ขับเคลื่อนโดย Blogger.

บังเอิญจำเจซ้ำซาก

เรื่องบังเอิญของผมวันนี้...บังเอิญที่ได้ไปอ่านเจอบทความ..ที่บังเอิญเข้ากับชีวิตผมตอนนี้...
ยังครับยังไม่จบบเรื่องของบังเอิญ...คือผมบังเอิญได้ใช้เน็ต..และบังเอิญหัวหน้าผมไม่อยู่...สุดท้ายของบังเอิญคือผมบังเอิญโพสบทความนี้ครับ

ใครๆ ก็อยากมีความคิดสร้างสรรค์กันทั้งนั้น เพราะบ่อยครั้งที่ไอเดียสุดครีเอทสามารถสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้กับงานที่ทำอยู่ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า กิจวัตรจำเจในช่วงเริ่มต้นวันใหม่ อาจทำลายบรรยากาศดีๆ ที่เอื้อให้ต่อมสร้างสรรค์ทำงาน
"ไทม์" ระบุว่า คนส่วนใหญ่มักมีวัตรปฏิบัติแบบเดิมๆ ทุกวัน ตั้งแต่นาฬิกาปลุกตอนเช้า ผู้คนจะกระเด้งออกจากที่นอน อาบน้ำอย่างรีบเร่ง แต่งตัวด้วยความเร็วแบบไฮสปีด และออกจากบ้านไปแบบไม่เหลือเวลาให้คิดอะไร
ขณะที่การเดินทางฝ่ารถติดก่อให้เกิดความเครียด ความดันเลือดเพิ่มขึ้น กระทั่งถึงออฟฟิศก็หยิบหนังสือพิมพ์มาอัพเดทสถานการณ์ บ่อยครั้งที่ข้อมูลข่าวสารก่อให้เกิดความรู้สึกหดหู่และจิตตกตามมา จากนั้นจิบกาแฟร้อนสักแก้ว ก่อนเริ่มต้นทำงาน
พฤติกรรมจำเจแบบนี้ไม่ได้เอื้อให้เกิดไอเดียใหม่ๆ โดยผลการศึกษาหลายชิ้นพบว่า พฤติกรรมที่ผู้คนกระทำในตอนเช้ามีส่วนทำลายบรรยากาศที่เอื้อต่อความคิดที่เปิดกว้างและยืดหยุ่น โดยเฉพาะอาการกระหืดกระหอบหลังตื่นนอน
ผลการศึกษาของ 2 นักวิจัย "มาริเก้ เวต" และ "โรส แซคส์"ที่ตีพิมพ์ในวารสาร "ธิงค์กิ้ง แอนด์ รีซันนิ่ง" เมื่อปีที่แล้ว ระบุว่า จินตนาการมักจะเกิดขึ้นในยามที่เราไม่ได้โฟกัสที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง กระบวนการทางจิต ที่คอยยับยั้งเรื่องกวนใจ หรือความคิดที่ไม่เกี่ยวข้อง จะทำงานน้อยที่สุดในช่วงเวลานั้น เปิดทางให้สมองนึกเรื่องที่ไม่ได้คาดคิด และบางครั้ง อาจก่อให้เกิดความคิดที่เชื่อมโยงโดยไม่รู้ตัว เหมือนกับคนที่นอนสะลึมสะลือ จะมีโฟกัสกับสิ่งที่สนใจพร่าเลือนมากกว่า
ลักษณะเช่นนี้ ทำให้เกิดการค้นหาเครือข่ายความรู้ และนำไปสู่ความพยายามแก้ปัญหาด้วยวิธีสร้างสรรค์ แต่หากเราไม่เปิดจังหวะให้ตัวเองได้ปรับจูนจิตใจที่วกวน เราก็อาจพลาดโอกาสที่จะค้นพบทางออกที่น่าประหลาดใจ
ขณะที่การเดินทางฝ่าการจราจรที่ติดขัด หรือการเบียดเสียดกับผู้โดยสารคนอื่นๆ ไม่ได้ช่วยให้ความคิดลื่นไหล เพราะฮอร์โมนความเครียด "คอร์ติซอล" จะเป็นอันตรายกับสารจำพวกไขมันที่ห่อหุ้มเส้นใยประสาท (myelin) ซึ่งจะส่งผลให้ความเร็วในการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทลดลง เท่ากับลดโอกาสที่จะเกิดความคิดแบบฉับพลันไปด้วย
ผลวิจัยอีกชิ้นของ "รูบี้ เนดเลอร์" ที่ตีพิมพ์ในวารสาร "ไซโคโลจิคอล ไซอึนซ์" ชี้ว่า เราควรอ่านข่าวสารที่เกิดขึ้นในโลก หลังจากทำงานเสร็จแล้ว เพราะจากการทดลองที่ให้กลุ่มเป้าหมายดูคลิปวิดีโอที่ทำให้รู้สึกเศร้าใจ คนเหล่านี้จะมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ดูคลิป ที่สร้างเสริมอารมณ์ในเชิงบวก ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นทางปัญญามากกว่าความรู้สึกในเชิงลบ
ดังนั้น ในตอนเช้าเราควรปรับพฤติกรรมให้เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์ ตั้งนาฬิกาปลุกให้เร็วขึ้น เพื่อจะได้ไม่ต้องเร่งรีบ จากนั้นก็ปล่อยความคิดให้เป็นอิสระ เตรียมกระดาษปากกาไว้ เผื่อนึกอะไรออก แช่ตัวเองในน้ำอุ่นๆ ให้นานขึ้นอีกนิด และหลีกเลี่ยงความคิด ที่มุ่งไปกับงานประจำสักพัก ระหว่างเดินทางพยายามหายใจลึกๆ แทนที่จะเดือดดาลกับสภาพรถติด
เมื่อถึงออฟฟิศ ก็ดื่มกาแฟสักแก้ว เพราะคาเฟอีนจะช่วยให้เราตื่นตัว และช่วยเพิ่มระดับของโดปามีน (dopamine) สารสื่อประสาทที่ช่วยกระตุ้นและทำให้รู้สึกดีเมื่อคิดไอเดียเจ๋งๆ ได้ จากนั้นเปิดคอมพิวเตอร์หาคลิปสนุกๆ มาดู แทนที่จะเสพข่าวอย่างเมามัน ถือเป็นการเริ่มต้นวันใหม่ โดยไม่ทำลายความช่างคิดด้วยพฤติกรรมจำเจได้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio