ขับเคลื่อนโดย Blogger.

การฟื้นฟูอนามัยสิ่งแวดล้อมหลังน้ำท่วม


การฟื้นฟูอนามัยสิ่งแวดล้อมของบ้านภายหลังน้าท่วม

การเตรียมแผนงานทำความสะอาด
เรื่องหลักที่หลายๆ ท่านกำลังเร่งดาเนินการ คือ การฟื้นฟูบ้าน หรือสถานที่ทำงานที่ถูกน้าท่วม ให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดี เหมาะแก่การอยู่อาศัย หรือใช้งานต่อไป การทาความสะอาดเป็นงานหนึ่งในหลายๆ ด้านของการจัดการฟื้นฟูอนามัยสิ่งแวดล้อมของบ้านและสถานที่ เพื่อมิให้สถานที่เหล่านั้นมีแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค หรือ มีพาหะนาโรคแฝงอาศัยอยู่ หรือก่อให้เกิดอุบัติเหตุอันตรายต่างๆ อีกทั้งต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเมื่อย้ายเข้าไปอยู่อาศัย หรือเข้าไปทางาน ซึ่งหากพิจารณาองค์ประกอบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ต้องได้รับการจัดการฟื้นฟู มีตั้งแต่เรื่องความสะอาดของที่อยู่อาศัย น้าใช้ น้าบริโภค ระบบไฟฟ้า ขยะ ห้องน้าห้องส้วม คุณภาพอากาศภายในอาคาร และอื่นๆ อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ไม่ได้จาเป็นต้องดาเนินการให้แล้วเสร็จพร้อมๆกัน คงต้องพิจารณาจัดลาดับความสาคัญแล้วค่อยๆ ปรับปรุงกันไป

ก่อนที่ท่านจะลงมือทาความสะอาดบ้าน หรือสถานที่ทางาน ควรต้องมีแผนงานที่ชัดเจนก่อนเริ่มงาน หลายท่านอาจคิดว่าเสียเวลา หรือทาให้เป็นเรื่องใหญ่ไม่เข้าเรื่อง แต่ในความจริงแล้วพบว่าในการทาความสะอาดไม่ว่าจะเป็นบ้าน หรือสถานที่ทางานซึ่งมีคนจานวนหนื่งมาร่วมกันทางาน หากไม่เข้าใจขั้นตอนหรือแนวทางในการทางานแล้ว อาจเกิดความสับสน และเสียเวลา เช่น จะทาความสะอาดพื้นบริเวณไหนก่อน ของชิ้นไหนจะทิ้ง และทิ้งที่ไหน จะย้ายเครื่องใช้ต่างๆไปไว้ที่ใด จะย้ายของลงมาหรือยัง ซึ่งหากสามารถตกลงแผนงานร่วมกันได้แล้ว ก็จะช่วยให้การดาเนินงานเป็นไปได้อย่างดี โดยในการจัดทาแผนงานให้ตอบคาถามดังต่อไปนี้
1. จะเริ่มทาความสะอาดที่ไหนก่อน เช่น ห้องด้านในสุดสู่ด้านนอก หรือ พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดความเสียหาย ห้องนอน ห้องครัว หรือ อาจแบ่งพื้นที่ภายในและภายนอกบ้าน (ถ้ามี) และจะทาความสะอาดอย่างไร บางส่วนอาจต้องทาความสะอาดเป็นอย่างดี บางแห่งอาจทาพอให้อาศัยอยู่ได้ก่อน
2. อะไรบ้างที่เสียหายใช้การไม่ได้ ต้องทิ้ง อะไรที่จะรอซ่อม อะไรที่ยังพอใช้การได้ โดยเฉพาะสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา/ถังเก็บน้า ห้องน้า ห้องส้วม/บ่อบาบัด
3. ของที่เสียหายจะทิ้งที่ไหน ทั้งนี้เพื่อจัดเตรียมพื้นที่สาหรับจัดวางข้าวของที่เสียหาย ถุงทรายจะกองไว้ที่ไหน เศษไม้ เศษเหล็ก



