ขับเคลื่อนโดย Blogger.

นักวิชาการสาธารณสุขงง 43 คืออะไร

 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2555 ผมได้รับมอบหมายจากหัวหน้าฝ่ายให้ไปอบรมเชิงปฏิบัติการการบันทึกข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพเพื่อการส่งออก 43 แฟ้ม  ผมเองทราบดีว่านักวิชาการสาธารณสุขเกือบ 100 %  จะรู้ว่าอะไรคือ 43 แฟ้ม แต่ผมบอกตรงๆเลยครับว่าผมไม่รู้

 การอบรมเริ่ม 10.00 น. เนื่องจากเป็นวันแรกทำให้แต่ละอำเภอมาถึงช้า ประธานเริ่มกล่าวเปิดทำให้ผมทราบว่า 43 แฟ้ม มันพัฒนามาจาก 18 แฟ้ม และเมื่อหลายปีก่อน หรืออาจเรียกได้ว่าสมัยก่อนโน้น 18 แฟ้มเคยโดนแซวว่า 18 มงกุฎ ซึ่งท่านไม่ได้อธิบายที่ไปที่มาครับ

 43 แฟ้ม อันที่จริงมันก็คือ โครงสร้างฐานข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ ในรูปแบบ 43 แฟ้มมาตรฐาน แบ่งเป็นหมวดๆได้ดังนี้ครับ
1.แฟ้มข้อมูลประชาชนในเขตรับผิดชอบและผู้ป่วย
2.แฟ้ม ข้อมูลครัวเรือนของประชาชนในเขตรับผิดชอบ
3.แฟ้มข้อมูลการให้บริการ
4.แฟ้มข้อมูลบริการผู้ป่ วยนอก
5.แฟ้มข้อมูลบริการผู้ป่ วยใน
6.แฟ้มข้อมูลบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค
7.แฟ้มข้อมูลคัดกรองและติดตามผู้ป่ วยโรคเรื่อรัง
8.แฟ้มข้อมูลบริการในชุมชน
9.แฟ้มข้อมูลความบกพร่องทางสุขภาพและบริการฟื้นฟูสภาพ
10.แฟ้มข้อมูลชุมชนและกิจกรรมในชุมชน
11.แฟ้มข้อมูลผู้ให้บริการ

ซึ่งแต่ละแฟ้มจะมีแฟ้มย่อยๆของแต่ละหมวด รวมแล้วได้ 43 แฟ้มนะครับ

ข้อมูลเหล่านนี้จะถูกส่งไปยังส่วนกลางเพื่อประมวลผลในภาพรวม ซึ่งจะทำให้รู้
1. โครงสร้างประชากรในความรับผิดชอบ
   (เด็ก, วัยรุ่น/เยาวชน, สตรี, ผู้สูงอายุ)
2. ผู้พิการ/ผู้ด้อยโอกาส
3. สิทธิการรักษาพยาบาล
4. การเข้าถึงและการใช้บริการ
5. การส่ารวจ/การส่งเสริมป้องกัน/การรักษา/ฟื้นฟู
6. โรคเรื้อรัง (เบาหวาน, ความดัน) 

ข้อมูลต่างๆเหล่านี้ทำให้รู้ว่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคก่อให้เกิดแผนงานโครงการที่จะแก้ไขปัญหาได้ถูกทิศ ถูกทาง หรือเรียกเป็นภาษาบ้านๆว่าเกาถูกจุด

1.แผนงานป้องกันและเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า
2.แผนงานคัดกรองป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง
3.แผนงานควบคุมป้องกันการติดเชื้อ HIV
4.แผนงานเด็กฉลาด พัฒนาการดี
5.แผนงานควบคุมป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง
6.แผนงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุมแรงงานและข้าราชการ
่7.แผนงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันความเสี่ยงในกลุ่มวัยรุ่น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio