

ภาวะที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับตัวทั้งหน่วยงานของรัฐและองค์กรประชาชน ให้สามารถดำเนินงานและดำรงชีวิต ได้ด้วยความราบรื่นและไร้ทุกข์ให้ได้มากที่สุด ดังนั้นในสถานการณ์เช่นทุกวันนี้ จึงมีผลต่อการปรับโฉมหน้าของงานสาธารณสุขมูลฐาน ทั้งในการปรับขยายแนวคิดและวิธีทำงานให้เหมาะกับยุคสมัยและสถานการณ์ของประเทศ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ด้วยการจัดระบบการจัดการของชุมชน ในสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน ซึ่งเป็นผลพวงของการพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐานให้เกื้อกูลกัน เกิดประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพ อันได้แก่ ความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน (อสม. ผู้นำ กลุ่มต่างๆ และประชาชน) ศูนย์ปฏิบัติการให้บริการสุขภาพเบื้องต้นและความรู้ข่าวสารด้านสุขภาพในชุมชน และทุนในการดำเนินกิจกรรมสุขภาพในชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอจากภาคี อสม. ถึงการจัดการของชุมชนในการพัฒนาสุขภาพที่จะต้องประกอบด้วยการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง กรรมการสุขภาพหรือทีมสุขภาพ ศูนย์ปฏิบัติการด้านสุขภาพและกองทุนสุขภาพในชุมชนหรือ ศสมช. โดยเรียกการจัดการของชุมชนในการพัฒนาสุขภาพนี้ว่า ระบบสุขภาพภาคประชาชน
.......... ระบบสุขภาพภาคประชาชนเป็นคำที่มีความหมายรวบยอดของงานสาธารณสุขมูลฐานอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการของการดำเนินงานที่มิใช่กิจกรรมเดี่ยวๆ ของชุมชน มิใช่ภารกิจของหน่วยงานหรือองค์กร
ภายนอกที่จะต้องกำหนดหรือออกแบบกิจกรรมดำเนินงานให้ชุมชน จึงเป็นเรื่องของชุมชนที่จะคิด จะตั้งเป้าหมาย บริหารจัดการ และวัดผลสำเร็จด้วยตนเอง หน่วยงานหรือองค์กรภายนอกสามารถทำได้เพียงการร่วมมือกันอย่างจริงจัง และต่อเนื่องในการส่งเสริมสนับสนุนหรือสร้างกลไกปัจจัยที่เกื้อหนุนการจัดการด้านสุขภาพของชุมชน
.......... ระบบสุขภาพภาคประชาชน มีจุดมุ่งหมาย เพื่อการพัฒนาสุขภาพของคนในชุมชน ด้วยการส่งเสริมผลักดันให้ประชาชนตระหนักในการดูแลสุขภาพ และถือเป็นหน้าที่ของตนเอง มิใช่ผลักภาระให้กับคนอื่น และพัฒนาองค์กร อาสาสมัครและแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว มีส่วนร่วมได้พัฒนาขีดความสามารถและทักษะในการจัดการงานบริการส่งเสริม สุขภาพด้านต่างๆ ของ กรม กอง ในกระทรวงสาธารณสุขให้สามารถเป็นระบบ และเกิดผลที่ประจักษ์ชัด สามารถตรวจวัดได้ในระดับชุมชนนั้นเป็นสิ่งที่ต้องมุ่งมั่นดำเนินการให้ สำเร็จ ตลอดจนการสร้างกระแสผลักดันให้ประชาชนในชุมชนต่างๆ ได้หันมามีบทบาทส่วนร่วมรับผิดชอบการดูแลชีวิตและสุขภาพพื้นฐานได้โดยตนเอง ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาสุขภาพของคนไทย ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
.......... คน เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการพัฒนาใดๆ ก็ตามจะต้องมีคนที่อยู่ในชุมชนรวมตัวกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ อาจเริ่มจากคนกลุ่มหนึ่งอาจจะมากหรือน้อยก็ตามซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายต่างกลุ่ม ต่างอาชีพ ต่างฐานะ ต่างความคิด ต่างเพศ ต่างวัย แต่มีจิตใจเดียวกันเพื่อส่วนรวม และมีเป้าหมายร่วมกัน มีการขยายแนวร่วมออกไปเรื่อยๆ
.......... องค์ความรู้ ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน จำเป็นต้องมี องค์ความรู้ วิธีการ เทคโนโลยี ภูมิปัญญาและประสบการณ์ จะทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การถ่ายทอดและการกระจายความรู้ข้อมูลข่าวสารในชุมชน
.......... ทุน เพื่อการพัฒนาสุขภาพ การดำเนินงานพัฒนาสุขภาพ จำเป็นต้องอาศัยทุนที่เป็นตัวเงิน และทุนที่ไม่ใช่ตัวเงินหรือทุนทางสังคมและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งทุนที่เป็นตัวเงินจะมีความหมายในลักษณะการเงินการคลังด้านสุขภาพและการ พัฒนาด้านต่างๆ เพื่อจัดบริการให้กับคนในชุมชนอย่างคุ้มค่า คุ้มเวลาที่ทำงานและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด ซึ่งแต่ละชุมชน สามารถแสวงหาแหล่งทุนได้ทั้งภายในและภายนอกชุมชน และนำมาบริหาร จัดการให้เกิดผลกำไร แล้วนำดอกผลนั้นมาใช้ในการพัฒนาต่อไป
นอกจากองค์ประกอบหลัก 3 ประการแล้ว หัวใจสำคัญของระบบสุขภาพภาคประชาชน คือ การจัดการ เพื่อให้ประชาชนมีความสามารถในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ซึ่งการจัดการในที่นี้ คือ การปฏิบัติการประสานให้เกิดความสมดุลย์ เพื่อการเคลื่อนไหวของปัจจัย คน องค์ความรู้หรือวิธีการทำงาน และทุนเพื่อการพัฒนาสุขภาพ ให้เกิดการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาสุขภาพ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของคนในชุมชน ป้องกันและแก้ปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน ทั้งนี้กิจกรรมการพัฒนาสุขภาพที่ดำเนินโดยชุมชนนั้นขึ้นกับการตัดสินใจของชุมชนว่าจะดำเนินการในเรื่องใด อย่างไร ซึ่งสามารถแสดงเป็นแผนภาพเชิงแนวคิดองค์ประกอบระบบสุขภาพภาคประชาชน
Microsoft Sans Serif;font-size:130%;">ะบบสุขภาพภาคประชาชนวัฒนธรรมการดูแลความสุขสมบูรณ์ทางสุขภาพกายและใจของตนเอง สมาชิกในครอบครัวและในสังคมของตนเอง

ระบบสุขภาพภาคประชาชนจะเป็นระบบการดูแลสุขภาพด้วยหัวใจไม่ทำด้วยสมองเพียงอย่างเดียว เพราะคนในท้องถิ่นรู้ภูมิประเทศ รู้จักผู้คน วัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น มีหัวใจพิเศษด้วยรู้สึกว่าคนในชุมชนเป็นลูกหลาน เป็นมิตรสหาย ซึ่งแตกต่างจากระบบรัฐที่หมอและพยาบาลไม่ได้เป็นผู้ประสบปัญหาด้วยตนเอง ไม่ได้ตระหนักถึงความเจ็บป่วย และความวิตกกังวลที่มีอยู่ ระบบสุขภาพภาคประชาชน จะช่วยให้การเข้าถึงบริการในมิติด้านสังคมของประชาชนที่นอกเหนือไปจาก การเข้าถึงบริการที่รัฐมอบให้ในการสร้างหลักประกันสุขภาพ
ดังนั้นระบบสุขภาพภาคประชาชน จะทำให้เกิดการพึ่งตนเองของประชาชน ซึ่งการพึ่งตนเองจะเป็นตัวหล่อหลอมให้ประชาชนเข้มแข็ง ลดการพึ่งรัฐ และลดการร้องขอจากรัฐ จึงเป็นระบบที่จะเติมเต็มระบบสุขภาพ
ของชาติ เพราะเป็นกลไก การเชื่อมต่อระหว่างกลไกภาครัฐกับภาคประชาชน ที่จะให้บรรลุผลการมีสุขภาพดี และลดค่าใช้จ่ายในระบบสุขภาพของประเทศลดลง

สุขภาพภาคประชาชนไม่ใช่เรื่องการเจ็บป่วยแต่เป็นการบำรุงความสุขในชีวิต
สุขภาพภาคประชาชนไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากมาย แต่เป็นการ เพิ่มโอกาสให้บุคคลสามารถจะตรวจวัดสุขภาพด้านใดๆ ก็ได้ในชุมชนเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันสิ่งที่จะเป็นพิษเป็นภัยต่อสุขภาพ สุขภาพภาคประชาชนไม่ใช่เรื่องของการเจ็บป่วย แต่เป็นการบำรุงความสุขในชีวิต ในภาพของพื้นที่ นโยบายสร้างเสริมสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขและนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วน หน้า ทำให้โรงพยาบาลและสถานีอนามัย ต้องพิจารณาให้ความสำคัญกับการส่งเสริมป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพให้เข้ม ข้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมที่เน้นการรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยด้วย