กระดาษที่เปียกน้า จะวางไว้ที่ใดเพื่อที่จะสามารถนาไปขายหรือส่งไปรีไซเคิลได้ ส่วนที่ทาอะไรไม่ได้แล้ว ที่นอนที่แช่น้า เศษโคลน ขี้ดิน อาจวางรวมกันเพื่อให้รถเก็บขยะมารับไป และอย่าลืมจัดสรรพื้นที่สาหรับของที่จะต้องซ่อมแซม
4. ต้องการกาลังคนเท่าไรและทาอะไรบ้าง จานวนคนที่จะต้องช่วยยกของ คนที่จะช่วยขูด แซะ โกยเศษโคลนหรือวัสดุต่างๆ คนที่จะช่วยขัดถู เป็นต้น
5. ต้องใช้ อุปกรณ์อะไรบ้าง นอกจากอุปกรณ์ทาความสะอาด เช่น แปรงขัด สายยาง ผงซักฟอก ถังน้า ถุงขยะ ไม้กวาด แล้ว อาจต้องมีเครื่องมือช่าง ค้อน เลื่อย ไขควง ตะปู คีม หรือชะแลง เพื่อนามาใช้ในการปรับปรุงบ้านเบื้องต้น เพื่อให้ใช้การได้ตามปกติ
6. ระยะเวลาที่ต้องการใช้ในการทาความสะอาด ทั้งนี้อาจไม่สามารถทาให้เสร็จได้ในวันเดียว ดังนั้นอาจต้องคานึงถึงการปิดล็อคบ้านเพื่อความปลอดภัยหลังการทาความสะอาดแต่ละวัน
เมื่อตอบข้อคาถามต่างๆแล้วจะทาให้ท่านรู้ว่าจะจัดเตรียม คน เครื่องมือ อุปกรณ์อะไรบ้าง เพื่อนามาใช้ในการทาความสะอาด ซึ่งบางครั้งท่านอาจต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน หรือ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น หากเพื่อนบ้านหรือชุมชนของท่านมีผู้ได้รับผลกระทบจากน้าท่วมเหมือนกัน ควรรวมตัวจัดทาความสะอาดร่วมกัน

ในลักษณะลงแขก ก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะนอกจากจะทาให้แต่ละบ้าน มีกาลังคน เครื่องมือ ครบถ้วน โดยอาจไม่จาเป็นต้องซื้อหาแล้ว ชุมชนอาจกาหนดสถานที่สาหรับทิ้งของของชุมชนร่วมกัน และสามารถติดต่อให้หน่วยงานเก็บขนขยะมารับไป หรือบอกต่อซาเล้งให้เข้ามารับซื้อเศษวัสดุต่างๆ ในช่วงที่ทาความสะอาด ก็จะทาให้ชุมชนสะอาดและเป็นระเบียบ การคัดแยกขยะจะช่วยทาให้สามารถจัดการขยะออกไปจากพื้นที่ของท่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดปริมาณขยะที่จะต้องถูกนาไปฝังกลบต่อไป
เทคนิคเพื่อความปลอดภัยก่อนลงมือทาความสะอาด
1. ในกรณีที่เข้าบ้านหรืออาคารเป็นครั้งแรก ควรเริ่มสารวจจากภายนอกเข้าสู่ภายในบ้าน เมื่อเข้าภายในบ้านให้เปิดประตู หน้าต่าง ทุกบ้านเพื่อระบายอากาศ แล้วรอสักพักหนึ่ง ประมาณ 15 นาที จึงจะเข้าไปเริ่มต้นสารวจภายในบ้าน ทั้งนี้ท่านควรสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตราย ได้แก่ รองเท้าบู๊ทยาง ถุงมือยาง หน้ากาก และแว่นตา เพื่อป้องกันอันตราย
2. ตรวจสอบความแข็งแรงของรั้ว พื้น และผนัง รวมถึงฝ้าเพดานก่อนเข้าไปทาความสะอาด หากมีสนามหรือพื้นดิน ควรตรวจสอบว่ามีเศษวัสดุ ของมีคม หรือ กิ่งไม้ที่อาจผุพังซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้


ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ให้แน่ใจว่าไม่มีไฟฟ้ารั่ว ก่อนที่จะให้คนเข้าไปในพื้นที่ เพราะระหว่างการทาความสะอาด อาจมีความต้องการใช้ปลั๊กไฟ สาหรับพัดลม และอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ
4. ตรวจสอบว่าไม่มีสัตว์มีพิษ แฝงอาศัยอยู่ โดยการใช้ไม้เคาะตามพื้นหรือผนัง หรือตามที่นอน ผ้าห่ม กองวัสดุต่างๆ เพื่อไล่สัตว์เหล่านั้นให้ออกไป

ในขั้นแรกนี้ ไม่ควรนาเด็กเล็กเข้าไปในบ้านหรือสถานที่ถูกน้าท่วมขัง เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุ หรือ ได้รับสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคได้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio