เนื่องจากช่วงนี้ผมเขียนขอย้ายฝ่ายจากแผนงานและสารสนเทศไปปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเวชปฏิบัติครอบครัว สาเหตุเนื่องจากต้องการปฏิบัติงานให้ตรงกับสายงาน บังเอิญได้อ่านบทความชื่อว่า นวก.สอ.กับบทบาทที่ต้องทบทวน
(มุมมองจากหมออนามัย) จึงขอนำบทความดีๆมาลงไว้ที่นี้เลยครับ
รายงานพิเศษ
ปีที่ 11 ฉบับที่ 3
ตอน นวก.สอ.กับบทบาทที่ต้องทบทวน (มุมมองจากหมออนามัย)
ศิลา วรบรรพต
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ที่ผ่านมา มีการประกาศผลสอบ(สัมภาษณ์)นักวิชาการสาธารณสุข คงมีหมออนามัยหลายคนที่ดีใจและเสียใจกับผลที่ออกมา
ในการสอบครั้งนี้มีผู้มาสมัครทั้งหมด 3,483 คน (ผู้เขียนก็เป็นหนึ่งในจำนวนนี้) มาสอบข้อเขียน 3,293
คน สอบผ่านข้อเขียน 1,452 คน (ร้อยละ 44 ) และมาสอบสัมภาษณ์ 1,436 คน และนี่คือยอดที่ขึ้นบัญชีไว้ทั้งหมด เป็นเวลา 2 ปี
ช่วงนี้คงเป็นเรื่องกระบวนการปรับเปลี่ยนสายงาน คนที่ทำงานอยู่สถานีอนามัย(สอ.)อยู่แล้วคงไม่มีปัญหาปรับเปลี่ยนสายงาน
และคงจะทำให้จะมีนักวิชาการในสอ.ครอบคลุมมากขึ้น
นักวิชาการสาธารณสุขเป็นอีกหนทางหนึ่ง
ที่จะทำให้ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานอย่างน้อยที่สุดก็สามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งระดับ
7 ได้อย่างแน่นอน (หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในอนาคต)
แล้ววันนี้มีคำถามว่า
นักวิชาการได้ทำหน้าที่ของนักวิชาการแล้วหรือยัง ? สอ.ที่มีและไม่มีนักวิชาการแตกต่างกันหรือไม่
? สอ.มีความจำเป็นต้องมีนักวิชาการหรือเปล่า
? คำถามเหล่านี้คงมีอยู่ในใจหมออนามัยทุกคน
เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
ได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังผลงานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องหนึ่ง
เป็นการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานีอนามัยแห่งหนึ่ง ที่น่าสนใจคือ ประชาชนในเขตสอ.นั้นมองสอ.เป็นเพียงร้านชำธรรมดาๆ ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? ทำไมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับสอ.
จึงเป็นแค่ “ผู้ซื้อกับร้านชำ(ผู้ขาย)” ที่ขายยาเท่านั้นหรือ และสอ.แห่งอื่นๆ
เป็นเช่นนั้นหรือเปล่า หมออนามัยรู้เช่นนี้รู้สึกอย่างไร
นักวิชาการคือใคร
เราลองหลับตาแล้วนึกถึงภาพของคำว่า “นักวิชาการ” ทั่วไป (ไม่ได้เฉพาะเจาะว่าต้องเป็นนักวิชาการสาธารณสุขนะ)
เราจะให้ความหมาย
ให้คุณค่ากลุ่มคนเหล่านี้อย่างไร
มุมหนึ่งอาจจะมองว่า
นักวิชาการคือผู้ที่มีความคิดความอ่านสูง
โดยเฉพาะในเรื่องที่นักวิชาการท่านนั้นให้ความสนใจเป็นพิเศษ เป็นผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริงในศาสตร์นั้น มีความรอบรู้ รอบครอบ
และความละเอียดลึกซึ้งในเรื่องที่ท่านรู้
หรืออีกแง่มุมหนึ่งอาจมองว่า
นักวิชาการคือผู้ที่รู้แต่เชิงทฤษฎี แต่ไม่ค่อยรู้เรื่องในด้านปฏิบัติ อีกทั้งพูดและเขียนอะไรก็ยากต่อการเข้าใจ “ทำเรื่องง่ายเป็นเรื่องยาก”
โดยนัยแล้วก็คือไม่ค่อยรู้อะไรจริง อย่างดีก็รู้แค่ที่มีอยู่ในตำรา
หรือบางคนอาจมองว่า
นักวิชาการคือเจ้าหน้าที่ที่มีภารกิจในสายงานวิชาการซึ่งตามหน่วยงานต่างๆ
ก็มักนิยมมีกันเพื่อให้ทันสมัยตามกระแสโลกของการบริหารองค์กร ซึ่งโดยเฉพาะในหน่วยงานราชการส่วนใหญ่แล้วก็เป็นข้าราชการที่ไม่ค่อยมีความรู้ทางวิชาการในภารกิจที่หน่วยงานตัวเองรับผิดชอบมากนัก
และก็มักทำงานปฏิบัติการไม่เป็น ซึ่งก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน
ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่พบเจอนักวิชาการแต่ละท่าน แต่ละสาขาวิชา
และแต่ละหน่วยงานกันไป
นักวิชาการสาธารณสุข คือใคร
ผลจากแผน 7 และโครงการทสอ. ทำให้มีการกำหนดกรอบอัตรากำลัง
3 ปี รอบที่ 3 (2538-2540) ได้รับความเห็นชอบจาก
ก.พ. ให้สอ.มีตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข
3-5 / 6ว. / 7 ว. จำนวน 1 ตำแหน่ง
ในการกำหนดตำแหน่งนักวิชาการในส่วนราชการนั้นๆ ก.พ.มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ
1.เพื่อให้การบริหารราชการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เนื่องจากส่วนราชการจะสามารถสรรหาผู้มีความรู้
ความสามารถและความชำนาญอย่างสูงเฉพาะบุคคลในด้านต่างๆ มาทำหน้าที่ศึกษา ค้นคว้า
วิเคราะห์ วิจัย เพื่อค้นหาปัญหา สาเหตุของปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ไขที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ ตลอดจนการให้บริการหรือปฏิบัติงานบางอย่าง
2.เพื่อให้ผู้มีความรู้
ความสามารถและความชำนาญงานอย่างสูงเฉพาะตัว
ได้มีโอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งระดับสูงกว่าเดิม ทัดเทียมกับตำแหน่งหัวหน้าหรือรองหัวหน้าหน่วยงาน เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้มีความรู้ความสามารถ ได้อยู่ปฏิบัติงานในภาคราชการมากยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุผลที่ว่า
สภาพปัญหาแต่ละแห่ง
แต่ละพื้นที่แตกต่างกัน
การจะใช้วิธีเดียวกัน
แบบแผนเดียวกัน
นโยบายเดียวกัน
แก้ปัญหาในทุกพื้นที่ย่อมเป็นไปไม่ได้
เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักวิชาการในสถานีอนามัยจะต้องค้นคว้าสภาพปัญหา ทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งถึงปัญหานั้น และหาแนวทางแก้ไขปัญหานั้นๆ
และหากไม่สำเร็จก็จะต้องหาสาเหตุและแก้ไขจุดบกพร่องต่อไป เมื่อแก้ไขปัญหาได้แล้วก็ควรที่จะนำเสนอผลงาน
นักวิชาการสาธารณสุขน่าจะได้ชื่อว่า
เป็นผู้ที่รู้ลึกซึ้งถึงสภาพพื้นที่ของตนเอง
เป็นผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริงในเขตรับผิดชอบของตนเอง ต้องสามารถปรับนโยบายสู่การปฏิบัติได้
ไม่ใช่นั่งรอนอนรอให้นักวิชาการจากกระทรวง
จากกรมหรือจากหน่วยงานอื่นๆ เป็นคนสั่งให้ทำโน่นทำนี้อย่างเดียว
คาดหวังอะไรกับนักวิชาการ
สอ.
ก.พ.ได้กำหนดมาตรฐาน
โดยแบ่งและแยกหน้าที่ความรับผิดชอบของนักวิชาการสาธารณสุขไว้ ดังนี้
หน้าที่ความรับผิดชอบ
|
ระดับ
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
1.วิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุข
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
2.ประมวลผลปัญหาสาธารณสุข
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
3.วินิจฉัยปัญหาสาธารณสุข
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
4.วางแผนงานสาธารณสุข
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
5.วางระบบข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
6.จัดระบบควบคุมกำกับการปฏิบัติงาน
|
-
|
/
|
/
|
/
|
/
|
7.วิจัยเกี่ยวกับสถานะสุขภาพ
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
8.วิจัยเกี่ยวกับการบริหารสาธารณสุข
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
9.ประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุข
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
10.ให้คำปรึกษา แนะนำด้านวิชาการ
|
-
|
/
|
/
|
/
|
/
|
11.อำนวยการประสานงานดำเนินการ
|
-
|
-
|
/
|
/
|
/
|
12.ฝึกอบรม สอน
|
-
|
-
|
-
|
/
|
/
|
13.ร่วมประชุมกำหนดนโยบายและแผน
|
-
|
-
|
-
|
/
|
/
|
14.กำหนดนโยบายสาธารณสุข
|
-
|
-
|
-
|
-
|
/
|
15.วางมาตรฐานการดำเนินงาน
|
-
|
-
|
-
|
-
|
/
|
จะเห็นว่าในการกำหนดมาตรฐานวิชาการนั้นจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมอย่างน้อย 5 ขั้นตอน คือ
1.วิชาการเป็นเรื่องของการวัด
วัดสิ่งที่ต้องการรู้
ทั้งนี้การวัดต้องแม่นตรง คือ
สามารถวัดสิ่งที่ต้องการวัดได้
และต้องเชื่อถือได้ คือ วัดกี่ครั้งหรือใช้ใครวัดก็ต้องได้ผลเหมือนกัน
2.วิชาการเกี่ยวข้องกับการค้นหาสาเหตุและผลภายในปรากฏการณ์และรวมถึงการพิสูจน์ให้เห็นจริงด้วยหลักฐานที่คนธรรมดารับรู้ได้
3.องค์ความรู้ที่ได้พิสูจน์แล้ว
จะถูกบันทึกไว้ในรูปรายงานผลการวิจัย
ตำรา และถูกนำไปศึกษา ทบทวน
ตรวจสอบหรือแม้กระทั้งท้าทายลบล้างอยู่ตลอดเวลาโดยนักวิชาการรุ่นหลัง
4.การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง
5.การวัดผลสำเร็จและหากไม่สำเร็จต้องค้นหาสาเหตุให้ได้ว่าเป็นเพราะอะไร
กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้หากทำอย่างเป็นระบบและอย่างมีแบบแผนแล้ว ก็คือกระบวนการการทำวิจัยนั่นเอง เพราะฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่าโดยบทบาทและหน้าที่ของนักวิชาการแล้ว
นักวิชาการมีหน้าที่ต้องศึกษาค้นหาปัญหาแต่ละพื้นที่และค้นคว้าหาแนวทางแก้ไข
พร้อมทั้งนำเสนอผลงานหรือองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาในรูปของผลงานวิชาการและงานวิจัยเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นต่อไป
บทบาทที่เห็นและเป็นอยู่
ที่ผ่านมา
จะเห็นว่านักวิชาการสาธารณสุขก็จะมาจากเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนที่มีโอกาส
มีความมานะพยายามใฝ่คว้าหาความรู้จนได้รับวุฒิปริญญาตรีและสอบเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งนักวิชาการนั่นเอง อาจจะเป็นด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้(บางครั้ง)นักวิชาการสาธารณสุขมักจะลืมบทบาทของนักวิชาการไป
แต่ยังคงแสดงบทบาทของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเช่นเดิม
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นบทบาทของนักวิชาการย่อมแตกต่างกันไป
ตามแต่โอกาสและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ขอยกผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับบทบาทและผลการปฏิบัติงานของนักวิชาการ
เพื่อให้เห็นสภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการที่ผ่านมา ดังนี้
· พรเจริญ บัวพุ่ม ศึกษาเรื่อง
ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานกับการปฏิบัติงานตามบทบาทนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยเขต
2 จำนวน 290 คน เมื่อปี 2543 พบว่า
นักวิชาการสาธารณสุขมีความพึงพอใจในงานรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง บทบาทที่นักวิชาการสาธารณสุขส่วนใหญ่ปฏิบัติ
ได้แก่
การอำนวยการและประสานการดำเนินงาน
การฝึกอบรมและสอน
การวินิจฉัยปัญหาสาธารณสุข
การวางแผนงานสาธารณสุข
การให้คำปรึกษาทางด้านวิชาการ
การประมวลผลปัญหาสาธารณสุข
ในส่วนบทบาทที่นักวิชาการสาธารณสุขส่วนใหญ่ไม่ได้ปฏิบัติ คือ
การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารสาธารณสุขกับการวิจัยเกี่ยวกับสถานะสุขภาพ
· พรชัย เลิศหลาย ศึกษาเรื่อง
การปฏิบัติงานตามบทบาทของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสอ. เขต 4 จำนวน 198
คน เมื่อปี 2543 พบว่า ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติงานตามบทบาทในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และการปฏิบัติงานตามบทบาทแต่ละด้าน พบว่า
บทบาทด้านการบริการมากที่สุด
รองลงมาเป็นด้านบริหาร
และที่สำคัญบทบาทที่ปฏิบัติน้อยที่สุดคือบทบาทด้านวิชาการ
· ไพรัช สุวรรณเนกข์ ศึกษาเรื่อง การประเมินการปฏิบัติงานสาธารณสุขของนักวิชาการสาธารณสุขระดับตำบลในเขต
8 จำนวน 141
คน เมื่อปี 2542 พบว่า
ผลการปฏิบัติงานด้านความครอบคลุมและความครบถ้วนตามกลุ่มงานในหน้าที่ความรับผิดชอบอยูในระดับดีมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านแล้ว พบว่า
กลุ่มงานด้านที่ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีมากคือ การควบคุมกำกับงาน (46.2%) และด้านการใช้ข้อมูลในการวางแผน (39.4%)
และกลุ่มงานด้านที่ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้และควรปรับปรุงคือ การวิจัย (50% และ 32.6%) ในขณะที่ด้านความครบถ้วนนั้น ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมากทุกด้าน ยกเว้นด้านการวิจัยที่ส่วนใหญ่อยู่ระดับพอใช้ (56%)
และควรปรับปรุง (32.6%)
จากผลการวิจัยทั้ง 3 เรื่อง
สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันและอยู่ในข้อเสนอแนะของการวิจัยคือ นักวิชาการสาธารณสุขควรพัฒนาในเรื่องการทำวิจัย
เพื่อพัฒนางานในความรับผิดชอบตามบทบาทของนักวิชาการ และการจะพัฒนาในเรื่องการทำวิจัยได้นั้น สสอ. คปสอ. สสจ. ศูนย์วิชาการเขต วิทยาลัยการสาธารณสุข วิทยาลัยพยาบาล สถาบันพระบรมราชชนก
และรวมถึงมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคต่างๆ
ควรจะมีบทบาทในส่วนนี้
เพื่อช่วยแนะนำการทำศึกษาวิจัย
รวมทั้งสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร งบประมาณ
และเป็นการเรียนรู้ร่วมกันอีกด้วย
ในปัจจุบันงานวิชาการ งานวิจัยต่างๆ
ที่เป็นผลงานของนักวิชาการระดับสถานีอนามัยมีน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย
และที่มีบ้างก็เป็นเรื่องของการทำผลงานวิชาการเพื่อเลื่อนระดับที่สูงขึ้น หรือการทำวิทยานิพนธ์เพื่อปริญญาของผู้ที่ลาศึกษาต่อ ซึ่งไม่ใช่เกิดจากความต้องการค้นหาปัญหา และหาแนวทางแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่เลย
ปฏิรูประบบสุขภาพ
: โอกาสนักวิชาการโชว์ “กึ๋น”
ที่ผ่านมางานสาธารณสุขได้มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยี ขยายโรงพยาบาลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ สร้างสถานีอนามัยให้ครบทุกตำบล
เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่เน้นซ่อมสุขภาพ
และผลสุดท้ายกาลเวลาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า “เดินผิดทาง” ยิ่งสร้างโรงพยาบาล พัฒนาเทคโนโลยี ผลิตแพทย์
พยาบาล มากเท่าไร จำนวนคนไข้ก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว
เป็นลักษณะที่ว่ายิ่งแก้ปัญหาก็ยิ่งเพิ่มปัญหามากขึ้น จึงมีการเปลี่ยนมุมมองเรื่องสุขภาพกันใหม่ จากเดิมที่เน้น “ซ่อมสุขภาพ”
มาเป็นการ “สร้างสุขภาพ” คือการส่งเสริมสุขภาพ โดยบุคลากรสาธารณสุข(ทุกสาขา)ต้องปรับบทบาทจาก “ซ่อม” เป็น “สร้าง” ถึงเวลาแล้วที่หมออนามัยเราจะแสดงบทบาทที่ควรจะเป็น
นักวิชาการที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยก็เช่นกัน ถึงเวลาแล้วที่จะต้องทำหน้าที่นักวิชาการสาธารณสุขผู้ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญ
ความคิดความอ่าน
และเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริงในการดำเนินงานด้านสุขภาพของประชาชนในเขตรับผิดชอบของตนต่อไป
สรุป
งานวิชาการไม่ใช่เป็นเรื่องที่ใกล้เกินตัวหมออนามัยเรา ไม่ใช่เรื่องยากเย็นแสนเข็ญอย่างที่หลายคนเข้าใจ เป็นเรื่องใกล้ตัวเราอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
ขอย้ำว่างานวิชาการ คือ “การสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ” หรือ “การค้นหาข้อมูลใหม่ ความรู้ใหม่
เพื่อนำมาใช้ตัดสินใจสำหรับการทำงานในแต่ละสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ให้ดียิ่งขึ้น”
โดย “ไม่จำเป็นต้องใช้สูตรทางสถิติที่ลึกลับซับซ้อนเสมอไป”
และ “ทำได้กับทุกงาน ทุกแห่ง ทุกที่”
จริงๆ แล้วหมออนามัยเราต้องฝึกทำงานวิชาการกันทุกคน
มิใช่เป็นหน้าที่ของนักวิชาการเพียงคนเดียวเท่านั้น
และถึงเวลาหรือยังที่เราต้องทบทวนกับบทบาทที่เป็นอยู่ !
เอกสารอ้างอิง
ไพรัช สุวรรณเนกข์. (2542). การประเมินการปฏิบัติงานสาธารณสุขของนักวิชาการสาธารณสุขระดับตำบลในเขต
8.
วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
พรเจริญ บัวพุ่ม. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานกับการปฏิบัติงานตามบทบาทนักวิชาการสาธารณ
สุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
พรชัย เลิศหลาย. (2543). การปฏิบัติงานตามบทบาทของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย
เขต 4.
วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
อรรณพ พงษ์วาทและสมโชค อ่องสกุล ,บรรณาธิการ. (2532). การพัฒนาการอาจารย์ในบทบาทนักวิชาการ : รวมบทความว่าด้วยความเป็น
นักวิชาการ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วารสารหมออนามัย ปีที่ 5 ฉบับ 3 (พฤศจิกายน – ธันวาคม 2538)
. หมออนามัยกับการทำผลงานวิชาการ(ขึ้น ว),
หน้า 9-14.
วารสารหมออนามัย ปีที่ 7 ฉบับ 2 (กันยายน – ตุลาคม 2540)
. ทุกขลาภของนักวิชาการรุ่นใหม่, หน้า 57-64.