การใช้จ่ายที่ไม่จำกัด เมื่อเป็นเช่นนี้แนวทางสู่การบรรลุผลสำเร็จ จึงจำเป็นต้องอาศัยการสร้างกระแส และการสร้างแรงผลักดันทั้งทางสังคมและการเมือง ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในจิตใจและทัศนคติของประชาชน ตลอดจนองค์กรผู้นำท้องถิ่นให้ยอมรับว่า การดูแลสุขภาพโดยตนเองขั้นพื้นฐานนั้นเป็น หน้าที่สำคัญของบุคคล ครอบครัวและชุมชน แต่ก็อาจที่จะต้องพึ่งพาระบบการบริการของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญบ้างเมื่อคราวจำเป็น และการไม่เจ็บป่วย หรือการช่วยตนเองได้ให้พ้นจากการเจ็บป่วย นับว่าเป็นเรื่องสำคัญต่อค่าใช้จ่าย ต่อโอกาสในการประกอบอาชีพสร้างรายได้และต่อความสุขของคนในครอบครัวที่ไม่มีใครป่วย ใครพิการหรือใครสูญเสียชีวิต แม้ว่ารัฐจะให้บริการ 30 บาท รักษาทุกโรค ก็ตาม แต่ค่าใช้จ่ายจริงย่อมสูงกว่านั้นแน่นอน ซึ่งรัฐจะเป็นผู้รับใช้ส่วนที่เหลือให้อยู่ได้ อันเป็นการช่วยเหลือประชาชน แต่หากพิจารณาให้ดีก็จะเห็นว่าเงินที่รัฐจะนำมาจ่ายชดเชย ก็เป็นเงินจากภาษีราษฎรอยู่ดี ดังนั้นการป่วยที่ป้องกันได้ของใครคนหนึ่งในสังคม ที่ไปรับการรักษาสามสิบบาท ก็คือ ผู้สร้างภาระให้เพื่อนผู้อื่นในสังคมเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบส่วนที่เกินโดยไม่เป็นธรรม ด้วยเหตุนี้จึงน่าจะถือว่า ภาระการดูแลส่งเสริมสุขภาพจากนักวิชาการแพทย์และสาธารณสุขสามารถมอบกลับไปสู่ประชาชนได้ และให้เขาสามารถบริหารจัดการในขั้นพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพและมาตรฐานด้วยตนเอง
สุขภาพภาคประชาชน การประสานพันธกิจราษฎร์ รัฐและเอกชน การก้าวเดินไปสู่อนาคตแบบองค์รวมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต เพื่อให้ เกิดระบบสุขภาพภาคประชาชนนี้ ไม่ใช่งานที่จะสามารถบรรลุได้ด้วยองค์กรชุมชน องค์กร อสม.หรือสำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐานเพียงฝ่ายเดียว พันธกิจทั้งหลายเพื่อสร้างผลบรรลุนี้ต้องอาศัยเพื่อน อาศัยพี่น้อง จากทุกหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข ทุกระดับ หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ องค์กรเอกชน ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การร่วมประสานพันธกิจของกรมกองต่างๆ ที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรอาสาสมัคร และขีดความสามารถขององค์กรผู้นำท้องถิ่น ในระบบสุขภาพภาคประชาชน น่าจะเป็นโอกาสอันดีและทันเหตุการณ์ที่จะทำให้การส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้าน สุขภาพของประชาชน วิวัฒนาการไปสู่สภาพที่พึงประสงค์ คือ การดูแลสุขภาพโดยประชาชนของชุมชน นอกจากนี้ การมีอาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ดำเนินการบริการส่งเสริมสุขภาพ และการดำรงชีวิต โดยมีศูนย์ปฏิบัติการหรือสาขาในระดับชุมชน จะช่วยลดภาระและเพิ่มศักยภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการบรรลุเป้าหมายที่ มีประสิทธิภาพอย่างคุ้มค่า สำหรับประชาชน กระทรวงสาธารณสุขและภาษีราษฎรของชาติในที่สุดของการส่งเสริมสุขภาพ ในระบบสร้างเสริมสุขภาพแบบศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU) ของการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าเราทำปณิธานนี้สำเร็จ จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการสร้างเสริมสุขภาพและเป็นการร่วมสร้างเป้าหมาย หลักของนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขให้บรรลุผล ลดการเจ็บป่วย ช่วยรัฐประหยัด ลดการเจ็บป่วย ช่วยชาติเจริญ

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio